หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 4 (ตอนที่ 1 ความเป็นมาในภาคแรก ปี 2003-2005)

บทที่ 4
ความเป็นมาของมาตรฐาน ISO 26000 และความรับผิดชอบต่อสังคม (Background: ISO 26000 and Social Responsibility)

ตอนที่ 1: ความเป็นมาในภาคแรก ปี 2003-2005
1. บทนำ (Introduction)
        ในปัจจุบันการกำหนดมาตรฐาน ถือว่า เป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญในระดับโลก (Global rules) ดังจะเห็นผลรายละเอียดได้จากมีการมุ่งเน้น และต่างให้ความสนใจกันเพิ่มขึ้นในเรื่องของการปฏิบัติงานที่เป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้อง (Accounting rules) การปรากฏเป็นมาตรฐานรายละเอียดทางเทคนิค (Technical standards) มาตรฐานระบบการจัดการ (Management system standards) และกำลังขยายเพิ่มขึ้นไปสู่ความเป็น คุณค่าทางจริยธรรม (Ethical values)” ที่ต้องตอบสนองต่อสังคมและสาธารณชนขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งรายละเอียดในประการหลังเช่นนี้ มีการกำหนด หรือถูกระบุ/ ชี้บ่งไว้อย่างเด่นชัดมากภายในปฏิญญา/ คำประกาศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration of Human Rights) เป็นเรื่องสำคัญ
        สำหรับการมุ่งเน้นรายละเอียดของมาตรฐานลงไปที่ภาคสังคม หรือการปรากฏเป็น นโยบายสาธารณะ (Public Policy)” ที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยนั้น จัดถือได้ว่า เป็นเรื่องใหม่ที่องค์การ ISO ไม่ค่อยแสดงความคุ้นเคยกันมากนักในสาขาดังกล่าว ถึงแม้ว่าระดับความสำเร็จจากการปฏิบัติงานในอดีตที่ตนเคยกระทำ หรือทำหน้าที่เป็น องค์การผู้กำหนดมาตรฐาน (Standard-setting Organization)” ในสถานะที่เป็นรายใหญ่ของโลกปัจจุบันก็ตาม และความสำเร็จเช่นนั้น ก็ได้รับเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมหรือการผลิตเป็นส่วนใหญ่ และเท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ก็คือ ตามรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 9000 และ ISO 14000 จะเป็นพื้นฐานที่รองรับที่ดีพอสมควรประการหนึ่ง สำหรับการแสดงความสำเร็จออกมาเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติอยู่ทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ลืมว่า มีองค์การหรือผู้กำหนดมาตรฐานรายอื่นๆ อีก ที่ทำหน้าที่อย่างคุ้นเคย หรือมีผลงานด้านสังคม ปรากฏเป็นผลงานรองรับที่ดีอยู่หลายแห่งด้วยกัน เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization; ILO) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม กำกับ และออกรายละเอียดของการปฏิบัติด้านมาตรฐานแรงงาน สุขอนามัย และความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในระดับโลก รวมถึง GRI (Global Reporting Initiatives) โดยเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายได้เข้ามารวมตัวอยู่ด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่กำหนดรายละเอียดของการจัดทำรายงาน ที่มีรายละเอียดครอบคลุมผลของการปฏิบัติงานด้านสังคมที่เรียกว่า GRI Guideline เป็นต้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานด้านสังคมต่างๆ เหล่านี้ ถ้าจะถูกกำหนดออกมาเป็นรายละเอียดของมาตรฐานด้วยแล้ว ถือว่า เป็น ลักษณะความท้าทาย และการมีมุมมองแนวใหม่ (Challenges and new perspectives)” สำหรับองค์การ ISO ภายใต้สภาพของการปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน
        รายละเอียดในบทนี้ จึงมุ่งเน้นลงไปที่ความรับผิดชอบขององค์การ ISO ต่อกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 ขึ้นมา เพื่อให้มีผลของความสอดคล้องเป็นไปตรงตามความต้องการว่า ถูกกระทำโดยอาศัยขั้นตอน และมีประวัติของการดำเนินการเป็นอย่างไร มีคณะกรรมการชุดใด ใครบ้างที่กระทำหน้าที่ดังกล่าว รวมถึงกรอบระยะเวลาในการดำเนินการยกร่างมาตรฐาน ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ภาค กล่าวคือ ภาคแรก (ปี 2003 - 2005) ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้น การปฏิบัติงานทั้งหลายจะผ่านคณะกรรมการ และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อมุ่งหวังผลความสำเร็จต่อการดำเนินงานด้านโครงการ SR ตามลำดับ รวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเพิ่มมากขึ้นสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นกระแสหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางบวกและลบก็ตาม สำหรับกรอบระยะเวลาในภาคที่ 2 (ปี 2006 - ปัจจุบัน) จะนำเสนอรายละเอียดความก้าวหน้าในการยกร่างออกมาเป็นฉบับมาตรฐาน สำหรับกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน (WG) ในแต่ละกลุ่มว่า มีส่วนร่วมในการยกร่างภายใต้หัวข้อ หรือประเด็นด้าน SR อะไรบ้างที่ถือว่า เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมาตรฐาน ISO/SR 26000 รวมถึงแผนการปฏิบัติในขั้นตอนต่างๆ ต่อไปจนถึงสิ้นสุดระยะเวลาในการจัดทำออกมาเป็นมาตรฐานฉบับนานาชาติที่สมบูรณ์ (International Standard; IS) ซึ่งผู้อ่านจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดเหล่านี้ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นขึ้นมาก่อนจะทำการศึกษารายละเอียด หรือเนื้อหาของตัวมาตรฐาน ISO 26000 ที่เกี่ยวข้องในบทอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ
2. SR มาตรฐานสาขาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ (SR: A public policy field)
    2.1 แนวความคิดพื้นฐาน SR และองค์การ/ หน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุน เพื่อก่อให้เกิดการสร้างมาตรฐานขึ้นมารองรับได้ต่อไป (SR perception and inter-governmental organizations)
        รายละเอียดแนวความคิดพื้นฐานของ SR จะแสดงความเกี่ยวข้องกับการปรากฏสภาพที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และสิทธิด้านแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องถูกกำหนดหรือกระตุ้นให้เกิดผลขึ้นมาจากการปฏิบัติด้วยอำนาจหน้าที่ของภาครัฐแทบทั้งสิ้น จากรายละเอียดของมุมมองเช่นนี้ SR หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อกล่าวถึง ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปคือ CSR (Corporate Social Responsibility) จึงปรากฏเป็นนโยบายสาธารณะสาขาหนึ่ง ที่ถูกยอมรับนับถือ หรือเพื่อการสร้างเป็นความตระหนักขึ้นมา โดยอาศัยหน่วยงานหรือ องค์การภาครัฐบาลในระดับนานาชาติ (Inter-governmental organizations)” ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เช่น UN, OECD และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นต้น และยังทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดรายละเอียดของกฏเกณฑ์ หรือข้อกำหนดต่างๆ ขึ้นมารองรับสำหรับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของตนเองร่วมด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าสงสัยว่า ในปี 2003 เมื่อองค์การ ISO พยายามแสวงหาช่องทางในความเป็นไปได้ต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในสาขาใหม่ด้าน SR ร่วมด้วยนั้น จึงมีเสียงระงมสะท้อนการรับเต็มไปด้วยข้อคัดค้านออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่อยู่โดยตรง เช่น การอ้างว่า องค์การ ISO มีสภาพและลักษณะหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนที่ไม่มีผลการปฏิบัติงาน หรือคุ้นเคยกับงานด้าน SR มาก่อนในอดีต และตามปรกติแล้วรายละเอียดของประเด็นด้าน SR ส่วนใหญ่ต้องถูกนำมาพิจารณา โดยอาศับผ่านช่องทางกระบวนการทางการเมืองร่วมด้วย จึงจะปฏิบัติงานได้สำเร็จหรือเกิดผลที่ดีขึ้นมาตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีคำถามอื่นๆ ถูกยกขึ้นมาโต้แย้งอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ และอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กว้างขวางมาก เช่น การมีโอกาสเป็นไปได้มากหรือน้อยเพียงใดต่อการรวบรวมทุกประเด็นของ SR เข้าไปอยู่ภายในเนื้อหาของมาตรฐาน ISO เพียงฉบับเดียวเท่านั้น หรือคำถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเห็นพ้องต้องกันต่อการให้คำจำกัดความของ SR ขึ้นมาอย่างเหมาะสมสำหรับเนื้อหาของการเป็นมาตรฐานฉบับดังกล่าว เป็นต้น (หมายเหตุ 1)
        ภายในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้น UN ได้ทำการประกาศ เพื่อต้องการสนับสนุนให้องค์การในภาคเอกชนทั้งหลาย ได้มีบทบาทที่สำคัญต่อการแสดงรายละเอียดที่เรียกว่า เป็น สิ่งริเริ่ม (Initiatives) สำหรับการสร้างมาตรฐาน SR รองรับขึ้นมาในขั้นตอนต่อไป รวมถึงยังอาจแสดงผลของเป็นกลไกส่วนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่สนับสนุนต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อให้เห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรมได้อีกด้วย ในรายละเอียดของแผนงานเพื่อการจัดตั้งหรือสนับสนุนดังกล่าว ซึ่งถูกนำเสนอสำหรับการประชุมสุดยอด (UN Summit) ในเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืน ที่โยฮันเนสเบิร์ก ในปี 2002 ก็มีการเรียกร้อง และต้องการกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เข้ามีบทบาทต่อการสร้างสรรค์ SR เพิ่มมากขึ้น โดยต้องการให้มีสภาพเป็นสิ่งริเริ่มที่ดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางด้วยความสมัครใจเป็นประการสำคัญ รายละเอียดดังกล่าวที่ถูกกำหนดขึ้นมา ทั้งมาตรฐาน ISO และแนวทางเพื่อการปฏิบัติที่เรียกว่า Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่งแสดงผลของความเกี่ยวข้องในลักษณะที่เป็นรายงานเพื่อแสดงความยั่งยืนเช่นนั้น จึงปรากฏว่า เป็นตัวอย่างที่ดีประการหนึ่งของการเป็น สิ่งริเริ่ม ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในสภาพปัจจุบัน และรายละเอียดที่ส่งผลออกมาโดยตรงเช่นนี้เอง จึงสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเป็นตัวกระตุ้น หรือส่งเสริมทำให้องค์การ ISO ต้องหันมาทำหน้าที่ในการพัฒนา หรือยกร่างมาตรฐาน SR ขึ้นมา ในฐานะที่เป็นองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง ที่สามารถทำการริเริ่มสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐานอย่างได้ผลที่ดี และมีความสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นได้ในลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานต่อไป 
หมายเหตุ 1 (Note 1):
เมื่อองค์การ ISO ดำเนินการพัฒนามาตรฐาน ISO 26000 ขึ้นมาในช่วงต้นปี 2005 ยังไม่มีการสรุปรายละเอียดสำหรับคำจำกัดความตามแนวความคิดของ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ SR (Social Responsibility) ซึ่ง ISO ค่อนข้างนิยมเรียกชื่อประการหลังนี้อย่างคุ้นเคยว่า มีลักษณะของการเป็นมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สำหรับทุกประเภทขององค์การ โดยไม่มุ่งเน้นลงไปเฉพาะองค์การทางธุรกิจประเภทเดียวเท่านั้น นอกจากนี้รายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการมีความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฏเป็นคำนิยามที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน และต่างเห็นพ้องต้องกันในรายละเอียดดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงจากรายละเอียดขององค์ประกอบต่อไปนี้ หรืออยู่ภายใต้ขอบเขตและบริบทของ SR อีกร่วมด้วย ได้แก่ สิทธิมนุษยชน (ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ภายในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และการประชุมหลักสำหรับองค์การ ILO) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานและลูกจ้าง (รวมไปถึงรายละเอียดในเรื่องสุขอนามัย และความปลอดภัย) การปฏิบัติทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงสินบน คอร์รัปชั่น และการปฏิบัติที่ต่อต้านสภาพการแข่งขัน (ในทุกองค์การ) ธรรมาภิบาลสำหรับองค์การ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตลาดและผู้บริโภค การมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาสังคม 1/


 
คำประกาศของ UN และสิ่งริเริ่ม SR ของหน่วยงานในระดับนานาชาติ ล้วนเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐาน ISO 26000 ขึ้นมาตามลำดับ

    2.2 องค์การ ISO: การก้าวเข้ามาสู่การสร้าง และพัฒนามาตรฐาน SR (ISO: Entry into a new field of SR)
        องค์การ ISO ถูกสถาปนาขึ้นมาในปี 1947 โดยเป็นองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร และอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการเป็นสมาชิก ซึ่งมาจากหน่วยงานมาตรฐานระดับชาติของประเทศต่างๆ ที่แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สำหรับวัตถุประสงค์หลักขององค์การก็คือ การทำหน้าที่แบ่งปัน หรือช่วยเหลือสนับสนุนต่อการส่งเสริมการค้า หรือผลทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ โดยผ่านช่องทางของการพัฒนามาตรฐานในระดับนานาชาติขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ และรองรับผลการปฏิบัติเหล่านั้นอยู่โดยตรง เพราะฉะนั้นการปฏิบัติยกร่างมาตรฐานที่เป็นรายละเอียดทางเทคนิค จึงถือว่า เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบจากตัวแทนต่างๆ ที่ได้รับการเสนอชื่อขึ้นมาจากองค์การที่ปรากฏสภาพเป็นสมาชิกขององค์การ ISO ให้เข้ามาดำเนินการจัดตั้งเป็น กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน (Working Group; WG) ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ให้เข้ามาทำหน้าที่ โดยแสดงถึงภาระกิจ และความมุ่งมั่นภายใต้กรอบระยะเวลาที่ต้องการจะทำการพัฒนามาตรฐาน โดยก่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นมาได้เป็นสิ่งสุดท้าย ตามปรกติต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำ 6 ปี สำหรับการพัฒนามาตรฐาน ISO ขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ ในช่วงระยะเวลาของการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน WG จะมีโอกาสพบกันปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างต่ำ และทำการประชุมติดต่อกันเป็นสัปดาห์ในแต่ละครั้ง สำหรับสถานที่ของการประชุมจะแตกต่างกันออกไป ตามผลการแสดงความรับผิดชอบขององค์การที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ และมีการหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปในระหว่างประเทศที่ปรากฏเป็นสมาชิกขององค์การ ISO ในแต่ละภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่
        ตั้งแต่เริ่มต้นการสถาปนาจัดตั้งองค์การ ISO ขึ้นมา บทบาทและลักษณะของการบริหารหรือการจัดการในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายในองค์การ ได้ส่งเสริมทำให้กลายสภาพมาเป็น หน่วยงาน/ ผู้กำหนดมาตรฐาน ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับสำหรับการกำหนดมาตรฐานด้านเทคนิค เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 200 สาขา โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวงการอุตสาหกรรมและด้านการผลิตเป็นส่วนใหญ่ (เช่น สลักกลอนและเกลียว อุปกรณ์ทางสายตา ตู้เก็บสินค้าเคลื่อนที่ ฯลฯ) แต่ระยะต่อมาในช่วงต้นปี 1980 องค์การได้ขยายบทบาท และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำมาตรฐานไปสู่สาขาอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เช่น การมุ่งเน้นผลของ ระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System; QMS) ที่รู้จักกันในชื่อของมาตรฐาน  ISO 9000 และนำพาไปสู่ความมีชื่อเสียงที่นิยมปฏิบัติกันเป็นอย่างดีสำหรับองค์การทั่วๆ ไปในชื่อเรียกของ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System; EMS) หรือมาตรฐาน ISO 14000” ตามลำดับ ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษใหม่นี้ องค์การ ISO ได้ทำการเปิดเผยเป็นรายงานออกมาว่า มีองค์การประเภทต่างๆ ที่ได้ผ่านการรับรองจากมาตรฐาน ISO 9000 อยู่ประมาณ 560,000 แห่ง ซึ่งแพร่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก และมีองค์การอีกประมาณ 50,000 แห่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14000 ขึ้นมาอีกเช่นกัน ดังนั้นจากการกำหนดมาตรฐานด้านระบบการจัดการต่างๆ ไว้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งปรากฏเป็นพื้นฐานที่สำคัญรองรับไว้แล้วเช่นนี้ และการปฏิบัติที่เป็นขั้นเป็นตอนจากเรื่องระบบการจัดการคุณภาพ ไปสู่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และระบบการจัดการในสาขาอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะการมุ่งเน้นด้าน SR ขึ้นมาอีกร่วมด้วย จึงไม่ใช่เป็นภารกิจ หรือปรากฏเรื่องยุ่งยากมากนักสำหรับการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่อไปขององค์การ ISO แต่ประการใด
        โดยทั่วไปไม่มีใครปฏิเสธถึงบทบาท หน้าที่ และภารกิจในฐานะที่เป็น ผู้กำหนดมาตรฐาน เช่นนี้ขององค์การ ISO แต่ก็ยังคงมีเรื่องที่คั่งค้างใจอยู่บ้างสำหรับนักวิจารณ์บางราย ที่กล่าวไว้เพิ่มเติมว่า ภารกิจที่ต้องปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับประเด็น SR นั้น ไม่อาจดำเนินการ หรือสามารถทำให้บรรลุถึงผลที่ต้องการขึ้นมาได้ตามลำพังจากการกระทำของภาคเอกชนแต่เพียงประการเดียว แต่ยังต้องอาศัยการกระตุ้น หรือช่วยส่งเสริมผลักดันให้เกิดผลความสำเร็จขึ้นมา โดยอาศัยผ่านกระบวนการทางการเมืองอีกด้วย แต่เนื่องจากประสบการณ์ขององค์การ ISO ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการกำหนดมาตรฐานที่มาจากภาคอุตสาหกรรมหรือการผลิต จึงอาจมีความถนัดหรือเชี่ยวชาญในเรื่องประเด็นด้านสังคมปรากฏผลอยู่ในระดับที่ต่ำ นอกจากนี้นักวิจารณ์รายอื่นๆ ยังกล่าวเสริมเพิ่มเติม และชี้บ่งให้เห็นด้วยถึงสภาพที่ไม่เหมาะสมในการกำหนด หรือยกร่างมาตรฐานขึ้นมา โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างมาตรฐานแต่ละครั้งนั้น ยังคงเกิดขึ้นมาจากกลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนรวมอยู่ด้วย เช่น กลุ่มที่ปรึกษา หรือหน่วยงาน/ บริษัทที่ทำหน้าที่ในการรับรองมาตรฐานต่างๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้ อาจมีส่วนช่วยผลักดันโครงการสิ่งริเริ่มด้าน SR หรือการก้าวเข้าไปสู่ความเป็นมาตรฐานสากล ISO 26000 ให้หันเหเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง เพื่อปรากฏผลออกมาเป็นมาตรฐานระบบการจัดการ ตามรายละเอียด หรือมีแนวทางในลักษณะเช่นเดียวกับมาตรฐานระบบการจัดการ ISO 9000 หรือ ISO 14000 ซึ่งในอดีตมีการประสบผลความสำเร็จมาแล้วจากการดำเนินงานขององค์การ ISO อยู่โดยตรง 2/
3. ภาคแรก (ปี 2003 - 2005): การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดด้าน SR ให้เป็นโครงการปฏิบัติสำหรับการยกร่างมาตรฐานฉบับ ISO 26000 (2003-2005: SR turns from ideas to ISO agenda)
 
    3.1 เมษายน 2001 - พฤษภาคม 2002: การจัดตั้งคณะกรรมการ ISO Committee on Consumer Policy (COPOLCO)
·  เมษายน 2001 สภา ISO (ISO Council) ได้สอบถามคณะกรรมการ ISO ว่าด้วยนโยบายผู้บริโภค หรือ ISO/COPOLCO ให้ทำการพิจารณาถึงรายละเอียดความเป็นไปได้สำหรับการจัดตั้งมาตรฐานนานาชาติในสาขาใหม่ที่เรียกว่า “CSR” ขึ้นมาว่า สามารถกระทำขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ หรือมีความเป็นไปได้เกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น
·  พฤษภาคม 2002 คณะกรรมการ ISO/COPOLCO ได้จัดทำรายงานที่สมบูรณ์ขึ้นมาฉบับหนึ่งที่เรียกว่า The Desirability and Feasibility of ISO Corporate Social Responsibility Standards (Final Report) โดยระบุรายละอียดต่างๆ ออกมาในมุมมองด้านผู้บริโภคว่า การดำเนินการจัดทำมาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้องกับ CSR (หมายเหตุ 2) สามารถกระทำได้ ทั้งในด้านความต้องการที่แท้จริง และมีความเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ยังแนะนำไว้ภายในรายงานอีกด้วยว่า ในทางปฏิบัติองค์การ ISO ยังต้องทำการสำรวจ หรือค้นหารายละเอียดในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ CSR เหล่านั้น ออกมาอย่างชัดเจนก่อน พร้อมทั้งควรมีการจัดตั้ง กลุ่มที่ปรึกษาทางกลยุทธ์ (Strategic advisory group)” สำหรับการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว โดยต้องครอบคลุมทุกกลุ่ม Stakeholders ในภาคต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมทำงานภายในกลุ่ม หรือให้คำแนะนำสำหรับการตัดสินใจ เพื่อมุ่งหวังผลต่อการพัฒนาในขั้นตอนต่างๆ สำหรับการจัดทำออกมาเป็นมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ได้ในลำดับต่อไป
หมายเหตุ 2 (Note 2):
ภายในรายงานปี 2002 รายละเอียดของมาตรฐานต่างๆ ถูกระบุและอ้างอิงว่าเป็น มาตรฐาน CSR และภายใต้ช่วงระยะเวลาเช่นนั้น คำว่า CSR ยังค่อนข้างเป็นคำที่นิยม และเรียกใช้ประโยชน์กันอยู่ทั่วไป แต่ในขณะที่องค์การ ISO เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับงานยกร่างมาตรฐาน ISO 26000 ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 ส่วนใหญ่มีการตัดสินใจที่จะใช้คำว่า Social Responsibility (SR) ขึ้นมาเป็นการแทนที่ โดยเฉพาะเพื่อต้องการให้มีการนำรายละเอียดของมาตรฐาน SR ดังกล่าว ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นขอบเขตที่กว้างขวาง หรือครอบคลุมทุกประเภทขององค์การ มากกว่าจะจำเพาะลงไปเพื่อใช้ประโยชน์ต่อองค์การธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น 3/
    3.2 มกราคม 2003 - เมษายน 2004: การจัดตั้งคณะกรรมการ ISO Advisory Group on Social Responsibility (SAG)
· ในช่วงต้นปี 2003 มีการดำเนินงานให้เป็นไปตามคำแนะนำที่ระบุไว้ภายในรายงาน COPOLCO โดยเริ่มต้นจาก คณะกรรมการจัดการด้านเทคนิค หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ISO Technical Management Board (TMB)” ซึ่งเป็นคณะกรรมการผู้บริหารอาวุโส (Senior Management Board) ขององค์การ ได้ตัดสินใจต่อการจัดตั้ง กลุ่มที่ปรึกษาหรือให้คำแนะนำ (Advisory Group; AG)” ขึ้นมา เพื่อทำการสำรวจ และค้นหาข้อมูลรายละเอียดต่อไปว่า ISO สมควรดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดทำมาตรฐาน SR ขึ้นมารองรับได้อย่างไร รวมถึงมีการกำหนดขอบเขตของงาน และประเภทของมาตรฐานที่ควรจัดทำออกมาเป็นประเภทใด เช่น อาจปรากฏเป็นรายงานด้านเทคนิค มาตรฐานที่เป็นเชิงข้อแนะนำ หรือมาตรฐานประเภทข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น กลุ่มทำงานเช่นนี้ถูกเรียกชื่อว่า ISO Advisory group on Social Responsibility (SAG) และมีการเรียกประชุมครั้งแรกขึ้นมาที่ โตรอนโต้ ประเทศคานาดา (มกราคม 2003) และภายหลังจากนั้น ยังมีการเรียกประชุมติดต่อกันอีกเป็นระยะเวลา 2 วัน ในระยะเวลาต่อมาที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (กุมภาพันธ์ 2003) และที่ เซาเปาโล ประเทศบราซิล (กรกฎาคม 2003) และที่ มิวนิค ประเทศเยอรมันนีตะวันตก (มกราคม 2004) และที่ ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา (เมษายน 2004) ตามลำดับ 4/
           รายละเอียดที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ องค์ประกอบ และจำนวนสมาชิกในการเข้ามามีส่วนร่วมของ SAG ค่อนข้างแสดงความหลากหลายมาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ กันประมาณ 30 หน่วยงาน เช่น องค์การมาตรฐานประจำชาติ หรือหน่วยงานรับรองประกาศนียบัตร ตัวแทนของ WWF-International; International Chamber of Commerce (ICC); International Organization of Employee (IOE) ตัวแทนที่มาจากบริษัทขนาดใหญ่ เช่น Siemens และ Motorolla หน่วยงานภาครัฐบาลระดับนานาชาติ เช่น UN Global Compact และ OECD ไตรภาคีขององค์การ ILO และ Global Reporting Initiative (GRI) เป็นต้น นอกจากนี้สมาชิกของ SAG ยังถูกกำหนดจำนวนขึ้นมาอย่างชัดเจนในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2002 โดยประกอบไปด้วย 18 รายสมาชิก ตามขอบเขตของหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
           - จำนวน 8 รายสมาชิก ถูกนำเสนอรายชื่อขึ้นมาโดย ISO Technical Management Board (TMB) ซึ่งปรากฏเป็นตัวแทนมาจากหน่วยงานมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา (2 ราย) อาฟริกา (2 ราย) ยุโรป (2 ราย) และเอเชีย/ โอเชียเนีย (2 ราย) และรายชื่อบุคคลอีก 2 ราย ซึ่งรายหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนมาจากภาคอุตสาหกรรมในระดับทวีป และอีกหนึ่งรายมาจากตัวแทนของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นต้น
           - จำนวน 2 รายสมาชิกเป็นตัวแทนมาจาก ISO Policy Committees โดยที่รายหนึ่งมาจาก ISO Committee on Developing Countries (DEVCO) และอีกรายหนึ่งมาจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นตัวแทนของ COPOLCO อยู่โดยตรง
           - นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยจำนวนสมาชิกอีก 8 ราย ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนมาจากองค์การอื่นๆ ในระดับนานาชาติอีกร่วมด้วย ดังนี้
               1). International Chamber of Commerce
                   2). International Organization of Employers
                   3). Consumer Internationals
                   4). Global reporting Initiatives
                   5). International Labor Organization
                   6). International Confederation of Free Trade Unions
                   7). International Federation for the Application of standards และ
               8). International Institute for Sustainable Development
           - ในระยะต่อมาของเดือนกันยายน 2002 คณะกรรมการ TMB ยังได้อนุมัติรายชื่อที่เป็นตัวแทนอีก 3 รายบุคคล เพื่อทำหน้าที่เป็นสมาชิกของ SAG ดังนี้
               1). มาจากหน่วยงานของ NGO ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
               2). มาจากองค์การที่ทำหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ และ
               3). มาจากหน่วยงาน/ องค์การทางภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น
              แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างการปฏิบัติงานดังกล่าว จำนวนและองค์ประกอบของสมาชิกภายในกลุ่ม SAG ยังมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างออกไปได้อีก และเท่าที่พบเห็นอยู่ถึงในปัจจุบัน มีอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 31 รายบุคคล ซึ่งสามารถชี้บ่งได้เป็นอย่างดีถึงสภาพของสมาชิกที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบของ SAG ค่อนข้างครอบคลุมกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอย่างกว้างขวาง และหลากหลายมาก ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการรักษาสมดุลของความเป็นตัวแทนมาจากกลุ่ม Stakeholders ประเภทต่างๆ ได้โดยตรง และสามารถแสดงความแตกต่างออกไปจากการทำงานของกลุ่ม TC อื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำมาตรฐานขึ้นมาเช่นเดียวกันกับในอดีตที่ผ่านมา
           ในระยะภายหลังจากมีการประชุมร่วมกัน และจัดทำรายละเอียดต่างๆ ของกลุ่ม SAG ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 18 เดือน ในที่สุดก็ได้ผลลัพธ์ออกมา คือ รายงาน SAG 2 ฉบับ ในจำนวนความยาวประมาณ 100 หน้ากระดาษ โดยได้แสดงผลที่เปิดผยถึงรายละเอียดสำหรับความเป็นหลักการ ข้อแนะนำ และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง รวมถึงการมีมุมมอง แนวความคิดเห็นต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากบุคคลภายในกลุ่ม SAG เหล่านั้นด้วย           เมื่อรายละเอียดของรายงาน และคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับ SR ได้ถูกจัดทำ และตีพิมพ์เผยแพร่ออกมา มีการเปิดโอกาสให้สาธารณชนจากแหล่งภายนอก ได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการแสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำ ทั้งคำตอบรับที่เป็น เชิงบวก/ ลบหรือ ยังลังเลใจต่อการยอมรับ ในเรื่องดังกล่าว ซึ่ง ISO ได้รับคำตอบมาจากองค์การประเภทต่างๆ และในแต่ละรายบุคคล (พิจารณาผลตอบรับในแต่ละลักษณะที่ปรากฏอยู่ในวงเล็บข้างท้ายร่วมด้วย) เช่น คำตอบรับที่มาจาก Confederation of Swedish Enterprise (เชิงลบ); ประเทศกำลังพัฒนา (เชิงบวก); IMB UK Ltd. (เชิงลบ); Global Reporting Initiatives (เชิงลบ); International Chamber of Commerce และ International Organization of Employer (เชิงลบ); African Institute for Corporate Citizenship และ South African Bureau of Standards (ยังลังเลใจ); Japanese Business Federation (เชิงลบ); International Institute for Sustainable Development, Development Alternatives, International Institute for Environment Development, World Conservation Union, AICC และ RIDES (เชิงบวกแต่มีเงื่อนไขอยู่บางประการ); ตัวแทนของประเทศสวีเดน (เชิงบวก); บริษัท Siemens (เชิงลบ); Federation of German Consumer Organization (เชิงบวก); Japan Industrial Policy Research Institute (ชี้บ่งออกมาไม่ชัดเจน); Trillium Asset Management (ยังลังเลใจ); Bundesvereinigung der Deutschen Arbeitgeberverbande และ Bundesverband der Deutschen Industrie (เชิงลบ); Dick Hortenisus (ยังลังเลใจ); ISAEL Alliance (ยังลังเลใจ); Pacific Institute (ยังลังเลใจ); และ CSR Austria (เชิงลบ) เป็นต้น
· เมษายน 2004 รายงานและคำแนะนำฉบับสมบูรณ์จาก SAG ได้ถูกดำเนินการขึ้นมา จากการอาศัยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเล็กๆ จำนวน 10 คน ที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล จัดทำและเขียนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งหมด ซึ่งจัดถือได้ว่า มีสภาพของการเป็นคำอธิบายฉบับร่าง (Drafting) โดยทำหน้าที่ในการสื่อสาร และจัดส่งรายละเอียดที่ได้รับดังกล่าว ไปยังสมาชิกของกลุ่ม SAG รายอื่นๆ และต้องได้รับการเห็นพ้องเพื่อแสดงผลเป็นฉันทามติก่อนอีกด้วย จึงจะถือว่า มีรายละเอียดที่ครบถ้วนสมบูรณ์ต่อการเป็นหลักการที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรยึดถือขององค์การ ISO ต่อการยกร่าง หรือจัดทำออกมาเพื่อการแสดงความเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานขึ้นมาได้ในขั้นตอนต่อไป เอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ ถูกลงนามในวันที่ 30 เมษายน 2004 และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่าน ISO Web site ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2004 ซึ่งมีส่วนกระตุ้นทำให้ภาคสาธารณชนต่างๆ ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ หรือวิพากษ์วิจารณ์ในรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกบรรจุอยู่ภายในเอกสารฉบับดังกล่าว เป็นไปอย่างกว้างขวาง และครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการอีกด้วย
           สำหรับรายงาน SAG ถูกอธิบายรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนใน 3 ส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 5/
           - ส่วนที่ 1: แนวความคิดของประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR (Conceptual issues)
             - ส่วนที่ 2: ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาตรฐานปฏิบัติของ SR (Issues related to standardization of SR) และ
           - ส่วนที่ 3: ความสามารถของ ISO ต่อการดำเนินงานในสาขา SR ต่อไป (Capacity of ISO to understand works in the SR area)
           นอกจากนี้รายละเอียดอื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้าไปภายในรายงานฉบับดังกล่าว ยังแสดงถึงมุมมอง หรือทัศนคติทั้งในเชิงบวกและลบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาจเป็นคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งรายละเอียดที่ควรสนใจได้แก่ บทบาทและความสำคัญของภาครัฐฯ และรวมไปถึงหน่วยงาน/ องค์การ/ ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ (Non-state actors) ต่อการแสดงบทบาทด้าน SR และครอบคลุมไปถึงการแสดงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างการปฏิบัติงานที่ปรากฏสภาพของการเป็น สิ่งริเริ่มด้วยความสมัครใจ (Voluntary initiatives)” และการปฏิบัติงานเพื่อให้อยู่ภายใต้ กรอบของการปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal frameworks)” เป็นสำคัญ
           นอกจากนี้รายละเอียดอื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้าไปภายในรายงานฉบับดังกล่าว ยังแสดงถึงมุมมอง ทัศนคติทั้งในเชิงบวกและลบที่เกี่ยวข้องกับการผลักดัน SR ให้ปรากฏเป็นมาตรฐานระดับสากล ซึ่งรายละเอียดของบางคำตอบ ก็ยังไม่ได้รับการอธิบายออกมาอย่างเด่นชัดมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม SAG ได้มีคำแนะนำในเรื่องการสนับสนุนให้ ISO ก้าวเข้าสู่การปฏิบัติงานด้าน SR พร้อมทั้งนำเสนอรายละเอียดพื้นฐานที่มีการพิจารณาว่า เป็น สิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำขึ้นมาก่อน (Prerequisites)” บางประการประกอบอยู่ร่วมด้วย ดังรายละเอียดที่ได้นำเสนอไว้เพิ่มเติมให้เห็นในตารางที่ 1 ข้างล่างนี้
 ตารางที่ 1 ข้อแนะนำ 7 ประการของ SAG (Seven Prerequisite) ซึ่งถูกนำเสนอต่อ ISO/TMB เพื่อเป็นการกระตุ้น หรือช่วยผลักดันทำให้องค์การ ISO สมควรปฏิบัติงานบางประการขึ้นมาก่อนก้าวเข้าสู่ความเป็นมาตรฐานด้าน SR ได้ต่อไป

ISO ควรเข้าสู่การพัฒนาด้าน SR ขึ้นมาหรือไม่
ขอบเขตของงาน และสิ่งที่ควรปฏิบัติบางประการขึ้นมารองรับ ภายใต้ความรับผิดชองของ ISO
· ISO ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ถ้า
· มาตรฐาน/ เอกสารที่ถูกจัดทำขึ้นมา ควรมีลักษณะเป็น ข้อแนะนำ (Guidance)” และจะต้องไม่ใช่ระบบเอกสารที่เป็นเครื่องระบุ/ ชี้บ่งอย่างจำเพาะเจาะจง หรือไม่สามารถกระทำ เพื่อก่อให้เกิดการประเมินผลสำหรับความสอดคล้องขึ้นมาได้ รวมถึง
- สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง ทั้งสภาพที่เป็นองค์การธุรกิจ และองค์การอื่นๆ ได้ทุกประเภท
- มีการมุ่งเน้นผลลัพธ์ และการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถช่วยเหลือองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อการกำหนด SR ขึ้นมาได้ ภายใต้สภาพทางวัฒนธรรม ระดับชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
- ส่งเสริมหรือสนับสนุนเครื่องมือประเภทอื่นๆ ให้ได้ระดับความสมบูรณ์ที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
- มีส่วนกระตุ้น แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องของความตั้งใจ เพื่อการลดบทบาท และอำนาจดำเนินการจากหน่วยงานภาครัฐฯ สำหรับการการดำเนินงานด้าน SR ขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้น
- สามารถใช้ประโยชน์กับองค์การธุรกิจ และองค์การอื่นๆ ได้ในทุกขนาดที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง
- สามารถให้คำแนะนำในเชิงปฏิบัติสำหรับวิธีการ การเป็นแนวทางเลือกต่างๆ สำหรับการดำเนินงาน รวมถึงการระบุ/ ชี้บ่ง และการแสดงความผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย ทั้งนี้เพื่อขยายความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้าน SR ขึ้นมาภายในองค์การได้โดยตรง
- รายละเอียดจะต้องถูกเขียนขึ้นมาในลักษณะที่อ่านได้อย่างชัดเจน และทำความเข้าใจได้โดยง่าย
1. ISO ควรยอมรับว่า SR มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และประเด็นต่างๆ ซึ่งมีคุณลักษณะทางกายภาพ และรายละเอียดที่แตกต่างออกไปจากเนื้อหา หรือประเด็นด้านอื่นๆ ที่ ISO เคยมีประสบการณ์จัดทำขึ้นมาตั้งแต่ในอดีต
2. ISO ควรยอมรับว่า คงไม่มีหน่วยงาน/ องค์การที่บังคับใช้กฎหมายใดๆ จะแสดงบทบาทต่อการกำหนดรายละเอียดความต้องการด้านสังคม หรือปรากฏเป็นความคาดหวังออกมาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจครอบคลุมลงไปถึงบทบาทจากทั้งองค์การ/ หน่วยงานภาครัฐฯ และหน่วยงานภาครัฐบาลในระดับนานาชาติ เป็นต้น
3. ISO ควรยอมรับถึงรายละเอียดความแตกต่างของ SR ในด้านหนึ่งสำหรับการเป็น เครื่องมือ ต่างๆ ที่ถูกกำนดขึ้นมาด้วยองค์การ/ หน่วยงานภาครัฐบาลที่มีอำนาจหน้าที่ในระดับโลก (เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือเป็นเครื่องมือที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยองค์การ ILO และผลที่ได้รับขึ้นมามาจากการประชุมของ UN เป็นต้น) และอีกด้านหนึ่งก็คือ การปรากฏออกมาเป็น สิ่งริเริ่ม (Initiatives)” ประเภทต่างๆ ที่อาจถูกกำหนดหรือพัฒนาขึ้นมา ด้วยความสมัครใจของภาคเอกชนก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
4. ISO ควรมีการจำกัดขอบเขตของเนื้อหาด้าน SR ทั้งนี้เพื่อต้องการไม่ให้ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ถูกดำเนินการ หรืออาศัยการแก้ไขโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
5. ISO ควรยอมรับกระบวนการสื่อสารร่วมกับองค์การ ILO โดยอาศัยช่องทางที่ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน หรือยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติงานแบบไตรภาคี และบรรทัดฐานในระดับนานาชาติเป็นหลัก ซึ่งต้องแสดงความเคารพนับถือต่อการปฏิบัติงานอย่างกว้างขวางของประเด็นด้านสังคมต่างๆ อยู่ร่วมด้วยเสมอ
6. ISO ควรยอมรับว่า สืบเนื่องมาจากผลของความสลับซับซ้อน และธรรมชาติในวิวัฒนาการของเนื้อหาด้าน SR ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดำเนินเป็นไปอย่างรวดเร็วมากในทุกขณะ เพราะฉะนั้นจึงควรแสดงความมุ่งมั่นต่อการดำเนินงานด้าน SR เพื่อให้เห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรมที่รวดเร็วที่สุด
7. ISO ควรมีการทบทวนกระบวนการทำงานในการยกร่างมาตรฐาน และในสภาพที่จำเป็นควรมีการปรับแต่งกระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นก่อให้เกิดความหมายที่ดีสำหรับการมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมจากกลุ่ม Stakeholders/ หน่วยงานต่างๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

    3.3 มิถุนายน 2004: การประชุมด้าน SR (ISO Conference) ที่สต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน
        จากผลงานของ SAG ดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การจัดให้มีการประชุมระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการรับทราบระดับความคิดเห็นต่างๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจสำหรับการพัฒนา หรือจัดทำมาตรฐาน SR อย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป ส่วนจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมถูกจำกัดเพียง 8 รายต่อประเทศสมาชิก ISO หนึ่งประเทศเท่านั้น การประชุมดังกล่าวดำเนินการขึ้นมาจากผลความร่วมมือของ สถาบันมาตรฐานประเทศสวีเดน (Swedish Standards Institute; SIS)” ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพของการประชุมครั้งนี้ พร้อมทั้งกำหนดให้มีการประชุมเป็นการล่วงหน้า (Pre-conference) ขึ้นมาด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ก็เพื่อต้องการกระตุ้นให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อการปฏิบัติงานร่วมกันด้าน SR ในลำดับต่อไป รวมถึงยังเป็นการตระเตรียมงานสำหรับการประชุมหลักที่อาจต้องจัดให้มีขึ้นในระยะเวลาต่อไป
        นอกจากนี้จะพบรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำคัญอีกประการหนึ่งได้ว่า ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายส่วนใหญ่ได้ปรากฏสภาพในการเป็นสมาชิกของ ISO อยู่มากกว่า 70% ของจำนวนประเทศสมาชิกทั้งหมด แต่ก็ยังคงแสดงบทบาทที่น้อยมากภายใต้บริบทของการปฏิบัติงานด้าน SR รวมถึงยังมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนในทางที่ไม่เพียงพอสำหรับการเป็นตัวแทนจากประเทศสมาชิกเหล่านั้น เพื่อต้องการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในส่วนใดส่วนหนึ่งของระดับคณะกรรมการ หรือถือครองตำแหน่งในการเป็นเลขาธิการของกลุ่ม/ คณะผู้ปฏิบัติงานของ ISO เพราะฉะนั้น ISO จึงพิจารณาถึงระดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นนี้เป็นพิเศษ เพราะตระหนักและเล็งเห็นว่า เรื่องการปฏิบัติงานด้าน SR จะเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านี้อยู๋โดยตรง สถาบัน SIS จึงต้องทำหน้าที่เริ่มต้นต่อการช่วยเหลือ โดยทำการจัดเตรียม Pre-conference ขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และทำหน้าที่สนับสนุนแหล่งเงิน โดยอาศัยความช่วยเหลือมาจากองค์การภายในประเทศของตนเอง คือ SIDA ร่วมด้วย ในที่สุดได้ทำการเชื้อเชิญกลุ่มบุคคลประมาณ 300 ราย ให้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งการเข้าประชุมครั้งนี้ และการประชุมใหญ่ที่จะถูกจัดขึ้นติดตามมา และครอบคลุมรวมไปถึงทำการสนับสนุนค่าเดินทาง และสถานที่พักอาศัยอีกร่วมด้วย
· การประชุมล่วงหน้า (Pre-conference) สำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (วันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2004)
           จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมมีประมาณ 40 ท่าน โดยเป็นตัวแทนมาจากประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 30 ราย และมีผู้นำเสนอหลัก (Key speaker) จำนวน 3 ราย ซึ่งปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งอยู่ภายในคณะกรรมการ SAG ที่นำเสนอรายละเอียด และต่างเห็นชอบร่วมด้วยต่อการที่ ISO จะทำการพัฒนาเป็นมาตรฐาน SR ขึ้นมารองรับได้ต่อไป โดยเฉพาะสมาชิกของ SAG รายหนึ่ง ได้ให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องว่า ISO จะสามารถทำการสนับสนุนรายละเอียดการดำเนินงานด้าน SR ขึ้นมาได้อย่างไร จากคำกล่าวดังต่อไปนี้
           ในขณะนี้มีจำนวนองค์การมากกว่า 600,000 แห่งที่แพร่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 และ ISO 14000 (ในขณะที่ได้รับการรับรองโดย GRI ประมาณ 500 แห่งเท่านั้น) เพราะฉะนั้นจึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญ ประกอบกับจากรายละเอียดต่างๆ ด้าน SR ที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนภายใน UN Global Compact ปฏิญญาหรือคำประกาศ ILO แนวทางปฏิบัติของ OECD Guideline และกฎหมายประจำท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น ซึ่งได้ก่อกำเนิดไว้เป็น บรรทัดฐานทางสังคม (Social norms)” ที่สำคัญ โดยเฉพาะ GRI ได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานที่ถูกจัดทำออกมาเป็นรายงานอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งองค์การ ISO สมควรเข้าไปแสดงความเชื่อมต่ออีกร่วมด้วย ดังนั้นการนำเสนอรายละเอียดบางส่วนด้าน SR ออกมา โดยกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป จึงควรเป็นเรื่องที่ต้องกระทำเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นการอาศัยพื้นฐานจากแนวความคิดของมาตรฐาน ISO 9000 และ ISO 14000 เข้ามาเป็น สพานเชื่อมต่อ (Bridging)” ที่ดีอีกประการหนึ่งด้วย
· การประชุมหลักของ ISO ที่สต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน (วันที่ 21 - 22 มิถุนายน 2004) (ISO Conference on SR)
 
           ภายหลังเมื่อสิ้นสุดการประชุมล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 2 วัน ต่อมาก็เป็นการประชุมหลัก โดยมีสมาชิกจากประเทศทั่วทุกมุมโลก ต่างเข้ามาประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน สำหรับพิธีเปิดงานกระทำโดยเจ้าหญิง Victoria แห่งราชวงศ์สวีเดน ได้ทำหน้าที่เป็นประธานการเปิดงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นจำนวน 355 ราย โดยเป็นตัวแทนมาจาก 66 ประเทศ และแสดงความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกลุ่มของ Stakeholders ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง เช่น มาจากสถาบัน/ หน่วยงานมาตรฐาน 2% องค์การธุรกิจ 27% ภาค NGO 14% ผู้บริโภค 6% ภาคแรงงาน 3% ภาครัฐบาล 10% องค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ และการจัดการด้าน SR 6% อื่นๆ 12% และเจ้าหน้าที่/ คณะทำงานของ ISO 1% เป็นต้น
           ในระหว่างระยะเวลาของการประชุมทั้ง 2 วัน รายละเอียดของการประชุมส่วนใหญ่ได้ถูกกำหนดออกมาในลักษณะของ การประชุมแบบครบองค์ประชุม (Plenary sessions)” โดยมีสมาชิกของ SAG และตัวแทนมาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ทั้ง 5 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง (ภาคแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม ผู้บริโภค ภาครัฐบาล และ NGO) ได้ทำการนำเสนอรายละเอียด พร้อมทั้งยังมีวาระการประชุมที่เป็นกรณีศึกษา (Case Studies) ที่ถูกนำเสนอรายละเอียดขึ้นมาจากผู้จัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์การ IKEA อีกด้วย ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของการประชุมครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นลงไปที่เป้าหมายหลักของ ISO ที่ต้องการจะเปิดเผยการปฏิบัติงานด้านมาตรฐาน SR ขึ้นมา พร้อมทั้งประเมินผลว่า จะมีโอกาสเป็นเรื่องที่ถูกยอมรับขึ้นมาได้ต่อไปหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาออกมาจากมุมมองของผู้ที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทั้งหมด ซึ่งจะพบเห็นเป็นภาพรวมได้อย่างเด่นชัดจากสมาชิก SAG รายหนึ่ง ที่กล่าวเสริมอย่างมีความหมายเพิ่มเติมขึ้นมาว่า 6/
           เครื่องมือประเภทหนึ่งที่ ISO นิยมใช้ประโยชน์กันเป็นอย่างมากก็คือ การจัดให้มีการประชุมขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่งเสียงที่ต้องการได้ยินหรือรับทราบโดยตรง และเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจได้อีกเช่นกัน สำหรับเสียงดังกล่าว ซึ่งอาจไม่ได้ยิน หรือได้ยินอย่างไม่สมบูรณ์ และในที่สุดจะกลายสภาพมาเป็นเสียงที่ได้รับฟังขึ้นมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามลำดับ
           องค์การ ISO ยังมีเหตุผลบางประการที่ต้องการจะได้ยินเสียงป้อนกลับออกมาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบถึงรายละเอียดของปัญหา ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกำหนด SR ออกมาเป็นมาตรฐานสาขาใหม่ โดยเฉพาะการมีคำวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากมายที่ระบุว่า การปฏิบัติงานตามสาขาใหม่ของ SR เช่นนั้น ยังแสดงความเกี่ยวข้องกับการปรากฏเป็น นโยบายสาธารณะและประเด็นต่างๆ ที่ควรพิจารณา ก็ไม่อาจสามารถปฏิบัติงานขึ้นมาได้ โดยอาศัยการทำหน้าที่ขององค์การ ISO แต่เพียงประการเดียว นอกจากนี้ยังปรากฏมีรายละเอียดของมาตรฐานต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้วในขณะนั้นๆ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาโดยอาศัยหน่วยงานอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ILO, UN Global Compact และ OECD ฯลฯ เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนของกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ จึงมีส่วนสนับสนุนต่อการดำเนินงานด้าน SR ขององค์การ ISO และในที่สุดก็เพื่อต้องการให้ ISO ได้ทำหน้าที่ผลักดันหรือช่วยกระตุ้นให้ปรากฏออกมาเป็นมาตรฐาน SR ที่ชัดเจนได้ต่อไปตามลำดับ
    3.4 มิถุนายน 2004: คณะกรรมการ ISO/TMB ตัดสินใจที่จะดำเนินการพัฒนามาตรฐาน ISO/SR Guidance ขึ้นมาตามลำดับ
        ภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลงไปได้ประมาณ 2 วัน คณะกรรมการจัดการด้านเทคนิคขององค์การ ISO (ISO Technical Management Board; TMB) ได้เรียกประชุมขึ้นมาอย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงผลของการยอมรับเป็นเบื้องต้นว่า เรื่อง SR เช่นนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และองค์ประกอบของประเด็นต่างๆ อยู่มากมาย และมีการแสดงความแตกต่างออกไปจากรายละเอียดของเนื้อหา หรือประเด็นหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในมาตรฐานฉบับอื่นๆ ที่องค์การ ISO ได้แสดงความเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนในการจัดทำเช่นในอดีต ด้วยเหตุผลเช่นนี้ ISO/TMB จึงตัดสินใจที่จะดำเนินการจัดทำ SR ให้เป็นมาตรฐานขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ดังคำกล่าวประการหนึ่งที่ระบุไว้ภายใน มติที่ประชุม (Resolution)” ของ ISO/TMB ดังนี้ 7/
          “ISO/TMB ตระหนัก และยอมรับว่า ผลที่ได้รับขึ้นมาจากการประชุมตามคำแนะนำของ SAG ที่ระบุว่า เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำมาตรฐานเป็น ระบบเอกสารของข้อแนะนำซึ่งต้องเขียนออกมาเป็นภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์ได้สำหรับผู้ที่ไม่ใช่เป็นผู้ชำนาญการ/ ผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น และจะต้องไม่เป็นเอกสารที่ร้องขอต่อการประเมินผลความสอดคล้องขึ้นมาอีกด้วย และยังยอมรับเพิ่มเติมอีกว่า ผลจากการประชุมเช่นนั้น จึงได้กำหนดให้มีการปฏิบัติงานของการยกร่างมาตรฐานขึ้นมาอย่างเร่งด่วนต่อไป (ISO/ TMB Resolution L/2004, 25 June 2004)
          ISO/TMB ยังพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมว่า เป็นระยะเวลาที่สมควรแล้วที่ผลการปฏิบัติงานของ SAG ได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จึงมีมติให้ยกเลิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน SAG ดังกล่าว ประกอบกับ ISO/TMB เห็นว่า กระบวนการในการจัดทำมาตรฐาน SR นั้น ไม่ควรดำเนินการผ่านตัวแทนที่เป็น คณะกรรมการด้านเทคนิค (Technical Committee; TC)” เหมือนกับการจัดทำมาตรฐาน ISO ฉบับต่างๆ ที่ผ่านมาเช่นในอดีต เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการยกร่างมาตรฐาน SR ฉบับใหม่ จึงควรปฏิบัติงาน โดยผ่านการทำงานของ คณะทำงานพิเศษในระดับนานาชาติ (Special International Working Group; WG)” ซึ่งอยู่ภายใต้การเฝ้าติดตาม หรือควบคุมดูแลปรึกษาจาก ISO/TMB โดยตรง และยังกำหนดช่วงระยะเวลาของการยกร่างมาตรฐานฉบับดังกล่าว ให้อยู่ภายในขอบเขตเพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกรอบระยะเวลาของการยกร่างมาตรฐานฉบับดั้งเดิม ที่ต้องอาศัยระยะเวลาตามปรกติประมาณ 5-6 ปี เป็นอย่างต่ำ พร้อมทั้งยังมีการกำหนดรายละเอียดอื่นๆ เพื่อใช้กำกับวิธีการยกร่างมาตรฐานที่เรียกว่า “ISO 26000 Code” ออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้กระบวนการยกร่างมาตรฐาน ปรากฏรายละเอียดที่มีความสมบูรณ์ขึ้นมา เช่นเดียวกับการจัดเตรียมมาตรฐานฉบับอื่นๆ ที่ผ่านมา เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 เป็นต้น
     3.5 กันยายน 2004: คณะกรรมการ ISO/TMB มอบหมาย ความรับผิดชอบด้านสภาวะผู้นำ (Leadership responsibilities) ให้กับหน่วยงานสมาชิกองค์การ ISO ทั้งสอง คือ SIS (สวีเดน) และ ABNT (บราซิล) ในลักษณะของการทำงานร่วมกันที่เรียกว่า เป็น การจัดเตรียมขึ้นมาแบบเป็นคู่ (Twinning arrangement)
 
แผนผังการดำเนินงานสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ISO 26000 โดยอาศัย “Twinning arrrangement” จาก 2 หน่วยงาน คือ SIS และ ABNT ตามลำดับ
        คณะกรรมการ ISO/TMB ยังดำเนินการจัดเตรียมวิธีการพิเศษขึ้นมาสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐาน SR โดยมุ่งเน้น และการยินยอมให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยสำหรับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในลักษณะของการปฏิบัติงานร่วมกันที่เรียกว่า การจัดเตรียมขึ้นมาแบบเป็นคู่ (Twinning arrangement) โดยต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้ว (ภาคอุตสาหกรรมและการค้าเป็นส่วนใหญ่) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำหน้าที่เป็นผู้ทำงานใน WG ต่างๆ ทั้งตำแหน่งประธานกลุ่ม WG เลขาธิการ หรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานภารกิจ (Task Forces Group; TG) เป็นต้น จากรายละเอียดของคำแนะนำและแนวทางของการปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้ ทางคณะกรรมการ ISO/TMB จึงได้เชื้อเชิญ และประกาศให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ทำการลงมติ เพื่อรับรองผลว่า ประเทศคู่ใดที่สมควรจะได้รับการเสนอชื่อสำหรับความเป็นผู้นำในตำแหน่งประธานคณะทำงาน SR และตำแหน่งรองประธาน เป็นต้น ในระยะต่อมาประมาณเดือนกันยายน 2004 ทางคณะกรรมการ ISO/TMB ได้รับผลการลงมติที่ว่า สมาชิกที่มาจากหน่วยงานมาตรฐานของประเทศบราซิล และสวีเดน ได้ผ่านการคัดเลือกจากประเทศสมาชิกต่างๆ ที่ทำการลงมติทั้งหมด ดังนั้นตัวแทนของประเทศทั้งสอง จึงเข้าถือครองตำแหน่งในลักษณะ Twinning arrangement และปรากฏเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ขององค์การ ISO ต่อการได้รับขึ้นมาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่เป็นผู้ยกร่างมาตรฐาน SR ซึ่งประกอบด้วยรายชื่อที่ควรสนใจ ดังนี้ 8/
        1). Mr. Jorge E.R. Cajazeira ประธาน (Chair SR/WG) โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนมาจากสถาบันมาตรฐานบราซิล (Brazilian Standards Institute; ABNT)
          2). Mr. Staffan Soderberg รองประธาน (Vice Chair SR/WG) โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนมาจากสถาบันมาตรฐานสวีเดน (Swedish Standards Institute; SIS)
        ในเดือนพฤศจิกายน 2004 ตัวแทนจากประเทศบราซิลในตำแหน่งประธาน และเลขาธิการร่วม (Co-secretary) ได้เดินทางไปพบกับตัวแทนในส่วนของประเทศสวีเดน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งรองประธาน และเลขาธิการ (Secretary) โดยได้พบปะ และเจรจาหารือร่วมกันสำหรับขอบเขตของการปฏิบัติงาน เพื่อดำเนินการยกร่างมาตรฐาน SR ขึ้นมาในขั้นตอนต่อไปตามลำดับ
     3.6 ตุลาคม 2004: คณะกรรมการ ISO/TMB จัดทำโครงร่างเอกสาร New Work Item Proposal (NWIP)
        ISO/TMB ได้ดำเนินการจัดทำโครงร่างเอกสาร เพื่อการพัฒนา และกระบวนการยกร่างมาตรฐาน SR ฉบับใหม่ขึ้นมา ที่เรียกว่า “New Work Item Proposal (NWIP), Guidance on SR” 9/ และได้เวียนแจกจ่ายออกไปให้กับสมาชิกของ ISO/TMB เพื่อทำการออกเสียงลงมติสำหรับการยอมรับ หรือไม่ยอมรับต่อโครงร่างดังกล่าวภายในวันที่ 7 มกราคม 2005
       เอกสารฉบับดังกล่าวมีความยาวประมาณ 22 หน้ากระดาษ โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหา และองค์ประกอบหลักต่างๆ สำหรับการพัฒนาไปเป็นมาตรฐาน SR ต่อไป ส่วนหัวข้อที่ควรสนใจมี ดังนี้
          ส่วนที่ 1: ขอบเขตของรายละเอียดโครงการสำหรับการยกร่างมาตรฐาน (Scope of the proposed project)
        1). ขอบเขตของมาตรฐาน (Scope of the standards)
              รายละเอียดของมาตรฐาน SR ควร
· ช่วยเหลือองค์การต่อการแสดงบทบาทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการเคารพนับถือต่อรายละเอียดความแตกต่างทางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องทางกฎหมาย รวมถึงการยกระดับเงื่อนไขของการพัฒนาเศรษฐกิจได้อีกด้วย
· ให้รายละเอียดข้อแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
- วิธีการปฏิบัติที่เป็นไปได้สำหรับ SR
- การระบุ/ ชี้บ่ง และการแสดงผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และ
- การเพิ่มพูนขึ้นมาสำหรับรายงานของความน่าเชื่อถือ และการอ้างอิงถึงขอบเขตการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง
· การมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
· การเพิ่มขึ้นของผลความเชื่อมั่น และความพึงพอใจต่อองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า และกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ
· มีความสอดคล้อง และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาต่อเอกสารฉบับอื่นๆ รายละเอียดต่างๆ ที่ถูกระบุไว้ภายในสนธิสัญญา หรือการประชุมใหญ่ในระดับนานาชาติ รวมถึงมาตรฐาน ISO ฉบับอื่นๆ ที่ปรากฏผลใช้งานอยู่ในขณะนั้นๆ
· สนับสนุนและก่อให้เกิดการสร้างความตระหนักด้าน SR ขึ้นมาเป็นขอบเขตอย่างกว้างขวาง หรือครอบคลุมในทุกส่วนของสังคม
        2). บริบท/ เนื้อหาของมาตรฐาน (Content of the standard)
             รายละเอียดของเนื้อหาที่ควรถูกบรรจุอยู่ภายในมาตรฐาน SR จะต้องเป็นเรื่องที่อ่าน และทำความเข้าใจได้ง่ายสำหรับประชาชนทั่วไป และทั้งนี้การกำหนดหรือ การออกแบบรายละเอียดทางเทคนิค (Design specification)” ของมาตรฐานฉบับดังกล่าว จะต้องครอบคลุมเรื่องที่สำคัญ ดังนี้
· ตารางแสดงสารบัญของรายละเอียดมาตรฐาน
· มีการระบุ/ ชี้บ่งถึง ข้อกำหนดหลัก (Core elements)” ของมาตรฐาน
· ระบุถึง ขอบเขตของมาตรฐาน (Scope)”
· มีการอธิบายหรือให้คำจำกัดความ และ/ หรือแนวความคิดของมาตรฐาน
           สำหรับรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาร่วมด้วยสำหรับขั้นตอนของการยกร่างออกมาเป็นมาตรฐาน SR ก็คือ
· ประเด็นต่างๆ ที่ถูกระบุ/ ชี้บ่งไว้ภายในรายงาน ซึ่งถูกจัดทำขึ้นมาโดยคณะทำงาน AG/SR
· ประเด็นต่างๆ ที่ถูกพิจารณาขึ้นมาจากผลของการประชุมในระดับนานาชาติ
· ประเด็นต่างๆ ที่ถูกพิจารณา และปรากฏเป็นข้อกำหนดของ SR และครอบคลุมรวมไปถึงการเป็นข้อกำหนดที่ปรากฏอยู่ภายในเอกสาร/ มาตรฐานฉบับอื่นๆ
        3). การใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐาน (Application of the standard)
              รายละเอียดของมาตรฐาน SR ฉบับนี้ ควรถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกประเภทขององค์การ โดยไม่มีผลจำกัดต่อขนาดที่เกี่ยวข้อง สถานที่ ธรรมชาติของกิจกรรม และประเภทของผลิตภัณฑ์ สภาพทางวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงความเกี่ยวข้องอยู่กับการปฏิบัติกิจกรรมประเภทต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง
        4). ประเภทของมาตรฐาน (Types of the standard)
· เอกสารที่ถูกจัดทำขึ้นมาจะต้องเป็นรายละเอียดของมาตรฐาน ISO ซึ่งมีลักษณะเป็น ข้อแนะนำ (Guidance)” เท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปสู่การยื่นเพื่อขอรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานตรวจติดตามที่ 3 (Third-party audit) ต่อไป
· รายละเอียดที่เป็นเนื้อหาของมาตรฐาน จะใช้คำกริยาว่า ควรจะ (Should)” สำหรับการปฏิบัติหรือการกระทำเท่านั้น
          ส่วนที่ 2: รายละเอียดสำหรับการปฏิบัติงานของคณะทำงาน WG/SR (Operational details of the Working Group on SR)
        1). การจัดการ/ บริหารสำหรับ WG (Management of the working group)
· บทบาทและหน้าที่ของ WG: คณะกรรมการ ISO/TMB ทำการจัดตั้ง สร้างและพัฒนากลุ่ม WG ขึ้นมา เพื่อต้องการรักษาสภาพสมดุลของ Multi-stakeholders ต่างๆ ซึ่งสามารถนำพาไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนามาตรฐาน SR ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไปตามลำดับ
·  การจัดเตรียมในลักษณะแบบคู่ (Twinning arrangement): การปฏิบัติงานจะต้องกระทำขึ้นมาภายใต้สภาวะผู้นำแบบคู่ในแต่ละระดับของ WG และระดับ SG โดยลักษณะและวิธีการปฏิบัติงานดังกล่าว จะครอบคลุมลงไปถึงรายละเอียดของการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่
· การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม WG (WG participation and membership): หนึ่งสมาชิกของกลุ่ม WG ต้องประกอบไปด้วยรายชื่อของผู้เชี่ยวชาญมาจากประเทศต่างๆ ที่ถูกนำเสนอ โดยผ่านหน่วยงานที่เป็น ISO member bodies เป็นผู้อนุมัติก่อนเป็นเบื้องต้น และยังได้รับมาจากการนำเสนอรายชื่อที่ผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานภายในของคณะกรรมการร่วม ISO/IEC Committee liaisons หรืออาจมาจากหน่วยงานภายนอกของ External liaisons (ระดับนานาชาติและองค์การในระดับภูมิภาค) ก็ได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดบางประการที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมร่วมด้วย ก็คือ
               - Internal liaisons ที่เป็นสมาชิก WG นั้น จะต้องประกอบด้วยจำนวนสมาชิก 2 ราย ที่ได้รับการเสนอรายชื่อ และปรากฏเป็นตัวแทนมาจากหน่วยงานภายในของ ISO Committees ต่างๆ จึงจะมีสถานะเป็น Internal liaisons ได้โดยตรง
                - External liaisons (D-liaisons) ที่เป็นสมาชิกของ WG ดังกล่าว จะถูกเปิดโอกาสให้กับองค์การระดับนานาชาติหรือระดับภูมิภาคต่างๆ ที่มีความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยแต่ละรายขององค์การเหล่านั้น จะต้องนำเสนอรายละเอียดของ โครงสร้างการปฏิบัติงานองค์การ (Organization Profiles)” ที่มีการระบุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างเด่นชัด กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ ความจำเป็นที่ต้องเข้าร่วมงานเพื่อการพัฒนามาตรฐาน ISO/SR ขึ้นมา รวมถึงความตั้งใจที่จะทำหน้าที่แบ่งปัน สนับสนุน หรือช่วยเหลือการปฏิบัติงาน SR ต่อไปในอนาคตอีกด้วย และต้องนำเสนอรายละเอียดเหล่านี้ทั้งหมด ต่อการพิจารณาจากเลขาธิการ ISO/TMB เพื่อทำการอนุมัติต่อไปตามลำดับ โดยทั่วไปแต่ละองค์การของประเภท D-liaisons สามารถนำเสนอรายชื่อผู้เชี่ยวชาญประจำองค์การของตนจำนวน 2 รายชื่อเท่านั้น เพื่อแสดงถึงจุดมุ่งหมายในการเข้าเป็นสมาชิกของ WG ได้โดยตรง
· วิธีการปฏิบัติงานของ WG (Working method): เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความสอดคล้องเป็นไปเช่นเดียวกับรายละเอียดของการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่กระทำโดยองค์การ ISO ดังนั้นภารกิจหลักประการสำคัญของ WG ก็คือ การจัดทำและพัฒนาเพื่อการยก ร่างมาตรฐาน (Working Draft; WD)“ ขึ้นมา โดยอาศัยผ่านการลงมติเห็นชอบจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของกลุ่ม WG และในขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังว่า ในแต่ละรายประเทศสมาชิกที่เป็น Member bodies ซึ่งทำหน้าที่นำเสนอรายชื่อผู้เชี่ยวชาญเช่นนั้น จะทำการจัดตั้ง คณะกรรมการเงาในระดับชาติ (National mirror committees)” ขึ้นมาประกอบร่วมด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการกระตุ้นก่อให้เกิดการสื่อสารข้อมูล แหล่งสารสนเทศ หรือการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการยกร่างมาตรฐานฉบับนี้ รวมไปถึงมีการประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน และในที่สุดจะปรากฏสภาพออกมาเป็น กระจกที่ช่วยสะท้อนถึงประสิทธิภาพ/ ประสิทธิผลที่ดีสำหรับการทำงานร่วมกันทั้งหมดของกลุ่ม WG ระดับนานาชาติเหล่านี้ นอกจากนี้ยังยืนยันถึงความเหมาะสมในด้านการเป็นตัวแทนที่ถูกคัดเลือกมาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงอีกด้วย
    3.7 มกราคม 2005: การลงมติสำหรับโครงร่างเอกสาร SR/NWIP
        ภายหลังจากกำหนดระยะเวลาลงมติไว้ 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ ISO member bodies จากประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกได้ทำการลงมติยอมรับในรายละเอียดเช่นนั้น จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 80 ราย ปรากฏผลว่า มีจำนวน 29 รายที่ระบุผลการยอมรับโครงร่าง NWIP เป็นอย่างดี และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นมาตรฐาน ISO 26000 ต่อไป นอกจากนี้มีจำนวนสมาชิกเพียง 4 รายที่ให้คำตอบปฏิเสธต่อการยอมรับโครงร่างดังกล่าว ซึ่งในที่สุดสามารถชี้บ่งผลออกมาได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งว่า รายละเอียดของการปฏิบัติงานด้าน SR แต่ดั้งเดิม ที่มีสถานภาพอย่างไม่เป็นทางการนั้น ได้ถูกยอมรับและนับถือต่อการพัฒนาไปเป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการได้แล้ว
        ด้วยเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ของการลงมติดังกล่าว สาระสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยก็คือ
·  การเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมจากกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย พบเห็นกันเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะ ISO/TMB ยังได้กำหนดรายละเอียดของการปฏิบัติพิเศษขึ้นมาเสริมการปฏิบัติงานของ WG ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐาน SR โดยอนุญาตยินยอมให้หน่วยงาน/ สมาชิกประจำชาติ ที่มีความปรารถนา และต้องการจะเข้ามามีส่วนร่วมในงานดังกล่าว สามารถนำเสนอรายชื่อผู้เชี่ยวชาญได้เป็นจำนวนสูงสุดถึง 6 รายบุคคล แต่ต้องถูกคัดเลือกให้มีความสอดคล้องเข้ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของ Stakeholders ทั้ง 6 กลุ่มร่วมด้วย ดังนี้ กลุ่มอุตสาหกรรม (ภาคธุรกิจและสมาคมธุรกิจอื่นๆ) ภาครัฐบาล (ระดับภูมิภาค ระดับประเทศและระดับชุมชน/ ท้องถิ่น) ผู้บริโภค ภาคแรงงาน NGO และกลุ่มอื่นๆ (เช่น กลุ่มนักวิชาการ ภาคการเงิน ฯลฯ) เป็นต้น นอกจากนี้ ISO/TMB ยังแสดงความยืดหยุ่นต่อการกำหนดตัวแทนของสมาชิกในระดับชาติ โดยอนุญาตให้แต่ละแห่ง สามารถนำเสนอแต่ละกลุ่ม Stakeholders ได้ในจำนวนที่ไม่เกิน 2 รายชื่อบุคคลต่อแต่ละกลุ่มของ Stakeholders เหล่านั้น
·  นอกเหนือจากการปรับรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความยืดหยุ่น และมีความเหมาะสมขึ้นมาภายในแต่ละแห่งของประเทศสมาชิกระดับชาติแล้ว ISO/TMB ยังได้เชื้อเชิญกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ในระดับนานาชาติ และ สถาบันภาครัฐบาลระดับนานาชาติ (Intergovernmental institution)” ซึ่งทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในด้านการเป็น องค์การผู้ติดต่อ/ ประสานงาน (Liaison organization)” ให้สามารถนำเสนอรายชื่อผู้เชี่ยวชาญของตนได้ 2 รายบุคคล/องค์การแต่ละแห่งตามลำดับ ถึงแม้ว่ารายละเอียดภายใต้กฎเกณฑ์ขององค์การ ISO จะไม่อนุญาตให้องค์การระดับ Liaison เหล่านี้ เข้ามามีสิทธิในการลงมติต่อการยอมรับร่างของมาตรฐานในขั้นตอนต่างๆ ต่อไป ซึ่งผลของการกระทำเช่นนี้จะปรากฏเป็นเครื่องชี้บ่งว่า การอนุญาตให้มีสิทธิในการลงมติ ย่อมปรากฏผลขึ้นมาอย่างแท้จริงสำหรับองค์การทุกประเภทที่มีลักษณะเป็น Stakeholders รวมถึงกลุ่ม/ องค์การที่ไม่ใช่หน่วยงานระดับชาติ หรือผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังต่อการปฏิบัติงานของ ISO เช่น กลุ่มประชาสังคม (Civil society groups) หน่วยงานภาครัฐบาลในระดับนานาชาติ (Intergovernmental bodies) สมาคมการค้า (Trade association) ฯลฯ
·  การลดปัญหาข้อขัดแย้งกับองค์การอื่นๆ เช่น ILO เป็นต้น ทั้งนี้ถ้ามีการสังเกตผลที่ได้รับจากรายละเอียดประการหนึ่งที่ถูกระบุไว้ภายในรายงาน SAG ที่กล่าวถึง การรักษาระดับความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง ISO และ ILO ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 5/
           องค์การ ISO สมควรจะดำเนินงานต่อไป ถ้ามีการยอมรับ และตระหนักความสำคัญในเรื่องการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการกับองค์การ ILO ซึ่งมีการปฏิบัติงานในเชิงบังคับ หรือปรากฏเป็นข้อกำหนดขึ้นมาในลักษณะของ การปฏิบัติงานที่เป็นไตรภาคี (Tripartite basis)” เป็นหลัก โดยที่รายละเอียดเหล่านี้จะปรากฏเป็น บรรทัดฐานในระดับนานาชาติ (International norms)” ซึ่งแสดงความเกี่ยวข้องกับขอบเขตที่กว้างขวางมากสำหรับการเป็นประเด็นที่สำคัญของ SR แทบทั้งสิ้น และองค์การ ISO ควรแสดงความเคารพนับถือในเรื่องเช่นนี้เป็นสำคัญ” (SAG Report and recommendation, 2004)
           ประกอบกับระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์การทั้งสองในรอบปี 2003 และ 2004 ที่ผ่านมา ค่อนข้างมีความตึงเครียดเกิดขึ้นพอสมควร โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของ SAG ซึ่งจำเป็นต้องมีการสื่อสารร่วมกับองค์การ ILO ก็มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องการจัดทำมาตรฐาน SR ขึ้นมาได้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2004 นั้น องค์การ ILO ได้นำเสนอรายละเอียด โดยผ่านการเขียนเป็นจดหมายและถูกจัดถูกส่งไปยัง ISO เพื่อให้ได้รับทราบ โดยมีการขอร้องให้ ISO ทำการเลื่อนการลงมติสำหรับการรับหลักการของ NWIP ออกไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน จนกว่าทั้งคู่จะสามารถบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกันได้ หรือทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับปรุงระดับความสัมพันธ์ขององค์การทั้งสอง ให้มีความก้าวหน้าที่ดียิ่งขึ้นตามลำดับ ดังรายละเอียดของจดหมายที่ถูกนำเสนอไว้ให้เห็นข้างล่างนี้ 10/
           ภายใต้มุมมองของ ILO ค่อนข้างจะแสดงความรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง ในกรณีถ้าองค์การ ISO จะทำการเลื่อนการลงมติ เพื่อรับโครงร่าง NWIP ออกไปอีกสักระยะหนึ่ง จนกว่าองค์การทั้งสอง จะบรรลุถึงรายละเอียดข้อตกลงในลักษณะที่เป็นเรื่องของการจัดทำ บันทึกเพื่อความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU)” ขึ้นมารองรับผลอย่างเป็นทางการต่อไป (รายละเอียดของจดหมายที่ถูกจัดส่งไปยัง ISO จากกรรมการบริหารของสำนักงานเลขาธิการทั่วไป องค์การ ILO ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2004)”
     3.8 มีนาคม 2005: การลงนาม MOU ร่วมกันระหว่าง ISO และ ILO
  
        ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงความไม่สม่ำเสมอ หรือความซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมาในรายละเอียดของมาตรฐานด้าน SR ที่ต้องการถูกยกร่างขึ้นมาด้วยผลของความสมัครใจเป็นเรื่องสำคัญเช่นนั้น คณะกรรมการ ISO/TMB จึงได้ทำการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง โดยอาศัย มติที่ได้รับจากการประชุม (ISO/TMB Resolution) ครั้งที่ 3/2005” เป็นหลัก ที่มีความต้องการจะทำการลงนามในรายละเอียดตาม บันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU)” ขึ้นมาร่วมกับองค์การ ILO ต่อไป โดยเฉพาะรายละเอียดจากบทบัญญัติที่ 1 (Article 1) ของ MOU ที่ลงนามดังกล่าว ได้ทำการมอบหมายให้ ILO เข้ามามีบทบาทต่อการกำหนดมาตรฐาน ISO 2600 ให้มีรายละเอียดที่สอดคล้องเข้ากับมาตรฐานด้านแรงงานของ ILO ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ข้างล่างนี้ประกอบร่วมด้วย คือ 11/
        ความร่วมมือของ ILO ต่อการตัดสินใจในการยกร่างมาตรฐาน ISO จะครอบคลุมรายละเอียดไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ISO/SR ขึ้นมาตามลำดับ ดังนั้นการจัดทำร่างมาตรฐานฉบับใดๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงการได้รับเป็นร่างมาตรฐานฉบับต่างๆ ขึ้นมา เช่น CD, DIS, FDIS ตามลำดับนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ โดยผ่านความเห็นชอบในการลงมติยอมรับ หรือการให้คำแนะนำเพิ่มเติมใดๆ ขึ้นมาก่อนจากองค์การ ILO สำหรับในทุกรายละเอียด/ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง นอกจากนี้ผลของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งสอง จะครอบคลุมไปถึงการพัฒนามาตรฐานระดับนานาชาติในสาขา SR หรือกิจกรรมประเภทต่างๆ และการจัดพิมพ์เผยแพร่รายละเอียดมาตรฐานนานาชาติเหล่านั้น ออกไปสู่สาธารณชนภายนอกอีกด้วย (Memorandum of Understanding, 4 March 2005)”
        จากรายละเอียดของ MOU เช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นผลได้ประการหนึ่งว่า ในช่วงแรกองค์การ ILO ค่อนข้างแสดงความคิดเห็นที่ตรงกันข้ามกับ ISO เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการต่อต้านในลักษณะที่ ISO มีความคุ้นเคยเป็นส่วนใหญ่อยู่กับระบบของการจัดการ และความต้องการเพื่อการยื่นขอรับรองผลความเป็นมาตรฐานในรูปแบบของการรับใบประกาศนียบัตรป็นสำคัญ ทั้งนี้ ILO มองเห็นว่า ISO เป็นองค์การที่มีประวัติศาสตร์ของการดำเนินงานมาตรฐาน ที่มีความเชื่อมยึดเข้ากับกลไกด้านการทวนสอบ และเกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจสำหรับการรับรองมาตรฐานต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นการมีทัศนคติในช่วงแรก จึงรับรู้ลักษณะความเป็นคู่แข่งขององค์การ ISO ต่อการสร้างมาตรฐานขึ้นมา แต่ในระยะเวลาภายหลังเมื่อมีการลงนาม MOU ร่วมกันแล้ว ILO กลับพิจารณาตนเองว่า สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทน (Representative) ได้มีบทบาทที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันยังครอบคลุมรวมไปถึง การมีอำนาจ (Authoritative)” อย่างแท้จริงขึ้นมาร่วมด้วยต่อการแสดงความคิดเห็นในลักษณะคัดค้าน (Veto) รายละเอียดของมาตรฐาน SR ที่จะถูกจัดทำขึ้นมาที่เป็นผลงานร่วมกัน ซึ่งประสบการณ์ในอดีตองค์การ ILO ประสบกับปัญหาความยุ่งยากในเรื่องของการจัดทำรายละเอียดตามความต้องการด้านมาตรฐานแรงงานเป็นอย่างมาก แต่ถ้าอาศัยหรือใช้ประสบการณ์จากการทำงานเสริมของ ISO เข้ามาช่วยร่วมด้วยแล้วนั้น ก็จะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่สามารถบรรลุถึงผลสำเร็จได้ในประการสุดท้าย
 XXXXXXXXX













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น