หน้าเว็บ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 2 บทนำ)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 2: - บทนำ (Introduction)
Introduction
Organizations around the world, and their stakeholders, are becoming increasingly aware of the need for and benefits of socially responsible behavior. The objective of social responsibility is to contribute to sustainable development.
An organization's performance in relation to the society in which it operates and to its impact on the environment has become a critical part of measuring its overall performance, and its ability to continue operating effectively. This is, in part, a reflection of the growing recognition of the need to ensure healthy eco-systems, social equity and good organizational governance. In the long run, all organizations’ activities depend on the health of the world’s ecosystems. Organizations are subject to greater scrutiny by their various stakeholders. The perception and reality of an organization’s performance on social responsibility can influence, among other things:
- its competitive advantage;
- its reputation;
- its ability to attract and retain workers or members, customers, clients or users;
- the maintenance of employee’s morale, commitment and productivity;
- the view of investors, owners, donors, sponsors and the financial community; and
- its relationship with companies, government, the media, suppliers, peers, customers and the community in which it operates.
This International Standard provides guidance on the underlying principles of social responsibility, recognizing social responsibility and engaging stakeholders, the core subjects and issues pertaining to social responsibility (see Table 2) and on ways to integrate socially responsible behavior into existing organizational (see Figure 1). This International Standard emphasizes the importance of results and improvements in performance on social responsibility.
This International Standard is intended to be useful to all types of organizations in the private, public and non profit sectors, whether large or small, and whether operating in the developed or developing countries. While not all parts of this International Standard will be of equal use to all types of organizations, all core subjects are relevant to every organization. All core subjects comprise a number of issues, and It is an individual organization’s responsibility to identify which issues are relevant and significant for the organization to address, through its own considerations and through dialogue with stakeholders.
Governmental organization, like any other organization, may wish to use this International Standard. However, it is not intended to replace, alter or in any way change the obligations of the state
Every organization is encouraged to become more socially responsible by using this International Standard.
Recognizing that organizations are at various stages of understanding and integrating social responsibility, this International Standard is intended for use by those beginning to address social responsibility, as well as those more experienced with its implementation. The beginner may find it useful to read and apply this International Standard as a primer on social responsibility, while the experienced user may wish to use it to improve existing practices and to further integrate social responsibility into the organization. Although this International Standard is meant to be read and used as a whole, readers looking for specific types of information on social responsibility may find the outline in Table 1 useful.
Box 1
provides summary information to assist users of this International Standard.
This International Standard provides guidance to users and is neither 63 intended nor appropriate for certification purposes. Any offer to certify to ISO 26000 or any claim to be certified to ISO 26000 would be a misrepresentation of the intent and purpose of this International Standard.
Reference to any voluntary initiative or tool in Annex A of this International Standard does not imply that ISO endorses or gives special status to that initiative or tool.
Table 1 — ISO 26000 outline
Clause title
Clause number
Description of clause contents
Scope
Clause 1
Defines the scope of this International Standard and identifies certain limitations and exclusions.
Terms and definitions
Clause 2
Identifies and provides the definition of key terms that are of fundamental importance for understanding social responsibility and for using this International Standard.
Understanding social responsibility
Clause 3
Describes the important factors and conditions that have influenced the development of social responsibility and that continue to affect its nature and practice. It also describes the concept of social responsibility itself - what it means and how it applies to organizations. The clause includes guidance for small and medium-sized organizations on the use of this International Standard.
Principles of social responsibility
Clause 4
Introduces and explains the principles of social responsibility.
Recognizing social responsibility and engaging stakeholders
Clause 5
Addresses two practices of social responsibility: an organization’s recognition of its social responsibility and its identification of and engagement with its stakeholders. It provides guidance on the relationship between an organization, its stakeholders and society, on recognizing the core subjects and issues of social responsibility and on an organization’s sphere of influence.
Guidance on social responsibility core subjects
Clause 6
Explains the core subjects and associated issues relating to social responsibility (see Table 2). For each core subject, information has been provided on its scope, its relationship to social responsibility, relevant principles and considerations, and related actions and expectations.
Guidance on integrating social responsibility throughout an organization
Clause 7
Provides guidance on putting social responsibility into practice in an organization. This includes guidance related to: understanding the social responsibility of an organization, integrating social responsibility throughout an organization, communication related to social responsibility, improving the credibility of an organization regarding social responsibility, reviewing progress and improving performance and evaluating voluntary initiatives for social responsibility.
Examples of voluntary initiatives and tools for social responsibility
Annex A
Presents a non-exhaustive list of voluntary initiatives and tools related to social responsibility that address aspects of one or more core subjects or the integration of social responsibility throughout an organization.
Abbreviated terms
Annex B
Contains abbreviated terms used in this International Standard.
Bibliography

Includes references to authoritative international instruments and ISO Standards that are referenced in the body of this International Standard as source material.
Table 2 — Core subjects and issues of social responsibility
Core subjects and issues
Addressed in sub-clause
Core subject: Organizational governance
6.2
Core subject: Human rights
6.3
Issue 1: Due diligence
6.3.3
Issue 2: Human rights risk situations
6.3.4
Issue 3: Avoidance of complicity
6.3.5
Issue 4: Resolving grievances
6.3.6
Issue 5: Discrimination and vulnerable groups
6.3.7
Issue 6: Civil and political rights
6.3.8
Issue 7: Economic, social and cultural rights
6.3.9
Issue 8: Fundamental principles and rights at work
6.3.10
Core subject: Labor Practices
6.4
Issue 1: Employment and employment relationships
6.4.3
Issue 2: Conditions of work and social protection
6.4.4
Issue 3: Social dialogue
6.4.5
Issue 4: Health and safety at work
6.4.6
Issue 5: Human development and training in the workplace
6.4.7
Core subject: The environment
6.5
Issue 1: Prevention of pollution
6.5.3
Issue 2: Sustainable resource use
6.5.4
Issue 3: Climate change mitigation and adaptation
6.5.5
Issue 4: Protection of environment, biodiversity and restoration of the natural habitats
6.5.6
Core subject: Fair operating practices
6.6
Issue 1: Anti–corruption
6.6.3
Issue 2: Responsible political involvement
6.6.4
Issue 3: Fair competition
6.6.5
Issue 4: Promoting social responsibility in the value chain
6.6.6
Issue 5: Respect for property rights
6.6.7
Core subject: Consumer issues
6.7
Issue 1: Fair marketing, factual and unbiased information and fair contractual practices
6.7.3
Issue 2: Protecting consumers’ health and safety
6.7.4
Issue 3: Sustainable consumption
6.7.5
Issue 4: Consumer service, support, and complaint and dispute resolution
6.7.6
Issue 5: Consumer data protection and privacy
6.7.7
Issue 6: Access to essential services
6.7.8
Issue 7: Education and awareness
6.7.9
Core subject: Community involvement and development
6.8
Issue 1: Community involvement
6.8.3
Issue 2: Education and culture
6.8.4
Issue 3: Employment creation and skills development
6.8.5
Issue 4: Technology development and access
6.8.6
Issue 5: Wealth and income creation
6.8.7
Issue 6: Health
6.8.8
Issue 7: Social investment
6.8.9

Figure 1 — Schematic overview of ISO 26000 


Figure 1 provides an overview of ISO 26000, and is intended to assist organizations in understanding how to use this standard. The following points provide guidance on using this standard.
- After considering the characteristics of social responsibility and its relationship with sustainable development (Clause 3), it is suggested that an organization should review the principles of social responsibility described in Clause 4. In practising social responsibility, organizations should respect and address these principles, along with the principles specific to each core subject (Clause 6).
- Before analyzing the core subjects and issues of social responsibility, as well as each of the related actions and expectations (Clause 6), an organization should consider two fundamental practices of social responsibility: recognizing its social responsibility within its sphere of influence, and identifying and engaging with its stakeholders (Clause 5).
- Once the principles have been understood, and the core subjects and relevant and significant issues of social responsibility have been identified, an organization should seek to integrate social responsibility throughout its decisions and activities, using the guidance provided in Clause 7. This involves practices such as: making social responsibility integral to its policies, organizational culture, strategies and operations; building internal competency for social responsibility; undertaking internal and external communication on social responsibility; and regularly reviewing these actions and practices related to social responsibility.
- Further guidance on the core subjects and integration practices of social responsibility is available from authoritative sources (Bibliography) and from various voluntary initiatives and tools (some global examples of which are presented in Annex A).
When approaching and practising social responsibility, the overarching goal for an organization is to maximize its contribution to sustainable development.


Box 1 – Summary information to assist users of this International Standard
ISO defines a standard as a document, established by consensus and approved by a recognized body that provides, for common and repeated use, rules, guidelines or characteristics for activities or their results, aimed at the achievement of the optimum degree of order in a given context (ISO/IEC Guide 2:2004 [39], definition 3.2).
ISO terminology (based on ISO/IEC Directives Part 2, Annex H)
This International Standard contains no requirements and therefore the word “shall”, which indicates a requirement in ISO language, is not used. Recommendations use the word "should". In some countries, certain recommendations of ISO 26000 are incorporated into law, and are therefore legally required.
The word "may" is used to indicate that something is permitted. The word "can" is used to indicate that something is possible, for example, that an organization or individual is able to do something.
An International Standard providing guidance does not contain requirements but may contain recommendations.
In ISO/IEC Directives, Part 2, a recommendation is defined as an “expression in the content of a document conveying that among several possibilities one is recommended as particularly suitable, without mentioning or excluding others, or that a certain course of action is preferred but not necessarily required, or that (in the negative form) a certain possibility or course of action is deprecated but not prohibited.”
Terms that are not defined in Clause 2 are used in the common sense of the word, assuming their dictionary meanings.
Purpose of informative annex (based on ISO/IEC Directives Part 2, 6.4.1)
The Informative Annex A to this International Standard gives additional information intended to assist understanding and use of the document; it does not itself constitute part of its guidance nor is it referenced in the text of this International Standard. Annex A provides a non-exhaustive list of existing voluntary initiatives and tools related to social responsibility. It provides examples of these and draws attention to additional guidance that may be available, helping users to compare practices with those of others organizations. The
fact that an initiative or tool is listed in Annex A does not mean that this initiative or tool is endorsed by ISO.
Bibliography
The Bibliography, which is an integral part of this International Standard, provides information to identify and locate the documents referenced in the text. It consists of references to international instruments that are considered authoritative source for the recommendations in this International Standard. These instruments may contain additional useful guidance and information; ISO 26000 users are encouraged to consult them to better understand and implement social responsibility. References are shown in the text by superscript numbers in square brackets.
NOTE Reference numbers are not assigned in the order of the documents’ appearance in the text. ISO documents are listed first; then the remaining documents are listed in alphabetical order of the issuing organization.
Text boxes
Text boxes provide supplementary guidance or illustrative examples. Text in boxes should not be considered less important than other text.


คำอธิบาย
บทนำ
        องค์การต่างๆ ทั่วโลก และยังครอบคลุมรวมไปถึงในส่วนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับองค์การเหล่านั้น กำลังแสดงความตระหนักหรือกระตือรือร้นที่มากเพิ่มขึ้นในส่วนของการมีความจำเป็น หรือการได้รับผลประโยชน์ที่ดีขึ้นมาอย่างแท้จริงสำหรับการสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม หรือสามารถยอมรับกันได้โดยทั่วไปในด้านของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้เห็นผลปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นได้มากที่สุด ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักที่มุ่งเน้นในเรื่องของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมก็คือ การแบ่งปัน หรือการช่วยเหลือสนับสนุนต่อการพัฒนาแบบยั่งยืน และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงการมีสุขภาพที่ดี และการอยู่ดีมีสุขของสังคม เป็นต้น
        การแสดงผลของความรับผิดชอบต่อสังคม กำลังเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลสำคัญประการหนึ่งต่อการกำหนด ผลลัพธ์หรือระดับความสามารถขององค์การแต่ละแห่ง และรายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นไปมากกว่านั้นก็คือ การแสดงระดับความสามารถขององค์การ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรากฏสภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่องค์การแห่งนั้นกำลังดำเนินงานอยู่ และยังรวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งกำลังเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญ ต่อการวัดผลระดับความสำเร็จสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การออกมาในภาพรวมทั้งหมด และการแสดงถึงระดับความสามารถขององค์การที่จะต้องปฏิบัติงานที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาอีกร่วมด้วย เพราะฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นในบางส่วนก็คือ การช่วยชี้บ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับที่เพิ่มพูนมากขึ้น สำหรับความต้องการที่กำหนดให้องค์การแต่ละแห่ง จะต้องมีการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจได้ถึงการมีสภาพสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ที่ดี การแสดงลักษณะความเท่าเทียมกันทางสังคม และการปรากฏลักษณะธรรมาภิบาลขององค์การเกิดขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อต้องคำนึงถึงผลในระยะยาวของการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นอีกร่วมด้วยแล้วนั้น การปฏิบัติกิจกรรมของทุกองค์การ ยังแสดงความเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนสัมพันธ์อยู่โดยตรงกับการปรากฏสภาพความมั่งคั่งหรือการมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เกิดขึ้นในระดับโลกเป็นส่วนสำคัญ นอกจากนี้ในปัจจุบันองค์การทั้งหลาย ยังกำลังถูกพินิจพิเคราะห์หรือค้นหารายละเอียดลงไปอย่างถี่ถ้วน หรือมีการตรวจสอบผลของการปฏิบัติงานที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย ที่ปรากฏอยู่ภายนอกองค์การแห่งนั้น ซึ่งครอบคลุมรวมไปถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค พนักงาน1 และสหภาพการค้า สมาชิกที่อยู่ภายในองค์การ ชุมชน องค์การ/ หน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ นักศึกษา นักการเงิน ผู้บริจาค นักลงทุน บริษัทธุรกิจ และห้างร้านที่ทำการค้าขายต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นการแสดงผลของการรับรู้ หรือลักษณะความเป็นจริงที่ควรยอมรับนับถือขึ้นมาได้สำหรับการแสดงผลของการปฏิบัติงาน หรือการมีระดับความสามารถของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับองค์การแต่ละแห่ง จึงอาจมีอิทธิพลต่อรายละเอียดที่สำคัญหรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมอยู่ด้วย ดังนี้
        - การช่วยเสริมสร้าง และการเพิ่มเติมความได้เปรียบทางการแข่งขัน
        - การช่วยยกระดับความมีชื่อเสียงโดยทั่วไปขององค์การให้เพิ่มสูงขึ้นมาได้ตามลำดับ
          - การมีระดับความสามารถในการช่วยดึงดูด หรือรักษาสภาพไว้ได้สำหรับพนักงาน คนงานชายหญิง และหรือสมาชิกภายในองค์การแห่งนั้น และรวมไปถึงลูกค้า ผู้ว่าจ้าง หรือผู้ใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการขององค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง
        - การดำรงรักษาไว้ซึ่งขวัญ/ กำลังใจของพนักงาน ความมุ่งมั่น และการสร้างผลิตภาพที่ดีขึ้นมาตามลำดับสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในองค์การแห่งนั้น
        - การเพิ่มมุมมองหรือทัศนคติที่ดี หรือมีความถูกต้องขึ้นมาต่อนักลงทุน ผู้บริจาค เจ้าของกิจการแห่งนั้น ผู้บริจาค ผู้สนับสนุน และประชาคมทางด้านการเงินต่างๆ และ
          - การดำรงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับบริษัท/ ห้างร้านต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ สื่อสารมวลชน คู่ค้า/ ผู้ส่งมอบ ผู้ที่มีลักษณะความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน ลูกค้า และชุมชนที่องค์การแห่งนั้นกำลังปฏิบัติงานอยู่ เป็นต้น
        มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้จึงได้ให้รายละเอียดของเนื้อหาต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เป็น ข้อแนะนำ/ ข้อที่ควรปฏิบัติ โดยแสดงความเกี่ยวข้องกับหลักการในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ลักษณะการยอมรับหรือคำนึงถึงเรื่อง SR และผลของการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ การพิจารณาถึงเนื้อหาหลัก และประเด็นที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR (พิจารณารายละเอียดในตารางที่ 2 ประกอบด้วย) และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงแนวทางต่างๆ ขององค์การที่จะต้องมีการบูรณาการพฤติกรรมด้าน SR เข้าไปสู่การปฏิบัติงานภายในองค์การแห่งนั้น โดยผ่านขั้นตอนของการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การขึ้นมาอย่างเด่นชัด การปฏิบัติงานในเชิงระบบ การกำหนดวิธีปฏิบัติงานและกระบวนการต่างๆ ที่เหมาะสม เป็นต้น (พิจารณารายละเอียดในรูปที่ 1 ประกอบด้วย) นอกจากนี้มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ยังต้องการมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของผลลัพธ์ และการปรับปรุงผลของการปฏิบัติงานด้าน SR ภายในองค์การแต่ละแห่ง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นผลของความก้าวหน้าเกิดขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่องตามลำดับ
        นอกจากนี้รายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ยังมีความตั้งใจ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้สำหรับทุกประเภทขององค์การที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของเอกชน ภาคสาธารณะ และในภาคส่วนที่ไม่หวังมุ่งผลกำไร โดยทั้งนี้อาจจะต้องไม่คำนึงถึงขนาดใหญ่หรือเล็กขององค์การ หรือไม่ว่าจะมีการปฏิบัติงานอยู่ภายในพื้นที่ส่วนใดของโลก ทั้งกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาก็ตาม ในขณะที่รายละเอียดเกือบทุกส่วนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จะถูกคัดเลือกหรือมีการแนะนำขึ้นมา เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกประเภทขององค์การ แต่ทั้งนี้เนื้อหาหลักของ SR ที่กล่าวถึงทั้งหมด จะต้องแสดงความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับทุกประเภทขององค์การแห่งนั้น โดยเฉพาะทุกเนื้อหาหลักเหล่านั้น ล้วนจะประกอบไปด้วยรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ที่ควรพิจารณานึกถึงเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงต้องถือว่าเป็นความรับผิดชอบขององค์การแต่ละแห่ง ที่จำเป็นจะต้องมีการระบุชี้บ่งออกมาอย่างชัดเจนว่า รายละเอียดของเนื้อหาหลัก และประเด็น SR ประการสำคัญอะไรที่แสดงความเกี่ยวข้อง และมีระดับนัยสำคัญต่อองค์การของตนเอง ซึ่งจะสามารถกำหนดขึ้นมาเป็นข้อควรพิจารณาที่มีความเหมาะสมได้ หรืออาจอาศัยการปฏิบัติงาน โดยมีการระบุชี้บ่งผ่านมาออกมาจากการพบปะเจรจาร่วมกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ก็กระทำได้อีกเช่นเดียวกัน
        ในส่วนของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่จากภาครัฐบาลทั้งหลาย ซึ่งมีรายละเอียดของการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับองค์การประเภทอื่นๆ อาจมีความปรารถนาและต้องการที่จะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับข้อแนะนำจากรายละเอียดมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ เพื่อชี้บ่ง หรือระบุออกมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SR สำหรับหน่วยงานของตนเอง ก็สามารถปฏิบัติได้อีกเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามวิธีการ และลักษณะการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานเช่นนั้น จะต้องไม่ถูกกระทำขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นการทดแทน หรือมีลักษณะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติหรือแนวทางประการใดๆ ก็ตามต่อการแสดงผลของความผูกมัดตนเองเข้ากับอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติจากทางภาครัฐได้แทบทั้งสิ้น
        องค์การทุกประเภทที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง ล้วนจะถูกกระตุ้น ก็เพื่อต้องการให้แสดงถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ไว้เป็นกฎเกณฑ์หลักที่จำเป็นต้องยึดถือ รวมไปถึงความจำเป็นจะต้องมีการแสดงผลการผูกมัดตนเองขององค์การแห่งนั้นเข้ากับระดับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการหรือเมื่อเป็นความคาดหวังของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และครอบคลุมรายละเอียดรวมไปการยึดถือวิธีปฏิบัติงานขององค์การ เพื่อให้มีผลของความสอดคล้องเข้ากับรายละเอียดของกฎหมายประจำชาติ และการแสดงความเคารพนับถือต่อหลักการของพฤติกรรมที่ปรากฏเป็นบรรทัดฐานในระดับนานาชาติอยู่อีกร่วมด้วยเสมอ


รูปแบบ (จำลอง) ในลักษณะปิรามิดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ

        นอกจากนี้ยังต้องระลึกนึกถึงในเบื้องต้นอีกประการหนึ่งด้วยว่า องค์การแต่ละแห่งล้วนต่างมีการดำเนินการ ทั้งในส่วนของระดับความเข้าใจ หรือการบูรณาการรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้าน SR ปรากฏผลขึ้นมาอยู่ในระดับที่แตกต่างกันออกไปเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ และความมุ่งหวัง เพื่อต้องการให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์สำหรับองค์การประเภทใดๆ ก็ตาม ที่สามารถปฏิบัติงานให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดขอบเขตของเนื้อหา SR ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หรืออาจเป็นไปได้ในลักษณะเช่นเดียวกับองค์การอื่นๆ ที่ในขณะนั้นได้มีประสบการณ์ หรือผ่านการปฏิบัติงานจัดตั้ง SR ขึ้นมาแล้วอยู่ภายในองค์การ และอาจปรากฏผลเกิดขึ้นอยู่ในระดับหนึ่งก็ได้อีกเช่นกัน สำหรับในกรณีขององค์การที่เป็นผู้เริ่มต้นปฏิบัติงานใหม่ๆ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเป็นประโยชน์ขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด จึงควรทำการศึกษา ค้นคว้าและอ่านรายละเอียดเนื้อหาของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดสำหรับการปฏิบัติงานด้าน SR เป็นประการสำคัญ ซึ่งจะแสดงผลของความแตกต่างกับองค์การที่ผ่าน หรือได้มีประสบการณ์ของการปฏิบัติงาน SR อยู่ในระดับหนึ่งแล้วนั้น อาจทำการศึกษา หรือปรารถนามุ่งหวังลงไปในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ที่กระทำอยู่แล้วในขณะนั้นๆ โดยเฉพาะการมุ่งเน้นบูรณาการรายละเอียดของการปฏิบัติงาน SR ทั้งหลาย ให้สามารถแพร่กระจายเข้าไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การได้ตามลำดับเป็นเรื่องที่สำคัญและควรยึดถืออยู่มากกว่า โดยทั่วไปถึงแม้ว่ารายละเอียด/ เนื้อหาต่างๆ ที่บรรจุอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จำเป็นต้องอ่าน หรือถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ในภาพรวมทั้งหมดทั่วทั้งองค์การ แต่อย่างไรก็ตามผู้อ่าน ก็ยังสามารถทำการสืบค้นหาข้อมูล/ สารสนเทศจำเพาะจากแหล่งอื่นๆ ของ SR เพิ่มเติมขึ้นมาได้ตามรายละเอียดของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง หรือเมื่อถูกระบุเป็นไปตามโครงร่างที่กำหนดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วในตารางที่ 1 ข้างล่างนี้ โดยเฉพาะรายละเอียดของเนื้อหาภายในกล่องที่ 1 ยังได้กล่าวถึงผลสรุปของแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่มีความสำคัญ และในที่สุดจะมีส่วนช่วยเหลือต่อผู้ใช้ประโยชน์จากมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ให้มีความเข้าใจในรายละเอียดของเนื้อหา SR ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
        รายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ยังปรากฏไว้ให้เห็นเป็นข้อแนะนำ หรือแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการจะนำไปใช้ประโยชน์รายต่างๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ หรือความต้องการแสดงไว้อย่างแท้จริงในการมุ่งหวังผลความสำเร็จต่อการยื่นขอรับรองใบประกาศนียบัตรตามลำดับ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการแสดงเจตจำนงในความต้องการดังกล่าวขึ้นมา เพื่อให้ได้รับผลการรับรองใบประกาศนียบัตรตรงตามรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ทุกประการแล้วเช่นนั้น จึงถือว่า เป็นเรื่องของความเข้าใจที่ผิดออกไปจากวัตถุประสงค์ หรือความต้องการของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้เป็นประการสำคัญ
        ส่วนแหล่งอ้างอิงประเภทต่างๆ ที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ เช่น มาตรฐานอื่นๆ เครื่องมือกำกับ/ สิ่งริเริ่มประเภทต่างๆ ที่เป็นไปด้วยความสมัครใจ เป็นต้น ไม่ได้หมายความว่า องค์การ ISO จำเป็นต้องแสดงความเห็นพ้องต้องกันอยู่ร่วมด้วย หรือให้การยอมรับในสถานภาพเป็นพิเศษสำหรับการปฏิบัติงานตามแหล่งอ้างอิงหรือเครื่องมือเหล่านั้น เป็นไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แทบทั้งสิ้น
ตารางที่ 1 โครงร่าง และเนื้อหาของมาตรฐาน ISO 26000
หัวข้อกำหนด
ลำดับที่ของหัวข้อกำหนด
รายละเอียด/ เนื้อหาของหัวข้อกำหนด
ขอบเขต
1
กำหนด/ ระบุถึงเนื้อหา และขอบเขตของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ สิ่งชี้บ่งที่จำเป็น และข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นบางประการในการปฏิบัติงาน
คำศัพท์ และคำจำกัดความ
2
ระบุและให้ความหมาย หรือคำจำกัดความสำหรับคำศัพท์หลักที่ใช้ประโยชน์ หรือเมื่อถูกบรรจุไว้เป็นเนื้อหาอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ โดยคำศัพท์ต่างๆ จะปรากฏเป็นความสำคัญขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เข้าใจถึงแนวความคิดของ SR และการใช้ประโยชน์อื่นๆ ต่อไปจากมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้
ความเข้าใจเกี่ยวกับ SR
3
อธิบายถึงปัจจัย เงื่อนไข และประเด็นที่สำคัญ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนา SR และสืบเนื่องลงไปสู่การแสดงผลออกมาตามธรรมชาติ และวิธีการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่กระทำอยู่ภายในองค์การ นอกจากนี้ยังอธิบายถึงแนวความคิดของ SR ออกมาให้เห็นถึงรายละเอียด ความหมายที่เด่นชัด และการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไรสำหรับองค์การแต่ละแห่ง รายละเอียดของหัวข้อกำหนดนี้ ยังจะครอบคลุมไปถึงข้อแนะนำในการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้สำหรับองค์การประเภทขนาดเล็กและกลางได้อีกด้วย
หลักการของ SR
4
แนะนำและอธิบายถึงหลักการพื้นฐานโดยทั่วไป และวิธีการปฏิบัติของ SR
การยอมรับ SR และการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ
5
การระบุ และกำหนดการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน 2 ประการของ SR ได้แก่ การยอมรับขององค์การต่อ SR และการระบุชี้บ่งสำหรับการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้จะเป็นการให้รายละเอียดสำหรับการปรากฏเป็นข้อแนะนำออกมาเพิ่มเติม ในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมาร่วมกันระหว่างองค์การ กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ  และสังคมที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง รวมไปถึงการพิจารณายอมรับในรายละเอียดของเนื้อหาหลัก ประเด็น SR ต่างๆ ที่สำคัญ และการปรากฏสภาพบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลสำหรับองค์การแห่งนั้นอยู่ร่วมด้วย
ข้อแนะนำสำหรับเนื้อหาหลักของ SR
6
อธิบายถึงเนื้อหาหลัก และประเด็นสำคัญต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ SR (พิจารณาตารางที่ 2) นอกจากนี้ในแต่ละเนื้อหาหลักเหล่านี้ ยังอธิบายให้เห็นถึงรายละเอียดของขอบเขตเนื้อหา การแสดงความสัมพันธ์ร่วมกับ SR หลักการที่เกี่ยวข้องและข้อควรพิจารณาคำนึงถึง และวิธีการปฏิบัติที่จำเพาะ และ/ หรือเมื่อเป็นความคาดหวังที่ต้องการประกอบไว้เพิ่มเติมอีกด้วย
ข้อแนะนำสำหรับวิธีการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคม ให้แพร่หลาย และกระจายเข้าไปสู่องค์การอย่างทั่วถึง
7
ระบุถึงข้อแนะนำในทางปฏิบัติด้าน SR เพื่อนำไปสู่ หรือการจัดตั้งขึ้นมาภายในองค์การได้ตามลำดับ รายละเอียดเช่นนี้ยังจะครอบคลุมไปถึงข้อแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำความเข้าใจในรายละเอียด SR สำหรับองค์การ การบูรณาการ SR ให้แพร่กระจายเข้าไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ การสื่อสารรายละเอียดของ SR การปรับปรุงระดับความน่าเชื่อถือขององค์การที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน SR การทบทวนผลความก้าวหน้า การปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน และการประเมินถึงรายละเอียดของสิ่งริเริ่มด้วยความสมัครใจประเภทต่างๆ ที่มีความเหมาะสมกับ SR สำหรับองค์การแต่ละแห่ง เป็นต้น
ตัวอย่างของสิ่งริเริ่มด้วยความสมัครใจ และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR
ภาคผนวก A
นำเสนอรายชื่อที่ครอบคลุมเป็นไปอย่างกว้างขวางสำหรับรายละเอียดของสิ่งริเริ่มด้วยความสมัครใจ และเครื่องมือประเภทต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง โดยมีการระบุถึงมิติ หรือมุมมองที่มากกว่าหนึ่งด้านสำหรับรายละเอียดของเนื้อหาหลักประการต่างๆ ที่แสดงความสำคัญ และจำเป็นจะต้องมีการบูรณาการรายละเอียดของ SR เหล่านี้ ให้สามารถแพร่กระจายเข้าไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การเกิดขึ้นได้ตามลำดับ
คำย่อ
ภาคผนวก B
นำเสนอรายละเอียดของคำย่อต่างๆ ที่ถูกใช้ประโยชน์อยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้
บรรณานุกรม
-
ระบุถึงแหล่งอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏเป็นเครื่องมือที่สำคัญ และมาตรฐาน ISO ต่างๆ รายละเอียดของรายชื่อหน่วยงาน/ องค์การต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไป ซึ่งถูกกล่าวถึงไว้แล้วอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ทั้งสิ้น
ตารางที่ 2 เนื้อหาหลัก และประเด็นที่สำคัญต่างๆ ของ SR
เนื้อหาหลัก และประเด็นสำคัญ
การระบุไว้ภายในหัวข้อกำหนดย่อย
เนื้อหาหลัก: ธรรมาภิบาลองค์การ
6.2
เนื้อหาหลัก: สิทธิมนุษยชน
6.3
ประเด็นที่ 1: การประเมินถึงผลกระทบหรือสิทธิอันควรจะได้รับตามกฎหมายก่อนเป็นการล่วงหน้า
6.3.3
ประเด็นที่ 2: สถานการณ์ความเสี่ยงของสิทธิมนุษยชน
6.3.4
ประเด็นที่ 3: การหลีกเลี่ยงการสมรู้ร่วมคิด
6.3.5
ประเด็นที่ 4: การแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ และความเดือดร้อน
6.3.6
ประเด็นที่ 5: การแสดงความแบ่งแยกกีดกัน และการให้ความสนใจสำหรับกลุ่มบุคคลที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
6.3.7
ประเด็นที่ 6: สิทธิพลเมืองและทางการเมือง
6.3.8
ประเด็นที่ 7: สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
6.3.9
ประเด็นที่ 8: หลักการพื้นฐานและสิทธิในการทำงาน
6.3.10
เนื้อหาหลัก: การปฏิบัติด้านแรงงาน
6.4
ประเด็นที่ 1: การจ้างงาน และความสัมพันธ์ในการจ้างงาน
6.4.3
ประเด็นที่ 2: เงื่อนไขของการทำงาน และการปกป้องคุ้มครองทางสังคม
6.4.4
ประเด็นที่ 3: การพบปะ/ การเจรจาหารือทางสังคม
6.4.5
ประเด็นที่ 4: สุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน
6.4.6
ประเด็นที่ 5: การพัฒนามนุษย์ และการฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน
6.4.7
เนื้อหาหลัก: สิ่งแวดล้อม
6.5
ประเด็นที่ 1: การป้องกันมลพิษ
6.5.3
ประเด็นที่ 2: การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน
6.5.4
ประเด็นที่ 3: การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการปรับสภาพ
6.5.5
ประเด็นที่ 4: การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และการฟื้นฟูสถานที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ
6.5.6
เนื้อหาหลัก: การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
6.6
ประเด็นที่ 1: การต่อต้านคอร์รัปชั่น
6.6.3
ประเด็นที่ 2: การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ
6.6.4
ประเด็นที่ 3: การแข่งขันที่เป็นธรรม
6.6.5
ประเด็นที่ 4: การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้ขอบเขตของคุณค่าของสายโซ่
6.6.6
ประเด็นที่ 5: การเคารพในสิทธิของทรัพย์สิน
6.6.7
เนื้อหาหลัก: ประเด็นด้านผู้บริโภค
6.7
ประเด็นที่ 1: การตลาดที่เป็นธรรม การให้ข้อมูล/ สารสนเทศที่เป็นความจริงหรือไม่มีอคติ และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสัญญาที่กำหนดไว้
6.7.3
ประเด็นที่ 2: การปกป้องคุ้มครองสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค
6.7.4
ประเด็นที่ 3: การบริโภคอย่างยั่งยืน
6.7.5
ประเด็นที่ 4: การบริการให้กับผู้บริโภค การสนับสนุน และการแก้ไขคำร้องเรียนหรือข้อโต้แย้งต่างๆ
6.7.6
ประเด็นที่ 5: การปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค
6.7.7
ประเด็นที่ 6: การเข้าถึงงานบริการที่จำเป็น
6.7.8
ประเด็นที่ 7: การศึกษา และการสร้างความตระหนัก
6.7.9
เนื้อหาหลัก: การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนา
6.8
ประเด็นที่ 1: การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
6.8.3
ประเด็นที่ 2: การศึกษาและวัฒนธรรม
6.8.4
ประเด็นที่ 3: การสร้างหรือว่าจ้างงาน และการพัฒนาทักษะ
6.8.5
ประเด็นที่ 4: การพัฒนาเทคโนโลยีและการเข้าถึง
6.8.6
ประเด็นที่ 5: ความมั่งคั่ง และการสร้างรายได้
6.8.7
ประเด็นที่ 6: สุขภาพ
6.8.8
ประเด็นที่ 7: การลงทุนทางสังคม
6.8.9

รูปที่ 1 แผนภาพโดยรวมของ ISO 26000 (รายละเอียดมีความเป็นไปเช่นเดียวกับที่ระบุไว้อยู่ภายใน Figure 1 ของภาคภาษาอังกฤษ)
         รูปที่ 1 ดังกล่าวได้นำเสนอรายละเอียดออกมาในภาพรวมทั้งหมดของ ISO 26000 โดยมีความตั้งใจและต้องการที่จะช่วยเหลือทำให้องค์การทั้งหลาย ได้มีความเข้าใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐานฉบับนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นรายละเอียดของประเด็นบางประการที่กล่าวถึงต่อไปนี้ สมควรจะปรากฏออกมาเป็นแนวทาง หรือข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานฉบับนี้โดยตรง กล่าวคือ
       - ภายหลังจากเมื่อได้มีการพิจารณาถึงคุณลักษณะที่สำคัญของ SR และครอบคลุมรวมไปถึงการแสดงความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วนั้น (เป็นไปตามรายละเอียดที่ระบุไว้อยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 3) จึงมีคำแนะนำที่เหมาะสมบางประการสำหรับองค์การแต่ละแห่งที่จำเป็นจะต้องมีการทบทวนถึงรายละเอียดของหลักการ SR ซึ่งได้มีการอธิบายไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยแล้วอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 4 ตามลำดับ นอกจากนี้ในการปฏิบัติงาน SR ดังกล่าวเช่นนั้น องค์การสมควรจะได้แสดงถึงความเคารพนับถือ และมีการระบุถึงรายละเอียดของหลักการต่างๆ เหล่านี้ออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด หรือมีผลของความสอดคล้องดังกล่าวเป็นไปตรงตามรายละเอียดของเนื้อหาหลักของ SR ในแต่ละเรื่องอีกร่วมด้วยเสมอ (เป็นไปตรงตามรายละเอียดที่ระบุไว้แล้วอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 5 เป็นประการสำคัญ)
       - ส่วนในกรณีของระยะก่อนเริ่มต้นทำการวิเคราะห์ถึงเนื้อหาหลัก และประเด็นที่สำคัญต่างๆ ของ SR และเช่นเดียวกับการพิจารณาลงไปในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติ หรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นความคาดหวังอยู่ร่วมด้วยแล้วเช่นนั้น (ตามรายละเอียดของหัวข้อกำหนดที่ 6) องค์การแต่ละแห่งสมควรทำการพิจารณาในรายละเอียดของวิธีการปฏิบัติงาน SR ขั้นพื้นฐาน 2 ประการที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งด้วยกัน กล่าวคือ การคำนึงถึงหรือการยอมรับในรายละเอียดของการปฏิบัติงาน SR เมื่ออยู่ภายใต้ขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพล และการระบุ/ ชี้บ่งในเรื่องของการแสดงผลการผูกมัดตนเองขององค์การแห่งนั้นต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เป็นต้น (ระบุไว้แล้วตามรายละเอียดของหัวข้อกำหนดที่ 5)
       - ส่วนในกรณีที่หลักการ SR ทั้งหลาย ได้มีการทำความเข้าใจกันเป็นอย่างดีแล้วนั้น และครอบคลุมลงไปถึงรายละเอียดในส่วนของเนื้อหาหลัก และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SR เช่นนั้น ได้มีการกำหนดหรือถูกระบุ/ ชี้บ่งออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนร่วมด้วยแล้วอีกเช่นกัน องค์การจึงสมควรจะได้มีการปฏิบัติงานเพื่อบูรณาการรายละเอียดของ SR เหล่านั้น ให้ผ่านลงไปสู่กระบวนการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้นตามลำดับ ทั้งนี้อาจอาศัยรายละเอียดตามข้อแนะนำที่กำหนดไว้ให้แล้วอย่างชัดเจนดังในหัวข้อกำหนดที่ 7 เป็นประการสำคัญ สำหรับรายละเอียดของการปฏิบัติงานดังกล่าว ยังจะครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นไปอย่างหลากหลายมากนับตั้งแต่ในเรื่องของการบูรณาการ SR เพื่อให้ปรากฏผลออกมาเป็นรายละเอียดส่วนหนึ่งของการกำหนดนโยบายขององค์การแห่งนั้น การเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีขึ้นมาภายในองค์การ การกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม การเสริมสร้างสมรรถนะภายในสำหรับการปฏิบัติงาน SR การทำความเข้าใจในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร SR ซึ่งสามารถกระทำขึ้นมาได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ และการกำหนดการทบทวนขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอสำหรับวิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง เป็นต้น
       - สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อแนะนำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก SR บางประการ หรือวิธีการปฏิบัติงานอื่นๆ เพื่อบูรณาการ SR เช่นนั้น อาจทำการศึกษาเพิ่มเติมได้จากส่วนที่เป็นภาคบรรณานุกรม หรือจากตัวอย่างในส่วนของ สิ่งริเริมที่เป็นไปด้วยความสมัครใจซึ่งครอบคลุมรวมไปถึงเครื่องมือที่สำคัญประเภทต่างๆ (ตามที่ระบุ และถูกยกไว้ให้เห็นเป็นตัวอย่างอย่างชัดเจนด้วยแล้วในส่วนของ ภาคผนวก A)
       ในประการสุดท้ายเมื่อได้รับการปฏิบัติงาน SR ขึ้นมา และดำเนินเป็นไปอย่างแพร่หลาย หรือมีการครอบคลุมลงไปในรายละเอียดประเด็นต่างๆ เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการแล้วนั้น ก็จะเป็นผลสืบเนื่องต่อมาสำหรับการช่วยส่งเสริมทำให้องค์การแห่งนั้น สามารถเพิ่มระดับความสามารถของตนเอง และมีส่วนในการแบ่งปันหรือสนับสนุนช่วยเหลือต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปได้ตามลำดับ
กล่องที่ 1 สรุปสารสนเทศ และเนื้อหาบางประการ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้
องค์การ ISO ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานว่า จะต้องปรากฏรายละเอียดออกมาเป็นเอกสาร โดยอาศัยการจัดทำด้วยมติของความเห็นพ้องต้องกันทุกประการ และยังจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบเป็นเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับอยู่โดยตรง ทั้งนี้เพื่อมุ่งประโยชน์ในลักษณะของการใช้งานเป็นไปตามสภาพปกติหรือเพื่อใช้ประโยชน์ซ้ำขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น รวมถึงยังอาจครอบคลุมรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ที่ปรากฏว่า เป็นกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน แนวทางที่เป็นข้อแนะนำ การแสดงถึงคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมประเภทต่างๆ หรือการแสดงถึงผลลัพธ์ โดยมุ่งเน้นต้องการกระทำ เพื่อให้บรรลุถึงระดับหรือความต้องการที่เหมาะสม หรือเมื่อดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้บริบทที่ถูกกำหนดไว้ให้เป็นประการสำคัญ (ตามรายละเอียดที่ระบุไว้แล้วอย่างชัดเจนอยู่ภายใน ISO/IEC Guide 2:2004 [39] คำจำกัดความที่ 3.2)
การกำหนดคำศัพท์ขององค์การ ISO (โดยยึดถือเป็นไปตามรายละเอียดพื้นฐานที่กำหนดไว้อยู่ภายในกฎเกณฑ์ของ ISO/IEC Directives ส่วน 2 ภาคผนวกที่ H)
เนื้อหาของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จะไม่ระบุถึงรายละเอียดของข้อกำหนดออกมาเป็นลักษณะที่เคร่งครัดอยู่มากนัก และเช่นเดียวกันการปรากฏของคำว่า ต้องปฏิบัติหรือกระทำ (shall)” ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อถูกระบุอยู่ภายในมาตรฐาน ISO ฉบับอื่นๆ โดยทั่วไปนั้น ไม่อาจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะที่ให้เป็นความหมายเช่นเดียวกันเมื่ออยู่ภายในมาตรฐานฉบับนี้ ส่วนรายละเอียดที่เป็นคำแนะนำที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย จะกล่าวถึงออกมาในลักษณะที่เป็นคำว่า สมควรกระทำหรือปฏิบัติ (should)” อยู่มากกว่า เป็นต้น นอกจากนี้ในบางประเทศ รายละเอียดที่เป็นคำแนะนำที่แสดงถึงความจำเพาะเจาะจงเช่นนั้น เมื่ออยู่ภายใต้ขอบเขตเนื้อหาของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับดังกล่าวนี้แล้ว ส่วนใหญ่จะแสดงผลของความสอดคล้องเข้ากับกฎหมายที่ต้องปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับชาติ หรือเป็นไปตรงตามความต้องการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ
ส่วนในกรณีของคำว่า อาจจะ (may)” จะถูกนำไปใช้ประโยชน์อยู่ภายในรายละเอียดของมาตรฐานฉบับนี้ เพื่อทำการระบุชี้บ่งถึงสภาพของบางสิ่งบางอย่างที่มีการอนุญาตให้กระทำหรือปฏิบัติขึ้นมาได้ต่อไปตามลำดับ ส่วนคำว่า สามารถ (can)” จะมุ่งนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยชี้บ่งเพิ่มเติมว่า บางสิ่งบางอย่างอาจกระทำขึ้นมาหรือเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ขอยกตัวอย่างประกอบให้เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ องค์การแห่งนั้นๆ หรือแต่ละรายบุคคลก็ตาม สามารถที่จะเข้าไปดำเนินการ หรือกระทำบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาเพื่อให้เห็นเป็นผลออกมาได้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ยังคงให้รายละเอียดที่ปรากฏเป็น แนวทางหรือข้อแนะนำ (Guidance)” เท่านั้น และไม่ใช่เป็นการระบุออกมาเพื่อเป็นรายละเอียดที่เป็นข้อกำหนดสำหรับการปฏิบัติงานตามที่ต้องดำเนินการเป็นไปอย่างเคร่งครัดเกิดขึ้นมากที่สุด แต่ทั้งนี้อาจประกอบไปด้วย
รายละเอียดของเนื้อหาบางส่วนในลักษณะของการเป็น คำแนะนำเพิ่มเติม (recommendation)” ขึ้นมาก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ที่ถูกระบุไว้อยู่ภายในกฎเกณฑ์ของ ISO/IEC Directives ส่วนที่ 2 จะให้ความหมายของคำว่า คำแนะนำเพิ่มเติม (recommendation)” นั้น จะมุ่งหมายลงไปถึงการแสดงรายละเอียดในเชิงบริบทที่ปรากฏออกมาเป็นเอกสาร โดยสามารถชี้บ่งให้เห็นได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งว่า ภายใต้แนวทางของการปฏิบัติที่อาจกระทำ หรือมีความเป็นไปได้ในหลายลักษณะต่างๆ เหล่านั้น อาจมีแนวทางที่ดีหรือมีความเด่นชัดเกิดขึ้นอยู่ประการหนึ่ง ซึ่งสมควรได้รับการเป็นคำแนะนำเพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับการนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ต้องปราศจากการไม่พูดกล่าวถึง หรือมีการเพิกเฉยละเลยสำหรับแนวทางปฏิบัติประการอื่นๆ เหล่านั้นอยู่ร่วมด้วยเสมอ หรือทั้งนี้เมื่อเป็นไปตามรายละเอียดของแนวทางการปฏิบัติที่ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างเฉพาะเจาะจงเช่นนั้น หรือเมื่ออาจจะปรากฏออกมาเป็นแนวทางที่ถูกคัดเลือกขึ้นมา เพราะมีความนิยมชมชอบเป็นส่วนใหญ่ และไม่จำเป็นต้องถูกระบุอีกว่า เป็นสิ่งที่ต้องการก็ได้ หรือ (เมื่อเป็นไปตามรูปแบบในเชิงลบแล้วเช่นนั้น) แนวทางที่เป็นไปได้หรือการปฏิบัติดังกล่าว จะไม่เป็นผลที่ยอมรับนับถือขึ้นมาก็ตาม แต่ไม่ได้ปรากฏออกมาว่า เป็นสิ่งหวงห้ามให้กระทำแต่ประการใดทั้งสิ้น
ส่วนคำอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการอธิบาย หรือให้คำจำกัดความไว้อย่างเด่นชัดอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 2 เช่นนั้น จะถือได้ว่า เป็นคำที่มีการอธิบายความหมายไว้เป็นพื้นฐานโดยทั่วๆ ไป และมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดีแล้วตรงตามรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกระบุไว้อยู่ภายในพจนานุกรมเป็นส่วนใหญ่
วัตถุประสงค์ของภาคผนวกที่เป็นรายละเอียดของการแจ้งให้ทราบ (โดยยึดถือรายละเอียดเป็นไปตามพื้นฐานที่กำหนดไว้อยู่ภายในกฎเกณฑ์ของ ISO/IEC Directives ส่วน 2 หัวข้อที่ 6.4.1)
ในส่วนที่เป็นภาคผนวก A เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบสำหรับมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จะเป็นส่วนของรายละเอียดสารสนเทศที่ถูกกำหนดเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือ หรือก่อให้เกิดความเข้าใจที่มากเพิ่มขึ้นตามลำดับสำหรับการใช้ประโยชน์จากเอกสารที่ปรากฏออกมาเป็นเนื้อหาของมาตรฐานฉบับนี้อยู่โดยตรง เพราะฉะนั้นจึงมีวัตถุประสงค์หลัก ไม่ใช่เพื่อกำหนดให้ปรากฏอยู่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการเป็นข้อแนะนำ หรือเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ภาคผนวกเช่นนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดที่ไม่จำกัดสำหรับรายชื่อของ สิ่งริเริ่ม ประเภทต่างๆ ที่ถูกจัดทำขึ้นมาด้วยผลของความสมัครใจเป็นส่วนใหญ่ และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงเครื่องมือในลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR อยู่แทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายของภาคผนวกดังกล่าว จึงต้องการแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างในแต่ละประเภทของ สิ่งริเริ่ม และเครื่องมือเหล่านั้นที่พบเห็นอยู่จริงในสภาพปัจจุบัน เพื่อกำหนดออกมาเป็นรายละเอียดของข้อแนะนำเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งถือว่า เป็นประโยชน์ และสามารถช่วยเหลือในการเปรียบเทียบได้ว่า กำลังมีการกระทำหรือปฏิบัติงานอะไรอยู่ในภาค/ ส่วนธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นนั้น และ/หรืออาจมีการแพร่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลกในขณะนี้ว่า มีผลเกิดขึ้นมาให้เห็นเป็นอย่างไรได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือว่า เป็นความจริงอีกประการหนึ่งที่
อาจระบุได้ว่า รายละเอียดของสิ่งริเริ่ม หรือเครื่องมือประเภทต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้เป็นบัญชีรายชื่ออยู่ในภาคผนวก A เช่นนั้น ไม่ได้หมายความว่า เนื้อหาเหล่านี้ทั้งหมดล้วนต่างเป็นสิ่งที่องค์การ ISO ได้ผ่านการอนุมัติเห็นชอบแล้วทั้งสิ้นในรายละเอียดดังกล่าว
บรรณานุกรม
ในรายละเอียดของบรรณานุกรม ซึ่งจะปรากฏผลออกมาเป็นส่วนบูรณาการของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้นั้น ส่วนใหญ่จะให้รายละเอียดของสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์อย่างพอเพียงสำหรับการช่วยระบุ/ ชี้บ่ง และสามารถกำหนดถึงประเภทของเอกสารฉบับต่างๆ ที่ถูกใช้ประโยชน์อยู่ร่วมด้วยในการอ้างอิง และถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาต่างๆ ที่พบอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้อยู่โดยตรง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแหล่งอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏผลออกมาเป็นเครื่องมือระดับนานาชาติต่างๆ ซึ่งมีการพิจารณา และสามารถใช้ประโยชน์ในการช่วยชี้บ่งถึงแหล่งสารสนเทศที่มีระดับความสำคัญเกิดขึ้นมากที่สุด ต่อการปรากฏออกมาเป็นคำแนะนำที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในเนื้อหาของมาตรฐานฉบับนี้เป็นประการสำคัญ สำหรับรายละเอียดของเครื่องมือเหล่านี้ยังประกอบไปด้วยส่วนของข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์และสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เพราะฉะนั้นผู้ใช้ประโยชน์จากมาตรฐาน ISO 26000 ดังกล่าว จึงสมควรถูกกระตุ้น หรือการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมขึ้นมาบางประการ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น และสามารถดำเนินการปฏิบัติงานด้าน SR ได้ในลำดับต่อไป เพราะฉะนั้นแหล่งอ้างอิงต่างๆ ดังกล่าวเช่นนี้ จึงต้องถูกแสดงไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อปรากฏอยู่ภายในเนื้อหาของมาตรฐาน โดยถูกกำหนดออกมาเป็นจำนวนตัวเลข และปรากฏอยู่ภายใต้เครื่องหมายวงเล็บ […] รองรับอยู่อีกลำดับหนึ่งอยู่ร่วมด้วยเสมอ
สำหรับในส่วนของ หมายเหตุ (Note)” ก็เช่นกัน ตัวเลขที่ปรากฏอยู่เป็นแหล่งอ้างอิง จะไม่ถูกกำหนดไว้ให้เห็นตามลำดับเลขที่ของเอกสาร ซึ่งปรากฏออกมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาอยู่ภายในมาตรฐานฉบับนี้ โดยเฉพาะในส่วนของเอกสาร ISO จะถูกกำหนดไว้เป็นแหล่งอ้างอิงในลำดับต้นๆ ส่วนเอกสารประเภทอื่นๆ ที่ใช้อ้างอิงอยู่ร่วมด้วยในแต่ละครั้งนั้น จะถูกกำหนดไว้ให้ไล่เรียงกันออกไปตามลำดับตั้งแต่ตัวอักษร A-Z สำหรับประเภทขององค์การต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องกับการตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารฉบับต่างๆ เหล่านั้นออกมาในแต่ละครั้ง
กล่องเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนดังกล่าว เป็นรายละเอียดที่ถูกจัดทำเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับการเป็นข้อแนะนำ ซึ่งแสดงความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่จำเพาะเจาะลงไปเฉพาะเรื่อง และถูกกำหนดอยู่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเอกสาร ซึ่งมีการพิจารณาแล้วว่า รายละเอียดที่เพิ่มเติมส่วนนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้อ่านบางราย นอกจากนี้กล่องเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะของตัวอย่างบางประการ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์สนับสนุนรายละเอียดเนื้อหาสำคัญบางประการ ที่ถูกกล่าวถึงไว้บางแล้วอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ แต่อย่างไรก็ตามจงตระหนักถึงความเป็นจริงเป็นเบื้องต้นอีกประการหนึ่งด้วยว่า รายละเอียดที่ปรากฏเป็นเนื้อหาสาระอยู่ภายในกล่องดังกล่าว ไม่ได้เป็นสิ่งชี้นำ หรือ
สามารถยืนยันผลได้ว่า เนื้อหาสาระเช่นนั้นจะแสดงความสำคัญที่น้อยกว่ารายละเอียดของเนื้อหาประการอื่นๆ ที่ถูกระบุไว้แล้วอย่างชัดเจน หรือเมื่อปรากฏอยู่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของเอกสารมาตรฐานฉบับดังกล่าวนี้

XXXXXXXXX


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น