หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 4 หัวข้อกำหนด 2 - คำศัพท์และคำจำกัดความ)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 4: - หัวข้อกำหนด 2 คำศัพท์ และคำจำกัดความ (Terms and definitions)

2. Terms and definitions
For the purposes of this document, the following terms and definitions apply:
2.1 accountability
state of being answerable for decisions and activities to the organization’s governing bodies, legal authorities and, more broadly, its stakeholders
2.2 consumer
individual member of the general public purchasing or using property, products or services for private purposes
2.3 customer
organization or individual member of the general public purchasing property, products or services, for commercial, private or public purposes
2.4 due diligence
comprehensive, proactive process to identify the actual and potential negative social, environmental and

economic impacts of an organization's decisions and activities over the entire life cycle of a project or organizational activity, with the aim of avoiding and mitigating negative impacts
2.5 employee
individual in a relationship recognized as an “employment relationship” in national law or practice
NOTE Employee is a narrower term than worker (2.27).
2.6 environment
natural surroundings in which an organization operates, including air, water, land, natural resources, flora, fauna, people, outer space and their interrelationships
NOTE: Surroundings in this context extend from within an organization to the global system
2.7 ethical behavior
behavior that is in accordance with accepted principles of right or good conduct in the context of a particular situation and is consistent with international norms of behavior (2.11)
2.8 gender equality
equitable treatment for women and men
NOTE This includes equal treatment or, in some instances, treatment that is different but considered equivalent in terms of rights, benefits, obligations and opportunities.
2.9 impact of an organization
impact
positive or negative change to society, economy or the environment (2.6), wholly or partially resulting from an organization's past and present decisions and activities
2.10 initiative for social responsibility
initiative
program or activity expressly devoted to meeting a particular aim related to social responsibility (2.18)
NOTE Initiatives for social responsibility can be developed, sponsored or administered by any type of organization.

2.11 international norms of behavior
expectations of socially responsible organizational behavior derived from customary international law, generally accepted principles of international law, or intergovernmental agreements that are universally or nearly universally recognized
NOTE 1 Intergovernmental agreements include treaties and conventions
NOTE 2 Although customary international law, generally accepted principles of international law and intergovernmental agreements are directed primarily at states, they express goals and principles to which all organizations can aspire.
NOTE 3 International norms of behavior evolve over time.
2.1.12
organization
entity or group of people and facilities with an arrangement of responsibilities, authorities and relationships and identifiable objectives
NOTE 1 For the purpose of this International Standard organization does not include government acting in its sovereign role to create and enforce law, exercise judicial authority, carry out its duty to establish policy in the public interest or honour the international obligations of the state.
NOTE 2 Clarity on the meaning of small and medium-sized organizations (SMOs) is provided in 3.3.
2.13 organizational governance
system by which an organization (2.12) makes and implements decisions in pursuit of its objectives
2.14 principle
fundamental basis for decision making or behavior
2.15
product
article or substance that is offered for sale or is part of a service delivered by an organization (2.12)
2.16 service
action of an organization (2.12) to meet a demand or need
2.17 social dialogue
negotiation, consultation or simply exchange of information between, or among, representatives of governments, employers and workers, on matters of common interest relating to economic and social policy
NOTE In this International Standard, the term social dialogue is used only in the meaning applied by the International Labor Organization (ILO).
2.18 social responsibility
responsibility of an organization (2.12) for the impacts of its decisions and activities on society and the environment (2.6), through transparent and ethical behavior (2.7) that
- contributes to sustainable development (2.23), including health and the welfare of society;
- takes into account the expectations of stakeholders (2.20);
- is in compliance with applicable law and consistent with international norms of behavior (2.11); and
- is integrated throughout the organization (2.12) and practiced in its relationships.
NOTE 1 Activities include products, services and processes.
NOTE 2 Relationships refer to an organization’s activities within its sphere of influence (2.19).
2.19 sphere of influence
Range/extent of political, contractual or economic or other relationships through which an organization (2.12) has the ability to affect the decisions or activities of individuals or organizations
NOTE 1 The ability to influence does not, in itself, imply a responsibility to exercise influence.
NOTE 2 Where this term appears in this International Standard, it is always intended to be understood in the context of the guidance in 5.2.3 and 7.3.2.
2.20 stakeholder
individual or group that has an interest in any decisions or activity of an organization (2.12)
2..21 stakeholder engagement
activity undertaken to create opportunities for dialogue between an organization (2.12) and one or more of its stakeholders (2.20), with the aim of providing an informed basis for the organization’s decisions
2.22 supply chain
sequence of activities or parties that provides products (2.15) or services (2.16) to the organization (2.12)
NOTE In some instances, the term supply chain is understood to be the same as value chain (2.25). However, for the purpose of this International Standard supply chain is used as defined above.
2..23 sustainable development
development that meets the needs of the present without compromising the ability of future generations to meet their own needs
NOTE Sustainable development is about integrating the goals of a high quality of life, health and prosperity with social justice and maintaining the earth’s capacity to support life in all its diversity. These social, economic and environmental goals are interdependent and mutually reinforcing. Sustainable development can be treated as a way of expressing the broader expectations of society as a whole.
2.24 transparency
openness about decisions and activities that affect society, the economy and the environment (2.6), and willingness to communicate these in a clear, accurate, timely, honest and complete manner
2.25 value chain
entire sequence of activities or parties that provide or receive value in the form of products (2.15) or services (2.16)
NOTE 1 Parties that provide value include suppliers, outsourced workers (2.27), contractors and others.
NOTE 2 Parties that receive value include customers (2.3), consumers (2.2), clients members and other users.
2.26 vulnerable group
group of individuals who share one or several characteristics that are the basis of discrimination or adverse social, economic, cultural, political or health circumstances, and that causes them to lack the means to achieve their rights or otherwise enjoy equal opportunities
2.27 worker
person who performs work, whether an employee or someone who is self-employed

คำอธิบาย

2. คำศัพท์ และคำจำกัดความ
        สำหรับวัตถุประสงค์ของเอกสารฉบับนี้ รายละเอียดของคำศัพท์ต่างๆ และคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง จะถูกนำไปใช้ประโยชน์อยู่ภายในรายละเอียดของมาตรฐานเป็นสำคัญ เช่น
             2.1 ความพร้อมในการรับผิดชอบ
             สถานะขององค์การที่ต้องกระทำต่อการแสดงความพร้อมในการรับผิดชอบขึ้นมาให้เห็นสำหรับผลของการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งล้วนจำเป็นต้องมีคำตอบให้ต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมหรือกำกับตรวจสอบ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ทางกฎหมาย และยังครอบคลุมอย่างกว้างขวางไปถึงกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่กับรายละเอียดของผลการตัดสินใจ และวิธีการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวสำหรับองค์การแห่งนั้นได้อีกด้วย
             2.2 ผู้บริโภค
               สมาชิกในแต่ละรายบุคคลที่แสดงคุณลักษณะของตนเองเป็นไปตามสภาพสังคมโดยทั่วไป โดยมีพฤติกรรมของการเลือกซื้อ หรือการใช้ประโยชน์จากตัวทรัพย์สมบัติ สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการต่างๆ ขององค์การ ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นวัตถุประสงค์สำหรับส่วนตนเองเป็นประการสำคัญ
             2.3 ลูกค้า
                 องค์การ บุคคลหรือสมาชิกในแต่ละรายบุคคลที่แสดงคุณลักษณะของตนเองเป็นไปตามสภาพสังคมโดยทั่วไป โดยมีพฤติกรรมของการเลือกซื้อ หรือการใช้ประโยชน์จากตัวทรัพย์สมบัติ สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ทางการค้า การใช้ประโยชน์เพื่อส่วนตนเอง หรือเพื่อทางสาธารณะก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
                  หมายเหตุ ผู้บริโภคจัดเป็นประเภทหรือส่วนหนึ่งของลูกค้า
             2.4 การกำหนดหรือประเมินถึงผลกระทบหรือสิทธิอันควรจะได้รับก่อนเป็นการล่วงหน้า
             กระบวนการที่มีการพิจารณานึกคิดเป็นไปอย่างละเอียดและรอบคอบในลักษณะเชิงรุก รวมไปถึงการใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า เพื่อทำการระบุ/ ชี้บ่งถึงผลกระทบและความเสี่ยงทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง หรือเมื่อมีลักษณะเป็นแนวโน้มที่อาจเกิดผลขึ้นมาให้เห็นได้ในเชิงลบทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติกิจกรรม ที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรหรือสภาพวงจรชีวิตของการปฏิบัติงานโครงการ หรือกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายในการดำเนินการจัดการในมุมมองที่ช่วยให้สามารถทำการหลีกเลี่ยง หรือบรรเทาลักษณะของผลกระทบเชิงลบ หรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นความเสี่ยงทั้งหลายเหล่านั้น ให้เกิดได้ลดน้อยลงมาตามลำดับ
             2.5 ลูกจ้าง
             ลักษณะที่เกี่ยวข้องในส่วนของความเป็นรายบุคคลแต่ละราย และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ถูกยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปในลักษณะที่ว่า เป็น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการจ้างงานซึ่งมีการระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนอยู่ภายในกฎหมายประจำชาติ หรือการปฏิบัติงานโดยทั่วๆ ไป เป็นต้น
                  หมายเหตุ โดยทั่วไปลูกจ้างมีความหมายที่แคบ และจำเพาะเจาะจงอยู่มากกว่าคำว่า คนงาน (2.27)
             2.6 สิ่งแวดล้อม
                สภาพแวดล้อมที่พบอยู่ภายในบริบทรอบๆ ที่องค์การกำลังดำเนินการหรือปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นๆ ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงอากาศ น้ำ พื้นดิน แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ ประชาชน สภาพบรรยากาศที่ยู่ภายนอก และปฏิสัมพันธ์ทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นร่วมกันได้ตามลำดับ
              หมายเหตุ สภาพแวดล้อมในบริบทดังกล่าว อาจสามารถทำการแพร่ขยายจากภายในองค์การไปสู่ระบบของโลกภายนอกก็ได้อีกเช่นกัน
             2.7 พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
                 พฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยมีความสอดคล้องเข้ากับหลักการที่ยอมรับได้ทั้งในด้านสิทธิ หรือความประพฤติปฏิบัติที่ดี ซึ่งอาจเกิดขึ้นอยู่ภายใต้บริบทของสถานการณ์ที่จำเพาะขณะหนึ่งๆ หรือมีการแสดงความสอดคล้องเข้ากับรายละเอียดของพฤติกรรมที่ปรากฏผลออกมาเป็นบรรทัดฐานในระดับนานาชาติ (2.11) อยู่ได้โดยตรง
             2.8 ความเท่าเทียมกันทางเพศ
             การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งต้องมีความสอดคล้องเป็นไปตามลำดับที่ตรงกับลักษณะของความต้องการ และผลประโยชน์ที่ได้รับขึ้นมาอย่างแท้จริง
                หมายเหตุ รายละเอียดของการปฏิบัติดังกล่าว อาจครอบคลุมไปถึงวิธีการดำเนินงานที่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน หรือในบางสถานการณ์อาจเป็นการปฏิบัติงานที่มีสภาพความแตกต่างกันก็ได้ แต่ต้องมีการพิจารณารายละเอียดในรูปแบบที่เท่าเทียมกันเสมอ ทั้งในลักษณะของการได้รับสิทธิหรือผลประโยชน์ที่สามารถตอบสนองได้ การแสดงผลของการผูกมัด และการสร้างโอกาสลักษณะต่างๆ ที่ได้รับขึ้นมาในแต่ละครั้ง เป็นต้น
             2.9 ผลกระทบขององค์การ
             ผลกระทบ
               ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นผลในเชิงบวกหรือลบต่อสังคม สภาพเศรษฐกิจหรือสิ่งแวดล้อม (2.6) ซึ่งอาจเป็นผลลัพธ์ในภาพรวมทั้งหมด หรือเกิดขึ้นในสภาพบางส่วนจากการปฏิบัติกิจกรรมขององค์การตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน หรือได้รับขึ้นมาจากการตัดสินใจที่กระทำในแต่ละครั้ง เป็นต้น
             2.10 สิ่งริเริ่มสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม
           สิ่งริเริ่ม
                 รายละเอียดของโปรแกรม/ รายการ หรือกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ที่จัดถือได้ว่า เป็นสิ่งริเริ่มที่ถูกจัดทำ หรือมีความอุทิศในการดำเนินการขึ้นมาตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อต้องการก่อให้เกิดผลตอบสนองได้ตรงต่อวัตถุประสงค์และความต้องการที่จำเพาะ ซึ่งแสดงความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม (2.18) อยู่โดยตรง
                หมายเหตุ สิ่งริเริ่มสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมดังกล่าว อาจทำการพัฒนาขึ้นมา มีผลของการช่วยเหลือสนับสนุน หรือถูกบริหารจัดการโดยองค์การประเภทใดๆ ก็ได้อีกเช่นกัน
             2.11 พฤติกรรมที่เป็นบรรทัดฐานระดับนานาชาติ
              ลักษณะที่เป็นความคาดหวังสำหรับการแสดงพฤติกรรมขององค์การในด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานของธรรมเนียมการปฏิบัติที่ปรากฏออกมาเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระดับนานาชาติ หลักการต่างๆ ที่ถูกยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปสำหรับกฎหมายนานาชาติ หรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นข้อตกลงประเภทต่างๆ ที่มีอำนาจบังคับใช้อย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถยึดถือไว้เป็นบรรทัดฐานที่มีลักษณะเป็นสากล หรือใกล้เคียงกับการถูกยอมรับไว้ในระดับสากลได้เป็นอย่างดี 
           หมายเหตุ 1 ข้อตกลงต่างๆ ที่มีอำนาจบังคับใช้อย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐในระดับนานาชาติ ส่วนใหญ่จะครอบคลุมไปถึงรายละเอียดที่สำคัญ เช่น สนธิสัญญา และอนุสัญญา เป็นต้น
                  หมายเหตุ 2 ถึงแม้ว่าลักษณะความคาดหวังต่างๆ เหล่านี้ จะถูกกำหนดรายละเอียดออกมาจากพื้นฐานของธรรมเนียมการปฏิบัติที่ปรากฏเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระดับนานาชาติ หลักการต่างๆ ที่ถูกยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปสำหรับความเป็นกฎหมายนานาชาติ หรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นรายละเอียดข้อตกลงประเภทต่างๆ ที่มีอำนาจบังคับใช้อย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐในระดับนานาชาติ และส่วนใหญ่ได้มีการยอมรับนับถือสำหรับการปฏิบัติงานจากภาครัฐอยู่โดยตรงแล้วนั้น แต่ก็ยังมีการระบุถึงวัตถุประสงค์ และหลักการสำคัญที่ทุกองค์การสมควรยึดถือ หรือนำไปใช้ปฏิบัติเพื่อให้สามารถบรรลุถึงผลลัพธ์ที่ดีได้ต่อไปตามลำดับ
                หมายเหตุ 3 นอกจากนี้รายละเอียดของพฤติกรรมที่ปรากฏเป็นบรรทัดฐานระดับนานาชาติเหล่านี้ ยังสามารถเปลี่ยนแปลง หรือเกิดวิวัฒนาการแสดงความแตกต่างกันออกไปได้ภายใต้ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ได้อีกด้วย
             2.12 องค์การ
                สิ่งที่ปรากฏให้เห็นว่ามีอยู่จริงในขณะนั้นๆ หรือกลุ่มของประชาชน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในลักษณะต่างๆ ที่ได้รับการจัดวางเรียงหรือถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อแสดงผลของความรับผิดชอบ การแสดงอำนาจดำเนินการอย่างแท้จริง และการมีความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอยู่ร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายในความสามารถที่จะระบุหรือกำหนดรายละเอียดของวัตถุประสงค์ ลักษณะโครงสร้างดังกล่าว ออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนเกิดขึ้นมากที่สุดเป็นเรื่องสำคัญ
           หมายเหตุ 1 สำหรับวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ เมื่อกล่าวถึงองค์การประเภทใดๆ ก็ตาม จะไม่มุ่งหมาย หรือครอบคลุมรายละเอียดลงไปถึงหน่วยงานในภาครัฐบาล ซึ่งจำเป็นแสดงบทบาทอธิปไตยต่อการสร้างสรรค์การบังคับใช้ทางกฎหมาย การปฏิบัติงานในลักษณะของการใช้อำนาจดำเนินการทางศาลสถิตยุติธรรม การดำเนินงานเพื่อแสดงบทบาทขึ้นมาให้เห็นผลอย่างต่อเนื่องในการจัดตั้ง หรือมีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ หรือเมื่อเป็นการสร้างความเชื่อถือทางเกียรติยศสำหรับการแสดงผลของการผูกมัดตนเองของรัฐแต่ละแห่ง เป็นต้น
         หมายเหตุ 2 สำหรับการให้ความหมายที่ชัดเจนสำหรับองค์การประเภทขนาดเล็กและกลาง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SMOs นั้น ได้ถูกกำหนดรายละเอียดไว้แล้วอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 3.3 เป็นประการสำคัญ
             2.13 ธรรมาภิบาลองค์การ
                ระบบที่องค์การ (2.12) ต้องดำเนินการจัดตั้งขึ้นมา โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และการดำเนินงานในลักษณะต่างๆ เพื่อให้มีผลของความสอดคล้องเป็นไปตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ
             2.14 หลักการ
               ความเชื่อขั้นพื้นฐานซึ่งสามารถส่งผลไปสู่ หรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือการแสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องออกมาอยู่โดยตรง
             2.15 ผลิตภัณฑ์
                 สิ่งของหรือวัตถุที่ถูกยื่นหรือนำเสนอออกมา เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการขาย หรือเมื่ออาจปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอขององค์การ (2.12) แห่งนั้นอยู่โดยตรง
             2.16 งานบริการ
               การปฏิบัติงานขององค์การ (2.12) เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ตรงต่ออุปสงค์หรือความต้องการเป็นส่วนใหญ่
             2.17 การพบปะเจรจาหารือทางสังคม
                 รายละเอียดที่เกี่ยวข้องในทุกประเภทของการเจรจาต่อรอง การปรึกษาหารือ หรือการพบปะสนทนา เพื่อทำการแลกเปลี่ยนในลักษณะง่ายๆ สำหรับข้อมูล/ สารสนเทศในระหว่าง หรือร่วมกันสำหรับตัวแทนต่างๆ ที่มาจากภาครัฐบาล ลูกจ้าง และคนงานที่เกี่ยวข้อง โดยต้องการมุ่งเน้นอยู่ภายใต้รายละเอียดของหัวข้อ/ ประเด็นสำหรับผลประโยชน์สาธารณะที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก
                 หมายเหตุ ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ คำศัพท์ที่ว่า การพบปะเจรจาหารือทางสังคมยังจะถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะตามความหมายที่แสดงความเกี่ยวข้องกับองค์การแรงงานนานาชาติ (ILO) เป็นอีกประการหนึ่งด้วย
             2.18 ความรับผิดชอบต่อสังคม
                การแสดงความรับผิดชอบขององค์การ (2.12) สำหรับผลกระทบทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อสภาพทางสังคม และสิ่งแวดล้อม (2.6) โดยอาศัยผ่านขั้นตอนการปฏิบัติงานที่โปร่งใส หรือสามารถช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (2.7) ซึ่งมีการมุ่งเน้นรายละเอียดในเรื่องของ
               - การช่วยเหลือ/ แบ่งปันสนับสนุนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน (2.23) ซึ่งครอบคลุมไปถึงการเสริมสร้างสุขภาพ และความอยู่ดีมีสุขของสังคม
           - การพิจารณาถึงความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2.20) ทั้งหลายอยู่ร่วมด้วย
           - การแสดงผลของความสอดคล้องเข้ากับการปฏิบัติงานตามกฎหมายที่ใช้ประโยชน์ และ/ หรือพฤติกรรมที่เป็นบรรทัดฐานระดับนานาชาติ (2.11) และ
               - การบูรณาการรายละเอียดของการปฏิบัติงานดังกล่าว สามารถดำเนินเป็นไปอย่างทั่วถึงเข้ากับองค์การ (2.12) ได้ทั้งหมด รวมถึงมีวิธีการปฏิบัติอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกันอีกด้วย
                   หมายเหตุ 1 กิจกรรมที่ปฏิบัติต่างๆ อาจครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ งานบริการ และกระบวนการต่างๆ ภายในองค์การ
            หมายเหตุ 2: ความสัมพันธ์ทั้งหลายจะมุ่งหมายลงไปถึงกิจกรรมที่ปฏิบัติ โดยจะต้องปรากฏอยู่ภายใต้ขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพล (2.19) ซึ่งเกิดขึ้นภายในองค์การแห่งนั้นเป็นประการสำคัญ
             2.19 บรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพล
                 ขอบเขต/ ปริมาณพื้นที่ของสภาพทางการเมือง ระดับความสัมพันธ์ทางสัญญาที่ปรากฏออกมาเป็นข้อกำหนด สภาพทางเศรษฐกิจ หรือระดับความสัมพันธ์ประการอื่นๆ ซึ่งรายละเอียดส่วนใหญ่มีการครอบคลุมหรือแพร่กระจายลงไปอยู่ภายในองค์การ (2.12) แห่งนั้นอยู่อย่างชัดเจนแล้ว เป็นต้น โดยทั้งนี้จะปรากฏระดับความสามารถ ซึ่งอาจส่งผลกระทบขึ้นมาต่อการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลแต่ละรายหรือองค์การขึ้นมาได้ตามลำดับ
                หมายเหตุ 1 ระดับความสามารถในการส่งผล หรือมีอิทธิพลตรงตามรายละเอียดเช่นนั้น ไม่อาจทำการระบุ หรือแสดงนัยออกมาได้ถึงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง และเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการปฏิบัติงานดังกล่าวได้
                หมายเหตุ  2 ในกรณีที่คำศัพท์คำนี้ ถูกระบุหรือปรากฏให้เห็นอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ล้วนเป็นความตั้งใจในการนำเสนอขึ้นมาอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพื่อต้องการก่อให้เกิดความเข้าใจในรายละเอียดของบริบทดังกล่าวเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะปรากฏผลออกมาเป็นไปตรงตามรายละเอียดของหัวข้อกำหนดที่ 5.2.3 และ 7.5.2 อยู่ร่วมด้วย
             2.20 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
               บุคคลในแต่ละรายหรือกลุ่ม ซึ่งปรากฏมีผลประโยชน์ที่ได้รับขึ้นมาจากการดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผลมาจากการตัดสินใจขององค์การ (2.12) แห่งนั้น
                 2.21 การผูกมัดเข้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
             กิจกรรมในลักษณะใดๆ ก็ตามที่ถูกดำเนินการขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อต้องการเสริมสร้างโอกาสของการพบปะสนทนาร่วมกันระหว่างองค์การ (2.12) และหนึ่งหรือเมื่อเป็นจำนวนที่มากกว่าหนึ่งกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2.20) ทั้งหลาย โดยทั้งนี้เพื่อต้องการมุ่งเน้นการชี้แจงให้รับทราบถึงรายละเอียดสำหรับผลการตัดสินใจขององค์การเป็นเรื่องสำคัญ
                 2.22 ห่วงโซ่อุปทาน
                รายละเอียดที่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องร่วมกันของกิจกรรมประเภทต่างๆ หรือในทุกภาค/ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือเพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์ (2.15) และงานบริการ (2.16) ขององค์การ (2.12) ขึ้นมาตามลำดับ
          หมายเหตุ  ในบางสถานการณ์ คำศัพท์ของห่วงโซ่อุปทาน อาจจะถูกเข้าใจในรายละเอียด และสามารถพบเห็นได้ว่า มีความหมายเช่นเดียวกันกับคำว่า คุณค่าของสายโซ่ (2.25) แต่อย่างไรก็ตามสำหรับจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ห่วงโซ่อุปทานจะถูกอธิบาย และใช้ประโยชน์ให้เป็นไปตรงตามรายละเอียดที่ระบุไว้เป็นความหมายในเบื้องต้นทุกประการ
             2.23 การพัฒนาแบบยั่งยืน
             การพัฒนาที่สามารถกระทำเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการในปัจจุบัน โดยปราศจากการยินยอมหรือประนีประนอมในเรื่องระดับความสามารถของการตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการส่วนตน หรือการดำรงชีพอยู่ภายในอนาคตข้างหน้าได้อีกประการหนึ่งด้วย
        หมายเหตุ: การพัฒนาแบบยั่งยืนจะเป็นเรื่องของการบูรณาการ เพื่อมุ่งเน้นวัตถุประสงค์หลักของการมีคุณภาพชีวิตที่สูง การมีสุขภาพอนามัยที่ดี และประกอบไปด้วยความมั่งคั่งของการมีความยุติธรรมทางสังคมเกิดขึ้นอยู่ร่วมด้วยเสมอ และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงการดำรงรักษาไว้ ซึ่งระดับความสามารถของโลกใบนี้ต่อการช่วยเหลือสนับสนุนชีวิตทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ภายใต้ความหลากหลายในลักษณะต่างๆ เป็นประการสำคัญ ส่วนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ จะต้องดำเนินเป็นไปด้วยความเป็นอิสระ และสามารถช่วยเหลือหรือส่งเสริมเพิ่มเติมซึ่งกันและกันขึ้นมาได้ตามลำดับ เพราะฉะนั้นการพัฒนาแบบยั่งยืน จึงสามารถถูกกำหนดออกมาให้เห็นเป็นแนวทางที่สำคัญประการหนึ่งต่อการช่วยเหลือ หรือเพื่อทำการยกระดับให้สูงเพิ่มขึ้นเป็นไปได้อย่างแพร่หลายกว้างขวางมากสำหรับลักษณะความคาดหวังทางสังคมต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นมาให้เห็นผลได้ในลักษณะของภาพรวมทั้งหมด เป็นต้น
             2.24 ความโปร่งใส
            การแสดงรายละเอียดของความเปิดเผยออกมาสำหรับผลการตัดสินใจ และกิจกรรมปฏิบัติต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคม สภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (2.6) รวมไปถึงการแสดงความเต็มใจที่จะทำการติดต่อสื่อสารออกไปในลักษณะที่ชัดเจน มีความถูกต้องแม่นยำ มีความเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาต่างๆ การปรากฏผลของความซื่อสัตย์ และครอบคลุมรายละเอียดของผลการปฏิบัติงานออกมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์เกิดขึ้นได้มากที่สุด
             2.25 คุณค่าของสายโซ่
             ลำดับที่มีความต่อเนื่องกันทั้งหมดสำหรับกิจกรรมปฏิบัติต่างๆ และ/ หรือในทุกภาคส่วน โดยที่แต่ละกระบวนการ/ กิจกรรมเหล่านี้ ต่างมีส่วนช่วยในการเสริมสร้าง หรือการรับมูลค่าให้เกิดขึ้นกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ (2.15) และงานบริการต่างๆ ขึ้นมาได้ตามลำดับ
        หมายเหตุ 1 กระบวนการหรือในทุกภาค/ ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการสร้าง และพัฒนาคุณค่าขึ้นมาสำหรับผลิตภัณฑ์หรืองานบริการเช่นนั้น จะครอบคลุมรายละเอียดไปถึง คู่ค้า/ ผู้ส่งมอบ คนงาน (2.27) ผู้รับจ้างช่วงที่ว่าจ้างตามสัญญามาจากหน่วยงานภายนอก และอื่นๆ เป็นต้น
        หมายเหตุ 2 กระบวนการหรือในทุกภาค/ ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการรับขึ้นมาของคุณค่าสำหรับผลิตภัณฑ์หรืองานบริการเช่นนั้น จะครอบคลุมรายละเอียดไปถึง ลูกค้า (2.3) ผู้บริโภค (2.2) ผู้ใช้งานประจำเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมาชิกที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ เป็นต้น
             2.26 กลุ่มที่ต้องการได้รับการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ
             กลุ่มคนหนึ่งๆ ที่มีรายละเอียดของคุณลักษณะเกิดขึ้นอยู่ร่วมกันประการหนึ่งหรือหลายประการ เป็นต้น โดยทั้งนี้ส่วนใหญ่จะปรากฏสภาพอยู่บนพื้นฐานที่ได้รับการแบ่งแยกกีดกัน หรือได้รับผลกระทบเชิงลบเกิดขึ้นทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สภาพวัฒนธรรม การเมืองหรือปรากฏการณ์ทางสุขภาพอนามัย เป็นต้น และรายละเอียดเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ส่งผลกระทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ ค่อนข้างมีสภาพที่อัตคัตหรือแสดงความขาดแคลนต่อแหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ ที่ต้องถูกนำมาใช้ประโยชน์ หรืออาจมีข้อเสียเปรียบในลักษณะอื่นๆ ซึ่งมีส่วนทำให้ไม่สามารถได้รับผลประโยชน์ต่อการดำรงรักษาไว้ ซึ่งสิทธิต่างๆ หรือได้รับโอกาสขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกันตามลำดับ
             2.27 คนงาน
             บุคคลรายหนึ่งๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นลูกจ้าง หรือบางคนกระทำในลักษณะที่เป็นการจ้างงานสำหรับตนเองขึ้นมาก็สามารถปฏิบัติได้อีกเช่นเดียวกัน
XXXXXXXX



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น