บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 7: หัวข้อกำหนด 3.3 - คุณลักษณะของ SR3.3 Characteristics of social responsibility |
3.3.1 General |
The essential characteristic of social responsibility (2.18) is the willingness of an organization to incorporate social and environmental considerations in its decision-making and be accountable for the impacts of its decisions and activities on society and the environment. This implies both transparent and ethical behavior that contributes to sustainable development, is in compliance with applicable law and consistent with |
international norms of behavior, It also implies that social responsibility is integrated throughout the organization, is practised in its relationships and takes into account the interests of stakeholders. |
A stakeholder has one or more interests that can be affected by the decisions and activities of an organization. This interest gives the party a “stake” in the organization that creates a relationship with the organization. This relationship need not be formal or even acknowledged by the stakeholder or the organization. Stakeholders can be referred to as “interested parties”. In determining which stakeholder interests to recognize, an organization should consider the lawfulness of those interests and their consistency with international norms of behavior. |
3.3.2 The expectations of society |
Social responsibility involves an understanding of the broader expectations of society. A fundamental principle of social responsibility is respect for the rule of law and compliance with legally binding obligations. Social responsibility, however, also entails actions beyond legal compliance and the recognition of obligations to others that are not legally binding. These obligations arise out of widely shared ethical and other values. |
Although expectations of socially responsible behavior will vary between countries and cultures, organizations should nevertheless respect international norms of behavior such as those reflected in the Universal Declaration of Human Rights [156], the Johannesburg Declaration on Sustainable Development [151] and other instruments. |
Clause 6 considers the core subjects of social responsibility. Each of these core subjects includes various issues that will enable an organization to identify its main impacts on society The discussion of each issue also describes actions to address these impacts. |
3.3.3 The role of stakeholders in social responsibility |
Identification of and engagement with stakeholders are fundamental to social responsibility. An organization should determine who has an interest in its decisions and activities, so that it can understand its impacts and how to address them. Although stakeholders can help an organization identify the relevance of particular matters to its decisions and activities, stakeholders do not replace broader society in determining norms and expectations of behavior. A matter may be relevant to the social responsibility of an organization even if not specifically identified by the stakeholders it consults. Further guidance on this is provided in 4.5. and Clause 5 |
3.3.4 Integrating social responsibility |
Because social responsibility concerns the potential and actual impacts of an organization’s decisions and |
activities, the ongoing, regular daily activities of the organization constitute the most important behavior to be addressed. Social responsibility should be an integral part of core organizational strategy. with assigned responsibilities and accountability at all appropriate levels of the organization. It should be reflected in decision making and considered in implementing activities |
Philanthropy (in this context understood as giving to charitable causes) can have a positive impact on society. However, it should not be used by organizations as a substitute for integrating social responsibility into the organization. |
The impacts of an organization’s decisions or activities can be greatly affected by its relationships with other organizations. An organization may need to work with others to address its responsibilities. These can include peer organizations, competitors (while taking care to avoid anti-competitive behavior), other parts of the value chain, or any other relevant party within the organization’s sphere of influence. |
Box 2 describes the importance of gender equality and how it relates to social responsibility.
Box 2 – Gender equality and social responsibility |
All societies assign gender roles to men and women. Gender roles are learned behaviors that condition which activities and responsibilities are perceived as male and female. These gender roles sometimes discriminate against women, but also against men. In all cases, gender discrimination limits the potential of individuals, families, communities and societies. |
There is a demonstrated positive link between gender equality and economic and social development, which is why gender equality is one of the Millennium Development Goals. Promotion of gender equality in an organization’s activities and advocacy is an important component of social responsibility. |
Organizations should review their decisions and activities to eliminate gender bias and promote gender equality. Areas include: - the mix of men and women in the organization's governing structure and management, with the aim of progressively achieving parity and eliminating gender barriers; - equal treatment of men and women workers in recruitment, job assignment, training, opportunities for advancement, compensation and termination of employment; - equal remuneration for men and women workers for work of equal value [57]; - possible differential impacts on men and women concerning workplace and community safety and health; - decisions and activities of the organization that give equal consideration to the needs of men and women (for example, checking for any differential impact on men and women arising from the development of specific products or services, or reviewing the images of women and men presented in any communications or |
advertising by the organization); and - benefits for both women and men from the organization’s advocacy and contributions to community development, with possible special attention to redressing areas where either gender is disadvantaged. |
Gender equality in stakeholder engagement is an important means for achieving gender equality in an organization’s activities. |
To promote gender equality, organizations may also find it useful to seek expertise in addressing gender issues. |
Organizations are encouraged to use indicators, targets and best practice references to systematically monitor progress in achieving gender equality [133]; [149]. |
Box 3 describes how this International Standard covers the activities of small and medium-sized organizations (SMOs).
Box 3 ISO 26000 and small and medium-sized organizations (SMOs) Small and medium-sized organizations are organizations whose number of employees, or size of financial activities fall below certain limits. The size thresholds vary from country to country. For the purpose of this International Standard, SMOs include those very small organizations referred to as “micro” organizations. |
Integrating social responsibility throughout an SMO can be undertaken through practical, simple and cost efficient actions, and does not need to be complex or expensive. Owing to their small size, and their potential for being more flexible and innovative, SMOs may in fact provide particularly good opportunities for social responsibility. They are generally more flexible in terms of organizational management, often have close contact with local communities, and their top management usually has a more immediate influence on the organization’s activities. |
Social responsibility involves the adoption of an integrated approach to managing an organization’s activities and impacts. An organization should address and monitor the impacts of its decisions and activities on society and the environment in a way that takes account of both the size of the organization and its impacts. It may not be possible for an organization to remedy immediately all negative consequences of its decisions and activities. It might be necessary to make choices and to set priorities. |
The following considerations may be of assistance. SMOs should: - take into account that internal management procedures, reporting to stakeholders and other processes may be more flexible and informal for SMOs than for their larger counterparts, provided that appropriate levels of transparency are preserved; - be aware that when reviewing all seven core subjects and identifying the relevant issues, the organization’s |
own context, conditions, resources and stakeholder interests should be taken into account, recognizing that all core subjects, but not all issues will be relevant for every organization; - focus at the outset on the issues and impacts that are of greatest significance to sustainable development. An SMO should also have a plan to address the remaining issues and impacts in a timely manner; - seek assistance from appropriate government agencies, collective organizations (such as sector associations and umbrella or peer organizations) and national standards bodies in developing practical guides and programs for using this International Standard. Such guides and programs should be tailored to the specific nature and needs of SMOs and their stakeholders; and - where appropriate, act collectively with peer and sector organizations rather than individually, to save resources and enhance capacity for action. For instance, for organizations operating in the same context and sector, identification of and engagement with stakeholders can sometimes be more effectively if done collectively. |
Being socially responsible is likely to benefit SMOs for the reasons mentioned elsewhere in this International Standard. SMOs may find that other organizations with which they have relationships consider that providing support for SMOs endeavours is part of their own social responsibility. |
Organizations with greater capacity and experience in social responsibility might consider providing support to SMOs, including assisting them in raising awareness on issues of social responsibility and good practice. |
3.3.5 Relationship between social responsibility and sustainable development |
Although many people use the terms social responsibility and sustainable development interchangeably, and there is a close relationship between the two, they are different concepts. |
Sustainable development is a widely accepted concept and guiding objective that gained international recognition following the publication in 1987 of the Report of the United Nations World Commission on Environment and Development: Our Common Future [174] Sustainable development is about meeting the needs of society while living within the planet’s ecological limits and without jeopardizing the ability of future generations to meet their needs. Sustainable development has three dimensions – economic, social and environmental – which are interdependent; for instance, the elimination of poverty requires the promotion of social justice and the protection of the environment. |
The importance of these objectives has been reiterated over the years since 1987 in numerous international forums, such as the United Nations Conference on Environment and Development in 1992 and the World Summit on Sustainable Development in 2002. |
Social responsibility has the organization as its focus and concerns the responsibilities of an organization to society and the environment. Social responsibility is closely linked to sustainable development. Because |
sustainable development is about the economic, social and environmental goals common to all people, it can be used as a way of summing up the broader expectations of society that need to be taken into account by organizations seeking to act responsibly. Therefore, an overarching objective of an organization’s social responsibility should be to contribute to sustainable development. |
The principles, practices and core subjects described in the following clauses of this International Standard form the basis for an organization’s practical implementation of social responsibility and its contribution to sustainable development. The decisions and activities of a socially responsible organization can make a meaningful contribution to sustainable development. |
The objective of sustainable development is to achieve sustainability for society as a whole and the planet. It does not concern the sustainability or ongoing viability of any specific organization. The sustainability of an individual organization may, or may not, be compatible with the sustainability of society as a whole, which is attained by addressing social, economic and environmental aspects in an integrated manner. Sustainable consumption, sustainable resource use and sustainable livelihoods are relevant to all organizations and relate to the sustainability of society as a whole. |
3.3 คุณลักษณะของ SR
3.3.1 บททั่วไป
คุณลักษณะที่สำคัญของ SR [2.18] ล้วนจัดถือได้ว่า เป็นภารกิจหรือเมื่อประกอบไปด้วยความเต็มใจเปี่ยมเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ที่จะต้องมีการดำเนินงานเพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดที่ปรากฏออกมาเป็นข้อควรพิจารณาต่างๆ ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตัดสินใจขององค์การแห่งนั้นเป็นหลัก และทั้งนี้เพื่อต้องการมุ่งเน้นในเรื่องของความพร้อมต่อการแสดงความรับผิดชอบที่เกี่ยวเนื่องกับผลกระทบทั้งหลาย ซึ่งอาจถือกำเนิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ จากองค์การแห่งนั้น และสามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมขึ้นมาได้ตามลำดับ รายละเอียดเช่นนี้ ยังสามารถช่วยชี้บ่งบอก หรือแสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดอื่นๆ ทั้งในเรื่องของความโปร่งใส และการมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขององค์การ ซึ่งต่างมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนต่อผลของการพัฒนาแบบยั่งยืนให้เกิดขึ้นมาได้แทบทั้งสิ้น และยังอาจครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงความต้องการเพื่อแสดงให้เห็นผลของความสอดคล้องเข้ากับข้อกฎหมายในลักษณะต่างๆ ที่ต้องใช้ประโยชน์ หรือข้อกำหนดที่ปรากฏออกมาเป็นบรรทัดฐานเชิงพฤติกรรมในระดับนานาชาติได้อีกประการหนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังอาจสามารถระบุออกมาเป็นนัยในลักษณะของความหมายเชิงเพิ่มเติมได้อีกประการหนึ่งด้วยว่า เรื่องของการปฏิบัติงาน SR ดังกล่าวเช่นนั้น ได้มีการบูรณาการเป็นไปได้อย่างแพร่หลายและทั่วถึง หรืออาจปรากฏสภาพออกมาเป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีอีกประการหนึ่งสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ในส่วนต่างๆ ขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้นอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นอยู่โดยตรง โดยเฉพาะเมื่อมีการนำรายละเอียดในเรื่องผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เข้ามาพิจารณาถึงความสำคัญดังกล่าวประกอบอยู่ร่วมด้วยเสมอ
3.3.2 ความคาดหวังของสังคม
รายละเอียดของ SR ส่วนใหญ่ล้วนมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และมีความต้องการหลักที่มุ่งเน้นเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นมาภายในขอบเขตที่กว้างขวางเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของผลประโยชน์ที่ได้รับและ/ หรือเมื่อเป็นความคาดหวังของสังคมเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปหลักการขั้นพื้นฐานของ SR ก็คือ การแสดงความเคารพนับถือต่อรายละเอียดของบทบัญญัติทางกฎหมาย และการประพฤติปฏิบัติงาน เพื่อต้องการให้มีผลของความสอดคล้องเข้ากับข้อผูกมัดที่เชื่อมโยงด้านกฎหมายเป็นประการสำคัญ นอกจากนี้รายละเอียดของ SR ดังกล่าว ยังต้องการให้มีการใส่ใจ หรือตระหนักยอมรับถึงผลของการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้มีการแสดงรายละเอียดที่ปรากฏเกิดขึ้นอยู่สูงเหนือมากกว่าการปฏิบัติงานที่ถูกกระทำเพียงเพื่อต้องการให้มีผลของสอดคล้องดำเนินเป็นไปตรงตามลักษณะทางกฎหมายแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น และยังครอบคลุมไปถึงผลของการแสดงการยอมรับต่อกฎเกณฑ์ข้อผูกมัดประการอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยง ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่ใช่เป็นรายละเอียดด้านกฎหมายได้อีกประการหนึ่งด้วย เพราะฉะนั้นรายละเอียดของข้อผูกมัดที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเหล่านี้ทั้งหมด (ทั้งในลักษณะที่เป็นกฎหมาย หรือไม่ใช่กฎหมายก็ตาม) จึงสามารถช่วยกระตุ้นเพื่อก่อให้เกิดคุณค่าที่ดีขึ้นมาร่วมกัน และยังครอบคลุมไปถึงในเรื่องของความน่าเชื่อถือ และการสร้างจริยธรรมขององค์การแห่งนั้นขึ้นมาได้โดยตรงตามลำดับ
ถึงแม้ว่าลักษณะของความคาดหวังในเชิงพฤติกรรมที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมเช่นนั้น จะแสดงความแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ หรือเป็นไปตามสภาพของวัฒนธรรมในพื้นที่แต่ละแห่งก็ตาม แต่องค์การทั้งหลายก็จำเป็นต้องตระหนัก และแสดงความเคารพยอมรับผลสืบเนื่องที่ปรากฏออกมาเป็นคุณค่าในระดับสากลเหล่านี้ทุกประการ ลักษณะความคาดหวังเหล่านี้ ยังถูกกล่าว/ ระบุถึงไว้อย่างจริงจังในการประชุมระดับนานาชาติ หรือเมื่อปรากฏผลออกมาเป็นบรรทัดฐานทางพฤติกรรมทั้งหลาย โดยถูกกำหนดออกมาเป็นคำประกาศ หรือการแสดงผลที่ได้รับขึ้นมาจากการประชุม หรือเมื่อถูกกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมออกมาเป็นเครื่องมือสำคัญลักษณะต่างๆ ในระดับนานาชาติอีกร่วมด้วย เช่น จากรายละเอียดที่ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในปฏิญญาสากลที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน [156] และปฏิญญาโยฮันเนสเบิรก์ที่ว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน [151] เป็นต้น
ส่วนหัวข้อกำหนดหลักที่ 6 ที่ถูกระบุอยู่ไว้ภายในมาตรฐานฉบับนี้ จะแสดงถึงรายละเอียดของเนื้อหาหลักประการสำคัญของ SR และยังได้อธิบายให้เห็นถึงในแต่ละประเด็นของเนื้อหาหลักดังกล่าวเช่นนั้น ที่สมควรมีการยึดถือ หรือทำการพิจารณาขึ้นมาเพิ่มเติมสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ทั้งนี้เพื่อต้องการช่วยส่งเสริม หรือกระตุ้นทำให้องค์การแห่งนั้น สามารถระบุชี้บ่งถึงผลกระทบประการสำคัญที่สุดต่อสังคมออกมาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในแต่ละประเด็นของ SR ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ยังจะถูกอภิปราย หรือมีการอธิบายความหมายเพิ่มเติมในรายละเอียดขึ้นมาด้วยว่า เป็นเรื่องของความคาดหวัง และวิธีการปฏิบัติบางประการที่มีความเหมาะสมในลักษณะต่างๆ ซึ่งล้วนแสดงความสัมพันธ์อยู่กับประเด็นในแต่ละผลกระทบที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า หรือเมื่อมีการชี้บ่งออกมาจากภายในองค์การแต่ละแห่งได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์อยู่โดยตรง
3.3.3 บทบาทของ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องกับ SR
การระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดผลการผูกมัดตนเองขององค์การเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย ล้วนจัดถือได้ว่า เป็นวิธีการปฏิบัติขั้นพื้นฐานของ SR โดยเฉพาะองค์การแห่งหนึ่งๆ ล้วนต้องมีความเข้าใจเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นก็คือ บุคคลใดก็ตามที่ปรากฏว่า มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องอยู่รองรับ ซึ่งสืบเนื่องมาจากผลของการตัดสินใจ รวมไปถึงการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ที่ต้องดำเนินการขึ้นมาด้วยตนเองขององค์การแห่งนั้น ก็จะปรากฏเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการพิจารณา หรือการมีความเข้าใจต่อผลกระทบที่องค์การได้มีส่วนร่วมกระทำ หรือรวมไปถึงการกำหนด/ ระบุผลกระทบเหล่านั้น เพื่อให้เห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นได้มากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้ ในขณะที่บทบาทและความสำคัญของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเหล่านี้ จึงสามารถช่วยเหลือทำให้องค์การแต่ละแห่ง ล้วนจำเป็นต้องมีการระบุ/ ชี้บ่งถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องของการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ขององค์การออกมาได้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตามอิทธิพลของกลุ่ม Stakeholders ดังกล่าว อาจยังไม่อาจครอบคลุมรายละเอียดของสังคมในขอบเขตที่กว้างขวางมาก หรือแพร่กระจายเกิดขึ้นได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเมื่อมีผลต่อการกำหนดรายละเอียดในเรื่องของบรรทัดฐานและความคาดหวังทางพฤติกรรมขึ้นมาให้เห็นเป็นผลได้อย่างแท้จริง เป็นต้น ดังนั้นรายละเอียดของบางประเด็นที่เกิดขึ้นมาตามสถานการณ์ในแต่ละช่วงระยะเวลา และอาจแสดงผลเกี่ยวเนื่องกับ SR ขององค์การ และถึงแม้ว่า จะไม่สามารถทำการระบุ/ ชี้บ่งออกมาอย่างชัดเจนได้ทั้งหมดด้วยอิทธิพลของ Stakeholders ก็ตาม ก็ยังถือว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการนำประเด็นทางสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเหล่านั้นทั้งหมด นำเข้ามาพิจารณาถึงผลและกำหนดให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของการปฏิบัติงาน SR สำหรับองค์การแต่ละแห่งอยู่ร่วมด้วยเสมอ สำหรับรายละเอียดของข้อแนะนำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังทางพฤติกรรม และวิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ที่องค์การล้วนจำเป็นต้องมีการระบุ/ ชี้บ่งไว้ภายใน SR นั้น ได้ถูกกำหนดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในหัวข้อกำหนดย่อยที่ 4.5 และหัวข้อหลักที่ 5 เป็นประการสำคัญ
ตัวอย่างของกลุ่ม Stakeholders ประเภทต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การ/ บริษัท ที่ดำเนินการปฏิบัติงานให้สอดคล้องเป็นไปตรงตามแนวทางของ SR เป็นประการสำคัญ
3.3.4 การบูรณาการ SR ให้แพร่กระจายเข้าไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ
สืบเนื่องด้วยเหตุผลประการสำคัญที่ว่า รายละเอียดของเรื่อง SR ดังกล่าวเหล่านั้น ได้มีการพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียด หรือต้องการแสดงให้เห็นถึงความตระหนักที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่แท้จริง โดยเฉพาะเมื่อปรากฏออกมาเป็นแนวโน้มของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุของการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือเมื่อปรากฏเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการตัดสินใจที่ดำเนินการเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง หรือการปฏิบัติกิจกรรมที่กระทำในแต่ละวันขององค์การก็ตาม ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อการกำหนดลักษณะทางพฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนอีกประการหนึ่งด้วย เพราะฉะนั้นรายละเอียดของเรื่อง SR เช่นนี้ จึงสมควรยึดถือไว้เป็นเนื้อหาสาระหรือส่วนที่สำคัญ และสามารถนำไปบูรณาการเข้ากับการกำหนดออกมาเป็นรายละเอียดเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์การแห่งนั้นตามลำดับ และในที่สุดสามารถมอบหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน เพื่อต้องการแสดงถึงผลของความรับผิดชอบ และความพร้อมรับผิดในทุกระดับที่เกี่ยวข้องอยู่ภายในองค์การแห่งนั้นเป็นประการสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยชี้บ่งหรือสะท้อนให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นสำหรับกระบวนการตัดสินใจที่ดี และอาจครอบคลุมรวมไปถึงความสามารถในการดำเนินงาน หรือเมื่อมีการจัดตั้งกิจกรรมประเภทต่างๆ ขึ้นมารองรับเป็นผลอยู่โดยตรงภายในองค์การแห่งนั้นได้อีกประการหนึ่งร่วมด้วย
เมื่อกล่าวถึงการทำกิจกรรม SR ในบางลักษณะ เช่น การทำบุญหรือการให้ทาน (ภายใต้บริบทเช่นนี้มักจะถูกเข้าใจกันโดยทั่วไปว่า เป็นเรื่องของการบริจาค) จึงสามารถช่วยส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคมขึ้นมาได้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตามการประพฤติปฏิบัติในเชิงพฤติกรรม SR ดังกล่าว ก็อาจไม่ใช่วิธีการกระทำที่องค์การแต่ละแห่ง สมควรจะยึดถือไว้เป็นแนวทางหลักของการปฏิบัติ หรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อมุ่งเน้นการทดแทนขึ้นมาสำหรับการแสดงผลความผูกมัดตนเองขององค์การแห่งนั้นเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ทั้งหลายที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่โดยตรง หรือต้องการใช้ประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงรายละเอียดของผลกระทบประการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นติดตามมาในระยะภายหลังได้ หรือเมื่อปรากฏเป็นผลกระทบเชิงลบที่สืบเนื่องมาจากการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดวัตถุประสงค์ขององค์การแห่งนั้นได้เป็นเรื่องสำคัญ
สำหรับรายละเอียดของผลกระทบที่สืบเนื่องเกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ขององค์การแต่ละแห่ง จะแสดงผลที่ยิ่งใหญ่มากต่อการสร้างระดับความสัมพันธ์ขึ้นมาร่วมกับองค์การประเภทอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกอีกด้วย ดังนั้นองค์การแต่ละแห่ง จึงล้วนต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานร่วมกับองค์การประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งหวังผลต่อการแสดงความรับผิดชอบออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัด หรือปรากฏว่าเป็นเรื่องสำคัญอยู่ทั้งหมด โดยเฉพาะรายละเอียดเช่นนี้ ยังอาจครอบคลุมรวมไปถึงองค์การในลักษณะอื่นๆ ที่มีวิธีการปฏิบัติงานอยู่ใกล้เคียงกัน หรืออาจมีลักษณะเป็นคู่แข่งขันกันก็ได้ (แต่ทั้งนี้ยังจำเป็นต้องมีการพิจารณาเป็นไปด้วยความระมัดระวังมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมาให้เห็นได้โดยง่ายในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติ หรือการมีพฤติกรรมในรูปแบบที่เป็นการต่อต้านคู่แข่งขัน เป็นต้น) หรือเมื่อครั้งนั้นปรากฏสภาพออกมาให้เห็นอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสายโซ่แห่งคุณค่า หรือผู้ปฏิบัติงาน หน่วย/ ส่วนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจถูกระบุไว้เมื่ออยู่ภายใต้ของขอบเขตและบรรยากาศปัจจัยที่มีอิทธิพลขององค์การแห่งนั้นขึ้นมาได้โดยตรงตามลำดับ
รายละเอียดของกล่องที่ 2 ได้อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติทางเพศในลักษณะที่เท่าเทียมกัน และเรื่องดังกล่าวเช่นนี้ มีส่วนแสดงความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้าน SR ได้อย่างไร เป็นต้น
กล่องที่ 2 การแสดงความเท่าเทียมกันทางเพศ และ SR ภายใต้สังคมทุกสังคมได้มีการกำหนดบทบาททางเพศให้กับผู้ชายและผู้หญิงอย่างชัดเจนเกิดขึ้นอยู่แล้วแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นบทบาททางเพศดังกล่าว จึงปรากฏผลออกมาเป็นเชิงพฤติกรรมในลักษณะที่สามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ โดยอาจสะท้อนให้เห็นถึงรายละเอียดเงื่อนไขบางประการที่เกี่ยวพันกับกิจกรรม และระดับความรับผิดชอบต่างๆ ที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสมควรจะต้องมีการรับรู้ นำไปปฏิบัติ และการสร้างความตระหนักขึ้นมาเป็นประการสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันรายละเอียดของความรับผิดชอบทางเพศเหล่านี้ บางครั้งยังสามารถเหนี่ยวนำ และช่วยกระตุ้นก่อให้เกิดผลสภาพของการกีดกันหรือมีลักษณะการแบ่งแยกทางเพศสำหรับผู้หญิง หรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ชายก็ได้อีกเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามภายใต้ทุกกรณีที่กล่าวถึงมาแล้วเหล่านี้ทั้งหมด ลักษณะของการแบ่งแยกและกีดกันทางเพศ จึงค่อนข้างเป็นปัจจัยที่จำกัดต่อการเสริมสร้างศักยภาพขึ้นมาให้เห็นได้ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ในประการท้ายสุด |
นอกจากนี้ยังมีวิธีการเชื่อมโยงบางประการที่อาจเกิดขึ้นเป็นผลในเชิงบวก ซึ่งช่วยแสดงหรือสาธิตให้เห็นได้ถึงลักษณะความเท่าเทียมกันทางเพศ และการพัฒนาที่เกิดขึ้นทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม และด้วยเหตุผลของความจำเป็นดังกล่าวเช่นนี้ จึงช่วยสะท้อนหรือชี้บ่งออกมาเป็นหลักฐานประการสำคัญที่ว่า ทำไมเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศดังกล่าว จึงพบเห็นอยู่เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดรายละเอียดที่เรียกว่า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาประจำสหัสวรรษ เพราะฉะนั้นการส่งเสริมลักษณะความเท่าเทียมกันทางเพศ ให้เกิดขึ้นอยู่ภายในกิจกรรมขององค์การแต่ละแห่ง รวมไปถึงการช่วยสนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดเป็นผลเพิ่มเติมขึ้นมาอีกร่วมด้วยเช่นนั้น จึงปรากฏพบอยู่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเรื่อง SR ดังกล่าวเสมอ |
องค์การแต่ละแห่งจึงควรมีการทบทวนถึงรายละเอียดของการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อต้องการกำจัดผลของความมีอคติทางเพศให้หมดสิ้นลงไป รวมถึงมีการช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดลักษณะความเท่าเทียมกันทางเพศเกิดขึ้น ซึ่งสามารถดำเนินเป็นไปตรงตามรายละเอียดของขอบเขตที่ควรพิจารณานึกถึงอยู่ร่วมด้วยเสมอ ดังนี้ - ควรมีการผสมรายละเอียดทั้งผู้ชายและผู้หญิง ให้เป็นผลเกิดขึ้นอยู่ร่วมกันทั้งในลักษณะทางโครงสร้างและระบบการจัดการขององค์การแต่ละแห่ง ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นวัตถุประสงค์หลักในเรื่องของการสร้างความสามารถสำหรับการบรรลุถึงผลของความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมกันเป็นส่วนใหญ่ และในขณะเดียวกันจะเป็นการกำจัดอุปสรรคที่ปรากฏผลออกมาเป็นเครื่องกีดกั้นทางเพศให้หมดสิ้นลงไปได้ตามลำดับ - ควรมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทั้งในส่วนของคนงานที่เป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและสรรหาบุคลากร การกำหนดหน้าที่ของงาน การฝึกอบรม การเสริมสร้างโอกาสในการสร้างความก้าวหน้าของงาน การจ่ายเงินให้ชดเชย และการบอกเลิกหรือสิ้นสุดสภาพการว่าจ้างงาน เป็นต้น - ควรมีการให้รายได้หรือผลตอบแทนเกิดขึ้นในลักษณะที่เท่าเทียมกัน ทั้งในคนงานชายหรือหญิง |
โดยเฉพาะเมื่อมีการปฏิบัติงานดำเนินเป็นไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดคุณค่าขึ้นมาอย่างได้ผลที่เท่าเทียมกัน เป็นต้น [57] - ในโอกาสที่เป็นไปได้ ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเป็นอย่างยิ่งต่อทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะในรายละเอียดที่แสดงความเกี่ยวข้องกับเรื่องสถานที่ทำงาน และระดับความปลอดภัยหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนอยู่ร่วมด้วยเสมอ - ในทางปฏิบัติควรมีการตัดสินใจ และการกำหนดกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ขององค์การดำเนินเป็นไปด้วยวิธีการที่เหมาะสม ซึ่งสามารถกระตุ้น หรือช่วยก่อให้เกิดรายละเอียดของข้อควรพิจารณาบางประการในลักษณะอย่างเท่าเทียมกันสำหรับการระบุ/ ชี้บ่งถึงความจำเป็นขึ้นมาได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง (ยกตัวอย่าง เช่น การตรวจสอบถึงระดับผลกระทบที่แสดงความแตกต่างประการใดๆ ก็ตาม ต่อผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจถือกำเนิดขึ้นมาจากผลของการพัฒนาที่จำเพาะเจาะลงสำหรับผลิตภัณฑ์และงานบริการในแต่ละประเภทขององค์การ รวมไปถึงการทบทวนถึงรายละเอียดของภาพลักษณ์สำหรับผู้ชายและผู้หญิง ที่มีการสื่อสาร หรือถูกนำเสนอตามลำดับเป็นผลขึ้นมาจากการโฆษณาโดยองค์การแห่งนั้น เป็นต้น) และ - ผลประโยชน์ที่ได้รับขึ้นมาทั้งผู้ชายและผู้หญิงจากการสนับสนุนขององค์การ และการแบ่งปันช่วยเหลือต่อการพัฒนาของชุมชนแห่งนั้น รวมไปถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษ หรืออาจมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติต่อพื้นที่บางแห่ง ซึ่งล้วนจำเป็นต้องมีการปรับแต่งสภาพให้เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อรายละเอียดของการแสดงความแตกต่างทางเพศเช่นนั้น ปรากฏผลออกมาให้เห็นได้ในลักษณะที่เป็นข้อเสียเปรียบเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม |
ส่วนรายละเอียดในเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศ ที่เกิดขึ้นในลักษณะของการแสดงผลความผูกมัดตนเองขององค์การเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านั้น ยังคงปรากฏเป็นแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย ทั้งนี้เพื่อต้องการให้บรรลุถึงระดับความเท่าเทียมกันทางเพศเมื่ออยู่ภายใต้การปฏิบัติงานกิจกรรมประเภทใดๆ ขององค์การก็ตาม |
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นลักษณะความเท่าเทียมกันทางเพศให้เกิดขึ้นเป็นผลอยู่ส่วนใหญ่นั้น โดยเฉพาะองค์การแต่ละแห่ง ล้วนจำเป็นต้องแสวงหาระดับความเป็นประโยชน์ หรือสามารถสะท้อนถึงระดับความชำนาญการต่อการกำหนด หรือระบุประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางเพศออกมาให้เห็นเป็นประจักษ์อย่างชัดแจ้งได้เป็นสำคัญ |
องค์การส่วนใหญ่จึงสมควรถูกกระตุ้น ให้รู้จักในการใช้ประโยชน์จากการอาศัยตัวดัชนีชี้วัด การกำหนดเป้าหมาย และการอ้างอิงถึงวิธีการปฏิบัติที่ดีประการต่างๆ ขึ้นมารองรับผลอยู่โดยตรง ทั้งนี้เพื่อช่วยก่อให้เกิดกระบวนการเฝ้าติดตามขึ้นมาอย่างเป็นระบบ และสามารถทำการติดตามระดับความก้าวหน้า เพื่อกระทำให้บรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศเกิดขึ้นได้ผลเป็นประการสำคัญ [133] [149] |
ส่วนรายละเอียดที่กล่าวถึงอยู่ภายในกล่องที่ 3 ต้องการอธิบายให้เห็นเพิ่มเติมที่ว่า เนื้อหารายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ (ISO 26000) นั้น จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานสำหรับองค์การขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMOs) ได้อย่างไร
กล่องที่ 3 ISO 26000 และองค์การ/ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMOs) องค์การ/ วิสาหกิจที่มีลักษณะเป็นขนาดกลาง และขนาดย่อมก็คือ องค์การประเภทใดๆ ก็ตามที่ประกอบไปด้วยจำนวนของลูกจ้าง/ พนักงาน หรือขอบเขตของขนาดกิจกรรมด้านการเงินที่ปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นๆ ปรากฏสภาพเกิดขึ้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ให้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติแล้ว ระดับหรือขนาดที่ยอมรับได้สำหรับองค์การดังกล่าวเช่นนี้ จึงมักค่อนข้างแปรผันหรือแสดงความแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้ตามลำดับ นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของมาตรฐานฉบับนี้ เมื่อระบุหรือกล่าวถึง SMOs ประเภทใดๆ ขึ้นมาก็ตาม จึงหมายความ และครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงองค์การที่มีสภาพเป็นขนาดเล็กหรือขนาดย่อม และอาจมีการระบุหรือถูกอ้างอิงไปถึงว่า เป็นองค์การในระดับ “จุลภาค” ก็ได้อีกเช่นเดียวกัน |
ส่วนรายละเอียดของการบูรณาการ SR เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดขึ้นเป็นผลได้อย่างทั่วถึงทั้งองค์การ SMOs นั้น สามารถดำเนินการขึ้นมาได้ โดยอาศัยวิธีการของการฝึกหัด การปฏิบัติงานในบางลักษณะที่ดำเนินเป็นไปด้วยเรื่องง่ายๆ หรืออาจช่วยก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาได้อย่างทั่วถึง และไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมีการเลือกปฏิบัติงานในบางลักษณะที่จะก่อให้เกิดเป็นผลในเรื่องของความยุ่งยากสลับซับซ้อน หรือการก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่แพงมากเกินความจำเป็นติดตามขึ้นมาในประการสุดท้าย จากรายละเอียดของผลความสืบเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏสภาพที่เป็นองค์การขนาดเล็กอยู่เช่นนี้ จึงค่อนข้างมีศักยภาพที่เหมาะสมเป็นอย่างมากต่อการแสดงผลในเรื่องของการปรับตัวเองได้อย่างยืดหยุ่นสูง หรือมีแนวความคิดในเชิงสร้างสรรค์เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างได้ผลที่ดีอยู่สูงมากกว่าองค์การประเภทอื่นๆ โดยทั่วไป ดังนั้นองค์การ SMOs ทั้งหลายตามสภาพความเป็นจริงแล้ว จึงแสดงแนวโน้มหรือมีโอกาสที่ดีต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ได้อย่างเหมาะสมเป็นประการสำคัญ นอกจากนี้องค์การ SMOs ทั้งหลาย ยังสามารถดำเนินงานในลักษณะที่มีความยืดหยุ่นเกิดขึ้นได้เป็นอย่างมากในเชิงหรือรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการองค์การ และบ่อยครั้งทีเดียวที่พบว่า สามารถร่วมมือหรือปฏิบัติงานกันอย่างใกล้ชิดได้เป็นอย่างดีกับชุมชนประจำท้องถิ่นแห่งนั้นๆ และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงการแสดงระดับความสามารถสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การแห่งนั้น ที่จะได้มีการตัดสินใจเกิดขึ้นเป็นไปอย่างรวดเร็วในทันทีทันใด และสามารถแสดงอิทธิพลออกมาให้เห็นได้โดยตรงต่อวิธีการควบคุม หรือการเฝ้าติดตามการปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้องค์การแห่งนั้น ได้อย่างเหมาะสมขึ้นมาอีกประการหนึ่งอยู่ร่วมด้วยเสมอ |
สำหรับการปฏิบัติงานที่เป็นไปตรงตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ของ SR เช่นนั้น ยังจะครอบคลุมลงไปถึงเนื้อหาที่สำคัญ และแสดงความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการยอมรับแนวความคิดในเชิงบูรณาการ เพื่อ |
การจัดการ/ บริหารกิจกรรมประเภทต่างๆ รวมไปถึงผลกระทบทั้งหลายในลักษณะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาให้เห็นผลอยู่ได้โดยตรง เป็นต้น องค์การแห่งหนึ่งๆ จึงสมควรต้องมีการระบุ/ ชี้บ่ง และทำการเฝ้าติดตามรายละเอียดของผลกระทบทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้น ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นมาทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเมื่ออยู่ภายใต้ช่องทางที่สามารถดำเนินการอย่างรับผิดชอบขึ้นมาได้ตามลำดับ ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วจะต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสมตรงตามรายละเอียดของขนาดองค์การ และผลกระทบประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากองค์การแห่งนั้นเป็นประการสำคัญ และสิ่งที่แน่นอนในทางปฏิบัติอีกประการหนึ่งก็คือ ย่อมแสดงผลของความเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันสำหรับองค์การแห่งนั้น ที่จะสามารถดำเนินการแก้ไข หรือทำการช่วยลดปัญหาบางประการลงมาให้เห็นผลได้อย่างเต็มที่สำหรับผลกระทบทางลบประเภทต่างๆ ที่เกิดสืบเนื่องติดตามขึ้นมาจากผลของการตัดสินใจ และ/หรือเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมขององค์การแห่งนั้นขึ้นมาได้โดยตรงตามลำดับ เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดวิธีการคัดเลือก และจัดเรียงลำดับความสำคัญของผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ออกมาให้เห็นเป็นผลเบื้องต้นก่อนในประการแรกของการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาอยู่ภายในองค์การแห่งนั้น |
รายละเอียดที่เป็นข้อควรพิจารณาต่อไปนี้ ย่อมมีความสำคัญสำหรับองค์การขนาดกลางและขนาดย่อม (SMOs) ทั้งหลายที่จะต้องดำเนินการขึ้นมาอยู่ร่วมด้วยเสมอ ก็คือ - มีการพิจารณาถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ/ วิธีการปฏิบัติงานภายในองค์การของตนเอง การรายงานให้กับ Stakeholders กลุ่มต่างๆ ได้รับทราบถึงผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่โดยตรง และกระบวนการปฏิบัติงานอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นไปด้วยความยืดหยุ่นที่สูงมาก ล้วนสามารถปรับสภาพได้ดี และยังมีลักษณะไม่เป็นทางการเกิดขึ้นอยู่ภายในองค์การของตนเองได้มากกว่าองค์การขนาดใหญ่อื่นๆ ซึ่งในที่สุดย่อมนำพาไปสู่การสร้างระดับที่เหมาะสมขึ้นมาได้โดยง่ายในเรื่องของการพิสูจน์ถึงความโปร่งใส และความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้เป็นเรื่องสำคัญ - มีการสร้างผลของความตระหนักขึ้นมารองรับให้เห็น โดยเฉพาะเมื่ออาศัยการทบทวนรายละเอียดของเนื้อหาหลัก SR ทั้ง 7 ประการเหล่านั้น และสามารถทำการระบุ/ ชี้บ่งออกมาเป็นรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์หรือแสดงความเกี่ยวข้องออกมาได้โดยตรงแล้วเช่นนั้น ก็จำเป็นจะต้องมีการกำหนดบริบทขององค์การตนเองขึ้นมาให้เป็นไปได้อย่างเหมาะสม ทั้งสภาวะเงื่อนไขที่สำคัญ แหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ และรายละเอียดการรับรู้ในมุมมองของผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เช่นนี้ ล้วนจำเป็นจะต้องนำมาพิจารณาผลแทบทั้งสิ้น รวมไปถึงต้องมีการสร้างผลของการยอมรับในรายละเอียดประเด็นต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้เป็นเนื้อหาหลัก SR เช่นนั้น และถึงแม้ว่าจะไม่สามารถกระทำได้อย่างครบถ้วนในรายละเอียดทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรงก็ตาม - มีการมุ่งเน้นลงไปที่ผลลัพธ์สำหรับรายละเอียดของประเด็น SR ต่างๆ และผลกระทบบางประการที่อาจแสดงถึงนัยสำคัญ ซึ่งอาจเป็นผลเกิดขึ้นมาให้เห็นได้ในระดับสูงสุด หรือมีผลเกี่ยวเนื่องเข้ากับการ |
พัฒนาแบบยั่งยืน และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงเรื่องของการสร้างสุขอนามัย และการอยู่ดีมีสุขของสังคมเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งด้วย นอกจากนี้องค์การ SMOs ทั้งหลาย ยังสมควรจะต้องมีการกำหนดแผนงานขึ้นมารองรับไว้ล่วงหน้าสำหรับการช่วยลดผลกระทบจากประเด็น SR ประการอื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยเหตุผลที่เหมาะสม และสามารถกระทำงานลุล่วงเป็นไปได้ตรงตามกรอบระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนเช่นนั้นเสมอ - มีการกระตุ้นหรือการแสดงถึงความต้องการในเรื่องของการขอความช่วยเหลือขึ้นมาจากหน่วยงาน/ ภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้อง หรือมีความเหมาะสมเกิดขึ้นอยู่โดยตรง องค์การ/ ภาครวมในส่วนต่างๆ (เช่น สมาคมด้านวิชาชีพ และองค์การที่มีลักษณะในการปฏิบัติงานหรือทำหน้าที่อย่างใกล้เคียงกัน เป็นต้น) และบางครั้งอาจครอบคลุมรวมไปถึงองค์การ/ หน่วยงานมาตรฐานประจำชาติที่จำเป็นจะต้องเข้ามามีบทบาท หรือมีส่วนช่วยเหลือองค์การ SMOs ทั้งหลาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เพื่อต้องการให้มีสภาพของการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขึ้นมาอย่างได้ผลที่แท้จริง โดยอาศัยเรื่องของการกำหนดเป็นข้อแนะนำประการต่างๆ ที่มีความเหมาะสมตรงต่อการปฏิบัติงาน SR หรือมีการจัดเป็นโปรแกรมบางประเภทสนับสนุนขึ้นมารองรับ ทั้งนี้เพื่อต้องการมุ่งเน้นให้ใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐานระดับนานาชาติได้โดยตรง เพราะฉะนั้นรายละเอียดของข้อแนะนำ และการจัดโปรแกรมขึ้นมาร่วมด้วยดังกล่าวเช่นนี้ ยังจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งสภาพ หรือเนื้อหารายละเอียดบางประการ เพื่อให้มีผลของความสอดคล้องสามารถดำเนินงานเป็นไปได้อย่างจำเพาะเข้ากับธรรมชาติ และลักษณะความต้องการของ SMOs และกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงเหล่านั้นอีกด้วย - ในทางปฏิบัติที่เหมาะสมอีกประการหนึ่งก็คือ ยังจำเป็นต้องมีการกระทำ SR ขึ้นมาในบทบาทภายใต้ความร่วมมือกันกับหน่วยงาน หรือองค์การอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากกว่าการปฏิบัติงานที่แยกออกไปเป็นเอกเทศเฉพาะส่วนตนเองสำหรับองค์การแห่งนั้นเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อต้องการช่วยประหยัดในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ และเพื่อต้องการยกระดับผลสำเร็จจากการปฏิบัติงาน SR ครั้งดังกล่าวให้สูงขึ้นมาอีกร่วมด้วยเสมอ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นผลออกมาอย่างชัดเจนได้แก่ ในกรณีที่องค์การได้ทำการปฏิบัติงานอยู่ภายใต้ขอบเขตบริบท หรือเมื่อปรากฏอยู่ภายในกลุ่มของการปฏิบัติงานประเภทเดียวกันทั้งหมดแล้ว การระบุชี้บ่งและการแสดงผลของความผูกมัดตนเองต่อกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องนั้น ในสภาพบางครั้งการปฏิบัติงานร่วมกันที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนร่วมมือกับองค์การ/ หน่วยงานประเภทอื่นๆ เช่นนั้น ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาได้มากกว่าการกระทำจากองค์การแห่งนั้นแต่เพียงลำพังอยู่คนเดียวเป็นส่วนใหญ่ |
องค์การ SMOs ทั้งหลายย่อมสามารถแสดงศักยภาพขึ้นมาให้เห็นเป็นผลที่ดีได้เช่นเดียวกับองค์การอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานเมื่ออยู่ภายใต้แนวทางของการแสดงถึงผลของความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นประการสำคัญ เพราะฉะนั้นการปรากฏสภาพเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมออกมาอย่างชัดเจนเช่นนี้ จึงค่อนข้างก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีต่อองค์การ SMOs ขึ้นมาได้โดยตรง และสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดเหตุผลประการต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึง และได้ทำการอธิบายไว้เป็นรายละเอียดอย่างชัดเจนอยู่แล้วภายใน |
มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้เป็นประการสำคัญ นอกจากนี้ยังพบรายละเอียดเสริมอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกประการหนึ่งด้วยว่า องค์การประเภทอื่นๆ ที่มีการแสดงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดร่วมกับองค์การ SMOs ทั้งหลายเหล่านี้ ยังอาจได้รับการพิจารณา หรือมีส่วนสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งในรายละเอียดของความพยายามทั้งหลาย ซึ่งจัดถือได้ว่า เป็นภารกิจส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมออกมาให้เห็นเป็นผลขึ้นมาได้โดยตรงตามลำดับ |
นอกจากนี้องค์การที่มีลักษณะของระดับความสามารถ และประกอบไปด้วยประสบการณ์ในการดำเนินงานที่สูงมากในด้าน SR ยังจำเป็นต้องมีการพิจารณานึกถึง หรือทำการช่วยเหลือสนับสนุนในรายละเอียดบางประการต่อองค์การ SMOs อื่นๆ ทั้งหลายอีกด้วย ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงเรื่องการช่วยเหลือหรือสนับสนุนองค์การเหล่านั้น เพื่อต้องการสร้างหรือการยกระดับความตระหนักในรายละเอียดของประเด็นด้านต่างๆ ของ SR ให้เกิดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำพาไปสู่การเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดี หรือให้เกิดเป็นผลขึ้นมาอย่างชัดเจนอีกประการหนึ่งอยู่ร่วมด้วยเสมอ |
3.3.5 ความสัมพันธ์ระหว่าง SR และการพัฒนาแบบยั่งยืน
ถึงแม้ว่าบุคคลโดยทั่วไปจะมีการใช้คำศัพท์ว่า SR และการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นไปในลักษณะที่สลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดระยะเวลา และยังมีการแสดงความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดสำหรับคำศัพท์ทั้งสองนี้เป็นอย่างยิ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับมีความหมายในเชิงแนวความคิดพื้นฐาน ที่แสดงถึงความแตกต่างกันออกไปสำหรับคำศัพท์ทั้งสองอยู่โดยตรง กล่าวคือ
· การพัฒนาแบบยั่งยืน: จัดว่าเป็นแนวความคิดที่ถูกยอมรับนับถือกันอย่างกว้างขวางมาก และปรากฏออกมาเป็นวัตถุประสงค์เชิงนำ ซึ่งได้รับการกล่าวขานในระดับนานาชาติขึ้นมาในปี 1987 โดยเฉพาะเมื่อปรากฏออกมาเป็นรายละเอียดส่วนหนึ่ง ที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนอยู่ภายในรายงานจากคณะกรรมการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ขององค์การสหประชาชาติ ภายใต้หัวข้อของการประชุมที่เรียกว่า “อนาคตร่วมของพวกเรา” [174] และต่อมาถูกเรียกชื่อว่า เป็น “วาระระดับโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดประการสำคัญที่ว่า การพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น เพื่อต้องการมุ่งเน้นสำหรับการเข้าถึงระดับความสามารถในการตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการของสังคม ในระหว่างที่อาศัยอยู่ร่วมกันภายใต้ขอบเขตที่จำกัดของระบบนิเวศโลกแห่งนี้ และจะต้องดำเนินเป็นไปโดยที่ปราศจากการกัดเซาะบ่อนทำลายในระดับความสามารถดังกล่าว หรือเมื่อเป็นไปตรงตามความต้องการของแต่ละรายบุคคลในช่วงอายุอนาคตข้างหน้าได้อีกประการหนึ่งด้วย เพราะฉะนั้นรายละเอียดของการพัฒนาแบบยั่งยืนดังกล่าว จึงประกอบไปด้วยมิติที่สำคัญอยู่ 3 ด้านด้วยกัน กล่าวคือ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดของมิติทั้ง 3 ด้านเช่นนี้ ล้วนต่างแสดงผลของความเป็นอิสระต่อกัน โดยเฉพาะวัตถุประสงค์หลักที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งอยู่ในสภาพปัจจุบันก็คือ การมุ่งเน้นรายละเอียดลงไปในเรื่องของการกำจัดสภาพความยากจนทั้งหลายให้หมดสิ้นลงไปได้ตามลำดับ รวมไปถึงการช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนเพื่อก่อให้เกิดขึ้นมาทั้งความยุติธรรมทางสังคม การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการช่วยปกป้องคุ้มครองต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประการสำคัญ
ถึงแม้ว่าจะมีผลของการประชุม/ การเสวนาในระดับนานาชาติเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากมายอยู่หลายครั้ง เพื่อกล่าวเน้นย้ำถึงระดับความสำคัญของวัตถุประสงค์เหล่านี้ ตลอดมาตั้งแต่ปี 1987 ขอยกตัวอย่างเช่น การประชุมสุดยอดระดับโลกที่ริโอ หรือการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ในปี 1992 และการประชุมสุดยอดระดับโลกในเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืนในปี 2002 เป็นต้น แต่ก็ยังคงปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนที่น้อยมากสำหรับการช่วยขับดันให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีความใกล้ชิดเข้ากับวัตถุประสงค์ที่ถูกกำหนดไว้แล้วในเบื้องต้นเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับการกระทำต่างๆ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ล้วนต้องการแนวทางปฏิบัติที่เด่นชัดในด้านความร่วมมืออย่างพร้อมเพรียงกันโดยอาศัยองค์การ หรือแต่ละรายบุคคลอยู่ร่วมด้วยเสมอ ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการพัฒนาแบบยั่งยืน ก็เพื่อต้องการให้บรรลุถึงการแสดงผลความรับผิดชอบที่จำเพาะเจาะจง และปรากฏผลออกมาเป็นสถานะภาพโดยรวมของ “ความยั่งยืน” ขึ้นมาในระดับชาติได้เป็นประการสุดท้าย
· ความรับผิดชอบต่อสังคม: กล่าวคือ รายละเอียดที่แสดงถึงขอบเขตของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว โดยจะถูกกำหนดผลขึ้นมาหรือมุ่งเน้นจำเพาะลงไปที่ระดับองค์การ และไม่ใช่เป็นผลเพื่อสะท้อนออกมาให้เห็นที่ระดับโลก ดังนั้นรายละเอียดของการปฏิบัติงาน SR จึงมีลักษณะที่แสดงความใกล้ชิด หรือสามารถเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาแบบยั่งยืน ทั้งนี้สืบเนื่องเหตุผลมาจากวัตถุประสงค์ของการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น ส่วนใหญ่จะแสดงผลของวัตถุประสงค์โดยรวมออกมาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องทุกคน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการแสดงถึงภาพรวมทั้งหมดในลักษณะที่เป็นความคาดหวังของสังคมแต่ละแห่ง ที่ล้วนมีความต้องการให้องค์การเช่นนั้น ต้องมีวิธีการดำเนินการบางประการเพื่อแสดงความรับผิดชอบขึ้นมาให้เห็นผลอยู่ได้โดยตรง เพราะฉะนั้นวิธีการปฏิบัติใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงความรับผิดชอบขององค์การเช่นนี้ จึงมีความหมายและวัตถุประสงค์ที่กว้างไกลออกไปเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการช่วยเหลือสนับสนุนผลของการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้เกิดขึ้นมาเป็นผลที่ดีได้อีกประการหนึ่งด้วย
สำหรับรายละเอียดของหลักการ วิธีการปฏิบัติ และเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมเหล่านี้ ได้ถูกอธิบายไว้ให้เห็นเป็นหัวข้อกำหนดหลักต่างๆ อยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้แล้วอย่างชัดเจนมากที่สุด และสามารถบูรณาการรวมตัวเข้าด้วยกันทั้งหมด เพื่อปรากฏออกมาเป็นรายละเอียดขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับแนวทางการปฏิบัติขององค์การ ที่ต้องการมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ประโยชน์สำหรับ SR ได้สืบต่อไปตามลำดับ เพราะฉะนั้นการตัดสินใจ และการกำหนดวิธีการปฏิบัติกิจกรรมประเภทใดๆ ขึ้นมาที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับการแสดงความรับผิดชอบขององค์การดังกล่าว จึงมีความหมายเป็นอย่างยิ่งในด้านการช่วยเหลือหรือสนับสนุนผลของการพัฒนาแบบยั่งยืนให้เกิดเป็นผลที่ดีขึ้นมาได้โดยตรง
นอกจากนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องสังเกตเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งว่า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาแบบยั่งยืน ตามรายละเอียดที่ได้อธิบายไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น ก็เพื่อต้องการก่อให้เกิดการบรรลุถึงสภาพของความยั่งยืนต่อสังคมในภาพรวมทั้งหมดหรือในระดับโลกขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีการพิจารณาหรือคำนึงถึงเรื่องผลของความยั่งยืน หรือการดำรงสภาพอย่างยั่งยืนไว้สำหรับการปฏิบัติงานขององค์การแต่ละแห่งอยู่ในขณะนั้นๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นระดับความยั่งยืนขององค์การแต่ละแห่ง จึงอาจปรากฏผลออกมาให้เห็นได้ ทั้งในลักษณะที่มีความสอดคล้อง หรือเมื่อมีผลของความไม่สอดคล้องเข้ากับเรื่องของการพัฒนาแบบยั่งยืนของสังคมในภาพรวมก็ได้อีกเช่นกัน ซึ่งตามสภาพปรกติแล้วจะสามารถกระทำ เพื่อให้สามารถบรรลุถึงผลได้จากการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ทั้งประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในแนวทางของการปฏิบัติเชิงบูรณาการออกมาทั้งหมด นอกจากนี้รายละเอียดต่างๆ ของการบริโภคแบบยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการประกอบอาชีพทำมาหากินอย่างยั่งยืน ก็แสดงผลของความเกี่ยวข้องกับภาพรวมของการพัฒนาสังคมแบบยั่งยืนอยู่แทบทั้งสิ้น
ความสัมพันธ์ระหว่าง SR กับการพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวความคิดของ Triple Bottom Line Approach
XXXXXXXXX
888casino New Jersey - JTHub
ตอบลบ888casino New Jersey locations 구미 출장샵 in New Jersey. Use the 서산 출장샵 JT Hub locator 과천 출장안마 to see all casinos in 계룡 출장샵 New Jersey currently accepting 안성 출장샵 players.