บทที่ 4
ความเป็นมาของมาตรฐาน ISO 26000 และความรับผิดชอบต่อสังคม (Background: ISO 26000 and Social Responsibility)
ตอนที่ 4: รายละเอียดของตัวอย่างร่างมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ WD2
7. รายละเอียดและประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (โดยย่อ) ของร่างมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ WD2 (Brief structure and some details of ISO 26000/ WD2)
รายละเอียดของร่างมาตรฐานฉบับ WD2 ซึ่งได้รับความเห็นชอบ และผ่านการพิจารณาจากคณะทำงาน ISO/WG/SR เมื่อการประชุมครั้งที่ 3 ที่ลิสบอน (พฤษภาคม ปี 2006) ประกอบไปด้วยเนื้อหา และประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจร่วมด้วย ดังนี้ 29/
· อารัมกถา (Foreword)
รายละเอียดในส่วนนี้เป็นข้อแนะนำเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับ
- กระบวนการยกร่างมาตรฐาน และกฎเกณฑ์ต่างๆ ขององค์การ ISO
- การอธิบายถึงสิทธิของแต่ละประเทศภาคีสมาชิกของ ISO ที่จะสามารถเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนอยู่ภายในคณะกรรมการ TC ใดๆ ก็ตามที่มีความสนใจ รวมถึงหน่วยงาน/ องค์การภาครัฐบาลในระดับนานาชาติ และ NGO ต่างๆ ก็ยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมต่อการปรากฏเป็น Liaison ได้โดยตรง
· หัวข้อกำหนด 0: บทนำ (Introduction)
รายละเอียดในส่วนนี้ได้อธิบายถึง
- วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน ISO 26000 ที่ต้องการให้เป็นเพียง “ข้อแนะนำ” สำหรับการใช้ประโยชน์ได้กับองค์การทุกประเภท เมื่อต้องการมีการพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ SR เป็นหลัก
- ร่างมาตรฐานฉบับนี้ยังมีความตั้งใจที่ต้องการให้องค์การ ได้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานต่อสภาพทางสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
รายละเอียดอื่นๆ ที่เพิ่มเติมอยู่ภายในร่างมาตรฐานนั้น ยังต้องระบุถึง
- การกำหนดประเด็น SR ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน ธรรมาภิบาลองค์การ การปฏิบัติทางธุรกิจที่เป็นธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และประเด็นด้านลูกค้า เป็นต้น
- มีการกำหนดตารางที่แสดถึงรายละเอียดของ “หัวข้อกำหนด” ต่างๆ รวมถึงภาคผนวกที่กล่าวถึงไว้ภายในร่างมาตรฐาน
· หัวข้อกำหนด 1: ขอบเขต (Scope)
รายละเอียดในส่วนนี้ได้อธิบายถึง
- หลักการ วิธีการปฏิบัติ และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง
- การแสดงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบูรณาการ และจัดตั้ง SR ขึ้นมาอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ และต้องคำนึงถึงขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพล (Sphere of influence) ซึ่งครอบคลุมรายละเอียดไปถึงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน การระบุ/ ชี้บ่งและการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ความมุ่งมั่นในเรื่องการสื่อสาร และผลการปฏิบัติงานด้าน SR การแบ่งปัน/ สนับสนุนขององค์การต่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นต้น
ร่างมาตรฐานฉบับนี้ ยังระบุรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมอีกว่า
- มาตรฐานอาจแสดงความเหมาะสมเข้ากับแต่ละประเภทขององค์การ ทั้งขนาด สถานที่ และ/ หรือเป็นไปตามขอบเขตของธรรมชาติ และวิธีการปฏิบัติงานขององค์การแห่งนั้น
- รายละเอียดเอกสารที่เป็นข้อแนะนำดังกล่าว ไม่ใช่เป็นมาตรฐานของระบบการจัดการ และยังไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ เพื่อประเมินผลของความสอดคล้องต่อการได้รับประกาศนียบัตรรับรองอีกด้วย
· หัวข้อกำหนด 2: บรรทัดฐานที่เป็นแหล่งอ้างอิง (Normative references)
รายละเอียดในส่วนนี้ จะประกอบไปด้วยรายชื่อเอกสารต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นไปได้สมควรทำการศึกษา และอ่านเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเนื้อหาของมาตรฐานต่อไป
· หัวข้อกำหนด 3: คำศัพท์ และคำจำกัดความ (Terms and definitions)
ร่างมาตรฐานในส่วนนี้ได้ระบุรายละเอียดถึง
- คำศัพท์จำนวน 18 คำที่เกี่ยวข้องอยู่ภายในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยเริ่มต้นมาจากคำว่า ความรับผิด (Accountability) ซึ่งหมายความถึงการกำหนดให้เป็นหลักการที่แต่ละรายบุคคล องค์การ หรือชุมชนต้องแสดงผลของความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติของตนเอง หรือต้องเป็นเรื่องที่สามารถอธิบายได้ให้กับส่วนอื่นๆ ของสังคม
- สำหรับคำศัพท์อื่นๆ ที่ระบุไว้ภายในร่างมาตรฐานฉบับดังกล่าว ได้แก่ ลูกค้า (Customer) ธรรมาภิบาล (Governance) บูรณภาพ (Integrity) องค์การ (Organization) การทำบุญ (Philantropy) ผลิตภัณฑ์ (Product) ความสมเหตุและผล (Rationale) และความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคำจำกัดความของคำศัพท์อื่นๆ เช่น กรอบแนวทางการปฏิบัติด้าน SR (Social responsibility framework) ประเด็น SR (Social responsibility issues) หลักการ SR (Social responsibility principle) ขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การ (Sphere of influence) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) การผูกมัดเข้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders engagement) ความยั่งยืน (Sustainability) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainability Development) และความโปร่งใส (Transparency) เป็นต้น
- รายละเอียดภายในร่างมาตรฐาน ยังระบุคำศัพท์อื่นๆ สำหรับการใช้งานในอนาคตเพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย เช่น มิติ/ ด้านที่ต้องปฏิบัติ (Aspects) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual improvement) การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน (Corrective/ preventive action) ผลกระทบ (Impact) วัตถุประสงค์ (Objective) ผลการปฏิบัติ (Performance) กระบวนการ (Process) ห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) และเป้าหมาย (Target) เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของกลุ่มภารกิจ TG แต่ละกลุ่มได้มีการระบุ หรือชี้บ่งความต้องการเหล่านั้นไว้แล้วโดยตรง
· หัวข้อกำหนด 4: บริบทของ SR ที่องค์การควรปฏิบัติ (The SR context in which organization operates)
4.1 บริบทของ SR (SR context)
ผู้ยกร่างมาตรฐานในส่วนนี้ ต้องการอธิบายถึงรายละเอียดบริบทของ SR ที่องค์การควรแสดงความเข้าใจ ทำการพัฒนาหรือดำเนินการขึ้นมาอย่างต่อเนื่องภายในองค์การของตนตามลำดับ เช่น
4.1.1 ธรรมาภิบาลระดับโลก (Global governance)
หัวข้อกำหนดย่อยนี้ระบุถึงรูปแบบของธรรมภิบาลในระดับโลก โดยที่ชาติ/ รัฐต่างๆ ต่างยินยอมพร้อมใจที่จะนำเรื่อดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยผ่ายหน่วยงานต่างๆ ในระดับนานาชาติ เช่น UN เป็นต้น รวมถึงการนำพาไปสู่เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงาน โดยอาศัยภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนที่ปรากฏยึดถืออยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะรายละเอียดในส่วนนี้ จะอธิบายถึงมุมมองด้านประวัติความเป็นมาตั้งแต่ในอดีตของการพัฒนา SR ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงสภาพปัจจุบันตามลำดับ
4.1.2 โลกาภิวัฒน์ (Globalization)
ภายในร่างมาตรฐานส่วนนี้ ได้อธิบายรายละเอียดถึงปัจจัยโลกาภิวัฒน์ ที่สามารถขยายขอบเขตไปสู่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ทั่วโลก โดยจะแสดงผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และปรากฏเป็นแรงขับเคลื่อนออกมาโดยตรง เพราฉะนั้นจึงพบว่า อาจปรากฏเป็น “แนวโน้ม (Trends)” ที่สำคัญประการหนึ่ง ในเรื่องความท้าทายต่อการจัดตั้งระบบธรรมาภิบาล ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาภายใต้การปฏิบัติงานขององค์การแต่ละแห่ง รวมถึงจะช่วยส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อการเพิ่มขึ้นของอำนาจ และความน่าเชื่อถือจากภาคเอกชนได้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันจะไปลดทอนอำนาจของการปฏิบัติงานในภาคอื่นๆ ลงได้เป็นประการสุดท้าย
4.1.3 มุมมองที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholder (Stakeholder perspective)
ภายในร่างมาตรฐานส่วนนี้ ระบุรายละเอียดว่า ทุกองค์การย่อมแสดงความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม Stakeholder ต่างๆ อย่างหลีกพ้นไม่ได้เลย สำหรับองค์การ/ บริษัทธุรกิจนั้น กลุ่ม Stakeholder ที่เกี่ยวข้องตามสภาพปัจจัยพื้นฐาน จะครอบคลุมลงไปถึงลูกค้า/ ผู้บริโภค (Consumer) ผู้ส่งมอบ/ คู่ค้า (Suppliers) ผู้ถือหุ้น (Shareholders) ผู้ปฏิบัติงาน/ ลูกจ้าง (Employee) และบุคคลอื่นๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นองค์การจึงต้องตระหนัก พิจารณา และคำนึงถึงความสำคัญ หรือมีมุมมองที่ถูกต้องสำหรับการปฏิบัติงานต่อไปกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านี้เป็นสำคัญ
4.1.4 สุขภาพ (Health)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานส่วนนี้ ระบุว่า ความยากจน จัดถือเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดสภาพความเจ็บป่วยของผู้คนขึ้นมาได้โดยตรง เช่น กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม จึงอาจเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดสุขภาพที่ไม่ดีต่อผู้ปฏิบัติงานหรือลูกจ้างภายในองค์การแห่งนั้นได้ ผลลัพธ์อีกประการหนึ่งที่พบเห็นติดตามมาก็คือ บริษัท/ องค์การที่ดำเนินการผลิตอยู่ภายในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย จึงอาจไม่สามารถดำเนินงานภายใต้กระบวนการผลิตที่เต็มไปด้วยความมีประสิทธิภาพ หรือก่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้นมาได้ในระดับเดียวกับบริษัท/ องค์การทั้งหลาย ที่ทำหน้าที่การผลิตส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศที่พัฒนาแล้ว
4.1.5 การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable development)
หัวข้อกำหนดย่อยนี้ ได้อธิบายถึงประวัติความเป็นมาสำหรับการจัดทำ หรือมีการกำหนดเป็นข้อตกลงในระดับนานาชาติออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังผลความสำเร็จต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นประการสำคัญ
4.1.6 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate changes)
รายละเอียดในส่วนนี้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรเป็นเรื่องที่ภาครัฐบาล ผู้บริโภคและภาคเอกชน จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อแก้ไข/ ปรับปรุง หรือเป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันทั้งหมดทุกภาคส่วน เพื่อแสดงความรับผิดชอบออกมาโดยตรง
4.1.7 ธรรมาภิบาลองค์การ (Organizational governance)
ผู้ยกร่างมาตรฐานในส่วนนี้ระบุว่า การปฏิบัติงานด้าน SR จัดเป็นเรื่องของ “ธรรมาภิบาลองค์การ” ที่สมควรต้องกระทำขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อช่วยลดหรือสามารถจัดการระบบความเสี่ยง (Risk management systems) ขององค์การต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังระบุรายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า การปฏิบัติงานด้าน SR ในเชิงระบบสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ยังเป็นเรื่องของการแสดงความสนใจขององค์การต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ซึ่งถือว่า เป็นการจัดการกระบวนการภายใน (Internal processes) ที่องค์การสามารถทำการควบคุม หรือกำกับผลของการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาได้ตามลำดับ
4.2 ความเข้าใจในแนวความคิดของ SR (Understanding the concept of SR)
4.2.1 บททั่วไป (General)
หัวข้อกำหนดย่อยในส่วนนี้อธิบายถึงแนวความคิดของ SR สำหรับองค์การ และการระบุ/ ชี้บ่งเนื้อหาหลักที่สำคัญของแนวความคิดดังกล่าว รวมถึงรายละเอียดของคำถามบางประการที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยเฉพาะถ้าต้องการนำแนวความคิดด้าน SR เช่นนั้น ไปสู่การเชื่อมโยงเข้ากับการปฏิบัติที่องค์การจะต้องดำเนินการต่อไปตามลำดับ
4.2.2 แนวความคิดหลักที่สำคัญ (The essential ideas)
การปฏิบัติงานด้าน SR จะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์การที่ต้องแสดงความเคารพนับถือ ต่อผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นต้น จากการมีมุมมอง และแนวความคิดสำหรับการแสดงผลความรับผิดชอบเช่นนี้ การปฏิบัติงานด้าน SR ขององค์การแต่ละแห่ง จึงควรครอบคลุมลงไปถึงการปฏิบัติ การตัดสินใจอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ หรือเป็นไปอย่างสอดคล้องตรงตามรายละเอียดที่ถูกระบุอยู่ไว้ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้เป็นสำคัญ
4.2.3 SR สามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์กับทุกประเภทขององค์การ ได้หรือไม่ (Does SR apply to all organization)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐาน ยอมรับว่า สืบเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ขององค์การแต่ละประเภท อาจมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อก่อให้เกิดผลความไม่สอดคล้องทางกฎหมายขึ้นมาให้เห็นได้อย่างง่ายนั้น องค์การประเภทนี้ จึงไม่มีการรักษาผลประโยชน์ที่ดีร่วมกับสังคม ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากแนวความคิดด้าน SR เพื่อนำมาปฏิบัติภายในองค์การประเภทนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมาแต่ประการใด
นอกจากนี้รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานส่วนนี้ ยังระบุเพิ่มเติมถึงความยุ่งยากบางประการที่อาจเกิดขึ้นมาให้เห็นได้ เมื่อมีการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากบางประเด็นของ SR ซึ่งถูกนำเข้าไปสู่การปฏิบัติงานภายในองค์การ/ หน่วยงานภาครัฐบาล หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่บังคับตามกฎหมาย เป็นต้น
4.2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างแนวความคิดของกลุ่ม Stakeholders และแนวความคิดด้าน SR ที่ต้องปฏิบัติงาน (The relationship of the stakeholder concept to the SR concept)
รายละเอียดส่วนนี้ อธิบายว่า กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ควรถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ในลักษณะต่างๆ ขึ้นมาภายในองค์การแต่ละแห่ง
· หัวข้อกำหนด 5: หลักการ SR (SR principles)
5.1 บททั่วไป (General)
หัวข้อกำหนดย่อยนี้ได้อธิบายถึงหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำรายละเอียดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ภายในองค์การได้ต่อไป
5.2 ประเภทของหลักการ (Types of principles)
หัวข้อกำหนดย่อยนี้ได้อธิบายถึงหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ใน 3 ประเภท คือ รายละเอียดทั่วไป (General) การปรากฏความเป็นรูปธรรม (Substantive) และแนวทางการปฏิบัติงาน (Operational) เป็นต้น
5.2.1 การอธิบายหลักการทั่วไป (Description of general principles)
หลักการโดยทั่วไปจะปรากฏเป็นรายละเอียพื้นฐานสำหรับหลักการอื่นๆ ต่อไป ทั้งประเภทที่เป็นรูปธรรม และเพื่อแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งได้มีการระบุรายละเอียดเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจนอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้แล้ว
5.2.2 การอธิบายหลักการที่เป็นรูปธรรม (Description of substantive principles)
หลักการดังกล่าวจะแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบในลักษณะต่างๆ ที่องค์การจะต้องแสดงผลของความรับผิดชอบออกมาโดยตรง
5.2.3 การอธิบายหลักการตามแนวทางของการปฏิบัติ (Description of operational principles)
หลักการดังกล่าวจะใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การได้ต่อไป โดยเฉพาะจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้เป็นสำคัญ
· หัวข้อกำหนด 6: ข้อแนะนำของเนื้อหาหลัก และประเด็น SR (Guidance on core SR issues)
6.1 บททั่วไป (General)
หัวข้อกำหนดย่อยนี้ได้อธิบายถึงรายละเอียดของข้อแนะนำสำหรับองค์การทุกประเภท ในเรื่องของเนื้อหาหลัก และประเด็น SR ต่างๆ ที่สำคัญ โดยมีการกำหนดออกมาเป็น “ข้อควรพิจารณาหลัก (Key consideration)” บางประการ และตัวอย่างประกอบที่ยกขึ้นมา เพื่อให้เห็นเป็นผลอออกมาอย่างแท้จริงอีกด้วย
นอกจากนี้รายละเอียดของหัวข้อกำหนดดังกล่าว ยังอธิบายความหมายอย่างย่อๆ สำหรับพื้นฐานความเป็นมา และการแสดงถึงระดับความสัมพันธ์ของประเด็นหลัก SR ในแต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างชัดเจน เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน ธรรมาภิบาลองค์การ การปฏิบัติธุรกิจอย่างเป็นธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.2 ธรรมาภิบาลองค์การ (Organizational governance)
6.2.1 เหตุผล (Rationale)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า ธรรมาภิบาลจัดเป็นศูนย์กลางของการสร้างความมั่นคง และยั่งยืนทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการยกระดับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับองค์การ/ หน่วยงานแต่ละแห่งได้โดยตรง เพราะฉะนั้นรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ที่องค์การควรปฏิบัติ และยึดถือจะครอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การยินยอมให้เข้ามามีส่วนร่วม (Participation) การอนุมัติหรือมีฉันทามติที่เกิดขึ้นในทิศทางเดียวกัน (Consensus-oriented) ความรับผิดและการสร้างความน่าเชื่อถือ (Accountable) ความโปร่งใส (Transparent) การตอบสนองอย่างทันทีทันใด (Responsive) การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficient and effective) การแสดงผลของความเท่าเทียมกัน หรือการรวมเข้าไปด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนทั้งหมด (Equivalent and inclusion) และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย (Rule of Law) เป็นต้น
ร่างมาตรฐานยังระบุรายละเอียดเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งว่า ธรรมาภิบาลได้ให้หลักประกันที่สำคัญสำหรับองค์การที่จะมีการควบคุม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใสให้เกิดผลขึ้นมาได้ในระดับที่สูง รวมถึงอาจมีการนำรายละเอียดของกลุ่ม Stakehlders ประเภทที่ต้องได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษ (Vulnerable groups) สมควรนำเข้ามาพิจารณาร่วมด้วยสำหรับองค์การ ซึ่งรายละเอียดประการหลังนี้ถือว่า เป็นความรับผิดชอบที่สำคัญต่อสังคมในปัจจุบันและอนาคต
นอกจากนี้รายละเอียดประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลขององค์การ ยังครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญ คือ การรวมเข้าไปด้วยกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน (Inclusiveness) การอาศัยเครื่องกำกับทางจริยธรรม (Ethical conduct) การเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ (Disclosure of information) การแสดงความเคารพต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย (Respect for the rule of law) และการรับผิด การสร้างความน่าเชื่อถือ/ ถูกต้องและสมบูรณ์ (Accountability) โดยรายละเอียดดังกล่าวจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับวิธีปฏิบัติงานที่นำพาไปสู่เรื่องของการปกป้อง/ คุ้มครองสิ่งแวดล้อม การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน/ การพัฒนาสังคม สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติที่เป็นธรรม และประเด็นด้านผู้บริโภค ซึ่งถูกระบุรายละเอียดไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้แล้วเป็นส่วนใหญ่
6.2.2 ประเด็นหลัก - การรวมเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มก้อน (Core issue - Inclusiveness)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ล้วนมีสิทธิในเรื่องของการเข้ามามีส่วนร่วมตามช่องทางที่เป็นประโยชน์ ต่อการได้รับข้อมูล ข่าวสาร การวางแผนงาน การกำหนดทิศทาง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจขององค์การ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของกลุ่ม Stakeholders เหล่านั้นอยู่โดยตรง
6.2.3 ประเด็นหลัก - การอาศัยเครื่องกำกับทางจริยธรรม (Core issue – Ethical conduct)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า เมื่อองค์การตัดสินใจและดำเนินงานในเรื่องเช่นนี้แล้วนั้น ก็จำเป็นต้องมีแนวทางของการปฏิบัติงานอื่นๆ เสริมเข้ามาอีกร่วมด้วย เช่น การสื่อสารถึงคุณค่าของเครื่องกำกับทางจริยธรรม ให้เผยแพร่ออกไปได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การตามลำดับ การใช้ประโยชน์จากเครื่องกำกับทางจริยธรรม หรือจรรยาบรรณ (Code of conduct) เพื่อมุ่งหวังผลสำหรับการควบคุมภายในองค์การ (Internal controls) และการจัดเตรียมรายการ/ โปรแกรมสำหรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทางจริยธรรม (Ethics programs) ในลักษณะต่างๆ ขึ้นมารองรับภายในองค์การอีกร่วมด้วย เป็นต้น
6.2.4 ประเด็นหลัก - การเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ (Core issue – Disclosure of information)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ จัดเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยมีการอนุญาตให้มีการเฝ้าติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์การขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการมีวิธีการเปิดเผยข้อมูล โดยอาศัยผ่านช่องทาง และสื่อต่างๆ อย่างเหมาะสมเช่นนั้น จึงสามารถทำการเปิดเผยเงื่อนไข และสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานด้านจริยธรรมออกมาให้เห็นผลได้อย่างเด่นชัดสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ขอยกตัวอย่างเช่น การขัดแย้งกันทางผลประโยชน์ การละเมิดสิทธิทางกฎหมาย การเกิดขึ้นของปัญหาคอร์รัปชั่น และการสมรู้ร่วมคิดร่วมกัน เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้ร่างมาตรฐานยังแนะนำว่า ผลการตัดสินใจสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การจะต้องมีความยุติธรรม และโปร่งใสต่อการตรวจสอบ โดยเฉพาะข้อมูล/ สารสนเทศใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานดังกล่าว จึงจำเป็นจะต้องถูกเปิดเผยออกมาอย่างเป็นอิสระ ไม่เสียค่าใช้จ่าย และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ต้องเป็นไปได้โดยง่าย หรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไปสำหรับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบขึ้นมาจากการปฏิบัติงานขององค์การแห่งนั้นตามลำดับ
6.2.5 ประเด็นหลัก - การเคารพต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย (Core issue – Respect for the rule of law)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ระบุว่า องค์การจะต้องมั่นใจได้ว่า ผลการตัดสินใจ และวิธีการปฏิบัติงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง จะต้องแสดงความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎเกณฑ์ และข้อกำหนดเป็นสำคัญ ดังนั้นการแสดงความเคารพต่อหลักเกณฑ์ทางกฎหมายจึงครอบคลุมรายละเอียดของ “การปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้อง (Compliance)” และ “การบังคับใช้เพื่อให้ปฏิบัติตาม (Enforcement)” ซึ่งถูกระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในร่างมาตรฐานบับนี้ กล่าวคือ
- การปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้อง (Compliance): องค์การควรมีความมั่นใจต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับรายละเอียดของกฎหมายประจำชาติ และระดับทั้งถิ่น ทั้งนี้กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมาเหล่านั้น ยังจะต้องแสดงความสอดคล้องเข้ากับรายละเอียดของกฎหมายระดับนานาชาติ หรือเมื่อเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประชุมในระดับนานาชาติอีกด้วย
- การบังคับใช้เพื่อให้ปฏิบัติตาม (Enforcement): องค์การควรมีความมั่นใจต่อการบังคับใช้ โดยทั้งนี้จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเป็นอคติขึ้นมาได้โดยตรง (Impartial enforcement) รวมถึงต้องพิจารณารายละเอียดของกรอบการปฏิบัติด้านกฎหมายที่เป็นธรรม (Fair legal framework) และกระบวนการอุทธรณ์ (Appeal process) ซึ่งถูกระบุรายละเอียดไว้แล้วอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้อีกเช่นกัน
6.2.6 ประเด็นหลัก – ความรับผิด และน่าเชื่อถือ (Core issue – Accountability)
รายละเอียดในเรื่องดังกล่าวได้ถูกระบุไว้อย่างแพร่หลาย และครอบคลุมลงไปในเรื่องของการตัดสินใจ ประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่ได้รับขึ้นมาจากการปฏิบัติงานขององค์การโดยตรง กล่าวคือ
6.2.6.1 การตัดสินใจ (Decision making)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ จะต้องแสดงความรับผิดต่อผลของการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ดังนั้นองค์การจึงควรปฏิบัติต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบขึ้นมาจากการตัดสินใจเช่นนั้น หรือมีการตอบสนองให้เป็นไปตรงตามวิธีการปฏิบัติต่างๆ ที่ได้ระบุไว้เป็นรายละเอียดอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้
นอกจากนี้เมื่อมีการตัดสินใจแล้วนั้น องค์การควรทำการพิจารณารายละเอียดในบางประเด็นที่มีความสำคัญเหล่านี้อยู่ร่วมด้วย เช่น การเปิดเผยถึงรายละเอียดสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับ (Disclosure of interest) ความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริหาร หรือการมอบหมายงาน เพื่อให้ทำหน้าที่ด้านที่ปรึกษาขององค์การ (Board or supervisory body independence) กรอบการปฏิบัติด้านการจัดการและธรรมาภิบาล (Management and governance framework) การให้รางวัลหรือสินน้ำใจสำหรับผู้บริหาร (Exeutive remuneration) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) และการตรวจติดตามภายใน (Internal audit) เป็นต้น
6.2.6.2 ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน (Effectiveness and efficiency)
รายละเอียดภายในหัวข้อกำหนดย่อยนี้ระบุว่า องค์การสามารถทำการส่งมอบความเป็นผลิตภัณฑ์ และงานบริการออกมาสู่แหล่งภายนอกได้ โดยต้องอาศัยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้นๆ เป็นหลัก ดังนั้นแนวความคิดในเรื่องประสิทธิภาพ และการเกิดประสิทธิผลที่ดีขึ้นมาสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การแต่ละแห่งนั้น จึงมุ่งเน้นลงไปถึงลักษณะการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบออกมาต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมเป็นประการสำคัญ
6.3 สิ่งแวดล้อม (Environment)
6.3.1 เหตุผล (Rationale)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า จำนวนประชากรโลกมีแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นสูงถึง 9 พันล้านคนภายในปี 2050 โดยเฉพาะลักษณะการบริโภคด้านพลังงาน และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากกว่าอัตราการเจริญเติบโตของประชากร และยังเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากกว่าระดับความสามารถของแหล่งทรัพยากรตามธรรมชาติ ที่จะทำหน้าที่รองรับหรือดูดซับผลกระทบจากการบริโภคเหล่านี้ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ภายในร่างมาตรฐาน ยังกล่าวถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่ควรสนใจอีกร่วมด้วย เช่น ปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดน้อยถอยลงของพื้นที่ป่าไม้เขตร้อน การเกิดขึ้นของสภาพทะเลทราย ฝนกรด และการสูญสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ ล้วนมีความสำคัญ และแสดงความสัมพันธ์กับ SR อยู่โดยตรง
6.3.2 ประเด็นหลัก - การป้องกันมลภาวะ (Core issue – Pollution prevention)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานยังระบุว่า องค์การสามารถทำการลดระดับผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ให้เกิดขึ้นได้ โดยอาศัยวิธีการปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นเรื่องของการกำจัดมลภาวะทั้งหลายให้หมดสิ้นไป หรือต้องการให้เกิดขึ้นมาได้เป็นจำนวนน้อย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ประเภทของสารเคมีที่เป็นพิษ ก๊าซเรือนกระจก สารที่ช่วยลดปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ สารเคมีที่มีส่วนส่งเสริมต่อการเกิดขึ้นของฝนกรด ของแข็งที่เป็นของเสีย ของเสียประเภทสารอันตราย สารอินทรีย์และไม่ใช่ประเภทอินทรีย์ (สารมลพิษทางน้ำ) การแผ่รังสี เสียงอึกทึก การสั่นสะเทือน ความร้อน กลิ่น และขยะของเสีย เป็นต้น
เพราะฉะนั้นประเด็นของการป้องกันมลภาวะเช่นนี้ จึงสามารถเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอีดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น การเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน/ การพัฒนาของสังคม สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติงานที่เป็นธรรม และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.3.3 ประเด็นหลัก - การป้องกันสภาวะโลกร้อน (Core issue – Prevention of global warming)
ผู้ยกร่างรายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า สภาวะโลกร้อนย่อมส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความยั่งยืนของโลกและมนุษยชาติไว้ โดยที่ความเป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์นั้น ย่อมปรากฏผลออกมาได้ทั้งในลักษณะที่เป็นผู้กระทำ หรือเป็นผู้ถูกกระทำซึ่งได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นมาโดยตรง ดังนั้นจึงต้องการกำหนดให้องค์การทุกประเภท และเช่นเดียวกับในแต่ละรายบุคคล จึงควรมีความเข้าใจ ตระหนักรับรู้ และสามารถทำการะบุชี้บ่งถึงประเด็น และรายละเอียดของสภาะโลกร้อนเหล่านี้ ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมได้มากที่สุด
6.3.4 ประเด็นหลัก - การบริโภคแบบยั่งยืน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Core issue – Sustainable consumption and land use)
รายละเอียดที่อธิบายอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ จะครอบคลุมในเรื่องแหล่งทรัพยากรประเภทที่สามารถนำกลับคืนมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ และรวมไปถึงแหล่งทรัพยากรประเภทที่สิ้นเปลือง หรือเมื่อใช้ประโยชน์แล้วมีสภาพที่หมดสิ้นลงไปตามลำดับ เช่น พลังงาน และเชื้อเพลิง เป็นต้น นอกจากนี้ประเด็นของการบริโภคแบบยั่งยืน ยังแสดงความเกี่ยวข้องกับรายละเอียดในส่วนอื่นๆ ที่ถูกระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้อีกด้วย เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน/ การพัฒนาทางสังคม การปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.3.5 ประเด็นหลัก – การสงวนรักษาไว้ การฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม (Core issue – Preservation and restoration of ecosystems and the natural environment)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ได้ให้พื้นฐานแนวความคิดที่สำคัญสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบขึ้นมาในด้านต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศตามธรรมชาติได้โดยตรง
6.3.6 ประเด็นหลัก – การเคารพ/ นับถือต่อชั่วอายุคนในรุ่นต่อไป (Core issue – Respect for future generation)
รายละเอียดสำคัญที่อธิบายอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ก็คือ ในระยะเวลาภายหลังจากปี 1983 เป็นต้นมา ซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่ UN ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการระดับโลกที่เรียกว่า World Commission on Environment and Development และกระตุ้นก่อให้เกิดแนวความคิดที่เรียกว่า “การพัฒนาแบบยั่งยืน” ขึ้นมาตามลำดับ โดยมีการกำหนดออกมาเป็นความหมายที่ชัดเจนว่า เป็น “รูปแบบหนึ่งของการพัฒนาที่สามารถกระทำขึ้นมา เพื่อต้องการให้ตอบสนอง หรือบรรลุถึงความต้องการของคนในปัจจุบัน โดยปราศจากการประนีประนอม ในเรื่องการรักษาระดับความสามารถต่อการใช้ประโยชน์ที่สามารถตอบสนองต่อคนในชั่วอายุข้างหน้าต่อไปได้อีกด้วย” เพราะฉะนั้นประเด็นที่มีความสำคัญเช่นนี้ จึงสามารถเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอีดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.4 สิทธิมนุษยชน (Human rights)
6.4.1 เหตุผล (Rationale)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า ในทางปฏิบัติองค์การจำเป็นต้องมีการจัดตั้ง หรือพัฒนาขึ้นมาสำหรับ “ระบบสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ (International Human rights system)” โดยยึดถืออยู่บนพื้นฐานที่ว่า แต่ละประเทศ/ รัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการกระตุ้นให้มีการปกป้อง/ คุ้มครอง หรือช่วยส่งเสริมให้มีการดำเนินงานในด้านสิทธิมนุษยชน และสอดคล้องเป็นไปตรงตามหลักเกณฑ์พื้นฐานด้านเสรีภาพ โดยต้องการให้เกิดเป็นผลขึ้นมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้มากที่สุด นอกจากนี้ร่างมาตรฐานดังกล่าว ยังระบุเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในบางครั้งอาจมีการกระทำที่ก่อให้เกิดการคุกคามขู่เข็ญ และถือว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นมาได้อย่างกว้างขวาง ขอยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยพื้นฐานมาจากการเกิดสภพความยากจนที่สูงมาก และมีระดับที่เพิ่มขึ้นทุกขณะจากผลสืบเนื่องที่ได้รับมาจากการขยายตัวหรือการเพิ่มพูนสภาพของความเป็นโลกาภิวัฒน์ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างความขัดแย้งหรือคุกคามด้วยกำลังทหาร และการเกิดสงครามกลางเมือง การก่อการร้าย การเกิดขึ้นของ HIV/AIDS และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อประเภทต่างๆ ประเด็นความรุนแรงด้านสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตามสภาพธรรมชาติ เป็นต้น
รายละเอียดที่อยู่ภายในร่างมาตรฐาน ยังระบุ หรือต้องการชี้บ่งให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นในส่วนของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละรายบุคคล ครอบครัว บริษัท และในระดับองค์การภาคประชาสังคม และในที่สุดได้กลายสภาพมาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวมระดับโลกนอกจากนี้ในขณะที่การแสดงความรับผิดชอบ หรือการปกป้องคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชนดังกล่าว จะต้องอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานของแต่ละรัฐฯ ที่จะต้องดำเนินการขึ้นมาเป็นประการสำคัญ แต่จะต้องไม่ลืมอีกเช่นกันว่า ในขณะที่องค์การแต่ละแห่ง ก็มีการดำรงสถานะในการเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคมแห่งนั้นอยู่โดยตรง จึงควรมีการแบ่งปัน/ สนับสนุน หรือทำการช่วยเหลือต่อการสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดเป็นผลขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมได้มากที่สุด
6.4.2 ประเด็นหลัก – สิทธิทางพลเมืองและการเมือง (Core issue – Civil and political rights)
รายละเอียดที่อธิบายอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ระบุว่า จัดถือว่าเป็นความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานสำหรับภาครัฐ ที่จะต้องดำเนินการสนับสนุน หรือมีการปกป้องคุ้มครองสิทธิทางพลเมืองและการเมืองให้เกิดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ทุกองค์การควรทำการสนับสนุน และแสดงความเคารพนับถือต่อการมีสิทธิต่างๆ ทั้งทางพลเมืองและการเมือง ซึ่งได้มีการประกาศรายละเอียดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วเป็นข้อกำหนดในระดับนานาชาติ หรือเมื่ออยู่ภายใต้ขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลภายในองค์การแห่งนั้น และทั้งนี้จะต้องมั่นใจได้ถึงการไม่เข้าไปมีส่วนในการสมรู้ร่วมคิด เพื่อก่อให้เกิดการละเมิดถึงสิทธิเหล่านั้นขึ้นมาเป็นผลโดยตรงอีกด้วย
6.4.3 ประเด็นหลัก – สิทธิทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม (Core issue – Ecnomic, cultural and social rights)
สืบเนื่องเหตุผลมาจากจำนวนประชากรของโลกส่วนใหญ่ ยังคงมีระดับรายได้ทางเศรษฐกิจที่ต่ำมาก ดังนั้นรายละเอียดที่อธิบายอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ จึงระบุว่า จัดเป็นโอกาสที่ดีสำหรับองค์การที่จะสนับสนุนความพยายามทั้งหลายของภาครัฐ ต่อการช่วยปรับปรุงความกินดีอยู่ดีของประชากรให้มีการยกระดับที่สูงขึ้นมาจากสภาพดั้งเดิมอย่างเห็นผลออกมาโดยตรง นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นที่มีความสำคัญเช่นนี้ จึงแสดงความสัมพันธ์ และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอีดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น การปฏิบัติด้านแรงงาน และการปฏิบัติที่เป็นธรรม เป็นต้น
6.4.4 ประเด็นหลัก – สิทธิทางแรงงานขั้นพื้นฐาน (Core issue – Fundamental labor rights)
การแสดงความเคารพนับถือต่อสิทธิของคนงาน จัดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสภาพปัจจุบัน ดังนั้นองค์การจึงควรทำการแบ่งปัน/ สนับสนุน หรือช่วยเหลือในเชิงบวกต่อการยกระดับสภาพสิ่งแวดล้อมของการปฏิบัติงานในขณะนั้นๆ ให้ปรากฏผลอยู่ในสภาพที่เหมาะสม หรือช่วยเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานได้เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นที่มีความสำคัญเช่นนี้ ยังแสดงความสัมพันธ์ และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น การปฏิบัติด้านแรงงาน และการปฏิบัติที่เป็นธรรม เป็นต้น
6.4.5 ประเด็นหลัก – สิทธิของชุมชน (Core issue – Community rights)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การจะต้องมั่นใจได้ถึงสภาพของการปฏิบัติงานต่างๆ จะต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบ หรือสามารถขัดขวางต่อสิทธิของชุมชน และกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังมีความสัมพันธ์ หรือสามารถเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น การปฏิบัติด้านแรงงาน การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาสังคม เป็นต้น
6.5 การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices)
6.5.1 เหตุผล (Rationale)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์การแต่ละแห่งที่จะต้องแสดงบทบาทต่อการปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมของการทำงาน และเงื่อนไขต่างๆ ให้มีความเหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงาน/ คนงานแต่ละราย ได้ทำการแสดงหรือสาธิต เพื่อให้เห็นถึงผลของระดับความสามารถที่หลากหลายอยู่ภายในส่วนตนเช่นนั้น ให้ปรากฏผลเกิดขึ้นมาอย่างเด่นชัด หรือสามารถทำงานอยู่ภายใต้สภาพที่เต็มเปี่ยมไปด้วยระดับความพึงพอใจที่เกิดขึ้นได้ในระดับสูงสุดอีกด้วย
6.5.2 ประเด็นหลัก – สุขอนามัยและความปลอดภัย (Core issue – Occupational health and safety)
องค์การควรมั่นใจได้ว่า รายละเอียดของนโยบายและวิธีการปฏิบัติต่างๆ สามารถนำพาไปสู่การมีเงื่อนไขของการทำงาน และการมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีในด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยขึ้นมาโดยตรง รวมถึงยังมีรายละเอียดที่สอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้เป็นสำคัญ นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังมีความความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ เช่น สิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เป็นต้น
6.5.3 ประเด็นหลัก – เงื่อนไขการทำงานที่สมฐานะ (Core issue – Dignified working conditions)
รายละเอียดที่อธิบายอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ ระบุว่า เพื่อให้รายละเอียดของการทำงานมีความสอดคล้องเข้ากับปฏิญญาหรือคำประกาศสากลที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) มาตราที่ 23.3 ซึ่งกล่าวว่า คนงานสมควรจะได้รับค่าชดเชยต่างๆ ขึ้นมาในระดับที่เหมาะสมกับฐานะสำหรับการปฏิบัติงานของตนเอง ดังนั้นองค์การจึงควรจัดให้มีเงื่อนไขของการทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสม หรือมีความยุติธรรมเกิดขึ้นมาเป็นสำคัญ
นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังมีความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม เป็นต้น
6.5.4 ประเด็นหลัก – การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Core issue – Human resources development)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีความตระหนัก และยอมรับผลในเรื่องทักษะ และศักยภาพที่ต้องการแสดงออกมาของลูกจ้างแต่ละราย เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติที่เหมาะสมองค์การจึงควรเปิดโอกาสให้มีการพัฒนา เพื่อยกระดับความก้าวหน้า โดยอาศัยวิธีการฝึกอบรมให้กับบุคลากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง และในที่สุดจะเป็นการปรับปรุงขวัญกำลังใจให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังช่วยเสริมสร้างทำให้องค์การก้าวเขาไปสู่ระดับความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
6.5.5 ประเด็นหลัก – คนงานในฐานะที่เป็นมนุษย์ (Core issue – The workers as a human being)
ผู้ยกร่างมาตรฐานได้กล่าวถึง ระดับความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันภายใต้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคนงานในฐานะที่เป็นมนุษย์กับสิทธิอื่นๆ ที่สมควรได้รับขึ้นมาตามลำดับ เช่น สิทธิมนุษยชน การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาสังคม เป็นต้น
6.6 การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair operating practices)
6.6.1 เหตุผล (Rationale)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์การแต่ละแห่งที่จะต้องดำเนินการให้เกิดความยุติธรรม และความโปร่งใส โดยเฉพาะการแสดงระดับความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับหน่วยงาน/ องค์การภายนอกอื่นๆ รวมถึงจะต้องมีการหลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมใดๆ ที่ปรากฏออกมาในลักษณะที่เป็นความนิยมชมชอบเป็นการส่วนตน หรือการส่งเสริมให้เกิดผลของการสมรู้ร่วมคิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการอีกด้วย
6.6.2 ประเด็นหลัก – การส่งเสริมกิจกรรมทางจริยธรรมและความโปร่งใส (Core issue – Promotion of ethical and transparent activities)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า วิธีการปฏิบัติงานขององค์การมีอยู่มากมายหลายลักษณะ ที่อาจเป็นผลก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นมา และในที่สุดนำพาไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้โดยตรง ขอยกตัวอย่างเช่น การขึ้นราคาอย่างไม่มีเหตุผลที่สมควร การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลภายในองค์การเป็นไปในแนวทางที่ไม่เหมาะสม การฟอกเงิน การทำสัญญาการจ้างที่เอารัดเอาเปรียบ หรือเอื้ออำนวยผลประโยชน์ที่มากจนเกินไป การล็อบบี้ที่มีความไม่เหมาะสม การสนับสนุนทางการเมืองที่ผิดรายละเอียดของกฎหมาย และการเลือกที่รักมักที่ชัง เป็นต้น
นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังแสดงความเกี่ยวข้อง หรือสามารถเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.6.3 ประเด็นหลัก – การส่งเสริมการแข่งขันอย่างเปิดเผย (Core issue – Promotion of open competition)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีความตระหนัก และยอมรับในเรื่องของการสร้างพฤติกรรมที่เป็นไปในลักษณะต่อต้านการแข่งขันอย่างเสรี หรือการละเมิดที่กระทำออกมาในลักษณะที่เป็นผู้ควบคุมกลไกการตลาดแต่เพียงผู้เดียว (Monopoly) ย่อมเป็นปัจจัยประการสำคัญที่ส่งผลต่อการบิดเบือน และเบี่ยงเบนสภาพการแข่งขันที่แท้จริงได้ และยังเป็นอันตรายต่อการทำงานขององค์การ และผู้บริโภคในขั้นตอนสุดท้ายแทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังมีความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.6.4 ประเด็นหลัก – การใช้ประโยชน์จากความเป็นธรรมและเชิงจริยธรรม สำหรับการปฏิบัติงาน หรือในระยะภายหลังการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา/ จัดจ้างเข้ามาสู่องค์การ (Core issue – Application of fair and ethical supply and after-supply practices)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรกำหนดข้อผูกมัด และแสดงความรับผิดชอบต่อองค์การอื่นๆ ที่อยู่ภายนอก และรวมไปถึงผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นจึงแนะนำว่า องค์การจะต้องกำหนดรายละเอียดกฎเกณฑ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าไปเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติในเรื่องการจัดซื้อ/ การจัดหา/ การจัดจ้าง (Procurement) ที่มาจากแหล่ง/ หน่วยงานภายนอกร่วมด้วยเสมอ
นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังแสดงความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.6.5 ประเด็นหลัก – การเคารพนับถือต่อทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิทางทรัพย์สิน และผลประโยชน์ของผู้ใช้ประโยชน์ขั้นสุดท้าย (Core issue – Respect for the intellectual and other property rights, and respect for users’ interest)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การจะต้องไม่เข้าไปผูกมัดตนเองกับการกระทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ที่ถือว่า เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นมาโดยตรง เช่น การคัดลอกเอกสารโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการปลอมแปลงรายละเอียดเนื้อหาของเอกสารบางประการ เป็นต้น รวมถึงองค์การจะต้องไม่แสดงการจำกัดรายละเอียด ให้ดำเนินสอดคล้องเป็นไปตรงตามเงื่อนไขทางสัญญาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเช่นนั้น ซึ่งถือว่า มีลักษณะเป็นผลประโยชน์ของผู้ใช้ประโยชน์ขั้นสุดท้าย (End-users) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย
นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังแสดงความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และประเด็นด้านผู้บริโภค เป็นต้น
6.6.6 ประเด็นหลัก – การต่อต้านคอร์รัปชั่น (Core issue – Fight against corruption)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การจะต้องยอมรับว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นส่วนใหญ่จะปรากฏผลที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแบบยั่งยืน และยังส่งผลกระทบต่อการเกิดขึ้นสำหรับความยากจนของชุมชนได้อีกด้วย
6.7 ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer issues)
6.7.1 เหตุผล (Rationale)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ระบุว่า องค์การจะต้องมีความั่นใจได้ถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์และงานบริการเหล่านั้น จะต้องไม่เป็นสาเหตุหลักสำหรับการเกิดขึ้นมาของผลความเสี่ยง หรือปรากฏเป็นผลกระทบต่อการถูกนำไปใช้ประโยชน์จากผู้บริโภคในแต่ละรายบุคคลได้ต่อไป
6.7.2 ประเด็นหลัก – การให้รายละเอียดข้อมูล/ สารสนเทศที่เป็นไปอย่างถุกต้อง และเหมาะสมกับผู้บริโภค (Core issue – Providing consumers with accurate and adequate information)
รายละเอียดของประเด็นดังกล่าว ยังมีความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และการปฏิบัติที่เป็นธรรม เป็นต้น
6.7.3 ประเด็นหลัก – การสร้างและพัฒนาขึ้นมาของผลิตภัณฑ์และงานบริการ ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Core issue – Provision and development of environmentally and socially benefits of product and services)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม หรือกระตุ้นการขาย/ การตลาดเพื่อให้เกิดเป็นผลสำเร็จขึ้นมาสำหรับผลิตภัณฑ์ และงานบริการก็ตาม จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ และงานบริการที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสม และสามารถเป็นประโยชน์ที่ดีต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง
6.7.4 ประเด็นหลัก – การสร้างและพัฒนาขึ้นมาของผลิตภัณฑ์และงานบริการที่ปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือ (Core issue – Provision and development of safe and reliable products and services)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการสร้าง และพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานบริการที่ประกอบไปด้วยความปลอดภัย หรือมีความน่าเชื่อถือขึ้นมาโดยตรง นอกจากนี้องค์การจะต้องไม่แสดงความเกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติใดๆ หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลของความเสี่ยง และความเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคขึ้นมาตามลำดับ
รายละเอียดของประเด็นที่กล่าวไว้นี้ ยังแสดงความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาสังคม และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เป็นต้น
6.7.5 ประเด็นหลัก – การปกป้องคุ้มครองความเป็นส่วนตนของผู้บริโภค (Core issue – Protection of consumers’ privacy)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า ข้อมูลส่วนตนทั้งหลายกำลังมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะที่เป็นแหล่งของสารสนเทศ และเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารสมัยใหม่ และในขณะเดียวกันการแสดงผลของความเป็นส่วนตนเช่นนั้น ยังเกี่ยวข้องเป็นเรื่องประชาธิปไตยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในทางปฏิบัติ หรือปรากฏเป็นกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานสำหรับมนุษย์ที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก
นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นที่กล่าวไว้นี้ ยังแสดงความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น ความสง่างาม/ ภาคภูมิใจ/ การดำรงความเป็นส่วนตน ซึ่งถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน หลักธรรมาภิบาล และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เป็นต้น
6.8 การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน/ การพัฒนาสังคม (Community involvement/ society development)
6.8.1 เหตุผล (Rationale)
การพัฒนาสังคมและชุมชนที่เน้นถึงความมั่นคง และลักษณะที่ยั่งยืนเป็นส่วนใหญ่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ได้รับขึ้นมาจากผลการปฏิบัติ การดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ จากองค์การแต่เพียงประการเดียว แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับรายละเอียดของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นมาจากการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนในระดับท้องถิ่น และ/ หรือสังคมในระดับชาติร่วมด้วย
ดังนั้นผู้ยกร่างมาตรฐานจึงแนะนำให้องค์การทำการจัดตั้ง และดำเนินงานในลักษณะที่เป็น “หุ้นส่วนของความร่วมมือกันในระดับโลก (Global partnership)” ทั้งนี้เพื่อต้องการลดปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างองค์การ ชุมชน และสังคมลงได้เป็นอย่างดี
6.8.2 ประเด็นหลัก – การพัฒนาขึ้นมาของผลกระทบต่อชุมชน (Core issue – Development impacts to community)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า วัตถุประสงค์โดยรวมของความต้องการในการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน/ การพัฒนาสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยกระตุ้น และส่งเสริมการสร้างการพัฒนาแบบยั่งยืนให้ปรากฏเห็นผลขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นลงไปที่ผลลัพธ์ในเชิงบวกที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหา และแก้ไขผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากผลการปฏิบัติงานขององค์การแต่ละแห่งได้โดยตรง
6.8.2.1 การแข่งขันในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร (Resource competition)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับระดับความสามารถของการจัดการในเรื่องการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ เป็นสำคัญ แต่ทั้งนี้ยังต้องแสดงความเคารพนับถือต่อสิทธิทางทรัพย์สิน การใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรในภาพรวมทั้งหมด การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ปรากฏเป็นแหล่งดั้งเดิมตามธรรมชาติ และสิทธิของกลุ่มประชาชนพื้นเมืองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น เป็นต้น
6.8.2.2 สุขภาพ และความปลอดภัยของชุมชน (Community health and safety)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรทำการพิจารณา หรือมีการระบุ/ ชี้บ่งถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งจัดทำออกมาเป็นรายการที่แสดงถึงข้อที่ควรพิจารณาออกมาอย่างชัดเจน และต้องปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อชุมชนได้มากที่สุด
6.8.2.3 แหล่งทรัพยากรที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural and heritage resources)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การแต่ละแห่งต้องมีการระบุ/ ชี้บ่ง เพื่อต้องการดำรงรักษาไว้ การส่งเสริมและช่วยกระตุ้น และการปกป้องคุ้มครองต่อแหล่งทรัพยากรประเภทที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และการปรากฏสภาพในการเป็นแหล่งขององค์ความรู้แบบดั้งเดิมประจำชุมชนหรือท้องถิ่นแห่งนั้นเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้รายละเอียดของประเด็นที่กล่าวไว้นี้ ยังแสดงความสัมพันธ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ระบุไว้อยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้อีกด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน เป็นต้น
6.8.2.4 การจ้างงาน (Employment)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรทำการพิจารณาถึงวิธีการจ้างงานในระดับท้องถิ่นหรือแหล่งภายนอกอื่นๆ โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับรายละเอียดหรือประเด็นของการจ้างงานเป็นสำคัญ
6.8.2.5 การสร้างความมั่งคั่งขึ้นมา (Wealth generation)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า ภายใต้ขอบเขตการปฏิบัติตามความมุ่งหมายของประเด็นดังกล่าว เพื่อต้องการให้เห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรมนั้น องค์การควรทำการศึกษา พิจารณา และดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ GRI Sustainability Reporting Guideline และ OECD Guideline for Multinational Enterprise เป็นสำคัญ
6.8.2.6 การแบ่งปัน/ สนับสนุน และช่วยเหลือทางภาษี (Tax contributions)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า ภายใต้ขอบเขตของการปฏิบัติตามความมุ่งหมายของประเด็นดังกล่าว องค์การควรทำการศึกษา ปรึกษาหารือ และดำเนินการรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นมาตามข้อเสนอแนะของ GRI Sustainability Reporting Guideline เป็นสำคัญ
6.8.2.7 การแบ่งปัน/ สนับสนุน และช่วยเหลือต่อสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่น (Contribution to the local economy)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรพิจารณาถึงแหล่งรับจ้างงานจากภายนอกที่ประจำอยู่ในท้องถิ่นแห่งนั้น (Local outsourcing) เป็นความสำคัญก่อนในลำดับแรกสำหรับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการรับจ้างช่วง (Sub-contractors) ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และงานบริการขององค์การไปให้กับผู้ใช้ประโยชน์ในขั้นสุดท้าย/ ผู้บริโภคได้ต่อไปตามลำดับ ซึ่งในที่สุดจะเป็นการช่วยยกระดับ หรือสนับสนุนสภาพทางเศรษฐกิจประจำท้องถิ่นแห่งนั้นขึ้นมาได้โดยตรง
6.8.2.8 นวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ (Innovation, technology and science)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรทำการศึกษา วิจัยและมีการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อต้องการยกระดับการพัฒนา นวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ให้เกิดเป็นผลที่ดีขึ้นมาตามลำดับ รวมถึงยังเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพของผลิตภัณฑ์/ สินค้า และงานบริการ ให้สามารถตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์/ ผู้บริโภค และสังคมได้โดยตรง
6.8.3 ประเด็นหลัก – การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน (Core issue – Community involvement)
ประเด็นดังกล่าวมีรายละเอียดที่ครอบคลุมอยู่หลายประการ เช่น การปรากฏโครงสร้างทางสาธารณูปโภค (Infrastructure) ภายในชุมชน ระดับหรือกำลังความสามารถ (Capacity building) ของชุมชนแห่งนั้น การลงทุนอย่างรับผิดชอบ (Resposible investment) การมีโอกาสหรือได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (Equal opportunity) การมอบหมายอำนาจและความเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน (Empowerment and partnership) เป็นต้น นอกจากนี้องค์การควรพิจารณารายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในชุมชน โดยอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานสำหรับการลงทุนในโรงเรียน/สถานศึกษา โรงพยาบาล ถนนสาธารณะ การยกระดับการศึกษา และงานบริการภาคสาธารณะประจำชุมชน/ ท้องถิ่นแห่งนั้นเป็นเรื่องสำคัญอีกด้วย
6.8.4 ประเด็นหลัก – การพัฒนาสังคม (Core issue – Society development)
รายละเอียดขอบประเด็นดังกล่าวครอบคลุมถึงความกินดีอยู่ดีของสังคม (Social well-being) และทุนทางสังคม (Social capital) เป็นสำคัญ
6.8.5 ประเด็นหลัก – การทำบุญและบริจาค (Core issue – Philanthropy)
รายละเอียดของประเด็นดังกล่าวครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานทางสังคม (Socal action) และการทำหน้าที่เพื่อเป็นอาสาสมัครต่างๆ (Volunteering) เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้เมื่อมีการกำหนดหรือพิจารณาการปฏิบัติงานทางสังคมนั้น องค์การยังจำเป็นจะต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดทำโครงการทางสังคมขึ้นมาในระดับท้องถื่น (Local social program) การลงทุนทางสังคมที่ไม่ใช่ภาคสาธารณะ (Non-public social investment) และการมอบหมายอำนาจให้กับชุมชนประจำท้องถิ่น (Empowerment of local communities) เป็นต้น
· หัวข้อกำหนด 7: ข้อแนะนำสำหรับองค์การต่อการจัดตั้ง SR ขึ้นมา (Guidance for organizations on implementing SR)
7.1 บททั่วไป (General)
หัวข้อกำหนดย่อยนี้ได้ให้ข้อแนะนำในทางปฏิบัติต่อการบูรณาการ และการจัดตั้ง SR ขึ้นมาภายในองค์การเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังระบุถึงวิธีการปฏิบัติในลักษณะที่องค์การประเภทใดๆ จะสามารถนำรายละเอียดที่สำคัญเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้โดยตรงต่อไป รวมถึงรายละเอียดภายในร่างมาตรฐาน ยังอนุญาตให้องค์การแต่ละแห่ง สามารถทำการสลับหรือเปลี่ยนลำดับของหัวข้อกำหนดในแต่ละหัวข้อ ให้เป็นไปได้อย่างเหมาะสม หรือมีความสอดคล้องเข้ากับวิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ภายในองค์การของตนเองได้อีกด้วย
7.2 การวิเคราะห์บริบทที่อยู่ภายใต้ขอบเขต ที่องค์การปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นๆ (Analyzing the context in which an organization operates)
7.2.1 บททั่วไป (General)
ผู้ยกร่างมาตรฐานฉบับนี้ต้องการแนะนำให้องค์การแต่ละแห่ง จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจในรายละเอียด หรือบริบทที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจว่า มีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพที่องค์การแห่งนั้น กำลังปฏิบัติงานอยู่เป็นสำคัญ ทั้งนี้ยังจะต้องพิจารณารายละเอียดที่ครอบคลุมไปถึงหลักการโดยทั่วไป หลักการสำหรับการปฏิบัติ SR (หัวข้อกำหนดที่ 5) และประเด็นหลักของ SR (หัวข้อกำหนดที่ 6) อีกร่วมด้วย
7.2.2 การวิเคราะห์รายละเอียดขององค์การโดยรวม (Analyzing the organization’s profile)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรทำการศึกษา และประเมินผลออกมาในสภาพปัจจุบันสำหรับรายละเอียดการปฏิบัติงานทั้งหมดขององค์การแห่งนั้น ในมุมมองที่เกี่ยวข้องทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ว่า มีผลเกิดขึ้นที่แท้จริงในเบื้องต้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะถ้าเป็นไปได้ควรทำการพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เกี่ยวข้องในหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะและประเภทขององค์การ เอกสารที่มีการระบุหรือกล่าวถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย หลักการ คุณค่าและจรรยาบรรณขององค์การ ข้อมูลในเชิงปริมาณที่เป็นผลลัพธ์มาจากการปฏิบัติงานด้านต่างๆ (ได้แก่ จำนวนลูกจ้าง/ พนักงาน หรือระดับรายได้รวมทั้งหมดที่ได้รับขึ้นมาขององค์การ ฯลฯ) ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่กระทำอยู่ในระดับท้องถิ่นหรือระดับนานาชาติ เป็นต้น รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่องค์การได้ปรากฏผลเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายใน “ห่วงโซ่อุปทาน” อีกด้วย
7.2.3 การวิเคราะห์บริบทของ SR (Analyzing the SR context)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการวิเคราะห์ถึงบริบทที่เกี่ยวข้องกับ SR โดยต้องคำนึงถึงหลักการหรือประเด็นหลัก SR ที่สำคัญต่างๆ (หัวข้อกำหนดที่ 5 และ 6) และผลการปฏิบัติงานด้าน SR ขององค์การแห่งนั้น (หัวข้อกำหนดย่อยที่ 7.2.1) ร่วมด้วยเสมอ สำหรับการวิเคราะห์ดังกล่าว ยังจะต้องครอบคลุมรายละเอียดลงไปถึงการระบุ/ ชี้บ่ง เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎเกณฑ์ หรือข้อกำหนดทางกฎหมายอีกด้วย นอกจากนี้องค์การอาจทำการระบุ/ ชี้บ่งถึงประเด็นหลัก SR บางประการเพิ่มเติมขึ้นมาอีกร่วมด้วย หรือมีการกำหนดรายละเอียดของโครงการ/ กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมเข้ากับองค์การ การคำนึงถึงผลกระทบและระดับความท้าทายในการปฏิบัติงานด้าน SR เป็นประการสำคัญ
7.2.4 การวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholdes (Analyzing the stakeholder context)
การแสดงผลการผูกมัดเข้ากับ Stakeholder จะปรากฏเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของ SR เพราะฉะนั้นองค์การจึงควรมีการวิเคราะห์บริบทในเรื่องดังกล่าวอยู่ร่วมด้วยเสมอทุกครั้ง ก่อนจะเริ่มต้นปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาภายในองค์การเป็นลำดับต่อไป
7.2.5 วิธีการและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง (Methods and approahes)
ผู้ยกร่างมาตรฐานระบุว่า มีวิธีการที่เกี่ยวข้องอยู่มากมายหลายประการ ซึ่งองค์การอาจนำไปใช้ประโยชน์ หรือสามารถทำการวิเคราะห์ค้นหารายละเอียดบริบทของการปฏิบัติงานในภาพรวมทั้งหมดขององค์การ หรือบริบทที่เกี่ยข้องกับการพัฒนาแบบยั่งยืน และกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เป็นต้น ดังนั้นองค์การจึงควรเลือกใช้ประโยชน์ตามหลักการ และแนวความคิดด้าน SR ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ให้ดำเนินเป็นไปได้อย่างเหมาะสมในทางที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ หรือมีผลดีเกิดขึ้นมามากที่สุดเป็นสำคัญ
7.3 การบูรณาการ SR ให้แพร่กระจายเข้าไปสู่องค์การได้อย่างทั่วถึง (Integrating SR throughout organization)
7.3.1 บททั่วไป (General)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรดำเนินการจัดตั้งมาตรฐาน SR ขึ้นมารองรับ โดยต้องการให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ หรือให้มีผลในรายละเอียดที่สอดคล้องเป็นไปตามบริบทด้าน SR ที่ได้กระทำไว้แล้วในเบื้องต้น นอกจากนี้ควรมีการกำหนด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดบางประการของนโยบายองค์การ หรือกลยุทธ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน SR ขึ้นมาได้ โดยอาศัยผ่านจากประสบการณ์ของการจัดตั้ง หรือการบูรณาการ SR เหล่านั้น ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากอดีต เพื่อนำไปสู่แนวทางของการปฏิบัติในแนวทางใหม่ได้อย่างเหมาะสมต่อไปอีกด้วย
7.3.2 การยอมรับถึงหลักการ SR (Adoption of principle)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรยอมรับ และคำนึงถึงหลักการตามแนวทางของ SR ที่ได้มีการระบุ/ ชี้บ่ง หรือผ่านการวิเคราะห์บริบทมาแล้วจากในเบื้องต้น หรืออาจยึดถือมาจากการเกิดขึ้นของผลลัพธ์ด้าน SR ต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาแล้วในอดีต เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง หรือเปลี่ยแปลงแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน หรือมีความเหมาะสมเกิดขึ้นได้ในลำดับต่อไป
7.3.3 การบูรณาการ SR ให้เข้าไปสู่รายละเอียดต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และจรรยาบรรณขององค์การ (Integrating SR into vision, mission, policies and code of conduct)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรทำการบูรณาการรายละเอียดทั้งหมดจากผลที่ได้รับขึ้นมา โดยผ่านการวิเคราะห์บริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นมาแล้วจากในเบื้องต้น ให้นำไปสู่วิธีการปฏิบัติที่มีความเหมาะสมกับองค์การขึ้นมาตามลำดับ เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย หรือแนวทางการปฏิบัติงานด้าน SR ต่างๆ ให้ปรากฏออกมาอยู่ในรูปแบบของระบบเอกสารได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้องค์การอาจมีการกำหนด หรือเลือกวิธีการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือออกไปจากที่กล่าวไว้ภายในร่างของมาตรฐานฉบับนี้ ก็สามารถกระทำได้อีกเช่นเดียวกัน
7.3.4 การกำหนดขอบเขตของการควบคุม หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลภายในองค์การ (Determining sphere of control and influence)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการกำหนดถึงขอบเขตของบรรยากาศ หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์การแต่ละแห่ง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัจจัยดังกล่าว จะแสดงบทบาทที่สำคัญต่อการทำให้องค์การ ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ด้าน SR เพื่อให้สามารถตอบสนอง หรือดำเนินงานเป็นไปได้อย่างเหมาะสมอีกร่วมด้วย
7.3.5 การกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ (Developing objectives and strategies)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ (ซึ่งถูกระบุอยู่ไว้ทั้งในแผนงานระยะสั้น และแผนงานระยะยาว) รวมถึงกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ขึ้นมา เพื่อมุ่งหวังผลสำหรับการปฏิบัติงาน SR และทั้งนี้ต้องมีความสอดคล้องเข้ากับรายละเอียดที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ระบบเอกสาร/ วิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงภายในองค์การแห่งนั้น เช่น เอกสารที่แสดงถึงจรรยาบรรณองค์การ หรือคำประกาศของหลักการด้าน SR ต่างๆ เป็นต้น
7.3.6 วิธีการและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง (Methods and approahes)
ในช่วงที่กำลังยกร่างมาตรฐานอยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีการกำนดรายละเอียดหรือเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งสิ้น
7.4 การทำงานร่วมกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ (Working with stakeholders)
7.4.1 บททั่วไป (General)
หัวข้อกำหนดนี้ต้องการมุ่งเน้นสำหรับการให้ข้อแนะนำที่ว่า องค์การควรมีการระบุ/ ชี้บ่ง การคัดเลือก และการแสดงผลความผูกมัดของตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ได้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมเป็นอย่างไร รวมถึงยังอธิบายว่า เป็นเพราะมาจากเหตุผลประการสำคัญอะไร จึงจำเป็นจะต้องมีการกระทำในเรื่องของการผูกมัดดังกล่าวเข้ากับกลุ่ม Staleholders ต่างๆ เหล่านั้นอยู่ร่วมด้วยเสมอ
7.4.2 การระบุ/ ชี้บ่ง และการคัดเลือก Stakeholders (Stakeholders identification and selection)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการระบุ/ ชี้บ่งถึงกลุ่ม Stakeholdes ต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ และแสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง ทั้งกลุ่มบุคคลที่อยู่ภายใน หรือมาจากแหล่งภายนอกองค์การ และครอบคลุมลงไปถึง “คู่ค้า/ ผู้ส่งมอบ (Suppliers)” แต่ละรายได้อีกด้วย ดังนั้นองค์การจึงควรทำการประเมินถึงผลประโยชน์ที่ได้รับขึ้นมาโดยตรงจากกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ และรวมไปถึงข้อควรพิจารณาบางประการ และการรักษาระดับความสัมพันธ์ร่วมกับองค์การภายนอกแต่ละแห่งเหล่านั้นไว้เป็นเรื่องสำคัญอีกด้วย
7.4.3 หุ้นส่วนและการร่วมมือซึ่งกันและกัน (Partnership and collaboration)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรทำการแสวงหาหุ้นส่วนและความร่วมมือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อต้องการก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม การลดความขัดแย้งลงมากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และต้องการให้เป็นไปในลักษณะที่เป็นเชิงสร้างสรรค์เพิ่มมากยิ่งขึ้น หรืออยู่ในสภาวะที่เป็น “ผู้ชนะ-ผู้ชนะ (Win-Win solution)” ด้วยกันได้ทั้งหมด
7.4.4 การบูรณาการข้อมูลป้อนกลับที่ได้รับขึ้นมาจากผลของการแสดงความผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ (Integrating feedback from stakeholder engageemnt)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า การแสดงผลของความผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ในลักษณะที่มีความหมายที่ดีนั้น ล้วนกระตุ้นก่อให้เกิด “สภาพที่เปลี่ยนแปลง (Changes)” ขึ้นมาทั้งทางวัฒนธรรม และกระบวนการปฏิบัติงานด้าน SR ต่างๆ ภายในองค์การแห่งนั้นและทั้งนี้เพื่อให้เห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรม หรือสามารถใช้ประโยชน์จากการเป็นข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งในที่สุดจะแสดงศักยภาพในด้านการเป็นตัวชี้นำที่ดี หรือช่วยส่งเสริมก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ตามลำดับ
7.4.5 วิธีการและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง (Methods and approahes)
รายละเอียดในหัวข้อย่อยเช่นนี้ได้ถูกอธิบายเป็นเนื้อหา และอ้างอิงถึงไว้แล้วอยู่ภายในภาคผนวก B ของร่างมาตรฐานฉบับนี้
7.5 การบูรณาการ SR เข้าไปสู่การปฏิบัติงานประจำวันขององค์การ (Integrating SR into an organization’s daily practices)
รายละเอียดของเนื้อหา และประเด็น SR ต่างๆ ต้องได้รับการบูรณาการ ให้เข้าไปสู่การปฏิบัติงาน หรือผ่านการกระทำเป็นกิจกรรม/ โครงการประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การอยู่โดยตรง รวมถึงต้องมีการทบทวนรายละเอียดของโครงสร้างการบริหาร/ จัดการองค์การ และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์อยู๋โดยตรงกับประเด็น SR เหล่านั้น ให้สามารถดำเนินงานเป็นไปได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเกิดขึ้นมาโดยตรงกับองค์การได้เป็นอย่างดี
7.5.1 การจัดตั้งโครงสร้างองค์การ และการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ (Establishing organization structure and allocating resources)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการกำหนดโครงสร้างที่ปรากฏสภาพอยู่ในขณะนั้นๆ ให้สอดคล้องเป็นไปได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีการจัดสรร หรือเอื้ออำนวยแหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ ให้มีจำนวนที่เพียงพอ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นก่อให้เกิดความมั่นใจได้ถึงวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละส่วน/ หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การแห่งนั้น โดยสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาได้โดยตรง
7.5.2 การเสริมสร้างระดับความสามารถ และการยกระดับความตระหนักขึ้นมาเป็นการภายในองค์การ (Building an organization’s capability and raising internal awareness)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการระบุ/ ชี้บ่ง และทำการพัฒนาระดับความสามารถ ความชำนาญการขึ้นมาเป็นการภายในโดยตรง เช่น การจัดเตรียมแหล่งสารสนเทศที่มีความทันสมัย และมีความเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์ขณะนั้นๆ การกำหนดประเภทของเครื่องมือเพื่อเพิ่มพูนทักษะ และโอกาสในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น นอกจากนี้องค์การต้องสนับสนุน/ ช่วยเหลือ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ และทำการยกระดับความตระหนักให้เกิดขึ้นในทุกส่วน/ หน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การ เช่น พนักงาน สมาชิก ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีการแสดงความเคารพนับถือต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่
7.5.3 การบูรณาการ SR ให้เข้าไปสู่การปฏิบัติงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ (Integrating SR into relevant operations of an organization)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า ในแต่ละส่วน/ หน่วยงานขององค์การสมควรมีการพิจารณารายละเอียดร่วมด้วยว่า การปฏิบัติงานตามประเด็น SR ต่างๆ เช่นนั้น มีการระบุ/ ชี้บ่งถึงผลความสำเร็จออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างไร รวมถึงต้องมีการกำหนดมาตรการหรือวิธีการปฏิบัติงานบางประการที่มีความเหมาะสม หรือแสดงความสอดคล้องเป็นไปตามความต้องการของส่วน/ หน่วยงานเหล่านั้นได้อีกด้วย
7.5.4 การกำหนดเป้าหมาย SR และการคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม (Setting SR targets and selecting actions)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการจัดเรียงลำดับตามความสำคัญของประเด็น SR ต่างๆ ขึ้นมาเป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการกำหนดเป้าหมายด้าน SR ที่จำเพาะเจาะจง และทำการคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม และเป็นรูปธรรมขึ้นมาเสริมรองรับในลำดับต่อไป ทั้งนี้จะต้องอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการมุ่งเน้นต่อผลประโยชน์ที่ได้รับของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และกระบวนการปฏิบัติงานภานในองค์การเป็นเรื่องสำคัญอีกด้วย
7.5.5 วิธีการและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง (Methods and approahes)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ ต้องการมุ่งเน้นสำหรับการเป็นข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการมีการทบทวนผลการปฏิบัติงาน และกระบวนการเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานด้าน SR ภายในองค์การเป็นสำคัญ
7.6.2 การรวบรวม และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Compiling and usage of data)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานแนะนำให้องค์การทำการรวบรวมข้อมูล และมีการจัดเก็บรักษาบันทึกสำหรับการดำเนินกิจกรรม SR หรือผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ไว้ ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทบทวนผลการปฏิบัติงาน SR เหล่านั้นขึ้นมาได้โดยตรง
7.6.3 การทบทวนผลการปฏิบัติงานและความก้าวหน้า (Reviewing performance and progress)
ผู้ยกร่างมาตรฐานแนะนำให้องค์การต้องดำเนินการทบทวนผลการปฏิบัติงานด้าน SR เพื่อให้สอดคลองเป็นไปตรงตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม และต้องมีการเฝ้าติดตามระดับความก้าวหน้าของผลการปฏิบัติงานดังกล่าว โดยสามารถเปรียบเทียบเข้ากับเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้แล้วขององค์การอีกด้วย
7.6.4 การทบทวนของฝ่ายบริหารอาวุโส (Senior management review)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า ฝ่ายบริหารระดับสูงขององค์การ ต้องดำเนินการทบทวนผลการปฏิบัติงานด้าน SR ให้มีความสอดคล้องเป็นไปตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ หรือข้อมูลป้อนกลับที่ได้รับมาจากกลุ่ม Stakeholdes ต่างๆ เป็นสำคัญ
7.6.5 วิธีการและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง (Methods and approahes)
ในช่วงที่กำลังยกร่างมาตรฐานอยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดหรือเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งสิ้น
7.7 การสื่อสาร SR (Communication on SR)
7.7.1 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร SR (Purpose of SR communication)
ผู้ยกร่างมาตรฐานระบุว่า การสื่อสาร SR อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างองค์การ และกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ จะปรากฏเป็นวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งที่องค์การใช้ประโยชน์ เพื่อแสดงความเกี่ยวข้องกับการรายงานผลความสำเร็จหรือระดับความก้าวหน้าของการจัดตั้ง SR ขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้นเป็นสำคัญ
7.7.2 การทำให้มั่นใจได้ถึงความมีประสิทธิภาพของการสื่อสาร SR (Ensuring effective SR communication)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ/ เทคนิคประเภทหนึ่ง หรือเป็นจำนวนที่มากกว่าหนึ่งประเภทก็ได้ สำหรับการใช้เป็นช่องทางที่เหมาะสมในการติดต่อสื่อสารถึงรายละเอียดของผลจากการปฏิบัติงานด้าน SR ออกมา เพื่อให้บุคคล หรือสาธารณชนภายนอกได้รับทราบอยู่โดยตรง
7.7.3 บริบทของการสื่อสาร SR (Ensuring effective SR communication)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การต้องมีการสื่อสารด้วยข้อมูล/ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรม SR ต่างๆ ไปยังกลุ่ม Stakeholders ที่สำคัญ โดยกำหนดให้เป็นไปตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้รายละเอียดของการสื่อสารดังกล่าว จะต้องระบุถึงผลกระทบนัยสำคัญด้าน SR ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติงานขององค์การอยู่โดยตรง หรือเมื่อองค์การปรากฏผลอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสายโซ่อุปทานอีกด้วย
7.7.4 การวางแผนการสื่อสาร SR (Planning for SR communication)
องค์การควรมีการวางแผนงานเพื่อการสื่อสารด้าน SR ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ผู้ยกร่างมาตรฐาน ยังระบุอีกว่า องค์การควรทำการระบุ/ ชี้บ่งถึงเป้าหมายของการสื่อสารออกมาอย่างชัดเจน และมีการพิจารณารายละเอียดของการปฏิบัติงานบางประการเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อก่อให้เกิดการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เช่นนั้นเป็นประการสำคัญ
7.7.5 การคัดเลือกรูปแบบ และประเภทสื่อที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสาร SR (Selecting SR communication forms and media)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า การสื่อสาร SR อาจกระทำได้ทั้งภายใน และภายนอกองค์การ และยังสามารถปฏิบัติงานได้ในหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณา การสื่อสารทาง Web site จดหมายข่าว และการพูดในที่ประชุมหรือสาธารณะ เป็นต้น
7.7.6 การเปิดเผยข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ (Ad hoc disclosures)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า วิธีการเปิดเผยข้อมูลของ SR ขึ้นมา จำเป็นต้องกระทำภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยมีผลที่สอดคล้องเป็นไปตรงตามความต้องการขององค์การและกลุ่ม Stakeholders หลักเป็นสำคัญ นอกจากนี้องค์การอาจมีการสื่อสารในรูปแบบที่ฉุกเฉินเป็นไปเฉพาะครั้งสำหรับการปฏิบัติงาน SR ก็สามารถกระทำได้อีกเช่นเดียวกัน
7.7.7 การจัดทำรายงานสาธารณะตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ (Periodic public reporting)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า องค์การควรมีการจัดทำรายงาน/ สื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน SR โดยจัดพิมพ์ และเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชนภายนอกได้รับทราบผลตามลำดับ โดยทั้งนี้ต้องมีรายละเอียดที่สอดคล้องเป็นไปตามเนื้อหาที่ถูกอธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้วภายในหัวข้อกำหนดย่อยที่ 7.6.3 เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้รายละเอียดสารสนเทศด้าน SR ดังกล่าว จะต้องมีการผสมผสานเข้าด้วยกันทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณ และการอธิบายความหมาย หรือเป็นการบรรยายถึงบริบท SR ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง
7.7.8 ข้อแนะนำสำหรับองค์การขนาดเล็กต่อการจัดทำรายงาน SR และการสื่อสารข้อมูลประเภทอื่นๆ (Guidance for small organization on SR reporting and other communication)
รายละเอียดภายในร่างมาตรฐานระบุว่า สำหรับองค์การที่มีข้อจำกัดในด้านการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ ควรยึดถือวิธีการสื่อสารที่สามารถปฏิบัติงานขึ้นมาได้ด้วยการอาศัยต้นทุนที่ต่ำมาก เพราะฉะนั้นรายละเอียดของการปฏิบัติ จึงอาจปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น การจัดทำจดหมายข่าว และ/ หรือการจัดพิมพ์เอกสารชั่วคราว การเผยแพร่ข้อมูล/ สารสนเทศผ่านการทำงานทาง Web site หรือการใช้ประโยชน์จาก e-mail เป็นต้น
7.7.9 การพบปะสนทนากับกลุ่ม Stakeholders (Dialogue with stakeholders)
รายละเอียดของหัวข้อกำหนดย่อยนี้ระบุว่า องค์การควรนำข้อมูลที่ได้รับขึ้นมาจากการพบปะสนทนาร่วมกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลนำเข้า (Input) ทั้งหลาย ต้องถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อประเมินถึงระดับความสามารถ ความพอเพียง และความมีประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นมาจากผลการปฏิบัติงานด้าน SR ขององค์การเป็นสำคัญ
7.7.10 วิธีการและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง (Methods and approahes)
รายละเอียดในหัวข้อย่อยเช่นนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมรายงานด้าน SR และกระบวนการสื่อสารต่างๆ ได้ถูก
· ภาคผนวก A (Annex A)
รายละเอียดส่วนนี้จะถูกพัฒนาขึ้นมาภายในระยะเวลาของการยกร่างมาตรฐานครั้งต่อไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการบรรยายถึง “สิ่งริเริ่ม (Initiatives)” ประเภทต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน/ องค์การ/ ภาครัฐบาลในระดับนานาชาติ และยังครอบคลุมลงไปถึงหน่วยงาน/ องค์การที่ไม่ใช่ภาครัฐบาล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำ หรือพัฒนา SR ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เพราะฉะนั้นเนื้อหาที่ได้ถูกบรรยายไว้ จึงประกอบไปด้วยรายละเอียดที่ควรสนใจ ดังนี้
A.1 แนวความคิดพื้นฐาน SR โดยทั่วไป/ การพัฒนาแบบยั่งยืน (General SR/ sustainability)
A.2 แรงงานและสังคม (Labor and social)
A.3 สิ่งแวดล้อม (Environment)
· ภาคผนวก B (Annex B)
รายละเอียดส่วนนี้ต้องการนำเสนอถึงแหล่งอ้างอิงต่างๆ สำหรับการจัดตั้ง SR ขึ้นมาภายในองค์การ โดยจำแนกเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
B.1 การทำงานร่วมกับ Stakeholders (Working with stakeholders)
ในช่วงที่กำลังยกร่างมาตรฐานอยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีการกำนดรายละเอียดหรือเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งสิ้น
B.2 ข้อแนะนำ และเครื่องมือสำหรับการจัดเตรียมรายงาน SR และการสื่อสารต่างๆ (Guidance and tools for preparation of SR reports and other communications)
สำหรับเครื่องมือประเภทต่างๆ ที่ถูกแนะนำให้พิจารณาร่วมด้วยสำหรับการปฏิบัติงานด้าน SR ต่อไป ได้แก่
- Global Reporting Initiative (GRI) Sustainability Reporting Guidelines
- Global Compact Communication on Progress (CoP) Tools
- ISO 14063: 2005 (E) Environmental management. Environmental Communication – Guidelines and Examples
· บรรณานุกรม (Bibliography)
ในช่วงที่กำลังยกร่างมาตรฐานอยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีการกำนดรายละเอียดหรือเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งสิ้น
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น