บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 8: หัวข้อกำหนด 3.4 รัฐและ SR
3.4 The state and social responsibility |
This International Standard cannot replace, alter or in any way change the duty of the state to act in the public interest. This International Standard does not provide guidance on what should be subject to legally binding obligations; neither is it intended to address questions that can only properly be resolved through political institutions. Because the state has the unique power to create and enforce the laws, it is different from organizations. For instance, the duty of the state to protect human rights is different from those responsibilities of organizations with regard to human rights that are addressed in this International Standard. |
The proper functioning of the state is indispensable for sustainable development. The role of the state is essential in ensuring the effective application of laws and regulations so as to foster a culture of compliance with the law. Governmental organizations, like any other organizations, may wish to use this International Standard to inform their policies, decisions and activities related to aspects of social responsibility. Governments can assist organizations in their efforts to operate in a socially responsible manner in many ways, such as in the recognition and promotion of social responsibility. However, promoting the social |
responsibility of organizations is not and cannot be a substitute for the effective exercise of state duties and responsibilities. |
คำอธิบาย 
3.4 รัฐและ SR
รายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จึงไม่อาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อทำการทดแทน หรือก่อให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในลักษณะใดๆ ก็ตาม ต่อการแสดงถึงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของรัฐอย่างแท้จริงที่จำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติ หรือต้องมีการกระทำบางประการเพิ่มเติมขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อต้องการมุ่งหวังในเรื่องของการรักษาผลประโยชน์สาธารณะไว้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นรายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของการปรากฏชี้บ่งถึงความต้องการ เพื่อให้เป็นเพียงข้อแนะนำสำหรับการกำหนดกิจกรรม หรือเรื่องราวบางประเภทที่สมควรดำเนินการ หรืออาจต้องมีการปฏิบัติเพิ่มเติมขึ้นมา โดยถูกกำหนดให้เป็นข้อผูกมัดเข้ากับรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติเป็นไปอย่างสอดคล้องทางกฎหมายแทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังไม่มีวัตถุประสงค์และความตั้งใจอีกเช่นเดียวกัน ต่อการกำหนดให้เป็นคำถามในลักษณะต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งอาจมีการนำไปสู่การแก้ไขเป็นไปได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยผ่านช่องทางของสถาบันทางการเมืองอยู่เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับโดยสืบเนื่องเหตุผลที่สำคัญมาจากรัฐแต่ละแห่ง ต่างมีอำนาจที่แท้จริงปรากฏรองรับอยู่แล้วต่อการช่วยเสริมสร้าง การกำหนดหรือการบังคับใช้ เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นจึงค่อนข้างแสดงความแตกต่างออกไปจากบทบาทและการทำหน้าที่ขององค์การแต่ละแห่งอย่างสิ้นเชิง ขอยกตัวอย่าง เช่น หน้าที่ของภาครัฐต่อการช่วยปกป้องคุ้มครองในเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้น ย่อมมีรายละเอียดของความแตกต่างออกไปจากการแสดงความรับผิดชอบขององค์การทั้งหลาย ซึ่งล้วนจำเป็นต้องแสดงผลของความเคารพนับถือต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนดังกล่าว และได้มีการกำหนดหรือทำการระบุไว้เป็นรายละเอียดทั้งหมดอย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้เป็นส่วนใหญ่
เมื่อกล่าวถึงหน้าที่หลักที่เหมาะสมสำหรับรัฐแต่ละแห่ง ก็ยังคงแสดงความเกี่ยวเนื่องเข้ากับเรื่องของการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นเด็ดขาด โดยเฉพาะการแสดงบทบาทประการสำคัญของรัฐก็คือ การกระทำในลักษณะต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาได้ว่า การปฏิบัติงานครั้งดังกล่าว สามารถปรากฏผลออกมาเป็นเครื่องสนับสนุนที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ดำเนินเป็นไปได้อย่างมีความสอดคล้องที่ตรงตามรายละเอียดของกฎหมาย และข้อกำหนดประการต่างๆ ที่ถูกกำหนดหรือมีการระบุไว้ให้เป็นประการสำคัญ เพราะฉะนั้นองค์การ/ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ภาครัฐทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีความคล้ายคลึงกับองค์การประเภทอื่นๆ จึงอาจแสดงความปรารถนาอย่างยิ่งอีกเช่นกันต่อการใช้ประโยชน์จากข้อแนะนำต่างๆ ที่ถูกระบุไว้อยู่ภายในรายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการมีแนวทางในเชิงนโยบาย การตัดสินใจและการปฏิบัติงานกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้าน SR ขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ก็ย่อมสามารถปฏิบัติงานได้อีกเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันในส่วนของรัฐบาลเองก็สามารถเข้าไปทำหน้าที่ช่วยเหลือ หรือมีส่วนกระตุ้น และสามารถกระทำให้องค์การต่างๆ เหล่านั้น ได้แสดงผลของความรับผิดชอบต่อสังคมออกมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้มากที่สุดในขณะนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับรายละเอียดการปฏิบัติงานด้าน SR ขององค์การแต่ละแห่งนั้น จึงไม่อาจสามารถใช้ประโยชน์เพื่อทำหน้าที่ทดแทนขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการแสดงบทบาท การมีอำนาจหน้าที่ และการแสดงออกมาถึงความรับผิดชอบต่างๆ ที่ถูกกำหนดรายละเอียดทุกประการไว้อย่างชัดเจนแล้วโดยทางภาครัฐเกือบทั้งหมดสิ้น
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น