บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 20: หัวข้อกำหนด 6 - ข้อแนะนำสำหรับเนื้อหาหลักของ SR
6. Guidance on social responsibility core subjects |
6.1 General |
To define the scope of its social responsibility, identify relevant issues and to set its priorities, an organization address the following core subjects, (see also Figure 3): - organizational governance; - human rights; - labor practices; - the environment; - fair operating practices; - consumer issues; and - community involvement and development. |
Economic aspects, as well as aspects relating to health and safety and the value chain, are dealt with throughout the seven core subjects, where appropriate. The different ways in which men and women can be affected by each of the seven core subjects are also considered. |
Each core subjects includes a range of issues of social responsibility. These are described in this clause together with related actions and expectations. As social responsibility is dynamic, reflecting the evolution of social and environmental and economic concerns, further issues may appear in the future. |
Action upon these core subjects and issues should be based on the principles and practices of social responsibility (see Clauses 4 and 5). For each core subject, an organization should identify and address all those issues that have a relevant or significant influence on its decision and activities (see Clause 5). When assessing the relevance of an issue, short- and long-term objectives should be taken into account. There is, however, no pre-determined order in which an organization should address the core subjects and issues; this will vary with the organization and its particular situation or context. |
Although all the core subjects are interrelated and complementary, the nature of organizational governance is somewhat different from the other core subjects (see 6.2.1.2). Effective organizational governance enables an organization to take action on the other core subjects and issues and to implement the principles outlined in Clause 4. |
An organization should look at the core subjects holistically, that is, it should consider all core subjects and issues, and their interdependence, rather than concentrating on a single issue. Organizations should be aware that efforts to address one issue may involve a trade-off with other issues. Particular improvements targeted at a specific issue should not affect other issues adversely or create adverse impacts, on the life cycle of its products or services, on its stakeholders or on the value chain. |
Further guidance on integration of social responsibility is provided in clause 7. |
By addressing these core subjects and issues, and by integrating social responsibility within its decisions and activities, an organization can achieve some important benefits (see Box 5). |
Box 5 Benefits of social responsibility for an organization Social responsibility can provide numerous potential benefits for an organization. These include: - encouraging more informed decision making based on an improved understanding of the expectations of society, the opportunities associated with social responsibility (including better management of legal risks) and the risks of not being socially responsible; - improving the organization’s risk management practices; - enhancing the reputation of the organization and fostering greater public trust; - supporting an organization's social licence to operate; - generating innovation; - improving the competitiveness of the organization, including access to finance and "preferred partner" status; - improving the organization’s relationship with its stakeholders, thus exposing the organization to new perspectives and contact with a diverse range of stakeholders; - enhancing employee loyalty, involvement, participation and morale; - improving the safety and health of both female and male workers; - impacting positively on an organization’s ability to recruit, motivate and retain its employees; - achieving savings associated with increased productivity and resource efficiency, lower energy and water consumption, decreased waste, the recovery of valuable by-products; - improving the reliability and fairness of transactions through responsible political involvement, fair competition, and the absence of corruption; and - preventing or reducing potential conflicts with consumers about products or services; |
คำอธิบาย 
6. ข้อแนะนำสำหรับเนื้อหาหลักของ SR6.1 บททั่วไป
เพื่อกำหนดขอบเขตของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การระบุชี้บ่งถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง และเป็นการกำหนดลำดับความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติงานขึ้นมาอย่างชัดเจนร่วมด้วยนั้น องค์การจึงควรพิจารณาถึงรายละเอียดของเนื้อหาหลักที่สำคัญ ซึ่งได้แสดงไว้ให้เห็นด้วยแล้วในรูปที่ 3 ดังนี้
- ธรรมาภิบาลองค์การ
- สิทธิมนุษยชน
- การปฏิบัติด้านแรงงาน
- สิ่งแวดล้อม
- การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
- ประเด็นด้านผู้บริโภค และ
- การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนา
เนื้อหาหลัก และประเด็น SR ด้านต่างๆ ที่สำคัญนั้น องค์การควรทำการพิจารณา มีการบูรณาการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน และสามารถสร้างคุณค่าออกมาได้ตลอดหว่งโซ่อุปทานเป็นสำคัญ
รายละเอียดที่เป็นแนวความคิดด้านเศรษฐกิจ และเช่นเดียวกับรายละเอียดในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และคุณค่าของสายโซ่ จะถูกนำมาพิจารณา และมีการระบุไว้อย่างทั่วถึงแล้วอย่างเหมาะสม หรือแสดงความเกี่ยวข้องอยู่ตลอดในเนื้อหาหลักทั้ง 7 ประการเหล่านี้เป็นสำคัญ นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติงานในลักษณะที่มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละรายบุคคล/ ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งที่มีสภาพเป็นผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งแสดงความเกี่ยวข้องในแต่ละเนื้อหาหลักทั้ง 7 ประการของ SR ดังกล่าวเช่นนั้น ยังจำเป็นต้องมีการพิจารณาผลประกอบอยู่ร่วมด้วยเสมอ ในแต่ละเนื้อหาหลักของแต่ละหัวข้อดังกล่าว ยังครอบคลุมรายละเอียดออกไปอย่างกว้างขวางในแต่ละประเด็นที่แสดงความเกี่ยวข้องกับ SR ซึ่งได้ถูกอธิบายไว้อย่างชัดเจนร่วมด้วยแล้วอยู่ภายในแต่ละหัวข้อที่กำหนดไว้ โดยแสดงถึงวิธีการปฏิบัติต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องและเช่นเดียวกับความคาดหวังอีกส่วนหนึ่งร่วมด้วย สำหรับรายละเอียดของประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่นอกเหนือออกไปจากหัวข้อดังกล่าว อาจปรากฏให้เห็นอยู่ได้ในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้เรื่อง SR เช่นนั้น จะมีสภาพเป็นพลวัตรที่ไม่คงตัวหรืออยู่นิ่ง และอาจสะท้อนลงไปให้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลง การวิวัฒนาการของปัจจัยหรือเงื่อนไขต่างๆ ทางสังคม สิ่งแวดล้อม หรือสภาพทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาเพิ่มเติมประกอบขึ้นมาก็เป็นไปได้อีกเช่นเดียวกัน
วิธีปฏิบัติและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดของเนื้อหาหลัก และประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้ จะต้องยึดถืออยู่บนพื้นฐานของหลักการ และแนวทางการปฏิบัติของ SR อยู่ร่วมด้วยเสมอ (พิจารณารายละเอียดได้ในหัวข้อกำหนดที่ 4 และ 5 ประกอบด้วย) นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อของเนื้อหาหลักเหล่านั้น องค์การควรมีการระบุ/ ชี้บ่ง และกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาหลักและประเด็นต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งแสดงระดับนัยสำคัญ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง หรือสามารถแสดงอิทธิพลออกมาให้เห็นได้ต่อผลของการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่ถูกดำเนินการขึ้นมาโดยองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง (พิจารณารายละเอียดภายในหัวข้อกำหนดที่ 5 ประกอบด้วย) ส่วนในสภาพที่มีการประเมินถึงความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องประเด็นต่างๆ เหล่านั้น ยังจำเป็นต้องมีการนำรายละเอียดของวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเข้ามาพิจารณาอีกร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามอาจจะต้องไม่มีการตัดสินใจเป็นการล่วงหน้า เพื่อถูกกำหนดออกมาอย่างเด่นชัดว่า ในส่วนของเรื่องเนื้อหาหลักหรือประเด็นสำคัญอะไร ที่องค์การสมควรได้กำหนดขึ้นมาก่อนเป็นลำดับแรกของการปฏิบัติ ซึ่งรายละเอียดเช่นนี้อาจแสดงความแปรผันแตกต่างกันออกไปได้ในแต่ละสภาพขององค์การ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจำเพาะเจาะจง หรือมีความเกี่ยวข้องกับบริบทของการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้มีผลของสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดขึ้นมาในแต่ละครั้งขององค์การก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่ารายละเอียดส่วนใหญ่ของเนื้อหาหลักเหล่านี้ จะมีปฏิสัมพันธ์ หรือแสดงผลอยู่ร่วมกันก็ตาม แต่ทั้งนี้ยังจำเป็นต้องระลึกถึงอยู่เสมอว่า บทบาท ขอบเขตและธรรมชาติในเรื่องธรรมาภิบาลขององค์การแต่ละแห่งนั้น ย่อมแสดงผลของความแตกต่างกันออกไปเป็นอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหาหลัก SR ประการต่างๆ ที่ได้ระบุรายละเอียดเหล่านี้ไว้แล้วทั้งหมด (พิจารณารายละเอียดภายในหัวข้อกำหนดที่ 6.2.1.2 ประกอบด้วย) เพราะฉะนั้นการปฏิบัติงานภายใต้ระบบธรรมาภิบาลขององค์การที่ดำเนินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีเช่นนั้น จึงสามารถส่งเสริมหรือช่วยเอื้ออำนวย ให้สามารถดำเนินการปฏิบัติงานตามรายละเอียดของเนื้อหาหลักและประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของ SR เหล่านี้ได้โดยตรง รวมถึงสามารถดำเนินการจัดตั้ง SR ขึ้นมาตรงตามรายละเอียดของหลักการที่ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วภายในหัวข้อกำหนดหลักที่ 4 ได้เป็นประการสำคัญ
องค์การแต่ละแห่งจึงควรพิจารณานึกถึงระดับความเกี่ยวข้องของเนื้อหาหลักต่างๆ ออกมาให้เห็นในภาพรวมทั้งหมดก่อนเป็นเบื้องต้น นั่นก็คือ ทุกเนื้อหาหลักและประเด็นสำคัญต่างๆ ของ SR รวมไปถึงระดับความสัมพันธ์ของเรื่องเหล่านั้น จะต้องปรากฏเป็นรายละเอียดที่มีความชัดเจนอยู่มากกว่าการจะมุ่งเน้นลงไปที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น องค์การจึงควรมีความตระหนักถึงในเรื่องของการใช้ความพยายามทั้งหลายต่อการกำหนดรายละเอียดของประเด็นใดประเด็นหนึ่งขึ้นมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจครอบคลุมรวมไปถึงการแสดงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องเข้ากับรายละเอียดของประเด็นอื่นๆ อยู่ร่วมด้วยเป็นต้น นอกจากนี้ยังควรปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นเรื่องของการปรังปรุงอย่างเหมาะสม สำหรับเป้าหมายบางประการที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามลักษณะของประเด็นที่สนใจหรือมีความจำเพาะเจาะจงเหล่านั้น โดยจะต้องไม่แสดงผลผลกระทบต่อประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ ต่อการสร้างคุณค่าของสายโซ่สำหรับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และงานบริการที่องค์การจะต้องดำเนินการขึ้นมาตามลำดับ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ที่แสดงความสัมพันธ์กันอยู่โดยตรงเป็นส่วนใหญ่
สำหรับข้อแนะนำในเรื่องของการจัดตั้งและบูรณาการ SR ขึ้นมาภายในองค์การแต่ละแห่งนั้น ได้ถูกระบุหรือกำหนดรายละเอียดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วภายในหัวข้อกำหนดที่ 7 ของมาตรฐานฉบับนี้เป็นสำคัญ
รูปที่ 3 รายละเอียดของ 7 เนื้อหาหลักที่ควรพิจารณาสำหรับ SR (รายละเอียดมีความเป็นไปเช่นเดียวกับที่ระบุไว้อยู่ภายใน Figure 3 ของภาคภาษาอังกฤษ)
ด้วยการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาหลักและประเด็นที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงมีการบูรณาการด้าน SR เข้าไปร่วมด้วยกับการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ขึ้นมาอย่างชัดเจนนั้น องค์การแต่ละแห่งจึงย่อมสามารถบรรลุถึงผลประโยชน์ที่สำคัญประการต่างๆ ได้และครอบคลุมรายละเอียดที่ควรสนใจ ดังเนื้อหาที่ถูกระบุไว้อยู่ภายในกล่องที่ 5 ข้างล่างนี้
กล่อง 5 ผลประโยชน์ของ SR ที่ได้รับสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การ การปฏิบัติงานด้าน SR ย่อมก่อให้เกิดผลประโยชน์และโอกาสที่ดีขึ้นมาอย่างมากมายสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้: - การช่วยกระตุ้นสำหรับการรายงานผลการตัดสินใจขององค์การ โดยอาศัยยึดถืออยู่บนรายละเอียดพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจที่ดีให้เกิดได้เพิ่มมากขึ้นสำหรับการตอบสนองตรงต่อความคาดหวังของสังคม การเสริมสร้างโอกาสที่มีส่วนสัมพันธ์เข้ากับรายละเอียด SR อยู่โดยตรง (และครอบคลุมลงไปถึงเรื่องของการจัดการความเสี่ยงทางกฎหมายให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น) และการช่วยลดความเสี่ยงต่อการไม่ประพฤติหรือปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมลงมาได้ตามลำดับ; - การปรับปรุงวิธีการปฏิบัติทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงขององค์การแห่งนั้น; - การช่วยส่งเสริมการสร้างชื่อเสียงที่ดีขึ้นมาสำหรับองค์การแห่งนั้น และสนับสนุนต่อการสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนให้เพิ่มขึ้นมาได้เป็นอย่างมาก; - การช่วยสนับสนุนในเรื่องของการปฏิบัติงาน หรือใบอนุญาตทางสังคมให้สามารถดำเนินการขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมได้เป็นอย่างดี; - การช่วยกระตุ้นก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเป็นผลได้อย่างชัดเจน - การช่วยปรับปรุงสภาพการแข่งขันขององค์การให้มีความทัดเทียมเข้ากับคู่แข่งขันจากภายนอก ซึ่งมีรายละเอียดที่ครอบคลุมไปถึงการเพิ่มระดับความสามารถในการเข้าถึงสภาพทางการเงิน และการสร้างสถานภาพของ “การเป็นหุ้นส่วนที่ดี” ให้เกิดเป็นผลขึ้นมาร่วมกันได้อีกด้วย - การช่วยปรับปรุง หรือยกระดับความสัมพันธ์ขององค์การและกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะองค์การอาจอาศัยผ่านช่องทางของการเปิดเผย หรือการสร้างมุมมองหรือแนวความคิดใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีความหลากหลายร่วมกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เป็นสำคัญ; - การช่วยส่งเสริมความจงรักภักดีของลูกจ้าง การกระตุ้นในการเข้าไปมีส่วนร่วม และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดขึ้นได้โดยตรง - การปรับปรุงรายละเอียดในเรื่องของความปลอดภัย และสุขอนามัยของคนงานที่ปรากฏสภาพเป็นทั้งชายและหญิง - การช่วยส่งผลกระทบในทางบวกขึ้นมาต่อระดับความสามารถขององค์การในการคัดเลือกและสรรหาบุคลากร การกระตุ้นและการดำรงรักษาลูกจ้างไว้ได้เป็นสำคัญ; - การนำพาเพื่อไปสู่ขั้นตอนของการบรรลุถึงการสร้างความประหยัดในเรื่องการเพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภาพ และประสิทธิภาพของทรัพยากรที่ถูกใช้ประโยชน์ การใช้ปริมาณพลังงานและน้ำที่ลดน้อยลงมาตามลำดับ การลดปริมาณของเสีย และการฟื้นกลับคืนมาของคุณค่าสำหรับผลิตภัณฑ์พลอยได้ หรือการเพิ่มขึ้นในระดับความเป็นประโยชน์ของวัตถุดิบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง - การปรับปรุงความน่าเชื่อถือและความยุติธรรมสำหรับการค้าขายทางธุรกิจ โดยอาศัยการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองที่ดำเนินเป็นไปอย่างรับผิดชอบ การแข่งขันที่เป็นธรรม และการปราศจากปัญหาในเรื่องของคอร์รัปชั่น; - การป้องกันหรือการช่วยลดระดับความขัดแย้งที่เป็นแนวโน้มขึ้นมาได้สำหรับผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการประเภทต่างๆ ตามลำดับ - การช่วยเหลือ แบ่งปันหรือสนับสนุนต่อการสร้างระดับความสามารถในระยะยาวขององค์การ โดยการกระตุ้นให้เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นไปอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และการบริการทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ และ - การช่วยเหลือสนับสนุนต่อทรัพย์สินสาธารณะ และการยกระดับความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับภาคประชาสังคม และสถาบันต่างๆ ได้เป็นอย่างดี |
XXXXXXXX
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น