บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 19: หัวข้อกำหนด 5.3 การระบุ/ ชี้บ่ง และการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholder
5.3 Stakeholder identification and engagement |
5.3.1 General |
Stakeholder identification and engagement are central to addressing an organization’s social responsibility. |
คำอธิบาย 
5.3 การระบุ/ ชี้บ่ง และการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholder
5.3.1 บททั่วไป
การระบุ/ ชี้บ่ง และการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายนั้น ล้วนจัดเป็นวิธีการหลักที่สำคัญประการหนึ่ง และมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์การที่จำเป็นจะต้องมีการพิจารณานึกถึงรายละเอียดของ SR เป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นกิจกรรมของการปฏิบัติงานดังกล่าว จึงกลายสภาพมาเป็นหัวใจหรือศูนย์กลางของการปฏิบัติงานด้าน SR นอกจากนี้องค์การเองยังควรไม่แสดงผลของการหลีกเลี่ยงความต้องการในเรื่องดังกล่าวเหล่านี้ ซึ่งมีการยอมรับนับถือสำหรับการแสดงบทบาทของ SR เหล่านั้นขึ้นมาให้เห็นเป็นผลอยู่ได้โดยตรง
5.3.2 Stakeholder identification |
Stakeholders are organizations or individuals that have one or more interests in any decisions and activity of an organization. Because these interests can be affected by the organization, a relationship with the organization is created. This relationship need not be formal. The relationship created by this interest exists whether or not the parties are aware of it. An organization may not always be aware of all of its stakeholders, although it should attempt to identify them. Similarly, many stakeholders may not be aware of the potential of an organization to affect their interests. |
In this context, interest refers to the actual or potential basis of a claim, that is, to demand something that is owed or to demand respect for a right. Such claims need not involve financial demands or legal rights. Sometimes it can simply be the right to be heard. The relevance or significance of an interest is best determined by its relationship to sustainable development. |
Understanding how Individuals or groups are or can be affected by an organization’s decisions and activities will make it possible to identify the interests that establish a relationship with the organization.. Therefore, the organization's determination of the impacts of its decisions and activities will facilitate identification of its most important stakeholders (see Figure 2). |
Organizations may have many stakeholders. Moreover, different stakeholders have various and sometimes competing Interests. For example, community residents’ interests could include the positive impacts of an enterprise, such as employment, as well as the negative impacts of the same organization, such as pollution. |
Some stakeholders are an integral part of an organization. These include any members, employees or owners of the organization. These stakeholders share a common interest in the purpose of the organization and in its success. This does not mean, however, that all their interests regarding the organization will be the same. |
The interest of most stakeholders can be related to the social responsibility of the organization and often are very similar to some of the interests of society. An example is the interest of a property owner whose property loses value because of a new source of pollution. |
Not all stakeholders of an organization belong to organized groups that have the purpose of representing their interests to specific organizations. Many stakeholders may not be organized at all, and for this reason, they may be overlooked or ignored. This problem may be especially important with regard to vulnerable groups and future generations. |
Groups advocating social or environmental causes may be stakeholders of an organization whose decisions and activities have a relevant and significant impact on their causes. |
An organization should examine whether groups claiming to speak on behalf of specific stakeholders or advocating specific causes are representative and credible. In some cases, it will not be possible for important interests to be directly represented. For instance, children rarely own or control organized groups of people; wildlife cannot do so. In this situation, an organization should give attention to the views of credible groups seeking to protect such interests. |
To identify stakeholders, an organization should ask itself the following questions: - To whom does the organization have legal obligations? - Who might be positively or negatively affected by the organization’s decisions or activities? - Who is likely to express concerns about the decisions and activities of the organization? - Who has been involved in the past when similar concerns needed to be addressed? - Who can help the organization address specific impacts? - Who can affect the organization's ability to meet its responsibilities? - Who would be disadvantaged if excluded from the engagement? - Who in the value chain is affected? |
คำอธิบาย 
5.3.2 การระบุ/ ชี้บ่งกลุ่ม Stakeholder
Stakeholders คือ องค์การภายนอกอื่นๆ หรือเป็นรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละรายบุคคล ซึ่งได้รับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาอย่างหนึ่ง หรือปรากฏเป็นจำนวนที่มากกว่าจากผลของการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นเป็นประการสำคัญ สืบเนื่องเหตุผลมาจากรายละเอียดของผลประโยชน์เหล่านี้ (หรือเมื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การมีส่วนได้ส่วนเสีย”) จึงล้วนอาจได้รับผลกระทบขึ้นมาโดยตรงจากการปฏิบัติงานขององค์การ และยังอาจครอบคลุมรวมไปถึงระดับความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาตามลำดับร่วมกับองค์การแห่งนั้นอย่างใกล้ชิดอีกประการหนึ่งร่วมด้วย รายละเอียดของความสัมพันธ์ดังกล่าวเช่นนี้ จึงไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาให้เห็นเป็นผลอย่างเป็นทางการก็ได้อีกเช่นกัน และเท่าที่พบมากยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ยังไม่ใช่เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์การหรือในทุกกลุ่มของ Stakeholders ต่างๆ จะต้องทำการตระหนักหรือมีส่วนร่วมในการยอมรับขึ้นมาอย่างจริงจังถึงการสร้างระดับความสัมพันธ์เช่นนั้นว่า จะปรากฏมีผลเกิดขึ้นอยู่จริงในขณะนั้นๆ ก็ได้อีกเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นองค์การแต่ละแห่ง จึงไม่จำเป็นที่ต้องสร้างความตระหนักและระลึกถึงกลุ่ม Stakeholders ที่ปรากฏตัวอยู่ทั้งหมดขึ้นมาก็ได้ และถึงแม้ว่าในทางปฏิบัติแล้วนั้น จะมีความพยายามอย่างแรงกล้าต่อการระบุ/ ชี้บ่งเพื่อกำหนดออกมาให้เห็นเป็นผลเกิดขึ้นได้อย่างจริงจังก็ตาม นอกจากนี้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนั้น ยังอาจปรากฏว่า มี Stakeholders อยู่เป็นจำนวนมาก ที่แสดงความไม่ตระหนักในเรื่องของความเป็นได้สำหรับองค์การแต่ละแห่ง ที่จะส่งผลกระทบออกมาต่อผลประโยชน์ทั้งหลายก็เกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ
ภายใต้เนื้อหาหรือบริบทเช่นนี้ เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ผลประโยชน์” จึงถูกระบุความหมายออกมาเพิ่มเติมได้ว่า มีลักษณะเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ปรากฏขึ้นมาให้เห็นได้อย่างจริงจัง หรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นลักษณะแนวโน้มของพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ “การเรียกร้องเพื่ออ้างถึงสิทธิ (Claims)” ประเภทต่างๆ ที่สมควรได้รับขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งสภาพส่วนใหญ่แล้วจะถือว่า เกี่ยวข้องกับเป็นการร้องขอ หรือเป็นการออกคำสั่งบังคับ เพื่อเรียกร้องก่อให้เกิดผลของการแสดงความเคารพนับถือต่อสิทธิประการต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้การกล่าวอ้างถึงสิทธิเช่นนั้น ยังจะต้องไม่แสดงความเกี่ยวข้องเข้ากับการอ้างถึงผลในด้านความต้องการทางการเงิน หรือสิทธิทางกฎหมายบางประการอื่นๆ อีกร่วมด้วย และในบางครั้งอีกเช่นกันการเรียกร้องอ้างถึงสิทธิดังกล่าว ก็ยังคงปรากฏเป็นเรื่องธรรมดาสามัญสำหรับสิทธิที่จำเป็นจะต้องได้ยิน หรือได้รับทราบเป็นการเพิ่มเติมขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้นรายละเอียดหรือประเด็นที่เด่นชัดของ SR ในเรื่องระดับนัยสำคัญของการมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นเช่นนี้ จึงสมควรถูกประเมินออกมาด้วยวิธีการที่ดีที่สุด โดยอาศัยการพิจารณามาจากการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันต่อผลของการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการมีสุขอนามัยและความอยู่ดีมีสุขของสังคม เป็นเรื่องที่ควรนึกถึงอยู่มากกว่าในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมด
การทำความเข้าใจในรายละเอียดที่เป็นสภาพของแต่ละรายบุคคล หรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นกลุ่ม ซึ่งอาจได้รับผลกระทบ หรือมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบเช่นนั้นขึ้นมาจากการปฏิบัติงานขององค์การ จะถูกพิจารณายึดถือโดยทั่วไปว่า มีลักษณะเป็นกลุ่มของ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง นอกจากนี้การมีความเข้าใจในรายละเอียดที่ว่า ในแต่ละรายบุคคลหรือกลุ่มเหล่านั้น ล้วนต่างได้รับผลกระทบเกิดขึ้นมาเป็นอย่างไรจากผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแห่งนั้น จึงย่อมเป็นไปได้ที่จะสามารถทำการระบุ/ ชี้บ่งถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ และนำพาไปสู่การสร้างระดับความสัมพันธ์ต่างๆ ขึ้นมาร่วมกับองค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ เพราะฉะนั้นการระบุ/ ชี้บ่งถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ จึงค่อนข้างมีส่วนเกื้อหนุนหรือช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการระบุชี้บ่งถึงระดับความสำคัญที่สุดสำหรับความเป็น Stakeholders ขององค์การแต่ละแห่งออกมาให้เห็นผลได้เป็นอย่างดี (พิจารณารูปที่ 2 ประกอบด้วย)
ในรายละเอียดตามความหมายของคำว่า Stakeholders นั้น มีขอบเขตที่กว้างขวางเป็นอย่างมาก และองค์การแต่ละแห่ง ต่างก็มี Stakeholders ที่เกี่ยวข้องอยู่มากมายหลายประเภทด้วยกัน และที่มีรายละเอียดยิ่งมากไปกว่านั้นก็คือ กลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย ยังล้วนมีความแตกต่างออกไปในลักษณะที่หลากหลาย และในขณะเดียวกันก็อาจทำการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่ได้รับต่อกันอีกด้วย เมื่อพิจารณาถึง Stakeholders ต่างๆ เหล่านี้แล้ว จึงค่อนข้างปรากฏทั้งมีผลประโยชน์ร่วม และผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันเองสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ขอยกตัวอย่าง เช่น เมื่อกล่าวถึงผลประโยชน์ของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชน จะครอบคลุมรวมไปถึงผลกระทบเชิงบวกที่ได้รับขึ้นมาจากการดำเนินงานของวิสาหกิจหรือองค์การแห่งนั้นๆ เช่น ลักษณะในเรื่องสภาพของการจ้างงาน เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นมาจากการดำเนินงานขององค์การ/ วิสาหกิจแห่งนั้นก็ได้อีกเช่นกัน ในลักษณะที่อาจพบสารมลพิษประเภทต่างๆ ถูกปลดปล่อยออกมาสู่ชุมชนได้ตามลำดับ
กลุ่ม Stakeholders ที่เกี่ยวข้องบางกลุ่ม จึงอาจถูกพิจารณาได้ว่า มีลักษณะเป็นส่วนของการบูรณาการที่สำคัญสำหรับองค์การแต่ละแห่งอีกร่วมด้วย รายละเอียดของกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ จึงอาจครอบคลุมรวมไปถึงสมาชิกของกลุ่ม หรือเมื่อพบเห็นออกมาได้ในระดับลูกจ้าง/ พนักงานขององค์การ และเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้น หรือการแสดงความเป็นเจ้าของในส่วนอื่นๆ ขององค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องตระหนัก และยอมรับกันโดยทั่วไปอีกด้วยว่า รายละเอียดของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเหล่านี้ ต่างแสดงบทบาทสำหรับการมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะเมื่อยู่ภายใต้ขอบเขตของการการกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเมื่อปรากฏระดับความสำเร็จขององค์การออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า ทุกส่วนของผลประโยชน์ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมด ที่แสดงความเกี่ยวเนื่องเข้ากับองค์การแห่งนั้น จะปรากฏลักษณะหรือมีรายละเอียดที่พบออกมาเป็นสิ่งเดียวกันได้ทั้งหมด
การระบุ/ ชี้บ่งกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจน ร่วมกับการกำหนดรายละเอียดของประเด็นด้าน SR ที่ต้องปฏิบัติงานร่วมด้วย จัดถือเป็นความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งสำหรับองค์การแห่งนั้น
สำหรับรายละเอียดในเรื่องของผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders นั้น ส่วนใหญ่จะแสดงความสัมพันธ์เข้ากับเรื่อง SR ขององค์การแห่งนั้นที่ต้องปฏิบัติ และบ่อยครั้งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือมีความใกล้เคียงเข้ากับรายละเอียดในเรื่องผลประโยชน์ของสังคม โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่ได้รับในระดับธรรมดาสามัญมากที่สุด ก็อาจจะแสดงผลของความสัมพันธ์เข้ากับรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กว้างขวางมากสำหรับการเป็นผลประโยชน์หรือลักษณะที่เป็นความคาดหวังของสังคมแห่งนั้น สำหรับตัวอย่างที่พบเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ผลประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์สินแห่งหนึ่ง ซึ่งมูลค่าของทรัพย์สินอาจมีจำนวนที่ลดต่ำลงมาได้ ซึ่งมีเหตุผลสืบเนื่องมาจากการปรากฏแหล่งมลพิษเกิดขึ้นให้เห็นเป็นผลที่สำคัญ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของสังคมแห่งนั้น อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงชองมูลค่าทรัพย์สินของเอกชนแต่ละรายบุคคล แต่จะมีผลเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุหลักของการปรากฏสภาพมลพิษเกิดขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมแพร่หลายอยู่ทั่วไปมากกว่า เป็นต้น
ในรายละเอียดต่อมาที่ควรพิจารณานึกถึงก็คือ ไม่เฉพาะในทุกกลุ่มของ Stakeholders สำหรับองค์การแห่งใดก็ตาม ที่จะปรากฏว่า มีวัตถุประสงค์ หรือสามารถแสดงตนเข้ามาเป็นตัวแทนด้านผลประโยชน์สำหรับองค์การแห่งนั้นได้อย่างชัดเจน หรือแสดงความจำเพาะเจาะจงขึ้นมาให้เห็นได้ แต่ยังคงมีกลุ่ม Stakeholders อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนอีกมากมายที่ไม่อาจทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุผลดังกล่าวเช่นนี้ จึงอาจมีการมองข้าม หรืออาจถูกเพิกเฉยละเลยสำหรับบางกลุ่มของ Stakeholders ก็เป็นไปได้อีกเช่นกัน ดังนั้นองค์การจึงควรทำการพิจารณารายละเอียดของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่ไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นมาเหล่านี้อยู่ร่วมด้วยเสมอ ส่วนรายละเอียดการเกิดขึ้นของปัญหาเช่นนี้ ก็อาจปรากฏเป็นเรื่องสำคัญขององค์การได้ โดยเฉพาะเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ต้องได้รับการใส่ใจหรือดูแลเป็นพิเศษ หรือเมื่อปรากฏผลออกมาสำหรับการเป็นกลุ่มชั่วอายุคนในอนาคตข้างหน้าอยู่เป็นส่วนใหญ่
เมื่อกล่าวถึงกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ได้ทำการอุทิศตน หรือเพื่อสนับสนุนในรายละเอียดของการเป็นสาเหตุหลักของการเกิดขึ้นมาสำหรับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมประการต่างๆ เช่นนั้น ก็อาจถูกพิจารณาได้ว่า มีสภาพเป็น Stakeholders ที่แสดงความสัมพันธ์และความเกี่ยวเนื่องอยู่กับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง โดยเฉพาะการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้น ล้วนมีความเกี่ยวข้อง และต่างแสดงผลกระทบออกมาให้เห็นในระดับนัยสำคัญต่อการเกิดขึ้นของสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวถึงไว้แล้วได้โดยตรง
องค์การแต่ละแห่ง จึงควรทำการตรวจสอบพิจารณา หรือชั่งน้ำหนักในลักษณะของความเป็นตัวแทน หรือการสร้างความน่าเชื่อถือขึ้นมาสำหรับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านั้น ในการกล่าวอ้างถึงอย่างเต็มเสียงได้ว่า มีการประพฤติปฏิบัติ และทำหน้าที่ในนามของกลุ่ม Stakeholders ที่จำเพาะเจาะจง หรือช่วยทำการสนับสนุนรายละเอียดสาเหตุของผลกระทบที่เกี่ยวข้องขึ้นมาได้อย่างแท้จริง ในบางกรณียังเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันสำหรับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะปรากฏสภาพออกมาเป็นตัวแทนได้อย่างเหมาะสม หรือปรากฏเป็นทางการเกิดขึ้นอยู่โดยตรง ขอยกตัวอย่าง เช่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพิทักษ์สัตว์ป่า หรือกลุ่มเด็ก/ เยาวชนก็ตาม ที่ต้องการจะแสดงบทบาทสำหรับการแสดงความเป็นเจ้าของ หรือเพื่อทำการควบคุมกลุ่ม Stakeholders ของตนเองขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด ภายใต้ในสถานการณ์เช่นนี้ องค์การจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในรายละเอียดของมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความน่าเชื่อถือ หรือความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับกลุ่ม Stakeholders อื่นๆ ที่มีส่วนในการทำหน้าที่ช่วยปกป้อง/ คุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองได้อย่างถูกต้องมากกว่าในรายละเอียดจากกลุ่มอื่นๆ ของ Stakeholders เหล่านั้นทั้งหมด
ดังนั้นเพื่อต้องการทำการระบุ/ ชี้บ่งถึงกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านั้นออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนเกิดขึ้นมากที่สุด องค์การจึงควรสอบถามตนเองภายใต้รายละเอียดของคำถามต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
- ส่วนใหญ่แล้วเป็นการปฏิบัติเพื่อใคร โดยเฉพาะเมื่อองค์การต้องการแสดงผลของการผูกมัดเข้ากับรายละเอียดของการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีรายละเอียดของความสอดคล้องทางกฎหมายเกิดขึ้นอยู่ร่วมด้วยเสมอ
- ใครบ้างเป็นผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในเชิงบวกหรือลบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นอยู่ตามลำดับ
- ใครบ้างที่จะปรากฏผลออกมาว่า เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ หรือสามารถแสดงความคิดเห็นในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง หรือเมื่อปรากฏเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตัดสินใจ และการจัดกิจกรรมขึ้นมาสำหรับองค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ
- ใครบ้างที่ปรากฏว่า เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอดีต โดยเฉพาะเมื่อต้องการกำหนด หรือระบุประเด็น SR ต่างๆ เหล่านั้นออกมาให้เห็นผลได้ในลักษณะที่ชัดเจนเกิดขึ้นมากที่สุด
- ใครบ้างที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือองค์การต่อการกำหนด หรือสามารถระบุผลกระทบเหล่านั้นออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน หรือมีความจำเพาะเจาะจงเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์
- ใครบ้างที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง หรืออาจแสดงผลกระทบขึ้นมาโดยตรงต่อการเสริมสร้างหรือยกระดับความสามารถขององค์การ ทั้งนี้เพื่อต้องการกระทำให้บรรลุถึงในเรื่องของการแสดงความรับผิดชอบดังกล่าวเหล่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ
- ใครบ้างที่จะได้รับข้อเสียเปรียบเกิดขึ้นมาให้เห็นผล โดยเฉพาะถ้าถูกเพิกเฉยละเลย หรือไม่ได้รับความใส่ใจจากผลของการแสดงการผูกมัดเช่นนั้นขององค์การขึ้นมาตามลำดับ
- ใครบ้างที่อาจได้รับผลกระทบขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อมีรายละเอียดของความสอดคล้องเป็นไปตรงตามลักษณะคุณค่าของสายโซ่อีกประการหนึ่งอยู่ร่วมด้วย
5.3.3 Stakeholder engagement |
Stakeholder engagement involves dialogue between the organization and one or more of its stakeholders. It assists the organization in addressing its social responsibility by providing an informed basis for its decisions. |
Stakeholder engagement can take many forms. It can be initiated by an organization or it can begin as a response by an organization to one or more stakeholders. It can take place in either informal or formal meetings and can follow a wide variety of formats such as individual meetings, conferences, workshops, public hearings, roundtable discussions, advisory committees, regular and structured information and consultation procedures, collective bargaining and web based forums. Stakeholder engagement should be interactive and is intended to provide opportunities for stakeholders' views to be heard. Its essential feature is that it involves two way communications |
There are various reasons for an organization to engage with its stakeholders. Stakeholder engagement can be used to: - increase an organization's understanding of the likely consequences of its decisions and activities on specific stakeholders; - determine how best to increase the beneficial impacts of the organization’s decisions and activities and how to lessen any adverse impacts; - determine whether the organization's claims about its social responsibility are perceived to be credible; - help an organization review its performance so it can improve. - reconcile conflicts involving its own interests, those of its stakeholders and the expectations of society as a whole; - address the link between the stakeholders’ interests and the responsibilities of the organization to society at large; - contribute to continuous learning by the organization; - fulfill legal obligations (for instance to employees) - address conflicting interests, either between the organization and the stakeholder or between stakeholders; - provide the organization with the benefits of obtaining diverse perspectives; - increase transparency of its decisions and activities; and - form partnerships to achieve mutually beneficial objectives. |
In most situations an organization will already know, or can easily learn, society’s expectations of the way the organization should address its impacts. In such circumstances, it need not rely on engagement with specific stakeholders to understand these expectations, although the stakeholder engagement process can provide other benefits. Society’s expectations are also found in laws and regulations, widely accepted social or cultural expectations, and established standards or best practices regarding specific matters. Expectations concerning stakeholders’ interests can be found in the “Related actions and/or expectations” sections following the description of various issues in Clause 6. Expectations established through stakeholder engagement should supplement rather than replace already established expectations concerning an organization's behavior. |
A fair and proper process based on engaging the most relevant stakeholders should be developed. The interest (or interests) of the organizations or individuals identified as stakeholders should be genuine. The identification process should seek to ascertain whether they have been or are likely to be impacted by any decision and activity. Where possible and practical, engagement should be with the most representative organization reflecting these interests. Effective stakeholder engagement is based on good faith and goes beyond mere public relations. |
When engaging stakeholders, an organization should not give preference to an organized group because it is more “friendly” or supports the organization's objectives more than another group. An organization should not neglect engaging stakeholders merely because they are silent. An organization should not create or support particular groups to give the appearance that it has a dialogue partner when the supposed partner is not in fact independent. Genuine stakeholder dialogue involves independent parties and transparent disclosure of any financial or similar support. |
An organization should be conscious of the effect of its decisions and activities on the interests and needs of its stakeholders. It should have due regard for its stakeholders as well as their varying capacities and needs to contact and engage with the organization. |
Stakeholder engagement is more likely to be meaningful when the following elements are present: - a clear purpose for the engagement is understood; - the stakeholder’s interests have been identified; - the relationship that these interests establish between the organization and the stakeholder is direct or important; -the interests of stakeholders are relevant and significant to sustainable development; - and the stakeholders have the necessary information and understanding to make their decisions. |
คำอธิบาย 
5.3.3 การผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholder
การผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders นั้น ครอบคลุมไปถึงวิธีการพูดคุย/ การพบปะสนทนา หรือผ่านช่องทางของการติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างองค์การ และหนึ่งหรือเป็นจำนวนที่มากกว่าหนึ่งกลุ่มของ Stakeholders ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กันอยู่โดยตรง ดังนั้นวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งเน้นของการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ จึงเป็นเรื่องของความช่วยเหลือ เพื่อทำให้องค์การแต่ละแห่ง สามารถทำการระบุ/ ชี้บ่ง หรือเป็นการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติที่ดีขึ้นมาสำหรับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การแห่งนั้นเป็นผลออกมาได้โดยตรง และยังเป็นการให้รายละเอียดข้อมูล/ สารสนเทศที่สำคัญสำหรับการช่วยการตัดสินใจขององค์การแห่งนั้นได้อีกประการหนึ่งร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามยังถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์การที่จะต้องทราบอย่างชัดเจนเป็นเบื้องต้นล่วงหน้าก่อนว่า ใครบ้างที่ปรากฏสภาพออกมาเป็นกลุ่ม Stakeholders ที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง และในทางปฏิบัติแล้วก็ไม่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์การที่จะต้องแสดงผลความผูกมัดของตนเองเข้ากับรายละเอียดการปฏิบัติ ที่สามารถตอบสนองเป็นไปตรงต่อความต้องการทุกกลุ่ม Stakeholders ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นได้ทั้งหมด
ตัวอย่างบริษัทได้จัดให้มีการพบปะสนทนาอย่างเป็นทางการ ร่วมกับตัวแทนที่มาจากกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ประจำท้องถิ่นแห่งนั้น เพื่อทำการสื่อสารการปฏิบัติงานด้าน SR และโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการร่วมกับท้องถิ่นอยู่โดยตรง
การผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ยังสามารถดำเนินการขึ้นมาได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งอาจถูกริเริ่มโดยสภาพขององค์การเอง หรืออาจเริ่มต้นมาจากการเป็นผลตอบสนองขององค์การต่อการปฏิบัติกับกลุ่มหนึ่ง หรือเป็นจำนวนที่มากกว่าหลายกลุ่มของ Stakeholders ก็ได้อีกเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นมาในลักษณะที่เป็นรูปแบบของการประชุมอย่างไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการ และสามารถนำไปสู่การดำเนินงานในลักษณะรูปแบบอื่นๆ ที่หลากหลายติดตามเพิ่มเติมขึ้นมาอีกก็ได้ เช่น การอาศัยการประชุมเป็นรายบุคคล การประชุมร่วมกันทางวิชาการ การประชุมแบบปฏิบัติการ การทำประชาพิจารณ์ การอภิปรายแบบโต๊ะกลม การจัดตั้งคณะกรรมการให้คำปรึกษาในเชิงนโยบาย การกำหนดให้มีรายละเอียดของข้อมูล/ สารสนเทศในลักษณะที่เป็นปรกติหรือเมื่อปรากฏออกมาเป็นเชิงโครงสร้างหรือการให้คำปรึกษาเกิดขึ้นอยู่โดยตรง การเข้ามามีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นจากการประชุมหลายภาค/ ส่วน การปรากฏสภาพเป็นสมาชิก และการเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะกลุ่มของชุมชน และสมาคมวิชาชีพอื่นๆ และอาจครอบคลุมไปถึงการประชุมแบบโต้ตอบกันได้ทางสื่อเครือข่ายอิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ดังนั้นการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เช่นนั้น จึงควรเป็นเรื่องของการปฏิบัติงานในลักษณะเชิงรุก และมีความมุ่งหวังตั้งใจบางประการ เพื่อก่อให้เกิดโอกาสสำหรับการได้รับฟังถึงรายละเอียดข้อมูล หรือมุมมองที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholders ทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถแสดงถึงรายละเอียดสาระสำคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องเข้ากับวิธีการสื่อสารในลักษณะสองทางอีกประการหนึ่งอยู่ร่วมด้วย
แต่อย่างไรก็ตามยังมีเหตุผลสำคัญอื่นๆ อีกหลายประการสำหรับองค์การ ที่จะต้องแสดงความผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายเหล่านั้น โดยเฉพาะผลการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ยังสามารถถูกนำไปใช่ประโยชน์เพื่อ
- เพิ่มระดับความเข้าใจขององค์การในการรับรู้ถึงรายละเอียดประการต่างๆ สำหรับผลที่สืบเนื่องเกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ขององค์การได้อย่างเด่นชัด และ/หรือเมื่อปรากฏสภาพออกมาเป็นผลกระทบในลักษณะต่างๆ ต่อกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายที่มีความจำเพาะเจาะจงเหล่านั้นเป็นประการสำคัญ
- การกำหนดถึงรายละเอียดของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดขึ้นมาได้อย่างไร ต่อการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์ที่ดีต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการช่วยลดผลกระทบทั้งหลายที่อาจปรากฏสภาพเป็นอันตรายให้เกิดขึ้นได้เป็นจำนวนที่ลดน้อยลงมาตามลำดับ
- การกำหนดรายละเอียด หรือเป็นการพิจารณาในลักษณะการอ้างถึงที่ว่า การแสดงความรับผิดชอบด้านสังคมขององค์การแห่งนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่สามารถรับรู้ มีความตระหนัก หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีขึ้นมาได้หรือไม่ร่วมด้วย เป็นต้น
- สามารถช่วยเหลือองค์การที่จะได้ทำการทบทวนผลการปฏิบัติงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังผลต่อการปรับปรุงงานได้อย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไปตามลำดับ
- ทำการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งต่างๆ ซึ่งครอบคลุมรายละเอียดไปถึงผลประโยชน์ที่ได้รับขึ้นมาในระดับองค์การของตนเอง หรือกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายที่แสดงความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงลักษณะความคาดหวังในระดับสังคมที่ปรากฏออกมาเป็นภาพรวมอยู่ทั้งหมดอีกด้วย
- ทำการระบุ/ ชี้บ่งหรือสามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกันระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders และการแสดงความรับผิดชอบขององค์การต่อสังคมในขอบเขตที่กว้างขวางได้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ
- มีส่วนช่วยเหลือ แบ่งปันหรือทำการสนับสนุนต่อการเรียนรู้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องขององค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ
- การเพิ่มเติมผลประโยชน์ให้เกิดเต็มเปี่ยมขึ้นมาสำหรับรายละเอียดของการปฏิบัติ เพื่อให้มีความสอดคล้องเข้ากับข้อกำหนดทางกฎหมาย (และเท่าที่เห็นผลเป็นตัวอย่างที่ดีก็คือ การเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ถือหุ้น หรือลูกจ้าง/ พนักงานขององค์การแห่งนั้นได้โดยตรง)
- การครอบคลุมรวมไปถึงการกำหนดวิธีการปฏิบัติต่างๆ ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อต้องการควบคุมรายละเอียดของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ลดต่ำลงมา ไม่ว่าความขัดแย้งเช่นนั้น จะเกิดขึ้นระหว่างองค์การแห่งนั้นและกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ หรือเป็นการภายในระหว่างกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลายด้วยกันเอง เป็นต้น
- สามารถใช้เป็นแนวทางหลักที่ช่วยทำให้องค์การได้รับผลประโยชน์ที่ดีขึ้นมาในมุมมองที่เกี่ยวข้อง และยังแสดงผลที่ได้รับออกมาในลักษณะที่เป็นความหลากหลายเกิดขึ้นให้เห็นได้อย่างเด่นชัดอีกด้วย
- ช่วยเพิ่มเติมให้เกิดผลที่ดีมากขึ้น ทั้งในเรื่องความโปร่งใส และการสร้างความน่าเชื่อถือ/ ความน่าไว้ใจให้เกิดขึ้นมาจากผลของการตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดที่องค์การได้กระทำลงไปเป็นส่วนใหญ่ และ
- การถูกกำหนดไว้เป็นเรื่องของปัจจัยพื้นฐานที่ควรพิจารณา และควรคำนึงถึงสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาร่วมกัน หรือเมื่อมีสภาพปรากฏออกมาเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้บรรลุถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และผลประโยชน์ร่วมกันได้เป็นอย่างดีอีกประการหนึ่งด้วย
ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปนั้น องค์การสามารถรับรู้แล้วเป็นการล่วงหน้า หรือเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นมาได้ประการหนึ่งว่า ระดับความคาดหวังอะไรของสังคมที่ต้องควรถูกกำหนด หรือมีการระบุออกมาเป็นผลกระทบได้อย่างเด่นชัด และภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น องค์การก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยึดถือหรือการแสดงผลของผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ที่จำเพาะเหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดของความคาดหวังเหล่านั้นทุกประการให้เป็นผลออกมาได้อย่างเด่นชัดสมบูรณ์แบบ และถึงแม้ว่า รายละเอียดของกระบวนการที่แสดงถึงผลความผูกมัดเช้ากับ Stakeholders ต่างๆ เหล่านั้น ค่อนข้างจะช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีในลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกร่วมด้วยก็ตาม ลักษณะของความคาดหวังทางสังคมดังกล่าว จึงยังอาจถูกค้นพบออกมาเป็นรายละเอียดที่ควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมื่อปรากฏอยู่ภายใต้ขอบเขตของการปฏิบัติงาน ที่ต้องการให้มีความสอดคล้องเข้ากับเนื้อหาของรายละเอียดทางกฎหมาย/ ข้อกำหนดต่างๆ หรือเมื่อถูกยอมรับอย่างกว้างขวางขึ้นมาว่า เป็นผลของความคาดหวังทางสังคมหรือวัฒนธรรมได้อีกด้วย และ/ หรือเมื่อสามารถถูกกำหนดออกมาเป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีหรือการแสดงผลของความเป็นมาตรฐาน ซึ่งมีความเหมาะสมและแสดงความสอดคล้องตรงกับประเด็นที่จำเพาะต่างๆ ในแต่ละแห่งขององค์การเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ผลของความคาดหวังที่มีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย ยังถือว่า เป็นรายละเอียดที่สำคัญ โดยจะมีการกล่าวถึงและระบุอย่างชัดเจนอยู่ไว้ภายใต้หัวข้อย่อยภายในส่วนที่เรียกว่า “วิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ/ หรือความคาดหวังที่ต้องการ” ซึ่งได้มีการอธิบายถึงรายละเอียดประเด็นต่างๆ ที่สำคัญเพิ่มเติมขึ้นมาประกอบด้วยแล้ว โดยปรากฏอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 6 ของมาตรฐานฉบับนี้เป็นสำคัญ ในทางปฏิบัติอีกเช่นกันระดับความคาดหวังที่ถูกกำหนด หรือผ่านการจัดตั้งขึ้นมา โดยอาศัยวิธีการในเรื่องของการแสดงผลการผูกมัดตนเองขององค์การเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านั้น จึงควรเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่กระทำเสริมเพิ่มเติมขึ้นมารองรับอยู่มากกว่าการเป็นแนวทางในลักษณะที่องค์การจะใช้ประโยชน์ในแนวความคิดดังกล่าว เพื่อนำมาใช้เป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงผลของความคาดหวังต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องออกมาอย่างชัดเจนขององค์การแห่งนั้นได้โดยตรง
เพราะฉะนั้นการกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เป็นธรรม และกระบวนการทำงานที่เด่นชัด โดยอาศัยยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการแสดงการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ที่มีลักษณะความเหมาะสมเกิดขึ้นมามากที่สุดเช่นนั้น จึงสมควรเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง โดยทั่วไปการกำหนดขอบเขตความเป็นไปได้ในลักษณะที่ชัดเจนสำหรับผลประโยชน์ขององค์การแต่ละแห่ง หรือในแต่ละรายบุคคล เพื่อการระบุ/ ชี้บ่งแสดงถึงความเป็นกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ จึงสมควรเป็นเรื่องของการแสดงถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงซึ่งสมควรได้รับ ซึ่งกระบวนการในการระบุ/ ชี้บ่งดังกล่าวเช่นนั้น จะต้องเป็นแนวทางที่ช่วยส่งเสริมก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาได้ว่า เป็นรายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องหรือมีโอกาสในการปรากฏออกมาเป็นผลกระทบส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากผลการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง และในขณะเดียวกันในทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ ลักษณะของการแสดงผลความผูกมัดดังกล่าว ก็จำเป็นต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเหมาะสม จึงจะถือได้ว่า มีส่วนส่งเสริมทำให้เกิดตัวแทนของกลุ่ม Stakeholders ที่สามารถเข้าไปช่วยคุ้มครอง และปกป้องผลประโยชน์อย่างได้ผลที่ดีขึ้นมาตามลำดับ ดังนั้นการแสดงผลความผูกมัดตนเองอย่างมีประสิทธิภาพเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ที่เป็นตัวแทนที่แท้จริงเช่นนั้น จึงยึดถืออยู่บนพื้นฐานของความเลื่อมใส หรือการมีความศรัทธาที่ดีร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญ และอยู่นอกเหนือออกไปมากกว่าจากรายละเอียด เพื่อมุ่งหวังผลด้านการประชาสัมพันธ์องค์การแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น
เมื่อมีวิธีการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders เหล่านั้นแล้ว องค์การจึงไม่ควรให้ความนิยมและความเชื่อถือเกิดขึ้นในระดับที่สูงมากกว่าสำหรับกลุ่ม Stakeholders ที่มีความชื่นชอบจำเพาะเจาะจงบางอย่างเป็นการพิเศษ ด้วยเหตุผลของความเป็น “เพื่อนกัน” หรือสามารถมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักขององค์การแห่งนั้น ให้เกิดขึ้นได้ดีมากกว่ากลุ่ม Stakeholders อื่นๆ ทั้งหลายเมื่อเปรียบเทียบอยู่ร่วมกันทั้งหมด ในทางปฏิบัติองค์การจึงไม่ควรเพิกเฉยละเลยต่อกลุ่ม Stakeholders ที่ต้องการแสดงผลของการผู้มัดตนเอง เพียงเพื่อมุ่งหวังประโยชน์ในการช่วยเอื้ออำนวย หรือก่อให้เกิดขึ้นมาสำหรับเรื่องความเงียบสงบเป็นประการสำคัญ นอกจากนี้องค์การแห่งนั้น ยังไม่ควรกระทำต่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งขึ้นมา หรือช่วยเหลือสนับสนุนต่อกลุ่มที่มีความจำเพาะเจาะจงสำหรับ Stakeholders เหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ปรากฏมีภาพที่ดีเกิดขึ้นมาว่า ได้มีการเจรจา พูดคุย พบปะหารือกันในแนวทางที่เป็น “หุ้นส่วน” ซึ่งกันและกันตามลำดับ แต่ทั้งนี้แล้วตามสภาพของความคาดหวังที่เป็นหุ้นส่วนเช่นนั้น ไม่เคยเกิดผลให้เห็นขึ้นมาได้อย่างเป็นจริงแต่ประการใดเลยทั้งสิ้น การเจรจาพบปะพูดคุยกับกลุ่ม Stakeholders ที่แท้จริงทั้งหลายเหล่านี้ จึงควรมีสาระที่ครอบคลุมในทุกส่วนที่แสดงความเป็นอิสระอยู่เป็นส่วนใหญ่ และจะต้องยึดถืออยู่บนพื้นฐานของการเปิดเผยในลักษณะที่มีความโปร่งใสชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในเรื่องของการสนับสนุนทางด้านการเงิน หรือเรื่องอื่นๆ ที่แสดงลักษณะอยู่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น
องค์การจึงควรมีสติ และคำนึงถึงเป็นส่วนใหญ่ในเรื่องของผลกระทบต่างๆ ที่อาจสืบเนื่องมาจากการตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อผลประโยชน์ที่แท้จริง หรือระดับความต้องการของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง โดยเฉพาะรายละเอียดในเรื่องที่สมควรต้องมีการประเมินผลกระทบที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเหล่านั้น ออกมาให้เห็นเป็นผลได้อย่างชัดเจนมากที่สุด และอาจครอบคลุมรวมไปถึงระดับในเชิงปริมาณต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ/ หรือระดับความต้องการในเรื่องของการติดต่อสัมผัส หรือการแสดงผลผูกมัดขององค์การแห่งนั้นอยู่อีกร่วมด้วยเสมอ
ลักษณะการแสดงผลของการผูกมัดตนเองเข้ากับกลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย จึงค่อนข้างจะแสดงความหมายที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นก็ต่อเมื่อมีการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่ร่วมด้วยก็คือ
- มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการแสดงผลของความผูกมัดเช่นนั้นไว้อย่างชัดเจน และมีความเข้าใจเกิดขึ้นในรายละเอียดของการปฏิบัติ
- โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่ได้รับของ Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ล้วนต้องได้รับการระบุหรือชี้บ่งออกมาให้เห็นเป็นผลได้อย่างชัดเจน และ
- ครอบคลุมรวมไปถึงระดับความสัมพันธ์ที่แสดงความเกี่ยวข้องกับการได้รับผลประโยชน์เหล่านี้ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาร่วมกันระหว่างองค์การ และกลุ่ม Stakeholders เหล่านั้น ยังต้องเป็นผลโดยตรงหรือมีระดับความสำคัญเกิดขึ้นได้ตามลำดับ
- ผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม Stakeholders เหล่านี้ทั้งหมด ยังจำเป็นต้องแสดงความสัมพันธ์กันอย่างเกี่ยวเนื่อง และมีระดับนัยสำคัญต่อการเกิดขึ้นของผลประโยชน์ที่ดีในเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมไปถึงสุขอนามัย และความอยู่ดีมีสุขของสังคมอีกประการหนึ่งด้วย และ
- กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านั้นล้วนจำเป็นต้องได้รับแหล่งข้อมูลหรือสารสนเทศที่สำคัญ และมีความเข้าใจเพื่อประกอบการตัดสินใจของตนเองได้เป็นอย่างดี
กระบวนการที่แสดงถึงผลการผูกมัดเข้ากับกลุ่ม Stakeholders สำหรับองค์การที่ปฏิบัติงานด้าน SR จะประกอบไปด้วย “การจัดการความสัมพันธ์ (Stakeholder relations management)” และ “การยินยอมให้เข้ามามีส่วนร่วม (Stakeholders participation)” ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นสำคัญ
XXXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น