บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 13: หัวข้อกำหนด 4.5 - การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.5 Respect for stakeholder interests |
The principle is: an organization should respect, consider and respond to the interests of its stakeholders. |
Although an organization’s objectives may be limited to the interests of its owners, members, customers or constituents, other individuals or groups may also have rights, claims or specific interests that should be taken into account. Collectively, these individuals or groups comprise the organization’s stakeholders. |
An organization should: - identify its stakeholders; - recognize and have due regard for the interests as well as the legal rights of its stakeholders and respond to their expressed concerns; - recognize that some stakeholders can significantly affect the activities of the organization; - assess and take into account the relative ability of stakeholders to contact, engage with and influence the organization; - take into account the relation of the its stakeholder’s interests to the broader expectations of society and to sustainable development, as well as the nature of the stakeholders' relationship with the organization (see also 3.3.1); and - consider the views of stakeholders whose interests are likely to be affected by a decision or activity even if they have no formal role in the governance of the organization or are unaware of their interests. |
คำอธิบาย
4.5 การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หลักการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ระบุว่า องค์การควรแสดงความเคารพนับถือ ทำการพิจารณา และดำเนินงานบางประการขึ้นมาเพื่อตอบสนองให้ตรงต่อผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเป็นเรื่องสำคัญ
ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ขององค์การ จะถูกจำกัดอย่างจำเพาะลงไปอยู่ที่ผลประโยชน์ที่ต้องได้รับขึ้นมาโดยตรงต่อเจ้าของ สมาชิกที่ปรากฏอยู่เป็นองค์ประกอบขององค์การ ลูกค้า รวมไปถึงในแต่ละรายบุคคล หรือกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับองค์การแห่งนั้นก็ตาม ซึ่งล้วนต่างก็มีสิทธิ การกล่าวอ้างถึง และมีความสนใจที่จำเพาะเจาะจงลงไปต่อผลประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ซึ่งสมควรต้องนำรายละเอียดเหล่านี้เข้ามาพิจารณาอีกร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นในสภาพผลรวมที่เกิดขึ้นของแต่ละรายบุคคล หรือความเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งสำหรับการปฏิบัติกิจกรรม หรือการตัดสินใจใดๆ ขององค์การ จึงสามารถทำการพิจารณาและเรียกได้ว่า มีสถานะเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การแห่งนั้นอยู่แทบทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นองค์การจึงควรปฏิบัติในแนวทางที่เหมาะสม ดังนี้
- มีการระบุชี้บ่งถึงกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยอาศัยยึดถืออยู่บนรายละเอียดพื้นฐานที่ว่า จะปรากฏเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มใดๆ ก็ตาม ซึ่งต่างก็มีส่วนในการได้รับผลกระทบเกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นอยู่ตามลำดับ
- มีการตระหนัก และยอมรับคำนึงถึงรายละเอียดของผลประโยชน์ และเช่นเดียวกับรายละเอียดในเรื่องของสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับองค์การ และยังจำเป็นต้องมีการตอบสนองต่อรายละเอียดที่ต้องแสดงความเกี่ยวข้องเหล่านั้น ออกมาให้เห็นเป็นผลได้อย่างชัดเจนอีกประการหนึ่งร่วมด้วยเสมอ
องค์การต้องมีการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจน และต้องมีการจัดการในเชิงระบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังของกลุ่ม Stakeholders เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
- มีการตระหนัก และยอมรับคำนึงถึงว่า Stakeholders บางกลุ่ม จะสามารถแสดงผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ
- มีการประเมินผล และทำการพิจารณาหรือคำนึงถึงรายละเอียดในเรื่องของระดับความสามารถในการแสดงความรับผิดชอบต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เมื่ออยู่ภายใต้ขอบเขต หรือในลักษณะที่มีการพบปะหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิด หรือเมื่อมีการแสดงผลความผูกมัดของตนเอง หรือเป็นการสร้างอิทธิพลขึ้นมาอยู่ร่วมด้วยสำหรับองค์การแห่งนั้นโดยตรง
- มีการพิจารณา หรือคำนึงถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อระดับความสัมพันธ์สำหรับผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย โดยนำไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวางเพิ่มมากยิ่งขึ้นสำหรับการแสดงความคาดหวังในเรื่องผลประโยชน์ของสังคม และเพื่อมุ่งเน้นผลของการพัฒนาแบบยั่งยืนขึ้นมาตามลำดับ และในขณะเดียวกันยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงธรรมชาติ และลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ต่อองค์การแห่งนั้น (พิจารณาหัวข้อที่ 3.3.1 ประกอบร่วมด้วย) เป็นประการสำคัญ
- มีการพิจารณาถึงรายละเอียดมุมมองของ Stakeholders อื่นๆ ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหลายที่ได้รับครั้งนั้น อาจปรากฏเป็นผลกระทบขึ้นมาจากการตัดสินใจหรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้น และถึงแม้ว่า กลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเช่นนั้น จะไม่มีบทบาทที่แสดงออกมาอย่างเป็นทางการต่อการกำหนดระบบธรรมาภิบาลขององค์การให้เห็นผลออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม หรืออาจไม่มีผลต่อการสร้างความตระหนักขึ้นมาในเรื่องผลประโยชน์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นอยู่ร่วมด้วยก็ตาม
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น