บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 6: หัวข้อกำหนด 3.2 - แนวโน้มปัจจุบันของ SR
3.2 Recent trends in social responsibility |
For a number of reasons, awareness about the social responsibility of organizations is increasing. |
Globalization, greater ease of mobility and accessibility, and the growing availability of instant communications mean that individuals and organizations around the world are finding it easier to know about the decisions and activities of organizations in both nearby and in distant locations. These factors provide the opportunity for organizations to benefit from learning new ways of doing things and solving problems. This means that organizations’ decisions and activities are subject to increased scrutiny by a wide variety of groups and individuals. Policies or practices applied by an organization in different locations can be readily compared. |
The global nature of some environmental and health issues, recognition of worldwide responsibility for combating poverty, growing financial and economic interdependence and more geographically dispersed value chains mean that the matters relevant to an organization may extend well beyond those existing in the immediate area in which the organization is located. It is important that organizations address social responsibility irrespective of social or economic circumstances. Instruments such as the Rio Declaration on Environment and Development [158], the Johannesburg Declaration on Sustainable Development [151], the Millennium Development Goals [153] and the ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work [54] emphasize this worldwide interdependence. |
Over the past several decades, globalization has resulted in an increase in the impact of different types. |
of organizations – including those in the private sector, NGOs and government – on communities and the environment |
NGOs and companies have become providers of many services usually offered by government, particularly in countries where governments have faced serious challenges and constraints and have been unable to provided services in areas such as health, education and welfare. As the capability of country governments expands, the roles of government and private sector organizations are undergoing change. |
In times of economic and financial crisis, organizations should seek to sustain their activities related to social responsibility. Such crises have a significant impact on more vulnerable groups, and thus suggest a greater need for increased social responsibility. They also present particular opportunities for integrating social, economic and environmental considerations more effectively into policy reform and organizational decisions and activities. Government has a crucial role to play in realizing these opportunities. |
Consumers, customers, donors, investors and owners are, in various ways, exerting financial influence on organizations in relation to social responsibility. The expectations of society regarding the performance of organizations continue to grow. Community-right-to-know legislation in many locations gives people access to detailed information about the decisions and activities of some organizations. A growing number of organizations are communicating with their stakeholders, including by producing social responsibility reports to meet their needs for information about the organization’s performance. |
These and other factors form the context for social responsibility and contribute to the call for organizations to demonstrate their social responsibility. |
คำอธิบาย 
3.2 แนวโน้มปัจจุบันของ SR โดยทั่วไปมีปัจจัยหรือเหตุผลอยู่มากมายหลายประการที่แสดงถึงรายละเอียดของความตระหนักอยู่โดยตรง หรือมีส่วนช่วยสนับสนุนต่อการเพิ่มขึ้นของความสนใจในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบขององค์การแต่ละแห่งเป็นสำคัญ
สภาพโลกาภิวัฒน์ดังเช่นที่พบเห็นในอยู่ปัจจุบัน มีส่วนช่วยส่งเสริมก่อให้เกิดผลของความสะดวกสบาย ต่อการเคลื่อนย้ายและความสามารถในการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามลำดับ และยังเป็นการยกระดับความเป็นประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสารที่เกิดขึ้นเป็นผลให้เห็นอย่างทันทีทันใด ซึ่งย่อมหมายความถึงว่า แต่ละรายบุคคล หรือองค์การแต่ละแห่งที่แพร่กระจายอยู่ในบริเวณภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ต่างต้องดิ้นรนค้นหา หรือต้องการให้ได้รับทราบขึ้นมาถึงความก้าวหน้าของการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมสำหรับองค์การต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ภายในพื้นที่ใกล้เคียงกับตนเอง หรือในสถานที่อื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปเช่นนั้น มีสภาพของการเกิดขึ้นเป็นผลออกมาให้เห็นได้อย่างไร รายละเอียดของปัจจัยต่างๆ เช่นนี้ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุน หรือส่งเสริมโอกาสขององค์การ ในการได้รับผลประโยชน์จากการเรียนรู้สำหรับการปฏิบัติงานในสิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงยังสามารถกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาออกมาอย่างได้ผลที่ดีขึ้นมาโดยตรง นอกจากนี้ยังมีความหมายเพิ่มเติมลงไปอีกด้วยว่า การตัดสินใจและกิจกรรมที่ปฏิบัติด้วยองค์การเช่นนั้น ล้วนจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนของการตรวจสอบ วิเคราะห์ และถูกพิจารณาผลที่ดำเนินเป็นไปอย่างกว้างขวางเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามลำดับจากกลุ่มหรือแต่ละรายบุคคลก็ตาม ดังนั้นการกำหนดรายละเอียดของนโยบาย หรือวิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ถูกดำเนินการขึ้นมาโดยองค์การแต่ละแห่ง และเมื่อยู่ภายใต้ตามลักษณะของความแตกต่างในแต่ละพื้นที่เช่นนั้น จึงสามารถนำผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาเปรียบเทียบเข้ากันได้เป็นอย่างดี
สำหรับรายละเอียดของประเด็น/ เนื้อหาหลักบางเรื่องที่ควรให้ความสนใจ และแสดงความเกี่ยวข้องอยู่กับสภาพตามธรรมชาติในระดับโลก เช่น เรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัย กำลังเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางเพิ่มมากยิ่งขึ้นในลักษณะของการเป็นความรับผิดชอบระดับโลก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลก็เพื่อมุ่งเน้นกับการต่อสู้กับความยากจนทั้งหลาย ให้มีการลดระดับลงมาจนสามารถเห็นผลที่ดีอยู่ได้โดยตรงนั่นเอง นอกจากนี้การเพิ่มเติมหรือการถูกยกระดับขึ้นมาสำหรับปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งในส่วนด้านการเงินและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระดับนานาชาติ และยังครอบคลุมรวมไปถึงการแพร่กระจายออกไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ดำเนินเป็นไปอย่างกว้างขวางในเรื่องของสายโซ่แห่งคุณค่าอยู่ร่วมด้วย ซึ่งหมายความถึงว่า รายละเอียดของประเด็นต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้ ต่างแสดงความเกี่ยวข้องกับสภาพที่องค์การจะต้องกระทำ ประพฤติปฏิบัติ หรือแสดงบทบาทให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และต้องดำเนินการเป็นไปในลักษณะที่อยู่สูงเหนือมากกว่าขอบเขตของการปฏิบัติที่กระทำอยู่ภายในพื้นที่เฉพาะแห่งของตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงปรากฏถึงรายละเอียดของความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่องค์การแต่ละแห่ง ล้วนจำเป็นจะต้องมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ว่าจะมีสภาพการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจปรากฏเกิดขึ้นหรือพบเห็นเป็นไปอยู่ในระดับใดๆ ก็ตาม จากรายละเอียดที่ถูกระบุอยู่ไว้ภายในเครื่องมือ เอกสาร/ คำประกาศต่างๆ ซึ่งมีการเผยแพร่ออกมาอย่างเด่นชัดในรอบระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาอีกร่วมด้วย เช่น จากปฏิญญาริโอ ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา [158] ปฏิญญาโยฮันเน็สเบิรก์ ว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน [151] ปฏิญญาว่าด้วยวัตถุประสงค์ของการพัฒนาในสหัสวรรษ [153] และจากคำประกาศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยหลักการขั้นพื้นฐานและสิทธิในการทำงาน [153] ล้วนต่างได้อธิบาย หรือกล่าวเน้นถึงรายละเอียดที่สำคัญของประเด็นเหล่านี้ เพื่อมุ่งนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เป็นไปได้อย่างแพร่หลาย และสามารถครอบคลุมอย่างกว้างขวางเป็นไปตามเขตต่างๆ ของพื้นที่ทั่วโลกเป็นประการสำคัญ
ในรอบระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา สภาพโลกาภิวัฒน์ได้ส่งผลและมีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มขึ้นของบทบาท อำนาจดำเนินการ และการสร้างผลกระทบขึ้นมาต่อสภาพการดำเนินงานขององค์การประเภทต่างๆ และยังอาจครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงภาคเอกชน องค์การที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ (NGOs) และภาครัฐบาลอีกร่วมด้วย เป็นต้น
ในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงบทบาทของภาครัฐ จึงสามารถพบเห็นได้โดยง่าย โดยเฉพาะหน่วยงานหรือองค์การที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐทั้งหลาย (NGOs) ต่างได้เปลี่ยนแปลงสภาพมาเป็นหน่วยงานที่ให้บริการกันอย่างแพร่หลายเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามลำดับ และสามารถเข้าไปทำหน้าที่ช่วยเหลือทดแทนภาครัฐที่เคยให้บริการมาตั้งแต่สภาพดั้งเดิมในอดีต นอกจากนี้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ได้แสดงความแตกต่างกันเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะรัฐบาลส่วนใหญ่ภายในประเทศเหล่านี้ ได้รับบทเรียนที่ค่อนข้างรุนแรงหรือต้องเผชิญหน้ากันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงยังมีการเปลี่ยนแปลงปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้นมาในบางสภาพ ซึ่งอาจปรากฏเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งในการไม่สามารถทำหน้าที่ในงานด้านการให้บริการบางสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป เช่น ในด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา และสวัสดิการสังคม เป็นต้น แต่ในขณะที่ระดับความสามารถของรัฐบาลสำหรับบางประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายเหล่านี้ กำลังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดระยะเวลา ดังนั้นบทบาทของภาครัฐและองค์การภาคเอกชน จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม หรือมีความสอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวเป็นประการสำคัญ
สำหรับภายใต้ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ หรือในกรณีที่มีวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงินเกิดขึ้นให้เห็นเป็นผลออกมาได้อย่างเด่นชัดนั้น องค์การทั้งหลายจึงไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งในเรื่องการลดระดับของการปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ลงมาเป็นเด็ดขาด โดยเฉพาะเมื่อวิกฤติดังกล่าว ได้ปรากฏส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มหรือบุคคลที่อ่อนแอ หรือต้องได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษอยู่ร่วมด้วยแล้ว ซึ่งทั้งนี้ตามสภาพปรกติโดยทั่วไปแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้สมควรจะต้องได้รับการใส่ใจหรือให้ความสนใจเป็นพิเศษสำหรับการปฏิบัติงานด้าน SR อยู่โดยตรง นอกจากนี้รายละเอียดประการอื่นๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน SR อยู่เช่นนั้น ก็ยังเป็นช่องทางอีกประการหนึ่งของการเปิดโอกาส เพื่อให้เกิดผลขึ้นมาสำหรับการบูรณาการรายละเอียดทั้งหมด ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อควรพิจารณาทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ให้นำไปสู่การกำหนดเป็นเชิงนโยบาย หรือสามารถช่วยส่งเสริมก่อให้เกิดการปฏิบัติงานในลักษณะกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งแนวทางดังกล่าวเช่นนี้ สมควรที่ภาครัฐบาลจะได้แสดงบทบาทประการสำคัญในกรณีของการมีส่วนกระตุ้น หรือช่วยส่งเสริมเพื่อก่อให้เกิดการสร้างความตระหนักขึ้นมาให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวถึงมาแล้วทั้งหมดในเบื้องต้น ย่อมสามารถนำพาไปสู่การวิเคราะห์ และการพิจารณาในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ หรือนโยบายบางประการที่ถูกกำหนดออกมาจากองค์การแห่งนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้บริโภค ลูกค้า ผู้บริจาค นักลงทุน และเจ้าของกิจการประเภทต่างๆ เป็นต้น ล้วนกำลังใช้ช่องทางหลายประการของการมีสิทธิตามหน้าที่ และความพยามยามในด้านอิทธิพลทางการเงินของตนเอง เข้ามาทำการพิจารณาลงไปในรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน SR ขององค์การอีกร่วมด้วยเสมอ นอกจากนี้ชุมชน/ ประชาคมส่วนใหญ่ ก็ยังคงแสดงความคาดหวังเป็นอย่างมากในรายละเอียดสำหรับผลการปฏิบัติงานด้านสังคมขององค์การแต่ละแห่ง โดยถือว่า เป็นเรื่องที่มีความสนใจกันมากเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในขณะเดียวกันรายละเอียดจากข้อกำหนด/ ข้อบังคับทางกฎหมายที่เกิดขึ้นภายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่เปิดโอกาสให้ชุมชน ต่างมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูล/ ข่าวสารเป็นไปอย่างแพร่หลายขึ้นมาภายในประเทศของตนเอง ได้ส่งผลทำให้ประชาชนภายในชุมชนเหล่านั้น สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล/ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดของการตัดสินใจ การปฏิบัติงาน หรือการมีกิจกรรมขององค์การบางแห่งได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นจำนวนองค์การในปัจจุบัน ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสาร การเปิดเผยตีพิมพ์ข่าวสาร และจัดทำออกมาเป็นรายงานประจำปี เพื่อแสดงผลของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การขึ้นมาตามลำดับ โดยเฉพาะการแสดงความสอดคล้องในรายละเอียดให้เป็นไปตรงกับความต้องการของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้น จึงปรากฏมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นผลได้อย่างชัดเจนมากดังในสภาพปัจจุบัน
อิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่ระบุไว้ในรายละเอียดเบื้องต้นเหล่านี้ทั้งหมด ล้วนต่างมีผล และปรากฏเข้ามาเป็นปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่ง หรือเป็นองค์ประกอบของบริบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง SR ที่กล่าวถึงกันอยู่ในปัจจุบัน และมีส่วนช่วยสนับสนุน หรือเรียกร้องทำให้องค์การแต่ละแห่ง ต้องหันมาพิจารณา มีการคำนึงถึง หรือสามารถสาธิตเพื่อแสดงถึงรายละเอียดบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นนั้น ออกมาให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนร่วมด้วยสำหรับการปฏิบัติงานต่างๆ ภายในองค์การแต่ละแห่งเป็นเรื่องสำคัญ
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น