หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 1 อารัมกถา)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 1: - อารัมกถา (Foreword)
1. บทนำ (Introduction)
       รายละเอียด และเนื้อหาที่ถูกระบุอยู่ไว้ภายในร่างมาตรฐานฉบับดังกล่าว ประกอบไปด้วยการจัดวางในแต่ละหัวข้อกำหนดหลัก (Main clauses) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน SR ต่างๆ ตั้งแต่หัวข้อกำหนดที่ 1-7 ติดด่อกันไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติที่เหมาะสม และนิยมกันทั่วไปนั้น การศึกษาและอธิบายความหมายของร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 เพื่อก่อให้เกิดผลของความเข้าใจที่ตรงกันเกิดขึ้นมากที่สุด หรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง จึงสมควรจะต้องมีการนำเสนอรายละเอียดออกมาพร้อมกันทั้ง 2 ภาษา (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ควบคู่กันไปตามลำดับในแต่ละหัวข้อกำหนดที่มีการระบุถึงรายละเอียดเหล่านั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลักก็คือ การระบุถึงความหมาย และบริบทของเนื้อหาคำศัพท์ (ภาษาอังกฤษ) ออกมาเป็น คำแปล (Translation)” โดยตรง ย่อมกระทำได้ยากมากกว่าการใช้เป็น คำอธิบาย (Explanation)” ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ผลเป็นความหมายที่เหมาะสม และชัดเจนเกิดขึ้นมาตามลำดับ ประกอบกับความหมายจากคำศัพท์ (ภาษาไทย) ที่ระบุไว้อยู่ภายในพจนานุกรมฉบับต่างๆ หรือเมื่อมีการใช้ประโยชน์อ้างอิงถึงมาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมด้วย ยังค่อนข้างสื่อความหมายออกมาให้เห็นผลได้อย่างไม่เด่นชัดเท่าที่ควรมากนัก ด้วยเหตุผลเช่นนี้ผู้เขียนจึงต้องการนำเสนอรายละเอียดใน เชิงอธิบายมากกว่า ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้อ่านได้ทำความเข้าในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้

2. การอธิบายความหมาย และรายละเอียดที่สำคัญของร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 ฉบับ FDIS (Explanation in details of ISO/SR 26000 FDIS)
        สำหรับสารบัญ (Contents) โดยย่อที่แสดงถึงหัวข้อกำหนดหลัก (Main clauses) และหัวข้อกำหนดย่อย (Sub-clauses) ที่ปรากฏอยู่ภายในร่างของมาตรฐานฉบับดังกล่าว มีรายละเอียดที่ควรพิจารณา ดังนี้
อารัมกถา (Foreword)
บทนำ (Introduction)
1. ขอบเขต (Scope)
2. คำศัพท์ และคำจำกัดความ (Terms and definitions)
3. ความเข้าใจใน SR (Understanding social responsibility)
3.1 ความรับผิดชอบขององค์การ: ประวัติและความเป็นมา (The social responsibility of organizations: Historical background)
3.2 แนวโน้มปัจจุบันของ SR (Recent trends in social responsibility)
3.3 คุณลักษณะของ SR (Characteristics of social responsibility)
3.4 รัฐและ SR (The state and social responsibility)
4. หลักการของ SR (Principles of social responsibility)
4.1 บททั่วไป (General)
4.2 การแสดงความพร้อมรับผิด (Accountability)
4.3 ความโปร่งใส (Transparency)
4.4 พฤติกรรมเชิงจริยธรรม (Ethical behavior)
4.5 การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for stakeholder interests)
4.6 การแสดงความเคารพนับถือต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย (Respect for the rule of law)
4.7 การแสดงความเคารพนับถือต่อบรรทัดฐานระดับนานาชาติของพฤติกรรม (Respect for international norms of behavior)
4.8 การแสดงความเคารพนับถือต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights)
5. การยอมรับ SR ละการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ (Recognizing social responsibility and engaging stakeholders)
5.1 บททั่วไป (General)
5.2 การยอมรับ SR (Recognizing social responsibility)
5.3 การระบุ/ ชี้บ่ง และการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholder อยู่โดยตรง (Stakeholder identification and engagement)
6. ข้อแนะนำสำหรับเนื้อหาหลักของ SR (Guidance on social responsibility core subjects)
6.1 บททั่วไป (General)
6.2 ธรรมาภิบาลองค์การ (Organizational governance)
6.3 สิทธิมนุษยชน (Human rights)
6.4 การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices)
6.5 สิ่งแวดล้อม (The environment)
6.6 การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices)
6.7 ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer issues)
6.8 การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนา (Community involvement and development)
7. ข้อแนะนำสำหรับวิธีการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้แพร่หลาย และกระจายเข้าไปสู่องค์การอย่างทั่วถึง (Guidance on integrating social responsibility throughout an organization)
7.1 บททั่วไป (General)
7.2 คุณลักษณะองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคม (The relationship of an organization’s characteristics to social responsibility)
7.3 ความเข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (Understanding the social responsibility of an organization)
7.4 วิธีการปฏิบัติ เพื่อบูรณาการ SR เข้าไปสู่การปฏิบัติงานอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ (Practices for integrating social responsibility throughout an organization)
7.5 การสื่อสารสำหรับ SR (Communication on social responsibility)
7.6 การเพิ่มพูนระดับความน่าเชื่อถือที่เกี่ยวข้องกับ SR (Enhancing credibility regarding social responsibility)
7.7 การทบทวน และการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ขององค์การ (Reviewing and improving an organization’s actions and practices related to social responsibility)
7.8 สิ่งริเริ่มด้วยความสมัครใจสำหรับ SR (Voluntary initiatives for social responsibility)
ภาคผนวก A การแจ้งให้ทราบ (Annex A informative):
ตัวอย่างของสิ่งริเริ่มด้วยความสมัครใจ และเครื่องมือสำหรับ SR (Examples of voluntary initiatives and tools for social responsibility)
ภาคผนวก B การแจ้งให้ทราบ (Annex B informative):
คำย่อ (Abbreviated terms)
บรรณานุกรม (Bibliography)

รูป (Figures)
รูปที่ 1 แผนภาพโดยรวมของ ISO 26000 (Figure 1 — Schematic overview of ISO 26000)
รูปที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างองค์การ กลุ่ม Stakeholders ที่เกี่ยวข้อง และสังคม (Figure 2 — Relationship between an organization, its stakeholders and society)
รูปที่ 3 รายละเอียดของ 7 เนื้อหาหลักที่ควรพิจารณาสำหรับ SR (Figure 3 — The seven core subjects)
รูปที่ 4 การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมให้แพร่หลาย และกระจายเข้าไปสู่องค์การอย่างทั่วถึง (Integrating social responsibility throughout an organization)

กล่อง (Boxes)
กล่องที่ 1 สรุปสารสนเทศ และเนื้อหาบางประการ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ (Box 1 – Summary information to assist users of this International Standard)
กล่องที่ 2 การแสดงความเท่าเทียมกันทางเพศ และ SR (Box 2 – Gender equality and social responsibility)
กล่องที่ 3 ISO 26000 และองค์การ/ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMOs) (Box 3 – ISO 26000 and small and medium-sized organizations (SMOs)
กล่องที่ 4 การเข้าใจในรายละเอียดของการสมรู้ร่วมคิด (Box 4 – Understanding complicity)
กล่องที่ 5 ผลประโยชน์ของ SR สำหรับองค์การ (Box 5 – Benefits of social responsibility for an organization)
กล่องที่ 6 รัฐบัญญัติสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ และเครื่องมือหลักของสิทธิมนุษยชน (Box 6 – The International Bill of Human Rights and the core human rights instruments)
กล่องที่ 7 แรงงานเด็ก (Box 7 – Child labor)
กล่องที่ 8 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (Box 8 – The International Labor Organization)
กล่องที่ 9 คณะกรรมการร่วมเพื่อการจัดการแรงงาน สุขภาพ และความปลอดภัย (Box 9 – Joint labor-management health and safety committees)
กล่องที่ 10 ตัวอย่างของวิธีการปฏิบัติสำหรับการปรับสภาพเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งสามารถดำเนินการขึ้นมาได้จากองค์การสาธารณะ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Box 10 – Examples of climate change adaptation actions)
กล่องที่ 11 แนวทางปฏิบัติขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยความคุ้มครองผู้บริโภค (Box 11 – UN Guidelines for Consumer Protection)
กล่องที่ 12 การแก้ไขข้อโต้แย้งของผู้บริโภค (Box 12 – Consumer dispute resolution)
กล่องที่ 13 ปฏิญญาว่าด้วยวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประจำสหัสวรรษ (Box 13 – Millennium Development Goals)
กล่องที่ 14 การช่วยเหลือแบ่งปันสำหรับการพัฒนาชุมชน โดยอาศัยการดำเนินงานผ่านกิจกรรมที่เป็นเนื้อหาหลักขององค์การ (Box 14 – Contributing to community development through an organization's core activities)
กล่องที่ 15 การจัดทำรายงานเรื่อง SR (Box 15 – Reporting on social responsibility)
กล่องที่ 16 สิ่งริเริ่มเพื่อมุ่งหวังผลในการยื่นขอการรับรอง และรายละเอียดของสิ่งริเริ่มประเภทอื่นๆ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเข้กับลักษณะของผลประโยชน์ด้านการค้า และเศรษฐกิจ (Box 16 – Certifiable initiatives and initiatives connected to commercial or economic interests)
กล่องที่ 17 รายละเอียดของสิ่งริเริ่มประเภทที่ไม่ได้รับการลงนามรับรองจากองค์การ ISO (Box 17 – Non-endorsement of initiatives by ISO)

Foreword
ISO (the International Organization for Standardization) is a worldwide federation of national standards bodies (ISO member bodies). The work of preparing International Standards is normally carried out through ISO technical committees. Each member body interested in a subject for which a technical committee has been established has the right to be represented on that committee. International organizations, governmental and non-governmental, in liaison with ISO, also take part in the work. ISO collaborates closely with the International Electrotechnical Commission (IEC) on all matters of electrotechnical standardization.
International Standards are drafted in accordance with the rules given in the ISO/IEC Directives, Part 2.
The main task of technical committees is to prepare International Standards. Draft International Standard adopted by the technical committees are circulated to the member bodies for voting. Publication as an International Standard requires approval by at least 75% of the member bodies casting a vote.
Attention is drawn to the possibility that some of the elements of this document may be the subject of patent rights. ISO shall not be held responsible for identifying any or all such patent rights.
ISO 26000 was prepared by ISO/TMB Working Group on Social Responsibility
This International Standard was developed using a multi-stakeholder approach involving experts from more than 90 countries and 40 international or broadly-based regional organizations involved in different aspects of social responsibility. These experts were from six different stakeholder groups: consumers; government; industry; labor; non-governmental organizations (NGOs); and service, support, research, academics and others. In addition, specific provision was made to achieve a balance between developing and developed countries as well as a gender balance in drafting groups. Although efforts were made to ensure balanced participation of all the stakeholder groups, a full and equitable balance of stakeholders was constrained by various factors, including the availability of resources and the need for English language skills.
คำอธิบาย
        องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO) เป็นหน่วยงานสหพันธ์ที่กว้างขวางในระดับโลก โดยทำหน้าที่รวบรวมสถาบัน /หน่วยงานมาตรฐานประจำชาติต่างๆ เข้ามาเป็นสมาชิก ผลงานหลักขององค์การ ISO ก็คือ การจัดเตรียมและยกร่างมาตรฐานฉบับนานาชาติขึ้นมา ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผ่านการยกร่างด้วยคณะทำงานด้านเทคนิคต่างๆ ได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบอยู่โดยตรง ประเทศสมาชิกแต่ละชาติที่มีความสนใจในการยกร่างเนื้อหาของมาตรฐานนานาชาติแต่ละฉบับ โดยมีคณะกรรมการด้านเทคนิคเป็นผู้รับผิดชอบเช่นนั้น จึงมีสิทธิอย่างเด่นชัดต่อการเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนอยู่ภายในแต่ละชุดของคณะกรรมการเหล่านั้นเป็นสำคัญ นอกจากนี้องค์การระหว่างประเทศ องค์การ/ หน่วยงานที่เป็นภาครัฐ หรือองค์การที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ก็มีสิทธิเช่นเดียวกันในการติดต่อประสานงานร่วมกับองค์การ ISO หรือมีส่วนในการปฏิบัติงานยกร่างมาตรฐานฉบับต่างๆ ขึ้นมาอีกร่วมด้วย ในทางปฏิบัติอีกประการหนึ่ง องค์การISO ยังมีปณิธานอย่างเด่นชัดในการทำงานที่ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการ ที่เรียกว่า International Electrotechnical Commission (IEC) สำหรับการปฏิบัติงานในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานปฏิบัติด้านรายละเอียดทางไฟฟ้า ออกมาเพื่อยึดถือปฏิบัติ หรือนำไปใช้งานได้ในลำดับต่อไป
        มาตรฐานนานาชาติฉบับใดๆ ก็ตาม จะต้องถูกยกร่างขึ้นมา เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดกฎเกณฑ์ หรือข้อกำหนดที่ถูกระบุไว้แล้วอย่างเด่นชัด ภายในเอกสารที่เรียกว่า ISO/IEC Directive Part 2 เป็นประการสำคัญ
        ภารกิจหลักของคณะกรรมการด้านเทคนิค ก็คือ การจัดเตรียมงาน เพื่อทำหน้าที่ยกร่างรายละเอียด/ เนื้อหาต่างๆ และจัดทำให้เป็นมาตรฐานฉบับนานาชาติได้ในลำดับต่อไป นอกจากนี้ร่างของมาตรฐานนานาชาติฉบับดังกล่าว ที่ถูกยอมรับถึงความสมบูรณ์ในรายละเอียดของเนื้อหาทั้งหมดจากกลุ่มผู้ทำงาน จึงจำเป็นต้องถูกส่งมอบ หรือทำการเวียนแจกจ่ายออกไปยังประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกเสียงลงมติยอมรับรายละเอียดของมาตรฐานเช่นนั้น ในขณะเดียวกันวิธีการตีพิมพ์ และเผยแพร่มาตรฐานนานาชาติฉบับดังกล่าว ยังต้องการผลของการอนุมัติ หรือการถูกยอมรับในจำนวนอย่างต่ำ 75% ของประเทศสมาชิกทั้งหลาย ที่ลงมติสำหรับการออกเสียงในครั้งนั้นอีกร่วมด้วยเสมอ
        จงระลึกถึงและเข้าใจในทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ประการหนึ่งว่า บางส่วนของรายละเอียดหรือข้อกำหนดหลัก ที่ระบุอยู่ไว้ภายในเอกสารมาตรฐานฉบับนี้ อาจแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเป็นเนื้อหาทางลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร ซึ่งจำเป็นต้องมีความระมัดระวังต่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป โดยที่องค์การ ISO จะไม่แสดงความรับผิดชอบต่อการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดลักษณะใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นสิทธิบัตรเหล่านั้นออกมาให้เห็นอย่างเป็นผลได้โดยตรง
        มาตรฐาน ISO 26000 ถูกจัดเตรียมขึ้นมา โดยอาศัยกลุ่มทำงาน ที่เรียกว่า ISO/TMB/WG สำหรับการยกร่างรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมดังกล่าวทุกประการ
        รายละเอียดของมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยอาศัยการใช้ประโยชน์ตามแนวความคิดหลักที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่มาจากหลายภาคส่วนด้วยกัน และครอบคลุมรายละเอียดลงไปถึงผู้เชี่ยวชาญ ที่มาจากประเทศต่างๆ เป็นจำนวนที่มากกว่า 90 ประเทศ และยังแสดงความเกี่ยวข้องกับองค์การที่ปรากฏเป็นพื้นฐานอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ หรือระดับภูมิภาคอีกเป็นจำนวนที่มากกว่า 40 แห่งขึ้นไป โดยเฉพาะส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามรายละเอียด และมุมมองที่เกี่ยวข้องกับด้าน SR เป็นกรณีสำคัญ รายละเอียดของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ จึงปรากฏสภาพเป็นตัวแทนที่มาจากประเภทของ Stakeholders ที่แตกต่างกันถึง 6 กลุ่ม กล่าวคือ ผู้บริโภค รัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม ภาคแรงงาน องค์การที่ไม่ได้เป็นภาครัฐ (NGOs) ภาคงานบริการ/ งานสนับสนุน งานวิจัย งานวิชาการ และภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เป็นต้น รายละเอียดที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกประการหนึ่ง ที่ควรสนใจก็คือ มีการกำหนดกฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่จำเพาะบางประการขึ้นมารองรับ เพื่อช่วยกระตุ้นก่อให้เกิดการบรรลุถึงสภาพที่สมดุลร่วมกันระหว่างตัวแทนทั้งหลายที่มาจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วตามลำดับ และยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงความสมดุลที่เกิดขึ้นจากการแสดงความแตกต่างกันในลักษณะทางเพศ ให้ปรากฏผลออกมาอย่างเท่าเทียมกันอยู่ภายในกลุ่มผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องการยกร่างมาตรฐานฉบับนี้อยู่โดยตรง ถึงแม้ว่าความพยายามทั้งหลายจะถูกกระทำขึ้นมาอยู่หลายประการ ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ ก็เพื่อต้องการก่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การยกร่างรายละเอียดของมาตรฐานเช่นนั้น จะเกิดขึ้นมาจากการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ภายใต้ขอบเขตที่แสดงความเป็นไปได้อย่างกว้างขวางมาจากกลุ่ม/ ประเภทของ Stakeholders ทั้งหลาย ที่มาจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงตามลำดับเช่นนั้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการกำหนดความสมดุลของกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ เพื่อให้มีผลเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ ยังอาจถูกจำกัดด้วยอิทธิพลของปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงระดับความเป็นประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐานฉบับนี้ และความจำเป็นในการแสดงผลทางทักษะที่สูงสำหรับการใช้ประโยชน์ทางภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสำคัญประกอบการพิจารณาอยู่ร่วมด้วย
XXXXXXXXX






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น