หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 21 หัวข้อกำหนด 6.2 - ธรรมาภิบาลองค์การ)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 21: หัวข้อกำหนด 6.2 ธรรมาภิบาลองค์การ

6.2 Organizational governance
6.2.1 Overview of organizational governance
6.2.1.1 Organizations and organizational governance

Organizational governance is the system by which an organization makes and implements decisions in pursuit of its objectives.
Organizational governance can comprise both formal governance mechanisms based on defined structures and processes and informal mechanisms that emerge in connection with the organization's culture and values, often influenced by the persons who are leading the organization. Organizational governance is a core function of every kind of organization as it is the framework for decision making within the organization.
Governance systems vary, depending on the size and type of organization and the environmental, economic, political, cultural and social contexts in which it operates. These systems are directed by a person or group of persons (owners, members, constituents or others) having the authority and responsibility for pursuing the organization’s objectives.

6.2.1.2 Organizational governance and social responsibility

Organizational governance is the most crucial factor in enabling an organization to take responsibility for the impacts of its decisions and activities and to integrate social responsibility throughout the organization and its relationships.
Organizational governance in the context of social responsibility has the special characteristic of being both a core subject on which organizations should act, and a means of increasing the organization’s ability to behave in a socially responsible manner with regard to the other core subjects.
This special characteristic arises from the fact that an organization aiming to be socially responsible should have an organizational governance system enabling the organization to provide oversight and to put into practice the principles of social responsibility mentioned in Clause 4.

คำอธิบาย
6.2 ธรรมาภิบาลองค์การ
6.2.1 มุมมองโดยรวมของธรรมาภิบาลองค์การ
6.2.1.1 องค์การ และธรรมาภิบาลองค์การ
        ธรรมาภิบาลองค์การ คือ ระบบที่องค์การได้ดำเนินการหรือผ่านการจัดตั้งขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังผลในเรื่องการควบคุมผลการตัดสินใจ ให้สามารถดำเนินการเป็นไปได้อย่างสอดคล้อง หรือตอบสนองได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการขององค์การทุกประการ
        ระบบธรรมาภิบาลขององค์การ จึงล้วนประกอบไปด้วยรายละเอียดที่ปรากฏสภาพออกมาเป็นกลไกด้านธรรมาภิบาลอย่างเป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดออกมาด้วยลักษณะที่เป็นความเหมาะสมทางโครงสร้าง และกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ปราฏกอยู่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในส่วนแรก ส่วนองค์ประกอบที่สองของระบบธรมาภิบาลดังกล่าว จะเป็นกลไกที่มีสภาพอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งถือกำเนิดหรือถูกพัฒนาสร้างขึ้นมา โดยแสดงความสัมพันธ์เชื่อมยึดเข้ากับรายละเอียดอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องเข้ากับวัฒนธรรม และคุณค่าขององค์การแห่งนั้นเป็นหลักใหญ่ และในบ่อยครั้งอีกเช่นกันสภาพของระบบธรรมาภิบาลดังกล่าว ยังได้รับอิทธิพลมาจากการชี้แนะ กำกับ หรือการควบคุม โดยอาศัยบุคคล/ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ ซึ่งแสดงสถานะที่สำคัญในด้านการเป็นผู้นำขององค์การแห่งนั้นอีกร่วมด้วย ระบบธรรมาภิบาลขององค์การ จึงปรากฏสภาพออกมาเป็นหน้าที่ และความสำคัญประการหลักที่ช่วยกระตุ้นส่งเสริม และทำให้องค์การแทบทุกประเภท ล้วนต้องกำหนดรายละเอียดเช่นนี้ไว้เป็นกรอบแนวทางของการปฏิบัติ เพื่อแสดงผลของความเกี่ยวเนื่องไปถึงการควบคุมในเรื่องของการตัดสินใจสำหรับองค์การแห่งนั้นเป็นประการสำคัญ
        ระบบธรรมาภิบาลดังกล่าว จึงย่อมอาจแสดงความแตกต่างกันออกไปได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด ประเภทขององค์การ และรายละเอียดบริบทต่างๆ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและสังคมที่องค์การแห่งนั้น กำลังดำเนินการปฏิบัติงานหรือแสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง ดังนั้นระบบธรรมาภิบาลภายในองค์การเช่นนี้ จึงถูกกำหนดทิศทาง หรือกำกับด้วยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล (เจ้าของ การปรากฏสภาพความเป็นสมาชิกขององค์การ องค์ประกอบและส่วนสำคัญอื่นๆ ขององค์การแห่งนั้นอีกร่วมด้วย) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏมีอำนาจหน้าที่ และแสดงความรับผิดชอบออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับการดำเนินงานทั้งหลาย ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งเน้นต้องการให้สามารถตอบสนองได้ตรงต่อวัตถุประสงค์ขององค์การที่ถูกกำหนดขึ้นมาไว้เป็นประการสำคัญ
 
กรอบแนวทางการปฏิบัติระบบธรรมาภิบาลองค์การ (Corporate Governance Framework) ที่ต้องถูกจัดตั้ง และดำเนินการขึ้นมาให้ปรากฏเป็นโครงสร้างองค์การ และระบุถึงบุคคล/ กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่เข้ามาทำหน้าที่ควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน SR ภายในองค์การ เช่น ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการ SR ต่างๆ เป็นต้น
6.2.1.2 ธรรมาภิบาลองค์การ และความรับผิดชอบต่อสังคม
        ธรรมาภิบาลขององค์การ จึงปรากฏว่า เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการช่วยกำกับทำให้องค์การต้องแสดงความรับผิดชอบขึ้นมาสำหรับการปรากฏ ซึ่งผลกระทบประการต่างๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการตัดสินใจ และดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขึ้นมาขององค์การแห่งนั้น และล้วนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบูรณาการในรายละเอียดสำหรับการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมเช่นนั้น ให้แพร่กระจายเข้าไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ และในส่วนงานต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่ตามลำดับ
 
        ธรรมาภิบาลองค์การที่เกี่ยวข้องเมื่ออยู่ภายใต้บริบทของ SR เช่นนั้น จึงค่อนข้างแสดงคุณลักษณะพิเศษของการปรากฏออกมาเป็นทั้งเนื้อหาหลักที่องค์การมีความคาดหวังว่าจะต้องยึดถือปฏิบัติ และ/ หรือการใช้ประโยชน์เพื่อกำหนดให้เป็นแนวทางหลักสำหรับการยกระดับความสามารถขององค์การในการจัดตั้งพฤติกรรมที่แสดงความเกี่ยวข้องกับ SR ขึ้นมาให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และอาจครอบคลุมรวมไปถึงวิธีการปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ ที่มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดทุกประการของเนื้อหาหลัก SR อื่นๆ อีกประการหนึ่งด้วย
        คุณลักษณะพิเศษดังกล่าวเช่นนี้ จึงถือกำเนิดขึ้นมาจากผลของความจริงที่ว่า องค์การแต่ละแห่งที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนเช่นนั้น จึงควรมีการจัดตั้งระบบการตัดสินใจที่ดี หรือเมื่อถูกออกแบบขึ้นมาประกอบอยู่ร่วมด้วยแล้ว สามารถนำพาไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องเป็นไปตรงตามหลักการของ SR ทุกประการ (เน้นรายละเอียดในเรื่องของการแสดงความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง/ สมบูรณ์ ความโปร่งใส การประพฤติปฏิบัติเชิงจริยธรรม การพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ได้รับของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎหมายอีกร่วมด้วย) ซึ่งได้มีการอธิบายรายละเอียดเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจนแล้วทั้งหมดภายในหัวข้อกำหนดที่ 4 ของมาตรฐานฉบับนี้เป็นส่วนใหญ่

6.2.2 Principles and considerations

Effective governance should be based on incorporating the principles of social responsibility (see Clause 4) into decision making and implementation. These principles are accountability, transparency, ethical behavior, respect for stakeholder interests, respect for the rule of law, respect for international norms of behavior and respect for human rights (see Clause 4). In addition to these principles, an organization should consider the practices, the core subjects and the issues of social responsibility when it establishes and reviews its governance system. Further guidance on integrating social responsibility throughout the organization is provided in Clause 7.
Leadership is also critical to effective organizational governance. This is true not only for decision making but also for employee motivation to practice social responsibility and to integrate social responsibility into organizational culture.
Due diligence can be a useful approach for an organization in addressing the issues of social responsibility. For further guidance, see 7.3.1.

คำอธิบาย
6.2.2 หลักการ และข้อควรพิจารณา
        ระบบธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์เข้ากับความรับผิดชอบต่อสังคม และรายละเอียดในด้านอื่นๆ สำหรับการปฏิบัติงาน/ กิจกรรมขององค์การแต่ละแห่ง จึงควรยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการนำรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามหลักการของ SR (พิจารณารายละเอียดหัวข้อกำหนดที่ 4 ประกอบด้วย) เข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ในกระบวนการตัดสินใจ และคำนึงถึงเรื่องของการจัดตั้งขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ สำหรับหลักการ SR ที่ควรสนใจและพิจารณายึดถือได้แก่ การแสดงความพร้อมรับผิดหรือการสร้างความน่าเชื่อถือ ถูกต้องและสมบูรณ์ขึ้นมา ความโปร่งใส พฤติกรรมเชิงจริยธรรม การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตามรายละเอียดของบทบัญญัติกฎหมาย การแสดงความเคารพนับถือต่อบรรทัดฐานเชิงพฤติกรรมในระดับนานาชาติ และหลักของสิทธิมนุษยชน เป็นต้น (พิจารณารายละเอียดหัวข้อกำหนดที่ 4) ในทางปฏิบัติที่นอกเหนือเพิ่มเติมจากหลักการต่างๆ ที่ระบุไว้แล้วในเบื้องต้นเช่นนี้ องค์การยังควรทำการพิจารณาถึงวิธีการปฏิบัติในลักษณะต่างๆ รายละเอียดของเนื้อหาหลักและประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR เพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องการดำเนินงานในส่วนของการจัดตั้ง หรือเมื่อมีการทบทวนในรายละเอียดของระบบธรรมาภิบาลขององค์การแห่งนั้นประกอบอยู่ร่วมด้วย
 
        การแสดงถึงภาวะผู้นำ ก็ปรากฏถือว่า เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกเช่นกันต่อการช่วยส่งเสริมความมีประสิทธิภาพของระบบธรรมาภิบาลขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้น รายละเอียดเช่นนี้แสดงถึงความเป็นจริงออกมา โดยเฉพาะไม่เพียงแต่มีส่วนช่วยเหลือในเรื่องของการตัดสินใจแล้ว ยังมีผลต่อการกระตุ้นทำให้พนักงาน/ ผู้ปฏิบัติงานต่างๆ ภายในองค์การ ได้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาให้เห็นเป็นผลอย่างจริงจัง และในขณะเดียวกันยังช่วยก่อให้เกิดการบูรณาการงานด้าน SR ให้ผสมผสานปรากฏเป็นหนึ่งเดียวเข้ากับวัฒนธรรมขององค์การแห่งนั้นได้อีกประการหนึ่งด้วย
        ในการนำเข้าไปสู่เรื่องของการจัดตั้ง หรือการปฏิบัติงานขึ้นมา เพื่อให้เห็นผลออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะจำเป็นต้องมีการการกำหนด หรือการประเมินถึงผลกระทบ หรือรายละเอียดของสิทธิอันควรจะได้รับตามกฎหมายเช่นนั้น ล้วนสามารถนำมาใช้เป็นแนวความคิดหลักที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์การต่อการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ได้เป็นอย่างดี สำหรับรายละเอียดเสริม หรือเพิ่มเติมประการอื่นๆ นั้น ก็สามารถพิจารณาได้จากรายละเอียดภายในหัวข้อกำหนดที่ 7.3.1 ของร่างมาตรฐานฉบับนี้เป็นสำคัญ

6.2.3 Decision-making processes and structures
6.2.3.1 Description of the issue

Decision-making processes and structures conducive to social responsibility are those that promote the use of the principles and practices described in Clauses 4 and 5.
Every organization has decision-making process and structures. In some cases, these are formal, sophisticated and even subject to laws and regulations; In other cases they are informal, rooted in its organizational culture and values. All organizations should put in place processes, systems and structures, or other mechanisms that make it possible to apply the principles and practices of social responsibility [126, 159]

6.2.3.2 Related actions and expectations

An organization’s decision-making processes and structures should enable it to:
- develop strategies, objectives, and targets that reflect its commitment to social responsibility;
- demonstrate leadership commitment and accountability;
- create and nurture an environment and culture in which the principles of social responsibility (see Clause 4) are practised;
- create a system of economic and non-economic incentives related to performance on social responsibility;
- use financial, natural and human resources efficiently;
- promote a fair opportunity for underrepresented groups (including women and racial and ethnic groups) to occupy senior positions in the organization;
- balance the needs of the organization and its stakeholders, including immediate needs and those of future generations;
- establish two-way communication processes with its stakeholders, identifying areas of agreement and disagreement and  negotiating to resolve possible conflicts;
- encourage effective participation of all levels of employees in the organization’s social responsibility activities;
- balance the level of authority, responsibility and capacity of people who make decisions on behalf of the organization;
  - keep track of the implementation of decisions to ensure that these decisions are followed in a socially responsible way and to determine accountability for the results of organization’s decisions and activities, either positive or negative; and
  - periodically review and evaluate the governance processes of the organization. Adjust processes according to the outcome of the reviews and communicate changes throughout the organization.

คำอธิบาย
6.2.3 กระบวนการตัดสินใจ และการกำหนดโครงสร้างองค์การ
6.2.3.1 คำอธิบายสำหรับประเด็นนี้
        กระบวนการตัดสินใจและการกำหนดโครงสร้างองค์การขึ้นมารองรับเป็นเบื้องต้น ล้วนสามารถนำพาไปสู่เรื่องของการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมออกมาให้เห็นเป็นผลได้อย่างเด่น และจะถือได้ว่า เป็นวิธีการปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนต่อการใช้ประโยชน์จากหลักการ และแนวทางการปฏิบัติประการต่างๆ ซึ่งถูกระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนแล้วภายในหัวข้อกำหนดที่ 4 และ 5 ของมาตรฐานฉบับนี้ตามลำดับ
             องค์การทุกองค์การส่วนใหญ่จะพบว่า มีรูปแบบที่ปรากฏเป็นผลอยู่บ้างแล้วในเรื่องของกระบวนการตัดสินใจ และการกำหนดโครงสร้างขององค์การขึ้นมา เพื่อรองรับผลของการปฏิบัติงานต่างๆ ตามลำดับ ในบางกรณี เช่น บริษัทขนาดใหญ่ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ภาครัฐฯ เป็นต้น รายละเอียดของระบบเหล่านี้ จะค่อนข้างปรากฏผลออกมาเป็นรูปแบบที่มีลักษณะอย่างเป็นทางการ และแสดงความสลับซับซ้อนในการปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ต้องดำเนินเป็นไปอย่างสอดคล้องตรงตามรายละเอียดทางกฎหมาย หรือข้อกำหนดต่างๆ เป็นต้น สำหรับในกรณีอื่นๆ เช่น องค์การ/ วิสาหกิจขนาดเล็ก ซึ่งมีรากฐานเกี่ยวข้องลึกลงไปสู่การมีความสัมพันธ์ร่วมกับวัฒนธรรม และคุณค่าขององค์การแห่งนั้นตามลำดับ ค่อนข้างจะปรากฏผลว่า ระบบที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเช่นนั้น จะมีลักษณะไม่เป็นทางการ รวมไปถึงยังไม่มีการกำหนดหรือระบุผลออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัดว่า ระดับของอำนาจหน้าที่ หรือความรับผิดชอบสำหรับบุคคลระดับใด ที่สมควรจะทำหน้าที่ในการตัดสินใจขึ้นมาอย่างได้ผลที่จริงจังในนามของการเป็นตัวแทนระดับองค์การ แต่อย่างไรก็ตามองค์การทุกองค์การ ควรมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพื่อนำพาเข้าไปสู่ความเป็นกระบวนการต่างๆ การจัดตั้งระบบ และการจัดโครงสร้าง หรือกลไกอื่นๆ ในลักษณะต่างๆ ให้ดำเนินเป็นไปได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถแสดงผลความเป็นไปได้สำหรับองค์การที่จะสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ตามหลักการ และแนวทางการปฏิบัติของ SR เหล่านั้น ออกมาให้เห็นผลได้เป็นอย่างดี [126, 159]
6.2.3.2 วิธีปฏิบัติ และ/ หรือความคาดหวังที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้
        กระบวนการตัดสินใจ และการกำหนดโครงสร้างองค์การต่างๆ ขึ้นมารองรับ เพื่อต้องการให้เป็นวิธีการปฏิบัติงานเช่นนั้น จะสามารถช่วยเพิ่มพูนหรือยกระดับความสามารถทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับองค์การในด้านต่างๆ ได้ เช่น
        - เพื่อต้องการก่อให้เกิดการพัฒนา หรือกำหนดขึ้นมาสำหรับรายละเอียดต่างๆ ที่เป็นเชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ขององค์การแห่งนั้นได้เป็นอย่างดี
        - เพื่อต้องการแสดงหรือสาธิตให้เห็นถึงผลของความมุ่งมั่น และการแสดงควาพร้อมรับผิดขององค์การแห่งนั้นได้โดยตรง
        - เพื่อต้องการสร้างสรรค์และดำรงรักษาไว้ ซึ่งสภาพสิ่งแวดล้อม และการมีวัฒนธรรมที่ดีขึ้นมาภายในองค์การขณะนั้นๆ ให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามหลักการ SR ที่ถูกกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน (พิจารณารายละเอียดหัวข้อกำหนดที่ 4 เช่น การสร้างหลักการของความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส การประพฤติ/ ปฏิบัติเชิงจริยธรรม การแสดงความเคารพนับถือต่อผลประโยชน์ของ Stakeholders ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง และการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดบทบัญญัติทางกฎหมาย เป็นต้น)
        - เพื่อต้องการสร้างสรรค์ระบบแรงจูงใจทั้งที่มีสภาพเป็นเศรษฐกิจ และไม่ใช่ทางเศรษฐกิจขึ้นมา ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ และแสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับผลการปฏิบัติงานด้าน SR ที่ดีขององค์การแห่งนั้น
        - มีวิธีการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถดำเนินเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นมาตามลำดับ
             - ช่วยกระตุ้นในเรื่องของการสร้างโอกาสขึ้นมาอย่างเป็นธรรม หรือต้องการสนับสนุน เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาได้ในเรื่องการปรากฏสภาพของการเป็นตัวแทน Stakeholders กลุ่มต่างๆ ที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่อ่อนแอ (ซึ่งครอบคลุมรายละเอียดลงไปถึงผู้หญิง กลุ่มเชื้อชาติและชาติพันธ์ต่างๆ) ได้เข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือ หรือมีส่วนร่วมอยู่ภายในตำแหน่งอาวุโสขององค์การแห่งนั้นอีกประการหนึ่งด้วย
        - มีการรักษาสภาพความสมดุลขึ้นมาระหว่างสิ่งที่ปรากฏออกมาเป็นความต้องการขององค์การ และกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจครอบคลุมรวมไปถึงความต้องการในทันทีทันใด และในยุคอนาคตข้างหน้าอีกร่วมด้วย
        - มีการดำเนินการจัดตั้งในลักษณะของกระบวนการสื่อสารสองทางขึ้นมาระหว่างองค์การ และกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อต้องการนำรายละเอียดผลประโยชน์ของ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นเข้ามาพิจาณา และต้องการช่วยเหลือเพื่อทำการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดข้อตกลง และสิ่งที่ไม่ใช่ข้อตกลง และอาจรวมไปถึงการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจเป็นไปได้อีกด้วยเช่นกัน
        - มีการกระตุ้นเพื่อช่วยส่งเสริม และเป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับลูกจ้างในทุกระดับ ที่ปรากฏเป็นทั้งเพศชายและหญิง โดยเฉพาะในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจขององค์การต่อการพิจารณารายละเอียดของกิจกรรมสำคัญต่างๆ ของ SR ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง
        - ทำการรักษาสภาพความสมดุลขึ้นมาทั้งระดับอำนาจที่ต้องดำเนินการ ความรับผิดชอบ และระดับความจุของภาคประชาชน ซึ่งทำหน้าที่ตัดสินใจโดยเฉพาะในนามของการปฏิบัติงานสำหรับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง
        - มีการรักษาผลประโยชน์ในเรื่องของการจัดตั้ง และการตัดสินใจ เพื่อให้ปรากฏผลอยู่ในแนวทางที่เหมาะสมอยู่ตลอดระยะเวลา ทั้งนี้โดยก่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า รายละเอียดของการตัดสินใจและการปฏิบัติงานที่สอดคล้องเป็นไปตรงตามแนวทางของการแสดงความรับผิดชอบประการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นติดตามมาเช่นนั้น จะสามารถกำหนดได้ถึงระดับความรับผิดชอบสำหรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ ไม่ว่าจะเกิดเป็นผลลัพธ์ในเชิงบวกหรือลบก็ตาม และ
        - มีการทบทวน และประเมินผลของกระบวนการธรรมาภิบาลต่างๆ ขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้น ให้สามารถดำเนินงานเป็นตรงตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติงานบางอย่าง ที่แสดงความเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่ต้องการให้มีการทบทวนดังกล่าว และรวมไปถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้เกิดผลที่ดีขึ้นมาอย่างทั่วถึงภายในองค์การแห่งนั้นอีกด้วย
 
การกำหนดโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน/ ผู้ปฏิบัติงานออกมาอย่างเด่นชัดภายในองค์การ เช่น คณะกรรมการ SR และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดว่าเป็นความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานต่อการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาตามลำดับ

XXXXXXXX

1 ความคิดเห็น: