หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 14 หัวข้อกำหนด 4.6 - การแสดงความเคารพนับถือต่อกฎหมาย)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 14: หัวข้อกำหนด 4.6 การแสดงความเคารพนับถือต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย

4.6 Respect for the rule of law

The principle is: an organization should accept that respect for the rule of law is mandatory.
The rule of law refers to the supremacy of law and, in particular, to the idea that no individual or organization stands above the law and that government is also subject to the law. The rule of law contrasts with the arbitrary exercise of power. It is generally implicit in the rule of law that laws and regulations are written, publicly disclosed and fairly enforced according to established procedures. In the context of social responsibility respect for the rule of law means that an organization complies with all applicable laws and regulations. This implies that it should take steps to be aware of applicable laws and regulations, to inform those within the organization of their obligation to observe and to implement those measures.
An organization should:
- comply with legal requirements in all jurisdictions in which the organization operates, even if those laws and regulations are not adequately enforced;
- ensure that its relationships and activities comply with the intended and applicable legal framework;
- keep itself informed of all legal obligations; and
- periodically review its compliance with applicable laws and regulations..

คำอธิบาย
4.6 การแสดงความเคารพนับถือต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย
        หลักการของบทบัญญัติทางกฎหมายนั้น ระบุว่า องค์การควรยอมรับในเรื่องที่ต้องมีการแสดงความเคารพนับถือต่อกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งบังคับหรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าวได้แต่ประการใดทั้งสิ้น
        รายละเอียดของบทบัญญัติทางกฎหมายเช่นนั้น ยังได้อ้างถึงความเป็นสิ่งสูงสุดของกฎหมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถกำหนดออกมาเป็นแนวความคิดที่สำคัญอย่างชัดเจนในลักษณะที่ว่า ไม่มีบุคคลรายใดๆ หรือองค์การแห่งใดก็ตาม ที่ปรากฏมีสถานะอยู่สูงเหนือกว่ากฎหมาย และยังครอบคลุมรวมไปถึงที่ว่า รัฐบาลเองก็จำเป็นต้องมีการปฏิบัติให้สอดคล้องตรงตามกฎหมายที่ถูฏระบุไว้อีกด้วยเช่นกัน บทบัญญัติทางกฎหมายดังกล่าว จึงแสดงผลในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับการแสดงอำนาจตามอำเภอใจโดยไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ขึ้นมารองรับอยู่ทั้งสิ้น โดยทั่วไปแล้วการแสดงความเด่นชัดของรายละเอียดทางกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่สำคัญต่างๆ เช่นนั้น จึงจำเป็นต้องถูกเขียนหรือถูกบันทึกไว้เพื่อให้ปรากฏออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร มีการเปิดเผยรายละเอียดออกไปต่อสาธารณะ และจำเป็นต้องมีการบังคับใช้ประโยชน์ให้ดำเนินเป็นไปอย่างยุติธรรม โดยเฉพาะการกำหนดให้มีลักษณะของความสอดคล้องสืบเนื่องไปกับวิธีการปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมาอยู่ร่วมด้วย ดังนั้นภายใต้บริบทที่เกี่ยวข้องกับ SR การแสดงความเคารพนับถือต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย จึงหมายความลงไปว่า องค์การแต่ละแห่งสมควรได้มีการนำไปใช้ปฏิบัติ เพื่อให้แสดงถึงผลที่มีความสอดคล้องเข้ากับกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อยู่โดยตรง รายละเอียดเช่นนี้ จึงกำหนดหรือระบุให้องค์การแต่ละแห่ง ล้วนจำเป็นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนสำหรับการสร้างความตระหนักขึ้นมาในเรื่องของกฎหมาย และกฎเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ ที่ต้องยึดถือปฏิบัติ โดยมีการแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดเป็นการภายในองค์การตนเองสำหรับการแสดงความรับผิดชอบต่อการเฝ้าสังเกตว่า มีผลการปฏิบัติเกิดขึ้นมาเป็นอย่างไร และยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงว่า องค์การจะต้องมีความเชื่อมั่นได้ถึงระดับความสัมพันธ์ทั้งหลายของการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องทางกฎหมายเช่นนั้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผล รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ถูกดำเนินการขึ้นมาด้วยความตั้งใจ จะมีส่วนสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้ทุกประการ
        เพราะฉะนั้นองค์การจึงควรปฏิบัติในแนวทางที่เหมาะสม ดังนี้
        - มีการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับความต้องการทางกฎหมาย และกฎเกณฑ์ประการต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อกำหนดและอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจดำเนินการทางศาล หรือเมื่อเป็นการพิจารณาผลตัดสินคดี ซึ่งองค์การแต่ละแห่งย่อมมีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง
        - มีความมั่นใจได้ว่า ระดับความสัมพันธ์และกิจกรรมทั้งหลายของการปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจเช่นนั้น จะแสดงรายละเอียดของความสอดคล้อง และจะเป็นผลที่ดีเมื่ออยู่ภายใต้กรอบแห่งการปฏิบัติตามรายละเอียดของกฎหมายอยู่ทุกประการ
        - มีการดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีการรายงานผลของการปฏิบัติงานครั้งดังกล่าว มีความสอดคล้องตรงตามรายละเอียดของข้อผูกมัดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องขึ้นมาภายในองค์การของตน และ
        - มีการทบทวนสำหรับผลการปฏิบัติงานภายใต้ช่วงระยะเวลาที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของความสอดคล้องทางกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ร่วมด้วยเสมอ

การปฏิบัติตามรายละเอียดของบัญญัติทางกฎหมาย (By Law) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่กับองค์การแต่ละแห่งเท่านั้น จึงจะถือได้ว่า มีการแสดงความรับผิดชอบออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยตรง
XXXXXXXXXX













มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 13 - หัวข้อกำหนด 4.5 การแสดงความเคารพนับถือต่อ Stakeholders)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 13: หัวข้อกำหนด 4.5 - การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.5 Respect for stakeholder interests

The principle is: an organization should respect, consider and respond to the interests of its stakeholders.
Although an organization’s objectives may be limited to the interests of its owners, members, customers or constituents, other individuals or groups may also have rights, claims or specific interests that should be taken into account. Collectively, these individuals or groups comprise the organization’s stakeholders.
An organization should:
- identify its stakeholders;
- recognize and have due regard for the interests as well as the legal rights of its stakeholders and respond to their expressed concerns;
- recognize that some stakeholders can significantly affect the activities of the organization;
- assess and take into account the relative ability of stakeholders to contact, engage with and influence the organization;
- take into account the relation of the its stakeholder’s interests to the broader expectations of society and to sustainable development, as well as the nature of the stakeholders' relationship with the organization (see also 3.3.1); and
- consider the views of stakeholders whose interests are likely to be affected by a decision or activity even if they have no formal role in the governance of the organization or are unaware of their interests.

คำอธิบาย
4.5 การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
        หลักการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ระบุว่า องค์การควรแสดงความเคารพนับถือ ทำการพิจารณา และดำเนินงานบางประการขึ้นมาเพื่อตอบสนองให้ตรงต่อผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเป็นเรื่องสำคัญ
        ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ขององค์การ จะถูกจำกัดอย่างจำเพาะลงไปอยู่ที่ผลประโยชน์ที่ต้องได้รับขึ้นมาโดยตรงต่อเจ้าของ สมาชิกที่ปรากฏอยู่เป็นองค์ประกอบขององค์การ ลูกค้า รวมไปถึงในแต่ละรายบุคคล หรือกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับองค์การแห่งนั้นก็ตาม ซึ่งล้วนต่างก็มีสิทธิ การกล่าวอ้างถึง และมีความสนใจที่จำเพาะเจาะจงลงไปต่อผลประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ซึ่งสมควรต้องนำรายละเอียดเหล่านี้เข้ามาพิจารณาอีกร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นในสภาพผลรวมที่เกิดขึ้นของแต่ละรายบุคคล หรือความเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งสำหรับการปฏิบัติกิจกรรม หรือการตัดสินใจใดๆ ขององค์การ จึงสามารถทำการพิจารณาและเรียกได้ว่า มีสถานะเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การแห่งนั้นอยู่แทบทั้งสิ้น
        เพราะฉะนั้นองค์การจึงควรปฏิบัติในแนวทางที่เหมาะสม ดังนี้
        - มีการระบุชี้บ่งถึงกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยอาศัยยึดถืออยู่บนรายละเอียดพื้นฐานที่ว่า จะปรากฏเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มใดๆ ก็ตาม ซึ่งต่างก็มีส่วนในการได้รับผลกระทบเกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นอยู่ตามลำดับ
        - มีการตระหนัก และยอมรับคำนึงถึงรายละเอียดของผลประโยชน์ และเช่นเดียวกับรายละเอียดในเรื่องของสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับองค์การ และยังจำเป็นต้องมีการตอบสนองต่อรายละเอียดที่ต้องแสดงความเกี่ยวข้องเหล่านั้น ออกมาให้เห็นเป็นผลได้อย่างชัดเจนอีกประการหนึ่งร่วมด้วยเสมอ


องค์การต้องมีการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจน และต้องมีการจัดการในเชิงระบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังของกลุ่ม Stakeholders เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี

        - มีการตระหนัก และยอมรับคำนึงถึงว่า Stakeholders บางกลุ่ม จะสามารถแสดงผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ
        - มีการประเมินผล และทำการพิจารณาหรือคำนึงถึงรายละเอียดในเรื่องของระดับความสามารถในการแสดงความรับผิดชอบต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เมื่ออยู่ภายใต้ขอบเขต หรือในลักษณะที่มีการพบปะหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิด หรือเมื่อมีการแสดงผลความผูกมัดของตนเอง หรือเป็นการสร้างอิทธิพลขึ้นมาอยู่ร่วมด้วยสำหรับองค์การแห่งนั้นโดยตรง
        - มีการพิจารณา หรือคำนึงถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อระดับความสัมพันธ์สำหรับผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย โดยนำไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวางเพิ่มมากยิ่งขึ้นสำหรับการแสดงความคาดหวังในเรื่องผลประโยชน์ของสังคม และเพื่อมุ่งเน้นผลของการพัฒนาแบบยั่งยืนขึ้นมาตามลำดับ และในขณะเดียวกันยังครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงธรรมชาติ และลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ต่อองค์การแห่งนั้น (พิจารณาหัวข้อที่ 3.3.1 ประกอบร่วมด้วย) เป็นประการสำคัญ
        - มีการพิจารณาถึงรายละเอียดมุมมองของ Stakeholders อื่นๆ ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหลายที่ได้รับครั้งนั้น อาจปรากฏเป็นผลกระทบขึ้นมาจากการตัดสินใจหรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้น และถึงแม้ว่า กลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเช่นนั้น จะไม่มีบทบาทที่แสดงออกมาอย่างเป็นทางการต่อการกำหนดระบบธรรมาภิบาลขององค์การให้เห็นผลออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม หรืออาจไม่มีผลต่อการสร้างความตระหนักขึ้นมาในเรื่องผลประโยชน์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นอยู่ร่วมด้วยก็ตาม

XXXXXXXXX















มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 12 หัวข้อกำหนด 4.4 - พฤติกรรมเชิงจริยธรรม)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)

ตอนที่ 12: หัวข้อกำหนด 4.4 พฤติกรรมเชิงจริยธรรม  
4.4 Ethical behavior
The principle is: an organization should behave ethically
An organization’s behavior should be based on the ethics of honesty, equity and integrity. These values imply a concern for people, animals and the environment and a commitment to address the impact of its activities and decisions on stakeholders’ interests.
An organizations should actively promote ethical behavior by:
- identifying and stating its core values and principles;
- developing and using governance structures that help to promote ethical behavior within the organization, in its decision making and in its interactions with others;
- identifying, adopting and applying standards of ethical behavior appropriate to its purpose and activities and consistent with the principles outlined in this International Standard;
- encouraging and promoting the observance of its standards of ethical behavior;
- defining and communicating the standards of ethical behavior expected from its governance structure, personnel, suppliers, contractors and, when appropriate, owners and managers, and particularly from those that have the opportunity, while preserving local cultural identity; to significantly influence the values, culture, integrity, strategy and operation of the organization and people acting on its behalf;
- preventing or resolving conflicts of interest throughout the organization that could otherwise lead to unethical behavior;
- establishing and maintaining oversight mechanisms and controls to monitor, support and enforce ethical behavior;
- establishing and maintaining mechanisms to facilitate the reporting of unethical behavior without fear of reprisal;
- recognizing and addressing situations where local laws and regulations do not exist or conflict with ethical behavior;
- adopting and applying internationally recognized standards of ethical behaviour when conducting research with human subjects [165]; and
- respecting the welfare of animals, when affecting their lives and existence, including by ensuring decent conditions for keeping, breeding, producing and using animals [175].

คำอธิบาย
4.4 พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
        หลักการของพฤติกรรมเชิงจริยธรรมนั้น ระบุว่า องค์การควรประพฤติปฏิบัติในด้านจริยธรรมให้เกิดเป็นผลขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ และมีความต่อเนื่องอยู่ตลอดระยะเวลา
        พฤติกรรมขององค์การจึงควรสะท้อนลงไปถึงเรื่องของการยอมรับในหลักการเชิงจริยธรรม หรือกฎเกณฑ์ของหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอยู่เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพฤติกรรมขององค์การเช่นนั้น จะต้องยึดถืออยู่บนพื้นฐานของหลักการ หรือกฎเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในเรื่องของการแสดงผลของความซื่อสัตย์ ความเท่าเทียมกัน และการเกิดบูรณภาพขึ้นมาอยู่ร่วมกันเป็นประการสำคัญ จากรายละเอียดในเชิงจริยธรรมที่ปรากฏเป็นคุณค่าเช่นนี้ จึงจำเป็นจะต้องถูกปฏิบัติขึ้นมาให้เห็นเป็นผลอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นเรื่องของการแสดงความห่วงใยต่อชีวิตของประชาชน สัตว์และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อการกำหนดและระบุถึงรายละเอียดของผลกระทบประการต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับรายละเอียดของผลประโยชน์ที่สมควรได้รับขึ้นมาของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง
        องค์การจึงควรสนับสนุนให้มีการปฏิบัติทางพฤติกรรมเกิดขึ้นอย่างมีจริยธรรม โดยอาศัยแนวทางประการต่างๆ ที่สำคัญประกอบอยู่ร่วมด้วย เช่น
        - มีการระบุ/ ชี้บ่ง และมีการกล่าวถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นคุณค่าหลัก และหลักการที่สำคัญสำหรับองค์การแห่งนั้น
        - มีการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างด้านธรรมาภิบาลขึ้นมารองรับอยู่อีกประการหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริม หรือกระตุ้นก่อให้เกิดการประพฤติ/ ปฏิบัติด้านพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขึ้นมาอย่างแพร่หลายอยู่ภายในองค์การ ซึ่งอาจครอบคลุมรวมไปถึงเรื่องของการตัดสินใจ และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นอยู่ร่วมด้วยกับหน่วยงาน หรือส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง
        - มีการระบุ/ ชี้บ่ง การแสดงผลของการยอมรับ และสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมาตรฐานสำหรับการแสดงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของตนเองขึ้นมา ในลักษณะที่เป็นไปด้วยความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ และมีความสอดคล้องเข้ากับหลักการต่างๆ ที่ได้ถูกระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนแล้วอยู่ภายในมาตรฐานนานาชาติฉบับนี้เป็นสำคัญ
        - อาศัยการกระตุ้น หรือสนับสนุนให้มีการเฝ้าติดตาม เพื่อสังเกตถึงผลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดมาตรฐานของการแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรมขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง
        - มีการระบุ/ชี้บ่งหรือกำหนด และทำการสื่อสารในรายละเอียดของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานเชิงจริยธรรมสำหรับความคาดหวังต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏสภาพออกมาเป็นโครงสร้างด้านธรรมาภิบาลขององค์การแห่งนั้น เนื้อหารายละเอียดที่เป็นไปในแต่ละรายบุคคล จากคู่ค้า/ ผู้ส่งมอบภายนอก ผู้รับเหมาช่วงรายสำคัญ และในลักษณะที่มีความเหมาะสมเช่นนั้นเกิดขึ้น ยังอาจครอบคลุมลงไปถึงเจ้าของ ผู้จัดการระดับต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงความจำเพาะเจาะจงสำหรับผู้อื่นที่มีโอกาส หรือสามารถแสดงอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสริมสร้างคุณค่า วัฒนธรรม ผลของความซื่อสัตย์ การกำหนดรายละเอียดกลยุทธ์ต่างๆ และแนวทางการปฏิบัติงานขององค์การแห่งนั้นออกมาได้โดยตรงตามลำดับ และในบางครั้งอาจเป็นประชาชนที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ ซึ่งได้รับการประพฤติปฏิบัติ หรือมีหน้าที่โดยตรงต่อการช่วยรักษาหรือคุ้มครองความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชนแห่งนั้นก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
        - มีการป้องกันหรือกำหนดวิธีการแก้ไข เพื่อช่วยลดระดับความขัดแย้งสำหรับผลประโยชน์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์การแห่งนั้น ซึ่งในที่สุดอาจนำพาไปสู่การเกิดขึ้นของพฤติกรรมในลักษณะที่ไม่เป็นผลเชิงจริยธรรมขึ้นมาให้เห็นได้เป็นประการสุดท้าย
        - มีการจัดตั้งและดำรงรักษาไว้ซึ่งรายละเอียดของกลไกบางประการ ที่อาจคาดการณ์ไม่ถึงขึ้นมาเป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือควบคุม การเฝ้าระวัง การสนับสนุนหรือเป็นการบังคับ ทั้งนี้เพื่อต้องการก่อให้เกิดการสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขึ้นมาให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
        - มีการจัดตั้งและดำรงรักษาไว้ซึ่งรายละเอียดของกลไกบางประเภทขึ้นมาอยู่รองรับ ทั้งนี้เพื่อช่วยเอื้ออำนวยสำหรับการรายงานผลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดมาตรฐานหรือพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยจะต้องปราศจากทัศนคติที่เป็นความกลัว หรือการโต้ตอบเพื่อมุ่งหวังผลของการแก้แค้นเป็นการส่วนตนเท่านั้น
        - ต้องมีการตระหนักยอมรับ และสามารถกำหนดชี้บ่งระบุถึงสถานการณ์ในลักษณะต่างๆ ออกมาได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อกฎหมายประจำท้องถิ่น และรายละเอียดของกฎเกณฑ์ข้อกำหนดประการต่างๆ ไม่อาจสามารถปฏิบัติงานขึ้นมาให้เห็นผลได้อย่างสอดคล้อง หรือเมื่อเกิดความขัดแย้งกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขององค์การ โดยปรากฏเป็นผลออกมาอย่างเด่นชัดอีกประการหนึ่งร่วมด้วย
        - ต้องมีการตระหนักยอมรับ และสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากรายละเอียดของมาตรฐานระดับนานาชาติที่แสดงถึงพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยเฉพาะเมื่อมีการดำเนินการวิจัยภายใต้รายละเอียดหรือหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์อยู่โดยตรง [165]
        - ต้องมีการแสดงความเคารพนับถือต่อเรื่องสวัสดิการของสัตว์และสิ่งมีชีวิตประเภทต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อปรากฏออกมาเป็นรายละเอียดที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และสภาพการดำรงชีพอยู่ในขณะนั้นๆ ทั้งนี้อาจจะครอบคลุมลงไปถึงการทำให้มีความมั่นใจขึ้นมาได้ถึงการปรากฏสภาพหรือเงื่อนไขบางประการที่มีลักษณะที่ไม่เหมาะสมขึ้นมาให้เห็น ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเลี้ยงดูรักษา การแพร่ขยายพันธุ์ สภาพการผลิต การขนส่ง และการใช้ประโยชน์จากกลุ่มสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นอยู่โดยตรง [175]



ตัวอย่างสำหรับแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ของการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขึ้นมาภายในองค์การ/ บริษัท เช่น ประกาศ และลงนามรับรองข้อกำหนดเชิงจริยธรรมโดยผู้บริหารระดับสูง การประชุมคณะกรรมการจริยธรรม เป็นต้น

XXXXXXXXX