บทที่ 4
ความเป็นมาของมาตรฐาน ISO 26000 และความรับผิดชอบต่อสังคม (Background: ISO 26000 and Social Responsibility)
ตอนที่ 3: การกำหนด Stakeholders ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR
5. การกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน WG/SR และคำวิจารณ์บางประการที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR (Stakeholder categories and comments for WG/SR)
ถึงแม้ว่า การจัดตั้งกลุ่มผู้ทำงาน WG เพื่อรองรับสำหรับการยกร่างมาตรฐาน SR เช่นนั้น จะยึดถืออยู่บน “หลักการของการเข้ามามีส่วนร่วมแบบสมดุล (Principle of balanced stakeholder participation)” ในกระบวนการยกร่างมาตรฐานก็ตาม โดยเฉพาะการกำหนดรายละเอียดของสมาชิก/ ตัวแทนในแต่ละ WG เหล่านั้น ได้กำหนดให้แต่ละหน่วยงาน/ องค์การมาตรฐานในระดับนานาชาติที่เรียกว่า National member bodies (NBM) ต้องทำหน้าที่เป็นผู้เสนอตัวแทนขึ้นมาในจำนวนสูงสุดได้ 6 ราย และแต่ละรายบุคคลจะต้องถูกคัดเลือกมาจาก “ประเภทของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders categories)” 23/ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่กำหนดรายละเอียดไว้ให้แล้ว ดังต่อไปนี้: ภาคอุตสาหกรรม (Industry) รัฐบาล (Government) ภาคแรงงาน (Labor) ผู้บริโภค (Consumer) องค์การที่ไม่ใช่ภาคราชการ (NGO) และภาคอื่นๆ ที่เรียกว่า SSRO (S = Service–งานบริการ; S = Suppor – งานสนับสนุน; R = Research – งานวิจัย และ O = Others – กลุ่มอื่นๆ) เป็นต้น
แต่ในทางปฏิบัตินั้น เนื่องจากไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และคำจำกัดความที่เด่นชัด เพื่อรองรับหรืออธิบายถึงความหมายที่แท้จริงสำหรับแต่ละกลุ่มของ Stakeholders ไม่ว่าจะป็นการกำหนดขอบเขตหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยองค์การ ISO (หรือมาจากผลการทำงานของ WG ก็ตาม) จึงก่อให้เกิดความสับสนบางประการต่อการเข้ามาร่วมประชุมของประเทศสมาชิก หรือเป็นการทำหน้าที่ในการเป็นองค์การประเภท Liaison เพียงประการเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นการประชุมของ WG แต่ละครั้ง จึงพบเห็นกันอยู่เสมอว่า มีการมอบหมายตัวแทนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิก WG เกิดขึ้นในรูปแบบที่ไม่มีความสม่ำเสมอ ดังตัวอย่างที่พบเห็นกันบ่อยครั้งมากก็คือ NSB ของประเทศแห่งหนึ่ง มีการมอบหมายตัวแทน/ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านอุตสาหกรรม หรือสมาคมการค้า แต่เข้าไปอยู่ทำงานในลักษณะที่ไม่ตรงตามรายละเอียดในแต่ละประเภทนั้นๆ ของกลุ่ม Stakeholders ที่ต้องการ รวมถึง NSB ที่มาจากอีกประเทศหนึ่ง ก็เช่นกันกลับมีการมอบหมาย และทำการคัดเลือกกลุ่ม Stakeholders ที่เกี่ยวข้องกับตนไปอยู่ภายในกลุ่ม Stakeholders ที่มีสถานะเป็น NGO หรือภาครัฐบาล เป็นต้น รายละเอียดของปัญหาเช่นนี้ จึงพบเห็นเป็นหลักฐานได้อย่างชัดเจนมากในการประชุม WG ครั้งแรก และต่างมีการอภิปราย หรือแสดงความเห็นภายใต้ขอบเขตในเรื่องความไม่สม่ำเสมอดังกล่าว เป็นไปได้อย่างกว้างขวางขึ้นมามากที่สุด
ในระยะต่อมาการแก้ไขปัญหาความไม่สม่ำเสมอสำหรับการปรากฏเป็นกลุ่ม Stakeholders เช่นนี้ ได้ดำเนินการแก้ไขขึ้นมา โดยอาศัยความร่วมมือมาจากตัวแทนของ ISO ที่เป็นกลุ่ม Chairman’s Advisory group (CAG) ซึ่งส่วนใหญ่จะหน้าที่ในการให้คำปรึกษาต่อกลุ่ม SR/WG ได้ทำการเสนอแนะรายละเอียดของการให้คำจำกัดความแต่ละประเภทของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ออกมาอย่างเด่นชัด รวมถึงยังมีการกำหนดวิธีการสำหรับการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ ให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนอยู่ภายใน SR/WG ของแต่ละกลุ่ม Stakeholders ได้อย่างไร ส่วนรายละเอียดเสริมประการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการคัดเลือกกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Web site ของ ISO/TMB/SR/WG ได้อีกด้วย
ถึงแม้ว่าระดับความสำเร็จของการจัดทำมาตรฐาน SR จะอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานระดับความสามารถในการปฏิบัติงานของ SR/WG ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยตัวแทนที่ถูกคัดเลือกมาจากกลุ่ม Multi-stakeholders ทั้งหลาย ที่จะต้องดำเนินงานกระบวนการยกร่างมาตรฐานขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของการถูกยอมรับจากการมีส่วนร่วมมาจากผู้ปฏิบัติงานต่างๆ ในระดับภาพรวมทั้งหมดของ WG เหล่านั้น ถือว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายแต่ประการใด เพราะฉะนั้นจึงปรากฏคำวิจารณ์บางประการสำหรับการมีส่วนร่วมดังกล่าว ที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ แต่ละกลุ่ม ต่อภาพการยอมรับของกระบวนการยกร่างเป็นมาตรฐาน SR โดยมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ได้ดังนี้ 24/
1). กลุ่มบริษัท/ องค์การขนาดใหญ่ สมาคมอุตสาหกรรม และองค์การลูกจ้าง มีทัศนคติว่า อาจจัดถือเป็นความเสี่ยงได้ประการหนึ่งสำหรับการกำหนดมาตรฐาน SR ขึ้นมาในระดับนานาชาติ เพราะค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Management System Standard; MSS) ประเภทหนึ่ง ที่อาจมีการกำหนดให้องค์การ หรือผู้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ทั้งหลาย ต้องดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐาน และในที่สุดอาจนำไปสู่ข้อจำกัดในเรื่องการมุ่งหวังเพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรออกมาอีกร่วมด้วย
2). องค์การ ILO และตัวแทนด้านแรงงาน ค่อนข้างมีทัศนคติอย่างรุนแรงต่อการยกร่าง เพื่อเป็นมาตรฐาน SR ออกมาตามลำดับ ดังคำกล่าวที่แสดงถึงความรู้สึกประการหนึ่งสำหรับตัวแทน ILO ต่อผลการผูกมัดตนเอง โดยการเข้าไปเป็นตัวแทนอยู่ส่วนหนึ่งภายในกลุ่มผู้ทำงาน ISO Advisory Group ดังนี้
“สืบเนื่องมาจาก ILO ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานด้านสังคมขึ้นมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับมีประสบการณ์ที่ได้รับมาจากการจัดทำรายละเอียดมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety) ร่วมกับองค์การ ISO แต่ทั้งนี้ ILO กลับไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในการเข้าไปเป็นตัวแทน เพื่อการดำเนินงานอยู่ภายในคณะกรรมการยกร่างมาตรฐานฉบับดังกล่าว และรายละเอียดของการปฏิบัติเช่นนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดสภาพความสมดุลขึ้นมา ทั้งในส่วนตัวแทนที่มาจากภาคอุตสาหกรรม และภาคแรงงาน ซึ่งผิดกับรายละเอียดของการยกร่างมาตรฐาน SR ฉบับนี้ องค์การ ISO ได้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการ Advisory Group ขึ้นมา โดยปรากฏมี ILO เข้าไปเป็นสมาชิกของการทำงานอยู่ร่วมด้วย และแสดงให้เห็นได้ว่า ISO ได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เรา (ILO) จึงขอร่วมแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อผลการจัดทำมาตรฐาน SR ฉบับนี้ออกมา (ILO Representative, มิถุนายน 2004)”
3). บทบาทของกลุ่ม Stakeholders อื่นๆ โดยเฉพาะหน่วยงาน/ องค์การที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดรายละเอียดมาตรฐานอื่นๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับ ISO ต่างได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ร่วมกับ ISO Advisory Group มาตั้งแต่ปี 2003 ก็คือ องค์การที่ไม่ใช่ภาครัฐบาลที่เรียกว่า Global Reporting Initiative (GRI) โดยมีบทบาทที่สำคัญต่อการกำหนดขอบเขตของการจัดทำรายงาน เพื่อสะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานแบบยั่งยืนที่เรียกว่า รายงาน GRI แต่เนื่องจากโครงสร้างการดำเนินงานของ GRI มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับแนวทางการปฏิบัติงานของ ISO ซึ่งยึดถืออยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดที่เป็น Multi-stakeholders เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับ GRI เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำงานร่วมกับสำนักงาน UNEP ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ UN เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีว่า GRI นั้น ค่อนข้างทำการสนับสนุนต่อการปฏิบัติงานของ .”มาตรฐาน/ สิ่งริเริ่ม (ISO Initiatives)” ดังกล่าว รวมถึงในกรณีที่ GRI ได้แสดงบทบาทเข้าร่วมอย่างแข็งขันต่อการทำงานภายใต้ความรับผิดชอบของ SAG ดังจะเห็นได้จากรายงานที่กล่าวสรุปว่า
.”GRI มีโอกาส และการแสดงคุณค่าเป็นอย่างสูงสำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ภายใน Advisory Group โดยเริ่มต้นปฏิบัติงานมาตั้งแต่ปี 2003 และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อการปรากฏออกมาเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ ซึ่งเกิดขึ้นมาจาก ISO ได้ทำหน้าที่แบ่งปัน/ สนับสนุนต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาตามลำดับ เพราะฉะนั้นการแสดงศักยภาพการปฏิบัติงานของ ISO ในสาขาใหม่เช่นนี้ จึงย่อมเป็นส่วนสนับสนุนต่อการปรากฏสภาพของการเป็น “เครื่องมือที่สำคัญในระดับโลก (Global tools)” ทั้งนี้เพื่อต้องการสนับสนุนรายละเอียดที่แสดงถึงควมรับผิดชอบทางพฤติกรรมสำหรับองค์การต่างๆ ที่มุ่งเน้นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เช่น รายละเอียดด้านสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น” (www.globalreporting.org/news; 16-5-2005)
4). โดยทั่วไปบทบาทของกลุ่ม Stakeholders ประเภท NGO จะทำการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อกระบวนการทำงานในการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR ซึ่งเป็นรายละเอียดที่อยู่นอกเหนืออกไปจากสาเหตุส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินอย่างเพียงพอต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานอยู่ภายใน WG แต่ละกลุ่มอีกด้วย รายละเอียดของคำวิจารณ์กลับพุ่งเป้าหมายไปที่การชี้ออกมาให้เห็นได้เพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันมีมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ปรากฏอยู่อย่างพอเพียงแล้ว จึงไม่เห็นระดับความสำคัญต่อการเพิ่มคุณค่าของมาตรฐาน ISO ต่อ SR ในภาพรวม เพื่อให้เห็นเป็นผลที่ดีขึ้นมาได้อย่างไร
5). ความคิดเห็นและทัศนคติของผู้บริโภค ส่วนใหญ่มองเห็นผลประโยชน์ที่ดีต่อการพัฒนาขึ้นมาของมาตรฐาน SR ฉบับใหม่นี้ โดยมีความเชื่อมั่นซึ่งเกืดขึ้นภายในกลุ่มผู้บริโภคทั้งหลายว่า การปฏิบัติงานภายใต้กรอบแนวความคิดของการพัฒนาแบบยั่งยืน จะสามามารถบรรลุถึงผลสำเร็จได้ โดยอาศัยการมุ่งเน้น เพื่อส่งเสริมให้เกิด “กลไกของการยื่นขอรับรองประกาศนียบัตร (Certification mechanisms)” ซึ่งในที่สุดจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดีต่อภาคธุรกิจได้โดยตรง
นอกจากนี้กลุ่ม Stakeholders ที่เป็นตัวแทนของ WG ที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ก็มีความนิยมชมชอบต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป็นมาตรฐาน SR ฉบับนี้ เพราะรายละเอียดของมาตรฐาน ISO จะปรากฏเป็น “ใบผ่านทาง (Ticket of entries)” สำหรับการนำสินค้า/ บริการจากประเทศของตนเข้าไปสู่การตลาดในระดับสากล หรือโลกตะวันตกได้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
สำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ที่ได้รับมาจากกลุ่ม Stakeholders ประเภทนักลงทุน จะแสดงทัศนคติต่อการยอมรับถึงความได้เปรียบของการจัดทำร่างมาตรฐาน SR ฉบับใหม่ โดยกระทำ และก่อให้เกิดผลดีขึ้นมาเช่นเดียวกับการกำหนดรายละเอียดของมาตรฐานกระบวนการจัดการที่มีการยอมรับชื่อเสียงกันในอดีต เช่นมาตรฐาน ISO 9000 และ ISO 14000 เป็นต้น โดยเฉพาะมีตัวแทนรายหนึ่งที่มาจากบริษัทร่วมลงทุน ได้อธิบายถึงเหตุผลของการสนับสนุนโครงการสำหรับการจัดทำมาตรฐาน SR Initiatives เช่นนี้ขึ้นมาโดย ISO ดังมีรายละเอียดของข้อสนใจที่ควรพิจารณาร่วมด้วย ก็คือ
“ในฐานะที่เป็นนักลงทุน ปํญหาของเราก็คือ จะรับรู้ได้อย่างไรว่า บริษัทต่างๆ ที่ขอรับการลงทุนครั้งนั้น จะสามารถปฏิบัติงานด้าน SR ออกมาให้เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม และอาจปรากฏเป็นผลของความเสี่ยงขึ้นมาในอนาคตข้างหน้าได้อย่างไร ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่เกี่ยวข้องอยูมากมายหลายประเภท เช่น ข้อแนะนำของ Global Compact และ OECD การกำหนดออกมาเป็นข้อตกลงของ ILO รายละเอียดจากมาตรฐานประเภทอื่นๆ (SA 8000) ฯลฯ โดยทั้งนี้จะปรากฏออกมาเป็น “ลำตัว (Bodies)” ที่พบเห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว แต่ยังขาดในส่วนของ “ศรีษะ (Head)” ที่จะต้องดำเนินการต่อไป ก็คือ การสร้างระบบของการจัดการที่สามารถจับต้องได้ โดยเฉพาะในทางปฏิบัติ ISO สามารถกระทำงานในเชิงระบบการจัดการเช่นนี้ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการแสดงผลงานที่ถูกยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วในอดีตที่ผ่านมา ในที่สุด ISO จะช่วยเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานภายใต้ขอบเขตของ SR สำหรับบริษัทเราอย่างได้ผลที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาโดยตรง (การเปิดสัมมนาของโครงการ ISO ที่ประเทศสวีเดน พฤษภาคม ปี 2005)”
6). กลุ่ม Stakeholders ที่เป็นประเภท “ผู้ให้บริการ (Service providers)” ได้แก่ หน่วยงานทำหน้าที่รับรองมาตรฐาน (Certification Bodies; CB) และบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ (Management consultants) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนหรือสมาชิกที่ทำหน้าที่อยู่ภายใน Advisory Group มาตั้งแต่การประชุมในปี 2004 และแสดงความเห็นด้วยต่อ ISO Initiatives เช่นนี้ โดยเฉพาะบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้ทำงานในลักษณะที่เป็นที่ปรึกษาสำหรับการให้คำแนะนำต่อการจัดตั้ง หรือพัฒนาระบบการจัดการตามความต้องการของมาตรฐาน เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 มาก่อนเช่นในอดีต รวมถึงยังปรากฏสภาพของการเป็นตัวแทนในระดับ “คณะกรรมการเงา (Mirror Committee)” ภายในหน่วยงาน/สถาบันมาตรฐานระดับชาติอีกด้วย จึงแสดงความคุ้นเคย และมีอิทธิพลเป็นอย่างสูงต่อการยอมรับในรายละเอียดของร่างมาตรฐานที่ดำเนินการ โดย ISO/WG ได้เป็นอย่างดี
6. โครงสร้างของ ISO/WG/SR และองค์ประกอบของกลุ่ม Stakeholders ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน (Structure of Multi-Stakeholder WG/SR)
6.1 โครงสร้างของ WG/SR (WG/SR Structure)
สามารถจำแนกออกตามรายละเอียดของภารกิจต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันในลักษณะของ Multi-stakeholders ได้ดังนี้ 25/ (ถูกระบุไว้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2006)
6.1.1 การปฏิบัติภารกิจด้าน “สภาวะผู้นำ (Leadership tasks)”
กลุ่ม WG/SR จัดตั้งขึ้นมา โดยมีประธานร่วมที่ถูกคัดเลือกมาจาก 2 หน่วยงานมาตรฐานระดับชาติ (NSB) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำสำหรับการยกร่างมาตรฐาน คือ Associacao Brasileira de Normas Technicas (ABNT) ประเทศบราซิล และ Sweden Standards Institute (SIS) ประเทศสวีเดน ตามลำดับ นอกจากนี้การปฏิบัติงานของ WG ดังกล่าว ยังแสดงความเกี่ยวข้องอยู่ร่วมกับกลุ่มทำงานที่เรียกว่า Chairs’ Advisory Group (CAG) อีกด้วย โดยที่ภารกิจและความรับผิดชอบของ CAG จะต้องไม่แสดงผลของการตัดสินใจในเรื่องใดๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องออกมาจากการปฏิบัติงานของ WG ต่างๆ กัน แต่คงเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ในการระบุ/ ชี้บ่งถึงประเด็นสำคัญด้าน SR ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาให้เห็น สามารถทำการอภิปราย วิจารณ์ หรือให้คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับ WG/SR ได้ โดยทั่วไปการแสดงบทบาทของ CAG ยังจะต้องยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการรักษาความสมดุลร่วมกันระหว่างกลุ่มตัวแทนที่มาจากประเภท Stakeholders ต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทั้ง 6 ประเภท รวมถึงต้องมีลักษณะการกระจายตัวของกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ ออกไปให้ครอบคลุมทั้งส่วนประเทศพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา และต้องแสดงความสอดคล้องเป็นไปตามระดับความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นเรื่องสำคัญอีกด้วย
6.1.2 การปฏิบัติภารกิจด้าน “การสนับสนุนการเข้ามามีส่วนร่วมของ Stakeholders ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานยกร่างมาตรฐานเป็นไปอย่างกว้างขวาง (Broad Stakeholders Involved)” : TG 1
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่สำคัญ คือ TG 1: การหาเงินทุน และการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders (Funding and Stakeholder Engagement) ซึ่งมีรายชื่อสมาชิกที่สำคัญ ดังนี้
- ผู้จัดการประชุม (Convenor): Beer A. Budoo มาจาก ISO Central Secretariat
- ผู้จัดการประชุมร่วม (Co-convenor): Lars-Gunnar Lundh มาจาก Swedish Standards Institute (SIS) ประเทศสวีเดน
- เลขานุการ (Secretary): Jooran Lee มาจาก Korean Standards Association (KSA) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
โดยที่กลุ่มดังกล่าวจะปฏิบัติงานในรายละเอียดที่อยู่ภายใต้ “กรอบของการปฏิบัติงานในเชิงกลยุทธ์ (Strategic framework)” ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นว่า จะต้องดำเนินการขึ้นมาอย่างไร เพื่อช่วยส่งเสริม หรือก่อให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมสามารถกระทำได้อย่างเห็นผลที่ดี รวมไปถึงการหาแหล่งเงินทุนเข้ามาสนับสนุนหรือแสดงความช่วยเหลือต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นรายละเอียดของกรอบการปฏิบัติดังกล่าว จึงครอบคลุมถึงเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุถึงผลความสำเร็จออกมาได้ ดังนี้
- เพื่อต้องการสนับสนุนให้เกิดผลในระดับที่พอเพียง และความมีเหมาะสมต่อการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นไปในลักษณะที่สมดุล ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ในการยกร่างมาตรฐานขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป
- เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจได้ถึงผลประโยชน์ที่ดีขึ้นมาสำหรับองค์การ/ หน่วยงานวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กต่างๆ จะมีโอกาสในการเข้าร่วมต่อการกำหนดรายละเอียดของมาตรฐาน SR ฉบับดังกล่าวได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง และเหมาะสมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
นอกจากนี้ TG 1 ยังทำหน้าที่เป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนต่อกำหนดรายละเอียดขึ้นมา เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การค้นหาแหล่งเงินทุนในการเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิก WG/SR ต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมในแต่ละครั้งที่มีการประชุมกำหนดไว้แล้วเช่นนั้น สามารถดำเนินเป็นไปอย่างได้ผลที่ดีขึ้นมาตามลำดับ รวมถึงยังต้องทำหน้าที่สนับสนุนต่อการเข้าร่วมประชุมของ “คณะกรรมการเงา (Mirror Committee)” ที่มีการประชุมในระดับชาติแต่ละแห่งอีกด้วย เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติ จึงถือว่าเป็นภาระหน้าที่ของ TG 1 ที่จะต้องจัดให้มีการประชุมขึ้นมาร่วมกับผู้บริจาค หรือแหล่งทุนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อปรากฏเป็นหน่วยงาน/ องค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระดับชาติ หรือในระดับนานาชาติ เป็นต้น
6.1.3 การปฏิบัติภารกิจด้าน “การสื่อสารอย่างเปิดเผย (Open Communication)” : TG 2
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่มีรายชื่อสำคัญอยู่ดังนี้
- ผู้จัดการประชุม (Convenor): Hidemi Tomita มาจากบริษัท Sony Corporation ประเทศญี่ปุ่น
- ผู้จัดการประชุมร่วม (Co-convenor): Adriana Rosenfeld มาจาก Lujan National University ประเทศอาร์เยนตินาร์
- เลขานุการ (Secretary): Supachai Tepatanapong มาจาก Thai Industrial Standards Institute (TISI) ประเทศไทย
- เลขานุการร่วม (Co-secretary): Nicki Islic มาจาก Standards Council of Canada (CSA) ประเทศคานาดา
โดยเริ่มต้นทำงานอยู่ภายใต้รูปแบบของการสร้างเครือข่ายขึ้นมารองรับสำหรับการจัดทำ และเผยแพร่ข่าวสาร/ ข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยสนับสนุนให้กระบวนการยกร่างมาตรฐานดำเนินเป็นไปได้อย่างผลที่ดี และมีความต่อเนื่องขึ้นมาตามลำดับ สำหรับขั้นตอนของการปฏิบัติ จะเกิดขึ้นจากมีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่อง/ ประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารออกไปสู่แหล่ง/ องค์การภายนอก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและเล็ก เป็นต้น รายละเอียดของการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดผลที่ดีสำหรับการติดต่อสื่อสารขึ้นมาก็คือ การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่มีอยู่ในลักษณะดั้งเดิมจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง และจากการอาศัยผลการทำงานของ NSB ของแต่ละประเทศเข้ามาช่วยทำการสื่อสารด้วยภาษาประจำชาติของตนเอง ต่อการเผยแพร่เนื้อหาสาระที่สำคัญเหล่านั้น ลงไปสู่สาธารณชนภายนอกให้ได้รับทราบผลขึ้นมาโดยตรง
นอกจากนี้ TG 2 ยังมีหน้าที่ต่อการกำหนดรายละเอียดว่า ควรเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศประเภทใด ที่สมควรถูกจัดทำขึ้นมา เพื่อให้ปรากฏออกมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรืออยู่ในลักษณะของสื่อประเภทอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งถือว่า เป็นผลลัพธ์ที่เป็นทางการ และเกิดเป็นผลขึ้นมาจาการประชุมของ WG แต่ละครั้งอีกด้วย สำหรับผู้ที่มีความสนใจต่อรายละอียดหรือเอกสารต่างๆ ที่ได้รับการจัดทำ หรือเผยแพร่ออกมาจากการปฏิบัติงานของ WG หรือ TG กลุ่มต่างๆ สามารถศึกษา และค้นหาข้อมูลอื่นๆ ได้เพิ่มเติมจาก http: www.iso.org/wgsr
6.1.4 การปฏิบัติภารกิจด้าน “วิธีการปฏิบัติงานเพื่อการยกร่างมาตรฐาน (Operational Procedures)” : TG 3
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่มีรายชื่อสำคัญอยู่ดังนี้
- ผู้จัดการประชุม (Convenor): Tom Rotherham มาจาก African Institute for Corporate Citizenship
- ผู้จัดการประชุมร่วม (Co-convenor): Sophie Clivio มาจาก ISO Central Secretariat
- เลขานุการ (Secretary): Adriana Alonso มาจาก Instituto Columbiano de Normas (ICONTEC) ประเทศโคลัมเบีย
การปฏิบัติงานของกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงาน ดำเนินเป็นไปได้อย่างสอดคล้องตรงตามรายละเอียดกฎเกณฑ์ หรือคำแนะนำที่เรียกว่า ISO Directives ซึ่งปรากฏเป็นเอกสารที่ใช้ประโยชน์ ต่อการยกร่างมาตรฐานให้เกิดขึ้นและเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ตรงตามความต้องการของ ISO/TMB เป็นประการสำคัญ ดังนั้นก่อนเริ่มต้นการประชุม เพื่อทำการยกร่างเนื้อหา และรายละเอียดของมาตรฐานขึ้นมาในแต่ละครั้ง กลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ TG 3 จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดเตรียม หรือกำหนดรายละเอียดของการปฏิบัติ (Procedures) ออกมาให้ใช้เป็นกฏเกณฑ์หลัก หรือเพื่อเป็นข้อแนะนำให้ TG ต่างๆ จำเป็นต้องปฏิบัติงานให้สอดคล้องเป็นไปตามรายละเอียดเช่นนั้น นอกจากนี้ภายในเอกสาร Procedures ที่ถูกจัดทำขึ้นมาโดย TG 3 จะประกอบไปด้วยรายละเอียดของกฏเกณฑ์ที่ทำหน้าที่จำกัดจำนวน และบทบาทของประเภทผู้เข้าร่วมที่มีสถานะเป็น “ผู้สังเกตการณ์ (Observer)” โดยระบุการยินยอมให้เข้ามามีส่วนร่วมในกลุ่มกิจกรรมของ WG และ TG เป็นจำนวนอย่างต่ำได้เท่าใด การกระทำเช่นนี้จึงมีจุดมุ่งหมายสำหรับการปฏิบัติงานของ WG ที่ต้องการจะทำหน้าที่ควบคุม หรือช่วยรักษาสมดุลของผู้เข้าร่วมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และมีความเหมาะสม โดยต้องไม่มีจำนวน Observers จากประเทศต่างๆ หรือมาจากกลุ่มองค์การที่แสดงความสนใจต่อการเข้าร่วมประชุมครั้งนั้น เป็นจำนวนที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อกระบวนการยกร่างมาตรฐานในระยะเวลาต่อมาได้ตามลำดับ
6.1.5 การปฏิบัติภารกิจด้าน “การพัฒนามาตรฐาน (Standard Development)”

2). ประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer countries)
3). องค์การผู้เข้าร่วมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อประสานงาน (Participating liaison organization)
4). ผู้ติดต่อประสานงานภายใน (Internal liaison)


6.1.5 การปฏิบัติภารกิจด้าน “การพัฒนามาตรฐาน (Standard Development)”
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่สำคัญในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1). TG 4: การกำหนดขอบเขต บริบท และหลักการของ SR (Scope, SR context and SR principles)
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่มีรายชื่อสำคัญอยู่ดังนี้
- ผู้จัดการประชุม (Convenor): Jonathon Hanks มาจาก University of Cape Town Graduate School of Business ประเทศอาฟริกาใต้
- ผู้จัดการประชุมร่วม (Co-convenor): Ken-ich Kumagai มาจาก Japanese Trade Union Federation ประเทศญี่ปุ่น
- เลขานุการ (Secretary): Reiner Hager มาจาก German Institute for Standardization (DIN) ประเทศเยอรมันนี
- เลขานุการร่วม (Co-secretary): Elizabeth Nnenneya Ijoma มาจาก Celtel Nigeria ประเทศไนจีเรีย
กลุ่ม TG 4 มีภารกิจต่อการยกร่างเนื้อหาของ “หัวข้อกำหนด (Clause)” ต่างๆ ที่ต้องบรรจุอยู่ภายในร่างมาตรฐานฉบับนี้ โดยต้องแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต บริบทและหลักการของ SR การจัดตั้งและดำเนินงาน SR ขึ้นมาภายในองค์การแต่ละแห่ง เป็นต้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่ถูกมอบหมายให้ TG 4 ปฏิบัติงานร่วมด้วยก็คือ การให้คำจำกัดความ SR ออกมาอย่างเหมาะสมรวมถึงการกำหนดโครงร่างของ “หัวข้อกำหนดหลัก (Key elements)” ต่างๆ ที่สมควรถูกบรรจุไว้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ SR อีกด้วย
2). TG 5: ข้อแนะนำของเนื้อหาหลัก และประเด็น SR ที่เกี่ยวข้อง (Guidance on core SR subjects/ issues)
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่มีรายชื่อสำคัญอยู่ดังนี้
- ผู้จัดการประชุม (Convenor): Pierre Mazeau มาจาก EDF ประเทศฝรั่งเศส
- ผู้จัดการประชุมร่วม (Co-convenor): Charlene Hewat มาจากประเทศซิมบับเว
- เลขานุการ (Secretary): Emilie Brun มาจาก Association francaise de normalisation (AFNOR) ประเทศฝรั่งเศส
- เลขานุการร่วม (Co-secretary): El Amri Fouad มาจาก AGEF ประเทศมอร็อคโค
กลุ่ม TG 5 ได้รับมอบหมายภารกิจต่อการยกร่างรายละเอียดมาตรฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก และประเด็นต่างๆ ที่ต้องถูกนำมาเป็น “ข้อควรพิจารณา (Consideration)” สำหรับการปฏิบัติงานด้าน SR ต่อไปขององค์การ เพราะฉะนั้นรายละเอียดเช่นนี้ จึงครอบคลุมเนื้อหาที่กว้างขวางเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของ SR ความท้าทายและโอกาส แนวโน้มที่เกิดขึ้น สิ่งริเริ่ม (Initiatives) ประเภทต่างๆ ความสัมพันธ์ของ Stakeholders และรายละเอียดอ้างอิงในแต่ละเนื้อหาหลักของ SR เหล่านั้น เป็นต้น
3). TG 6: ข้อแนะนำสำหรับการจัดตั้ง SR ขึ้นมาภายในองค์การ (Guidance for organization on implementing SR)
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจ (Task Group; TG) ที่มีรายชื่อสำคัญอยู่ดังนี้
- ผู้จัดการประชุม (Convenor): Martin Neureiter มาจาก Neureiter Consulting KEG ประเทศออสเตรีย
- ผู้จัดการประชุมร่วม (Co-convenor): Koneru Vijaya Lakshmi มาจาก Development Alternatives ประเทศอินเดีย
- เลขานุการ (Secretary): Luisa M. Diaz-Sanchez มาจาก Camara de Industrias ประเทศคอสตาริการ์
กลุ่ม TG 6 มีภารกิจและความรับผิดชอบในส่วนของรายละเอียดที่ต้องถูกบรรจุไว้เป็นเนื้อหาหลักอยู่ภายในร่างมาตรฐาน ก็คือ การเป็นข้อแนะนำในทางปฏิบัติสำหรับการจัดตั้ง และบูรณาการ SR ให้เกิดขึ้นภายในองค์การ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการกำหนดนโยบาย แนวความคิด การระบุ/ ชี้บ่งถึงประเด็น SR ที่สำคัญ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การรายงานและการสื่อสารผลด้าน SR เป็นต้น
6.1.6 กลุ่มย่อยอื่นๆ (Other subgroups)
ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่สำคัญในแต่ละกลุ่มย่อย ดังนี้
1). Chair’s Advisory Group (CAG)
2). กลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจด้านภาษา และการแปลความหมายของมาตรฐาน (Language Task Forces) ได้แก่ กลุ่มผู้แปลภาษาเสปน (Spanish Translation Task Force; STTF) กลุ่มผู้แปลภาษาฝรั่งเศส (French Speaking Task Force; FPTF) กลุ่มผู้แปลภาษาอาราบิค (Arabic Translation Task Force; ATTF) กลุ่มผู้แปลภาษารัสเซีย (Russian Translation Task Force; RTTF) และกลุ่มผู้แปลภาษาเยอรมัน (German Speaking Task Force; GTF) เป็นต้น
3). คณะกรรมการจัดพิมพ์มาตรฐาน (Editing Committee)
4). กลุ่มภารกิจด้านผู้ติดต่อประสานงาน (Liaison Task Force; LTF) โดยทำหน้าที่ในการเป็นผู้ติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็น SR ต่างๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาภายในร่างมาตรฐานจากผลการทำงานของ TG ต่างๆ ที่มากกว่าหนึ่ง TG ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ได้มีการล้มเลิกการทำงานจากกลุ่มผู้ปฏิบัติภารกิจนี้แล้ว จากมติของผลการประชุมที่เวียนนา เมื่อปี 2007 ที่ผ่านมา
5). Integrated Drafting Task Force (IDTF)
6.2 องค์ประกอบของ WG/SR ที่ได้มาจากกลุ่ม Stakeholders ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน (Component of the multi-stakeholder working groups)
จากรายละเอียดที่กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นจะพบว่า กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน WG/SR จะประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ และผู้สังเกตการณ์ที่ถูกนำเสนอรายชื่อขึ้นมา เพื่อปรากฏเป็นตัวแทนจากประเทศสมาชิกของ ISO หรือ National Standard Bodies (NSB) ประจำชาติต่างๆ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ตัวแทนเหล่านี้ จะต้องถูกคัดเลือกมาจากกลุ่ม หรือประเภท Stakeholders ต่างๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องอีก 6 กลุ่ม คือ (1) ภาคอุตสาหกรรม (2) ภาครัฐบาล (3) ภาคแรงงาน (4) ผู้บริโภค (5) NGO และ (6) กลุ่มอื่นๆ (เช่น SSRO) เป็นต้น โดยเฉพาะแต่ละ NSB ยังสามารถนำเสนอรายชื่อตัวแทนของ WG ได้ในระดับสูงสุดถึง 6 รายชื่อ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีจำนวนรายชื่อ 2 ผู้เชี่ยวชาญที่มาจากกลุ่ม Stakeholders ในประเภทเดียวกัน และรายละเอียดที่นอกเหนือออกไปประการหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การประชุมในแต่ละครั้ง ยังอนุญาตให้มีการนำเสนอรายชื่อที่เป็น “ผู้สังเกตการณ์ (Observer)” เพื่อเข้ามาเป็นผู้ร่วมประชุมของ NSB ในแต่ละชาติได้เพิ่มเติมอีกด้วย เพราะฉะนั้นรายละเอียดข้อแตกต่างประการสำคัญระหว่างตัวแทนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้สังเกตการณ์สำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมแต่ละครั้ง จึงอยู่ภายใต้ของกฏเกณฑ์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนอยู่โดยตรงนั้น จะได้รับการอนุญาตให้มีการนำเสนอ การอภิปรายหรือชี้แจงรายละเอียดอื่นๆได้ ทั้งในระดับ TG และการประชุมระดับ Plenary Working Groups แต่ในขณะที่ผู้ที่มีสถานภาพเป็นผู้สังเกตการณ์ จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นเพียงผู้เข้าร่วมประชุมแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการปฏิบัติงานสำหรับ WG/SR อีกส่วนหนึ่งก็คือ การต้องการแสดงภาพที่ออกมาอย่างสมดุลร่วมกันของผู้เข้าร่วมประชุมที่ปรากฏว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มาจากทั้งประเทศพัฒนา และกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะฉะนั้นสถานภาพของความเป็นสมาชิกของ WG จึงประกอบไปด้วยจำนวนผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะมาจาก “ผู้สังเกตการณ์” โดยเฉพาะรายละเอียดของบุคคลประเภทหลังนี้ อาจได้รับมาจากการปรากฏเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายใน “คณะกรรมการเงา (Mirror Committee)” ระดับชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาจาก NSB ประจำประเทศนั้นๆ เป็นสำคัญนอกเหนือจากนี้องค์การที่ทำหน้าที่เป็นเพียง “ผู้ติดต่อประสานงาน” โดยทั่วไปที่เรียกว่า Liaison organization ในระดับนานาชาติ เช่น OECD; WHO; ILO; IOE; Transparency International และ Social Accountability International เป็นต้น จึงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างมาตรฐาน SR ได้โดยตรง รวมไปถึงองค์การดังกล่าว ยังสามารถนำเสนอรายชื่อสมาชิกของ WG ได้ในระดับสูงสุดเท่ากับ 2 รายชื่อเท่านั้น ในทางปฏิบัติที่พบเห็นกันโดยทั่วไปก็คือ สมาชิกหรือจำนวนของ Mirror Committee ในระดับชาติ จึงค่อนข้างปรากฏภาพออกมาเป็นกลุ่มใหญ่มาก เช่น สำหรับประเทศชิลี จะประกอบไปด้วยสมาชิกเป็นจำนวนสูงสุดถึง 50 รายบุคคล เป็นต้น
จากผลรายงานของ ISO เมื่อมกราคม ปี 2008 ระบุว่า จำนวนรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ถูกนำเสนอขึ้นมามีมากถึง 355 รายชื่อ แต่ผ่านการพิจารณาเพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนอยู่ในสมาชิกของ WG/SR อยู่เพียง 77 รายชื่อ (โดยครอบคลุมประเทศสมาชิกถึง 77 ประเทศ) สำหรับลักษณะการกระจายตัวของผู้เชี่ยวชาญตามประเภท/ กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงนั้น ได้แสดงรายละเอียดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วในรายงานดังกล่าว 26/
นอกจากนี้ยังแสดงผลให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า กลุ่ม Stakeholders ประเภทภาคแรงงาน ผู้บริโภค และ NGO ปรากฏเป็นสัดส่วนที่ต่ำอยู่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่ต่างเข้ามาทำหน้าที่ในกระบวนการยกร่างมาตรฐาน SR ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้มีเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากในระยะเริ่มต้นสำหรับกระบวนการยกร่างมาตรฐาน ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากสำหรับการกระตุ้นให้องค์การภาคแรงงานทั้งหลาย ได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการประชุม ISO/WG/SR ในครั้งแรก แต่สำหรับการประชุมในครั้งต่อมา จำนวนองค์การภาคแรงงาน ได้เข้ามาเป็นตัวแทนที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะมาจากหน่วยงานของ International Trade Union Confederation (ITUC) ซึ่งองค์การที่ทำหน้าที่เป็นสหภาพการค้าเช่นนี้ ล้วนแสดงความร่วมมือภายใต้การจัดทำออกมาเป็น MOU ร่วมกันระหว่าง ISO กับ ILO อยู่โดยตรงอีกด้วย
ในส่วนขององค์การ/ หน่วยงานภาครัฐบาลเป็นจำนวนมาก ได้แสดงผลของความสนใจ และครอบคลุมเป็นไปอย่างกว้างขวางต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่างมาตรฐานข้อแนะนำ SR ของ ISO สำหรับการประชุมในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ดังจะเห็นผลได้จากรูปที่ 2 ซึ่งระบุอย่างชัดเจนอีกเช่นกันว่า มีกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการทำงานภายใน WG/SR และมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่การประชุมในปี 2006-2007 ที่ผ่านมาตามลำดับ
การเข้ามามีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติงานของ WG สำหรับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การประชุมในปี 2005-2007 ที่ผ่านมา
แนวความคิดอีกประการหนึ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของ ISO ก็คือ การกระตุ้นทำให้ตัวแทนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ได้เข้ามาแสดงบทบาท หรือมีส่วนร่วมต่อการทำงาน/ การเข้าประชุมเพื่อพัฒนามาตรฐาน SR ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการรักษาระดับสมดุลระหว่างตัวแทนที่มาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาไว้เป็นสำคัญ โดยเฉพาะ ISO ได้กำหนดแนวความคิดหลักในเรื่อง “การจัดเตรียมวิธีการทำงานแบบเป็นคู่ (Twinning)” ให้กับกลุ่มทำงาน WG ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อกำหนดให้มีการแสดงภาวะผู้นำในแต่ละกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จะได้เกิดผลของความร่วมมือขึ้นมาระหว่างตัวแทนที่มาจากประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการกำหนดนโยบายดังกล่าว จึงมีส่วนช่วยสนับสนุน และเป็นปัจจัยประการสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เชี่ยวชาญมาจากกลุ่มประเทสกำลังพัฒนา ให้มีส่วนร่วมต่อกระบวนการยกร่างมาตรฐาน และเท่าที่พบเห็นในปัจจุบันมีจำนวนที่สูงมากกว่าจำนวนผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วแทบทั้งสิ้น
เมื่อกล่าวโดยสรุปออกมา โดยเฉพาะจากผลรายงานของ ISO ที่กระทำเมื่อสิงหาคม ปี 2008 ได้ระบุออกมาอย่างชัดเจนว่า องค์ประกอบที่ปรากฏเป็นสมาชิกของ ISO/WG/SR จะมาจากประเภทของผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมอยู่เป็นจำนวนที่สูงถึง 422 รายชื่อ และยังมาจากประเภทที่เป็นผู้สังเกตการณ์จำนวน 157 รายชื่อ โดยทั้งนี้มาจากประเทศต่างๆ ที่แสดงสถานภาพเป็น NSB จำนวน 84 ประเทศ และมาจากองค์การประเภท Liaison อีกจำนวน 40 แห่ง (พิจารณารายละเอียดจากตารางข้างล่างนี้ประกอบร่วมด้วย) 27/
ตารางที่ 2 แสดงรายชื่อของ WG/SR ที่มาจากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม (Participating member bodies) ประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer countries) และองค์การผู้เข้าร่วมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อประสานงาน (Participating liaison organization) และผู้ติดต่อประสานงานภายใน (Internal liaison)
1). ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม (Participating member bodies)
Bahrain (BSMD) | |
France (AFNOR) | |
Ireland (NSAI) | |
Uraguay (UNIT) | |
Jordan (JIMS) |
AccountaAbility |
AIHA (American Industrial Hygiene Association) |
BIAC (The Business and Industry Advisory Committee to the OECD) |
CCSR (Center for Corporate Social Responsibility) |
CI (Consumers International) |
EC (European Commission) |
ECOLOGIA (Ecologists Linked for Organizing Grassroots Initiatives and Action) |
FIABCI (International Real Estate Federation) |
GRI (Global Reporting Initiative) |
IABC (International Association of Business Communicators) |
ICC (International Chamber of Commerce) |
ICMM (International Council of Mining and Metals) |
IEPF (Institute for Energy and Environment of the French speaking countries) |
IFAN (International Federation of Standards Users) |
IIED (International Institute for Environment and Development) |
ILO (international Labor Organization) |
IOE (International Organization of Employers) |
ISEAL |
ITUC (International Trade Union Confederation) |
OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) |
SAI (Social Accountability International) |
Transparency International |
UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development) |
UNEP (United Nations Environment Program) |
UNIDO (United Nations Industrial Development Organization) |
UNSD (United Nations Division for Sustainable Development) |
UN Global Compact |
WBCSD (World Business Council on Sustainable Development) |
WHO (World Health Organization) |
WSBI/ESBG (World Saving Banks Institute/ Eurpoean Saving Banks Group) |
ISO/TC 159, Ergonomics |
ISO/TC 173, Assistive products for persons with disability |
ISO/TC 176, Quality management and quality assurance |
ISO/TC 207, Environmental management |
6.3 แผนงาน/ กำหนดกรอบระยะเวลาสำหรับการพัฒนามาตรฐาน ISO 26000 (Time frame for development of ISO 26000)
การพัฒนายกร่างมาตรฐานทั้ง 3 ฉบับแรก คือ WD1 - WD3 ได้ถูกจัดทำขึ้นมา โดยอาศัยผลการทำงานของกลุ่มภารกิจ TG4, 5 และ 6 เป็นผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงมีคำแนะนำเพิ่มเติมขึ้นมาบางประการจากกลุ่ม Liaison Task Force เป็นผู้ส่งเสริม และสนับสนุนการทำงานร่วมด้วย ส่วนการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ออกมาสู่ภายนอก เกิดขึ้นจากผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ Editing Committee เป็นผู้กระทำเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับเมื่อมีผลของการจัดตั้งผู้ปฏิบัติภารกิจกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนที่ในชื่อของ Integrated Drafting Task Force (IDTF) ซึ่งเป็นผลสืบนื่องขึ้นมาจากการประชุมที่เวียนนา ในพฤศจิกายน ปี 2007 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่ในเรื่องการจัดพิมพ์ และแผยแพร่ร่างมาตรฐานฉบับอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ โดยได้มีการกำหนดรายละเอียดของแผนงาน และกรอบระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนอยู่ร่วมด้วย ดังนี้ 28/
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับ WD1 เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขและปรับปรุง จะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในวันที่ 28 มีนาคม 2006 (ในระยะเวลาภายหลังต่อมาได้รับคำแนะนำเพื่อต้องการให้มีการให้แก้ไข/ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นจำนวน 2,040 รายการ)
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับ WD2 เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขและปรับปรุง จะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2006 (ในระยะเวลาภายหลังต่อมาได้รับคำแนะนำเพื่อต้องการให้มีการให้แก้ไข/ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นจำนวน 5,176 รายการ)
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับ WD3 เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขและปรับปรุง จะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2007 (ในระยะเวลาภายหลังต่อมาได้รับคำแนะนำเพื่อต้องการให้มีการให้แก้ไข/ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นจำนวน 7,225 รายการ)
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับ WD4.1 เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขและปรับปรุง จะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในวันที่ 11 มีนาคม 2008
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับ WD4.2 เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขและปรับปรุง จะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2008 (ในระยะเวลาภายหลังต่อมาได้รับคำแนะนำเพื่อต้องการให้มีการให้แก้ไข/ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นจำนวน 5,231 รายการ)
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับ CD1 ควรจะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในธันวาคม ปี 2008
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับร่างมาตรฐานฉบับนานาชาติ (DIS หรือ FDIS) ควรจะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในกันยายน ปี 2009
- การจัดพิมพ์ และนำเสนอรายละเอียดสำหรับมาตรฐานฉบับนานาชาติ (IS) ควรจะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ภายในพฤศจิกายน ปี 2009
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น