หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 4 (ตอนที่ 5 จุดแข็ง และจุดอ่อนของมาตรฐาน ISO 26000)

บทที่ 4
ความเป็นมาของมาตรฐาน ISO 26000 และความรับผิดชอบต่อสังคม (Background: ISO 26000 and Social Responsibility)

ตอนที่ 5: จุดแข็ง และจุดอ่อนของมาตรฐาน ISO 26000

8. จุดแข็ง และจุดอ่อนของมาตรฐาน ISO/SR 26000 (Strength and weakness for ISO 26000)
          ถึงแม้ว่ากระบวนการยกร่างมาตรฐานกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจะต้องถูกพัฒนา เพื่อยกระดับรายละเอียด เนื้อหาด้าน SR ให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งนำไปสู่การเป็นมาตรฐานฉบับนานาชาติที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ในประการสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดบางประการที่ควรพิจารณา ทั้งในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏสภาพที่เป็นทั้ง จุดแข็งและ จุดอ่อนของมาตรฐานฉบับนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ควรสนใจ คือ 30/

        8.1 “จุดแข็ง (Strength)” ที่พบเห็นอย่างชัดเจน ได้แก่
· การแสดงภาพลักษณ์ในการเป็น แบรนด์/ ยี่ห้อที่ดี (Good brand)” ขององค์การ ISO ซึ่งถูกยอมรับในชื่อเสียง และมีการเคารพนับถือกันเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะมาตรฐานที่ถูกจัดทำขึ้นมาในแต่ละเรื่อง/ ฉบับ ล้วนเป็นที่สนใจ และนำไปใช้ประโยชน์กันเป็นขอบเขตที่กว้างขวางมาก ทั้งในระดับหน่วยงาน/ องค์การ และวิสาหกิจต่างๆ ด้วยสาเหตุเช่นนี้ ย่อมเป็นเครื่องชี้บ่ง หรือคาดคะเนล่วงหน้าได้เป็นอย่างดีว่า ผลจากการพัฒนามาตรฐาน ISO/SR ขึ้นมาดังกล่าว จึงควรจะได้รับความสนใจในเชิงเปรียบเทียบมากกว่ามาตรฐานอื่นๆ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาจากหน่วยงาน/ องค์การที่มีลักษณะเป็น ผู้ยกร่างมาตรฐานเช่นเดียวกับองค์การ ISO โดยเฉพาะเมื่อมาจากหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐบาล เป็นต้น
· ในมุมมองของการปฏิบัติงานร่วมกับภาครัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ จะพบเห็นได้อย่างชัดเจนว่า องค์การ ISO มีลักษณะพิเศษตรงที่รายละเอียดของการยกร่างมาตรฐานได้ถูกพัฒนา โดยอาศัยการเข้ามามีส่วนร่วมจากตัวแทนภาครัฐบาล ได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง เพราะฉะนั้นการยึดถืออยู่บนพื้นฐานหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดผลดีต่อ ISO ได้โดยตรง ประกอบกับรายละเอียดของประเด็นด้าน SR ต่างๆ ที่มีความสำคัญ และบรรจุไว้เป็นเนื้อหาอยู่ภายในมาตรฐาน เช่น การปฏิบัติงานเพื่อให้แสดงผลของความรับผิดและน่าเชื่อถือ/ ถูกต้อง และสมบูรณ์ (Accountability) รวมถึงความโปร่งใสเกิดขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์การแต่ละแห่ง เป็นต้น ล้วนยังเป็นเรื่องที่ถูกยอมรับขึ้นมาได้ง่ายมากจากหน่วยงาน/ องค์การภาครัฐบาลแทบทั้งสิ้นในปัจจุบัน
· ภารกิขององค์การ ISO ส่วนใหญ่ได้แสดงผลความมุ่งมั่นต่อการสนับสนุน หรือช่วยเหลือเพื่อให้เกิดผลของการพัฒนาแบบยั่งยืนขึ้นมา โดยมีการกำหนดว่า รายละเอียดแนวทางของการปฏิบัติงานด้าน SR ที่ระบุไว้ภายในร่างมาตรฐาน SR เช่นนั้น สมควรจะปฏิบัติงานเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมาได้อย่างไรเป็นเรื่องสำคัญ ขอยกตัวอย่างประกอบให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ได้กำหนดรายละอียดของหัวข้อกำหนด/ เนื้อหาหลักด้านการทวนสอบ (Verification) สำหรับการควบคุม หรือเพื่อต้องการลดระดับการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า Greenhouse Gas (GHG) ไว้อย่างชัดเจนภายในหัวข้อกำหนดย่อยที่ 6.5.3 ประเด็นสิ่งแวดล้อม 1: การป้องกันมลพิษ (Environmental issue 1: Prevention of pollution) ของร่างมาตรฐานฉบับ WD4.2 ซึ่งในที่สุดจะช่วยเอื้ออำนวยให้มีการควบคุม หรือลดระดับ GHG ในสิ่งแวดล้อมออกมาอย่างได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเป็นส่วนใหญ่
· ในขณะที่มาตรฐาน ISO/SR 26000 กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนายกร่างอยู่ก็ตาม แต่รายละเอียดสิ่งหนึ่งที่พบ และควรให้ความสนใจเพิ่มเติมก็คือ กระบวนการยกร่างมาตรฐานดังกล่าว ล้วนให้ความสำคัญในเรื่องเนื้อหาหลัก และประเด็นด้าน SR ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานไว้อย่างชัดจนมาก ประกอบกับกระบวนการยกร่างได้อาศัยการเข้ามามีส่วนร่วมจาก Muiti-stakeholders ต่างๆ ทุกภาคส่วน จึงช่วยส่งเสริม และก่อให้เกิดผลของการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่ยกร่าง และรวมไปถึงการสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นมาร่วมกันทั้งจากภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมต่อการแสดงความรับผิดชอบออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ของมาตรฐาน SR ฉบับนี้ จึงถูกคาดหวังว่า จะประกอบไปด้วยรายละเอียดความสมบูรณ์ที่เป็น ลักษณะของความน่าเชื่อถือ (Creditability)” และสามารถนำพาไปสู่ความสามารถใน การปฏิบัติงาน (Functionally)” ได้อย่างเหมาะสมสำหรับองค์การแต่ละแห่งในโอกาสข้างหน้าต่อไป
· โดยทั่วไปรายละเอียดที่ถือเป็น “”สิ่งริเริ่ม SR” หรือความเป็นมาตรฐานปฏิบัติ จะถูกพัฒนา และกำเนิดมาจากอิทธิพลของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ปรากฏอยู่ภายในพื้นที่ภูมิศาสตร์ของภูมิภาคซีกโลกภาคเหนือ (Northern regions) เป็นส่วนใหญ่ แต่ในขณะที่กรอบการปฏิบิงานขององ์การ ISO และภารกิจในการจัดทำมาตรฐาน ISO/SR 26000 กลับเป็นการเปิดโอกาสของการเข้ามามีส่วนร่วมจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่พบอยู่ในภูมิภาคซีกโลกภาคใต้ (Southern regions) ซึ่งผลที่แสดงความแตกต่างออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือ การกำหนดให้สถาบันมาตรฐานประจำชาติ (NSB) ของประเทศบราซิล และสวีเดน ได้เข้ามาทำหน้าที่สำคัญของการแสดงความรับผิดชอบร่วมกัน ในลักษณะที่เป็นผู้นำแบบคู่สำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐาน SR ให้ดำเนินงานเป็นไปจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงได้ตามลำดับ ซึ่งรายละเอียดของสิ่งนี้ ก็สามารถใช้เป็นเครื่องชี้บ่งให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงผลของการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมจากหน่วยงาน/ องค์การประเภทต่งๆ ที่ปรากฏอยู่ภายในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง
· กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้แสดงทัศนคติ และความคิดเห็นในเชิงลบต่อการกำหนด สิ่งริเริ่ม SR” เป็นไปในแนวทางที่เป็นเรื่องของ ระบบการจัดการ (Management Systems)” หรือเมื่อมีการกำหนด ป้ายฉลาก (Labelling)” ประเภทต่างๆ ขึ้นมากำกับผลของการปฏิบัติงานอยู่ร่วมด้วย ซึ่งในที่สุดอาจถือได้ว่า เป็น ข้อกีดกันทางเทคนิค หรืออุปสรรค (Technical barriers)” ต่อการเปิดเสรีทางการค้าขึ้นมาได้อีกประการหนึ่ง แต่ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับมาตรฐาน ISO/SR 26000 ได้มีส่วนกระตุ้นทำให้องค์การ/ หน่วยงานต่างๆ ที่มาจากกลุ่มประเทศที่พบทั้งอยู่ในภูมิภาคซีกโลกเหนือและใต้ ต่างขานรับเป็นเสียงส่วนใหญ่ ต่อการนำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้ปฏิบัติงานภายในองค์การของตนเอง ทั้งนี้เพื่อแสดงผลถึงความสอดคล้องที่สามารถปฏิบัติเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และตรงตามรายละเอียดของเนื้อหา/ ประเด็น SR สำคัญต่างๆ ที่ระบุไว้อยู่ภายในมาตรฐานเป็นสำคัญ
· องค์การ ISO มีระดับความสามารถที่สูงมากต่อการเชื้อเชิญผู้ปฏิบัติงาน (แต่ละรายบุคคล) ที่มาจากทุกภาคส่วนของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง ให้เข้ามาทำหน้าที่ร่วมกันสำหรับการยกร่างมาตรฐาน SR โดยต้องมีการถกเถียงอภิปราย และแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างกว้างขวาง โดยอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการยอมรับ ฉันทามติ (Concensus)” จากประเทศสมาชิกขององค์การ ISO เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นผลของความก้าวหน้าสำหรับการปฏิบัติงานเช่นนี้ จึงย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าปราศจากการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงกัน การรับฟังความคิดเห็นอย่างเปิดเผย การอาศัยวิธีการประนีประนอม รวมถึงการแสดงความเคารพ/ นับถือ หรือมีความเข้าใจกันอย่างเด่นชัดเป็นเรื่องที่สำคัญอีกด้วย
        8.2 “จุดอ่อน (Weakness)” ที่พบเห็นอย่างชัดเจน ได้แก่
· ถึงแม้ว่า รายละอียดบางประการในส่วนที่เรียกว่า โครงร่างที่แสดงถึงหัวข้อกำหนดต่างๆ ภายในมาตรฐาน หรือ Design Specification” จะสามารถบรรลุถึงข้อตกลง และยอมรับกันในรายละเอียดได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหา/ ประเด็นหลักด้าน SR อยู่บางประการ เช่น บรรทัดฐานระดับนานาชาติของพฤติกรรม (International norms of behavior) และขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลภายในองค์การ (Sphere of influence) เป็นต้น ที่ยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นพ้องต้องกันได้ทั้งหมด ซึ่งทั้งนี้จะต้องมีการชี้แจง หรืออภิปรายรายละเอียดเหล่านี้ในการประชุมครั้งต่อไป
· ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า มี สิ่งริเริ่ม SR” ประเภทต่างๆ ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในลักษณะที่เป็นเครื่องมือระดับหน่วยงาน/ องค์การภาครัฐบาล และภาคเอกชน ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงยังคงมีข้อถกเถียง หรืออภิปรายกันต่อไปว่า จะสมควรทำการคัดเลือกเครื่องมือ SR ประเภทใดที่มีความเหมาะสม เพื่อให้เข้าไปเป็นเนื้อหาที่สำคัญประการหนึ่งอยู่ภายในร่างมาตรฐาน ISO/SR ฉบับดังกล่าวได้ต่อไป โดยเฉพาะจะต้องก่อให้เกิดความเหมาะสมขึ้นมาในเชิงปฏิบัติสำหรับผู้ใช้ประโยชน์ขั้นสุดท้าย (End users) หรือองค์การแต่ละแห่งได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการตั้ง คำถามปลายเปิด (Open questions)” ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวไว้น่าสนใจ ก็คือ
                   - มาตรฐาน SR ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งนี้ สามารถช่วยสะท้อนหรือชี้บ่งถึงสภาพการเป็น เครื่องมือที่แสดงถึงบรรทัดฐาน (Normative instruments)” ที่เหมาะสมขึ้นมาได้อย่างไร โดยเฉพาะจะต้องครอบคลุมถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ควรพิจารณาร่วมด้วยได้หรือไม่ เช่น ด้านแรงงานและสังคม สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม การอ้างอิงถึงผลการประชุม/ คำประกาศต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาในระดับนานาชาติ หรือแสดงความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ เหล่านี้อยู่โดยตรง เป็นต้น
                   - มาตรฐาน SR ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งนี้ สามารถช่วยสะท้อนหรือชี้บ่งถึงความสัมพันธ์โดยตรงกับ เครื่องมือและสิ่งริเริ่ม SR” ที่สำคัญ และพบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันออกมาอย่างได้ผลหรือไม่ เช่น จากคำประกาศของ ILO MNE Declaration เป็นต้น
· ผู้สังเกตการณ์บางรายที่มาจากภาคประชาสังคม มีมุมมอง และพิจารณาว่า มาตรฐาน ISO/SR ที่ยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติงานด้วยความสมัครใจ ค่อนข้างจะปรากฏเป็นจุดอ่ออนที่พบเห็นกันได้ง่ายมากประการหนึ่ง และไม่อาจใช้เป็นเครื่องมือที่สามารถรับประกันได้ว่า จะก่อให้เกิดผลความสำเร็จขึ้นมาต่อการยอมรับ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน/ องค์การแต่ละแห่งได้ต่อไปตามลำดับ เพราะฉะนั้นจากผลในอดีตที่ผ่านมา ตัวแทนที่มาจากภาคประชาสังคม จึงแสดงความคิดเห็นที่โต้แย้ง หรือคัดค้านต่อความพยายามในการพัฒนามาตรฐาน ISO/SR ขึ้นมาตามแนวทางของการมีความยินยอมพร้อมใจเช่นนี้เป็นส่วนสำคัญ
· ผู้วิจารณ์บางรายยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมขึ้นมาอีกประการหนึ่งว่า มาตรฐาน ISO/SR 26000 ไม่ควรถูกนำไปใช้ประโยชน์ หรือแสดงความเหมาะสมต่อการยื่นขอรับรองประกาศนียบัตรในลักษณะเช่นเดียวกับมาตรฐานระบบการจัดการอื่นๆ ที่ ISO เคยกระทำมาแล้วแต่ในอดีต เพราะฉะนั้นการยกร่างมาตรฐาน SR จึงควรดำเนินการเป็นไปตามขอบเขตที่เป็นอิสระ และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือขึ้นมาได้ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตรงตามความต้องการของกลุ่ม Sakeholdrrs ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงเหล่านั้น จะได้รับผลประโยชน์เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าสภาพดั้งเดิมที่ผ่านมา
· จากรายละอียดที่ระบุไว้ในเบื้องต้นว่า กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่สนับสนุนต่อกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 ส่วนใหญ่จะมาจากภาคธุรกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ได้มองเห็นโอกาสว่า จะสามารถใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว ไปเป็นแนวทางที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับตนเองต่อการก้าวเข้าสู่ช่องทางของการค้ากับกลุ่มประเทศที่อยู่ภายในภูมิภาคซีกโลกเหนืออย่างได้ผลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะรายละเอียดของประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชนนั้น กำลังแสดงบทบาทอย่างมีนัยสำคัญยิ่งต่อการควบคุม หรือจำกัดผลประโยชน์ทางการค้าได้โดยตรง
· ผู้เข้าร่วมประชุม และผู้สังเกตการณ์บางรายได้ให้ความคิดเห็นในลักษณะที่เป็นข้อโต้แย้งว่า องค์การ ISO ยังไม่สามารถกระทำให้เกิดสภาพที่สมดุลขึ้นมาได้ในระหว่างกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่มีส่วนเข้าร่วมการประชุม หรือปรากฏเป็นผู้ยกร่างมาตรฐาน SR เพื่อให้เกิดผลที่สมบูรณ์ต่อไป ขอยกตัวอย่าง เช่น ปรากฏว่า มีกลุ่ม NGO ในระดับนานาชาติที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และด้านสิทธิมนุษยชนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการเป็นตัวแทนขึ้นมาจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแต่ประการใด เพราะฉะนั้นการปฏิบัติงานในลักษณะที่ไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ จึงอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำการกัดกร่อนความน่าเชื่อถือของกระบวนการยกร่างมาตรฐาน SR ได้ในประการสุดท้าย
9. บทสรุป (Conclusion)
          จากผลการประชุมสุดยอดขององค์การสหประชาชาติที่ว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน (ในปี 2002) บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายต่างเรียกร้องให้มีการสร้างหรือพัฒนา สิ่งริเริ่ม และมาตรฐาน SR” ในระดับนานาชาติขึ้นมารองรับให้เป็นผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยตรง ในฐานะที่องค์การ ISO จัดเป็นหน่วยงานแห่งหนึ่งที่ทำหน้าที่ บทบาท และมีภารกิจที่สำคัญในด้าน การจัดทำมาตรฐานระดับนานาชาติจึงแสดงความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้ามาสู่การยกร่างมาตรฐานในสาขาใหม่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขต และรายละอียดที่สำคัญ ดังนี้
        - ชื่อเรื่องมาตรฐาน (Titles):  ISO 26000 - ข้อแนะนำสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม
        - เป้าหมาย/ ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดพิมพ์มาตรฐาน (Target date for publication): กันยายน ปี 2009
          - ประเภทมาตรฐาน (Type of standards): รายละอียดของเนื้อหาหลัก ประเด็นที่เกี่ยวข้องภายในมารฐานจะใช้ประโยชน์เพื่อเป็น ข้อแนะนำเท่านั้น โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการยื่นขอรับรองประกาศนียบัตรจากหน่วยงาน/ องค์การที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินบุคคลที่สามได้ต่อไป
          สำหรับแนวทางของการปฏิบัติ หรือกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR ขึ้นมานั้น ได้กำหนดรายละเอียดไว้เป็น 2 ภาค (ตามกรอบระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง) ดังนี้
·  ภาคแรก (ปี 2003 - 2005): การเปลี่ยแนวความคิด หัวข้อวาระ (Agenda) ต่างๆ ของ SR ให้แปรสภาพกลายมาเป็นกรอบของการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ (Strategic frameworks) โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดจนสำหรับการนำไปสู่ความเป็น มาตรฐานระดับโลกที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน (Standards for Sustainable World)” เช่น การพัฒนาเพื่อให้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ และยึดถืออยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจเป็นสำคัญ การเปิดโอกาสและแสดงความั่นใจต่อการยินยอมให้เข้ามามีส่วนร่วมจากกลุ่ม Stakeholdrs ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง การยกระดับความตระหนัก และการสร้างระดับความสามารถของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้เกิดผลขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
           1). การจัดตั้ง และดำเนินการกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 ขึ้นมาจะเป็นไปตามรายละเอียดของการปฏิบัติงานที่สำคัญ ดังนี้
               - มกราคม 2003: ทำการจัดตั้งคณะกรรมการ SAG ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่มาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ กัน เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือต่อการยกร่างมาตรฐาน ทั้งนี้ในเมษายน 2004 มีการจัดทำรายงาน SAG ออกมาจำนวน 2 ฉบับ โดยครอบคลุมรายละเอียดแนวความคิดของประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ประเด็นของมาตรฐานปฏิบัติ SR และข้อแนะนำ 7 ประการ (SAG Seven Prerequisite) ที่มุ่งหมายต้องการให้องค์การ ISO ก้าวเดินเข้ามาสู่ความเป็นมาตรฐานด้าน SR ได้ต่อไป
               - มิถุนายน 2004: การประชุม ISO/SR เป็นครั้งแรกที่สต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยจัดเป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับ Multi-stakeholders ที่มาจากประเทศต่างๆ เพื่อต้องการรับฟังความคิดเห็น คำชี้แจงแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน และการลงมติยอมรับว่า สมควรจะดำเนินการจัดทำ หรือยกร่างมาตรฐานด้าน SR ขึ้นมาได้ต่อไป หรือไม่
               - กันยายน 2004: คณะกรรมการ ISO/TMB ทำการจัดตั้งคณะทำงานพิเศษระดับนานาชาติที่เรียกว่า WG/SR ให้ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ในลักษณะที่เป็น Twin arrangement รวมถึงยังกำหนดให้มีการรักษาความสมดุลของสมาชิกที่เข้ามาร่วมการทำงานอยู่ภายในคณะทำงานเหล่านี้ ให้มีผลของความสอดคล้องเป็นไปตรงตามหลักการของ Balanced stakeholders participation อีกด้วย
               - ตุลาคม 2004: คณะกรรมการ ISO/TMB มีการจัดทำโครงร่างเอกสารที่เรียกว่า NWIP เพื่อต้อการกำหนดให้ใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานภายใต้กระบวนการยกร่างมาตรฐาน SR ฉบับใหม่ พร้อมทั้งให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ออกเสียงลงมติสำหรับการยอมรับ หรือปฏิเสธต่อการดำเนินงาน เพื่อยกร่างมาตรฐาน SR เป็นขั้นตอนต่อไป
·  ภาคสอง (ปี 2005 - ปัจจุบัน): ส่วนใหญ่เป็นการประชุมในลักษณะที่เป็น Plenary meeting ของกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน WG/SR เพื่อทำการยกร่างรายละเอียด เนื้อหา และประเด็นที่สำคัญต่างๆ ที่ควรถูกบรรจุอยู่ไว้ภายในมาตรฐาน ISO/SR 26000 ดังผลการประชุมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งที่ผ่านมา คือ
           1). วันที่ 7 - 11 มีนาคม 2005: การประชุมจัดขึ้นที่ซาลวาดอร์ บาเฮีย ประเทศบราซิล โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการมุ่งเน้น เพื่อก่อให้เกิดการถกเถียง/ อภิปรายผล การแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจร่วมกันในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโครงสร้างการทำงานของ WG และ SG ต่างๆ ขึ้นมารองรับอยู่โดยตรง การกำหนดและมอบหมายสภาวะผู้นำให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน SG ต่างๆ และการกำหนด/ พัฒนาขั้นตอน หรือกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน SR ในฉบับต่างๆ ต่อไป
           2). วันที่ 26 - 30 กันยายน 2005: การประชุมจัดขึ้นที่กรุงเทพ ประเทศไทย สำหรับรายละเอียดของผลการประชุมที่ได้รับก็คือ การอนุมัติและเห็นชอบร่วมด้วยในรายละเอียดของโครงร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 7 หัวข้อกำหนด (Design specification) การอนุมัติโครงสร้างการทำงานของ TG ต่างๆออกมาอย่างชัดเจน รวมถึงการมอบหมายผู้ปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบอยู่ภายใต้สภาวะผู้นำของแต่ละ TG เป็นต้น นอกจากนี้ในมีนาคม 2006 ยังมีการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ ร่างมาตรฐานฉบับแรก (Working Daft; WD1)” ออกมา เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจย่อย TG ต่างๆ ทำการแนะนำ แก้ไข และจะต้องมีการอภิปรายรายละเอียดเนื้อหาเหล่านี้อีกครั้งหนึ่งสำหรับการประชุมของ ISO/SR/WG ครั้งต่อไป
           3). วันที่ 15 - 19 พฤษภาคม 2006: การประชุมจัดขึ้นที่ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ก็คือ รายละเอียดของเนื้อหา และข้อกำหนดหลักต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับ WD1 ซึ่งเกิดขึ้นและเป็นผลมาจากการผ่านยกร่างโดยอาศัยการทำงานของ TG 4, 5 และ 6 เป็นผู้ปฏิบัตินั้น ที่ประชุมมีฉันทามติยอมรับ และเห็นด้วยในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทุกประการ
               นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีการกำหนดกรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงาน เพื่อยกร่างมาตรฐานต่อไป โดยเฉพาะ TG 4, 5 และ 6 จะต้องทำงานร่วมกับ Editting Committee และต้องจัดเตรียมยกร่างมาตรฐานฉบับ WD2 ขึ้นมาภายในตุลาคม 2006 และทำการเวียนแจกจ่ายออกไปให้สมาชิกของกลุ่ม WG/SR ได้รับทราบ เพื่อให้คำแนะนำแก้ไข และต้องรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การประชุมในครั้งต่อไปได้
           4). วันที่ 29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2007: การประชุมจัดขึ้นที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียสำหรับรายละเอียดของผลที่ได้รับเมื่อสิ้นสุดจากการประชุมครั้งนี้ก็คือ ที่ประชุม WG/SR ต่างยอมรับ และเห็นพ้องร่วมด้วยสำหรับรายละอียดของเนื้อหาหลักด้าน SR 7 ประการ การกำหนดประเด็นหลักที่ควรพิจารณา การกำหนดกลุ่มผู้ปฏิบัติงานย่อย เพื่อทำหน้าที่ด้านการแปลภาษา 4 ภาษา และการจัดตั้ง SR/WG ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านสื่อ เป็นต้น
               นอกจากนี้รายละเอียของข้อแนะนำต่างๆ ที่ได้รับเข้ามาจากผลการประชุมครั้งนี้ จะต้องถูกนำไปสู่การจัดเตรียมออกมาเป็นร่างของมาตรฐานฉบับ WD3 (ภายในกรกฎาคม 2007) โดยมีการเวียนแจกจ่ายเพื่อให้รับทราบ และใช้ประโยชน์สำหรับการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปอีกด้วย
           5). วันที่ 5 - 9 พฤศจิกายน 2007: การประชุมจัดขึ้นที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย สำหรับรายละเอียดของผลการประชุมที่ได้รับก็คือ การเลื่อนกรอบระยะเวลาออกไปสำหรับการพิจารณายกร่างมาตรฐานฉบับ WD โดยถือว่า เป็นเรื่องสำคัญที่การทำงานของกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจย่อย (กลุ่มใหม่) ที่เรียกว่า IDTF จะต้องเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ยกร่างมาตรฐานฉบับ WD ต่อไปอีกเป็นจำนวน 2 ฉบับย่อย กล่าวคือ WD4.1 (จะต้องจัดทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 11 มีนาคม 2008) และ WD4.2 (ต้องจัดทำให้เสร็จสิ้นภายใน 2 มิถุนายน 2008) ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดผลที่ดีขึ้นมาต่อการพิจาณา เพื่อไปเป็นมาตรฐานฉบับ CD ได้สำหรับการประชุมในครั้งหน้าต่อไป
           6). วันที่ 1 - 5 กันยายน 2008: การประชุมจัดขึ้นที่ซานติเอโก้ ประเทศชิลี สำหรับรายละเอียดของผลการประชุมที่ได้รับก็คือ ที่ประชุมเห็นว่า สืบเนื่องมาจากการได้รับคำแนะนำ ข้อควรแก้ไขต่างๆ เป็นจำนวนมากที่เพียงพอต่อการตัดสินใจได้แล้ว จึงกำหนดให้ IDTF ยังคงทำหน้าที่หลักสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐาน และควรเคลื่อนย้ายขั้นตอนของการยกร่างมาตรฐานจากฉบับ WD4.2 ไปสู่สภาพของการเป็นร่างมาตรฐานฉบับ CD ได้ต่อไป (ส่วนการกำหนดกรอบระยะเวลาของร่างมาตรฐานฉบับ CD คาดว่าจะดำเนินการขึ้นมาแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ได้ภายในธันวาคม 2008) นอกจากนี้ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบที่จะกำหนดให้มีการประชุมของ ISO/WG/SR ครั้งที่ 7 ต่อไป ที่เมืองควิเบค ประเทศคานาดา
        เมื่อกล่าวในภาพรวมโดยสรุปจะพบได้ว่า ผลลัพธ์ของการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 ออกมาให้เป็นฉบับร่างทั้ง 3 ฉบับแรก (WD1-WD3) ล้วนเป็นผลงานที่ถูกสร้าง หรือพัฒนาขึ้นมาจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานภารกิจ (ย่อย) ของ TG 4, 5 และ 6 แทบทั้งสิ้น และยังได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือด้านการให้คำแนะนำ ที่ปรึกษาโดยตรงมาจากกลุ่ม Liaison Task Force และคณะทำงานของ Editing Committee ร่วมด้วย แต่ในระยะภายหลังเมื่อสิ้นสุดการประชุมที่เวียนนา เมื่อพฤศจิกายน 2007 ที่ผ่านมา ภารกิจของการทำหน้าที่ในการยกร่างมาตรฐานฉบับ WD4 เป็นต้นมา คือ WD4.1 และ 4.2 นั้น กลับถูกปฏิบัติเข้ามาแทนที่โดยอาศัยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจย่อยที่เรียกว่า IDTF เป็นสำคัญ เพาะฉะนั้นแนวทางของการยกร่างมารฐาน SR เพื่อให้ได้เป็นมาตรฐานนานาชาติฉบับสมบูรณ์ หรือที่เรีกว่า IS ยังคงมีความห่างไกลอยู่อีกหลายขั้นตอน และยังจะต้องมี การเดินทาง (Journey)” กันต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดคาดว่า จะได้รับรายละเอียดของมาตรฐาน ISO/SR 26000 ฉบับนานาชาติขึ้นมาได้ในโอกาสข้างหน้าประมาณไตรมาสที่ 4 ของปี 2009 เป็นอย่างช้า

XXXXXXXXX

ข้อมูลอ้างอิง (References)
I. SR กับนโยบายสาธารณะ (SR and public policy)
1. Petroski, Djordjija., and TWose, Nigel. 2003. Public plicy for CSR. July 7-25. The e-conference. Available (Online) at: info.worldbank.org/etools/docs/
II. องค์การ ISO และการก้าวเข้าสู่มาตรฐาน SR (ISO: Entry into a new field of SR)
2. ISO. 2004. ISO to go ahead with guidelines for social responsibility. Available (Online) at: www.iso.org/iso/
III. โครงการปฏิบัติเพื่อการยกร่างมาตรฐาน ปี 2003-2005 (Project ISO/SR 26000 get started, 2003-2005)
2. ISO. 2004. ISO to go ahead with guidelines for social responsibility. Available (Online) at: www.iso.org/iso/
3. Slob, Bart., and Oonk, Gerard. 2007. The ISO Working Group on SR: Developing the future ISO 26000 standard. Brifing Paper. Available (Online) at: doc/politiquesso_ciales.net/ serv1/
4. ISO. 2005. Long and winding road – the way to 1st plenary meeting. SR Newsletter. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelink/livelink/fetch/
5. ISO ADvosory Group on Social Resposibility. 2004. Working Report on SR. For submission to the ISO Technical Management Board. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelink/livelink/ fetch/2000/2122/
6. ISO. 2004. ISO to go ahead with guidances for social responsibility. Available (Online) at: www.iso.org/iso/pressrelease.htm?refid=Ref924
7. ISO/TMB Resolution L. 2004. 25 June 2004.
8. ISO. 2008. Secretariats and chairs of the working group in a twinned arrangement. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelink/livelink/fetch/2000/2122/830949
9. Smith, M.A. 2004. New Work Item Proposal – Guidance on Social Responsibility. TMB Scretariat, Standards Department. Available (Online) at: www.econsense_de/_csr_info_ pool/_managementsystem/
10. Letter to ISO from the Executive Director/Office of the Director-General/ILO. (12/10/2004).
11. MOU (4/3/2005). Memorandum of Understanding between the International Labor Organization and the International Organization for Standardization in the field of social responsibility. Available (Online) at: training.itcilo.org/actrav/course/2005/
IV. การประชุมคณะทำงาน WG/SR เพื่อทำการยกร่างมาตรฐาน ISO 26000 ปี 2005-ปัจจุบัน (International work meetings for ISO 26000; 2005-present)
12. Hallstrom. Kristina Tamm. 2005. International standardization backstage. ISO competing for standard-setting space in the Social Responsibility (SR) field. Paper to be presented at the 21st EGOS Colloquiun 2005, Sub-theme No.-16, “Organizations that regulate”. 30 June-2 July, 2005. Berlin, Germany.
13. ISO/TMB/WG SR N 50. 2005. Resolutions from the second meeting of ISO/TMB/WG SR. Bangkok, Thailand. Available (Online) at: cad.uniethos.org.br/gtiso26000/2/docs/
14. INNI (International NGO Network on ISO). 2006. Improving the ISO 26000 standard development process. Available (Online) at: inni.pacinst.org/inni/CSR.htm#ISOInitiate
15. ISO/TMB/WG SR N 74. 2006. Resolutions from the third meeting of ISO/TMB/WG SR. Lisbon, Portugal. 5/15-19/2007. Available (Online) at: www.unit.org.uy/misc/responsabilidadsocial/
16. INNI (International NGO Network on ISO). 2006. ISO/TMB/WG on Social Responsibility, SR Trust Fund. Available (Online) at: inni.pacinst.org/corporate_social_responsibility/ISOSR TrustFund.pdf
17. ISO. 2006. ISO and UN Global Compact reinforce cooperation on social responsibility standard. Available (Online) at: www.iso.org/iso/pressrelease.htm?refid=Ref1039
18. INNI (International NGO Social responsibility standard development process to date (01/25/07). Available (Online) at: inni.pacinst.org/inni/CSR.htm#Socialesponsibility
19. Slob, Bart., and Oonk, Gerard. 2007. Briefing about the ISO Working Group on Social Responsibility (ISO SR 26000). Available (Online) at: www.eldis.org/assets/Docs/31237. html
20. ISO/TMB/WG SR TG 2. 2008. Record participation for 5th meeting for ISO Working Group on Social Responsibility. Available (Online) at: www.jsa.or.jp/eng/standard/pdf
21. ISO/TMB/WG SR N 144. 2008. MOU between the Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) and the International Organization for Standardization (ISO) in the area of social esponsibility. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelink/
22. ISO/TMB/WG SR N 154. 2008. Resolution from the 6th meeting of ISO/TMB/WG SR. Santiago, Chile. 9/1-5/2008. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelink/
V. การกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR (Stakeholder categories and involvement)
23. ISO. 2006. Participating in the future International Standard ISO 26000 on Social Responsibility. Available (Online) at: www.iso.org/iso/iso26000_2006_en.pdf
24. ISO. 2006. Strategic framework. Increasing the participation and impact of developing countries in the international standardization on social responsibility. Available (Online) at: www.inn.cl/iso26000/tg1y2lisboa/StrategicFranmework(Ver.1).pdf
VI. โครงสร้างของ WG/SR (WG/SR Structure)
25. ISO/TMB/WG SR N 3. 2005. Proposal for the organizational structure of and terms of reference for the ISO/TMB/WG Social Responsibility. Available (Online) at: www.sfs.fi/ files/N003.pdf
26. ISO. 2008. ISO/TMB/WG on Social Responsibility. Newsletter “ISO/SR Update”. Issue #10, January 2008. Record participation for 5th meeting for ISO Working Group on Social Responsibility. Available (Online) at: wwwjsa.or.jp/eng/standard/pdf
27. ISO/TMB/WG SR N 153. 2008. Report of the secretariat to the 6th meeting. Santiago, Chile. September 1-5, 2008. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelnk/
VII. กรอบระยะเวลาสำหรับการพัฒนามาตรฐาน ISO 26000 (Time frame for ISO 26000 development)
28. ISO. 2008. Time frame for ISO 26000. Available (Online) at: isotc.iso.org/livelnk/fetch/ 2000/2122
VIII. รายละเอียดโดยย่อของร่างมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ WD2 (Brief details of ISO 26000/WD2)
29. Environmental Systems Update. 2006. What’s on he social responsibility menu?. Volume 11, Number 7.
IX. จุดแข็งและจุดอ่อนของมาตรฐาน ISO/SR 26000 (Strength and weakness for ISO 26000)
30. Hohnen, Paul. 2006. Chatham House: Following up the WSSD on Sustainable Development Commiments on CSR. Addendum: International Organization for Standardization (ISO). Available (Online) at: www.chathamhouse.org.uk/

XXXXXXXXX





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น