บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 5: - หัวข้อกำหนด 3.1 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ: ประวัติและความเป็นมา
3. Understanding social responsibility |
3.1 The social responsibility of organizations: Historical background |
The term social responsibility came into widespread use in the early 1970s, although various aspects of social responsibility were the subjects of action by organizations and governments as far back as the late 19th century, and in some instances even earlier. |
Attention to social responsibility has in the past focused primarily on business. The term “corporate social responsibility” is still more familiar to most people than “social responsibility”. |
The view that social responsibility is applicable to all organizations emerged as different types of organizations, not just those in the business world, recognized that they too had responsibilities for contributing to sustainable development. |
The elements of social responsibility reflect the expectations of society at a particular time, and are therefore liable to change. As society’s concerns change, its expectations of organizations also change to reflect those concerns. |
An early notion of social responsibility centered on philanthropic activities such as giving to charity. Subjects such as labor practices and fair operating practices emerged a century or more ago. Other subjects, such as human rights, the environment, consumer protection and countering fraud and corruption, were added over time, as they received greater attention. |
The core subjects and issues identified in this International Standard reflect a current view of good practice. Views of good practice will also undoubtedly change in the future, and additional issues may come to be seen as important elements of social responsibility. |
คำอธิบาย 
3. ความเข้าใจใน SR
3.1 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ: ประวัติและความเป็นมา
คำว่า SR ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย และกว้างขวางมาตั้งแต่ยุคปี 1970 และถึงแม้ว่า มีแนวความคิดที่หลากหลายสำหรับเรื่อง SR เช่นนี้ โดยปรากฏออกมาเป็นเนื้อหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นวิธีการปฏิบัติโดยองค์การต่างๆ หรือครอบคลุมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ และเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานถูกค้นพบรายละเอียดเหล่านี้ ขึ้นมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 รวมไปถึงในช่วงระยะเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 อีกด้วย
การให้ความสนใจต่อรายละเอียดของเรื่อง SR ดังกล่าวในอดีต จะมุ่งเน้นเบื้องต้นลงไปที่ภาคธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัยใช้คำศัพท์ที่เรียกในเชิงลักษณะที่เกี่ยวข้องว่า เป็น “บรรษัทความรับผิดชอบต่อสังคม” และยังคงปรากฏเป็นคำศัพท์ที่มีความคุ้นเคยสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ อยู่มากกว่าการใช้คำว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม (SR)” เช่นดังที่เรียกอยู่ในสภาพปัจจุบัน
รายละเอียดที่สะท้อนถึงมุมมองหรือแนวความคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ยังสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้สำหรับองค์การเกือบทุกประเภท ซึ่งล้วนมีการพัฒนาขึ้นมาในลักษณะที่มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเภทขององค์การ โดยไม่ครอบคลุมเพียงเฉพาะในโลกธุรกิจเท่านั้น แต่ยังคงถูกยอมรับกันโดยทั่วไปอีกว่า องค์การต่างๆ เหล่านั้น ยังคงสามารถแสดงความรับผิดชอบต่อการสนับสนุน แบ่งปันช่วยเหลือ หรือสามารถนำพาไปสู่ผลของการพัฒนาแบบยั่งยืน การมีสุขอนามัย และการอยู่ดีมีสุขของสังคมได้เป็นประการสุดท้าย
CSR ที่เหมาะสมในทางปฏิบัติขององค์การแต่ละแห่ง ย่อมนำพาไปสู่ผลของการพัฒนาแบบยั่งยืน และความอยู่ดีมีสุขของสังคม
สำหรับเนื้อหาหรือเรื่องหลักๆ ที่ควรยึดถือ และปรากฏเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ SR จะสะท้อนชี้บ่งให้เห็นถึงผลความคาดหวังของสังคมภายใต้ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปได้ในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้รายละเอียดส่วนใหญ่จะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นข้อที่ควรนึกถึงและพิจารณาขึ้นมาสำหรับสังคม และความคาดหวังต่างๆ ที่ต้องการให้องค์การแต่ละแห่ง สามารถทำการเปลี่ยนแปลง หรือเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องเข้ากับข้อที่ควรพิจารณาเหล่านั้นได้เป็นประการสำคัญ
ในช่วงแรกๆ ของการมีความเข้าใจเกี่ยวกับ SR ต่างมุ่งเน้นรายละเอียดที่จำเพาะลงไปที่ศูนย์กลางในเรื่องการทำกิจกรรมเพื่อการบริจาค/ การทำบุญกุศลขององค์การที่ดำเนินการขึ้นมาในแต่ละครั้ง เช่น การบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เป็นต้น สำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในด้านอื่นๆ เช่น การปฏิบัติด้านแรงงานและการปฏิบัติที่เป็นธรรม จึงได้ถูกหยิบยกและริเริ่มมีการพัฒนาเมื่อหนึ่งศตวรรษที่ผ่านพ้นมา หรือเป็นระยะเวลาที่มากกว่านั้น ส่วนรายละเอียดเนื้อหาในเรื่องอื่นๆ เช่นสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การปกป้อง/ คุ้มครองผู้บริโภค การต่อต้านปัญหาฉ้อโกงและคอร์รัปชั่น นั้น เพิ่งได้ถูกเพิ่มเติมรายละเอียดดังกล่าว เข้าไปอยู่ภายในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และระดับความสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ทั้งหมด กำลังได้รับความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับในสภาพปัจจุบัน
เนื้อหาหลัก และประเด็นต่างๆ ที่ถูกระบุ/ ชี้บ่งอยู่ภายในรายละเอียดของมาตรฐานฉบับนี้ จึงช่วยสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดในสภาพปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติที่ดี หรือมีความเหมาะสมมากที่สุดภายใต้ช่วงระยะเวลาที่มาตรฐานนานาชาติฉบับนี้ถูกยกร่างขึ้นมาตามลำดับ สำหรับรายละเอียดของการปฏิบัติที่ดีเหล่านี้ แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปได้ในอนาคต รวมไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่มีความสำคัญ อาจถูกหยิบยกขึ้นมาเพิ่มเติม และอาจกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับ SR ในระยะต่อไปก็ได้อีกเช่นกัน
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น