หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 18 หัวข้อกำหนด 5.2 - การยอมรับ SR)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 18: หัวข้อกำหนด 5.2 การยอมรับ SR

5.2 Recognizing social responsibility
5.2.1 Impacts, interests and expectations

In addressing its social responsibility an organization should understand three relationships (see Figure 2):
- Between the organization and society: An organization should understand and recognize how its decisions and activities impact on society and the environment. An organization should also understand society’s expectations of responsible behavior concerning these impacts. This should be done by considering the core subjects and issues of social responsibility (see 5.2.2).
- Between the organization and its stakeholders: An organization should be aware of its various stakeholders. These are the individuals or groups whose interests could be affected by the decisions and activities of the organization (see 3.3.1); and
- Between the stakeholders and society: An organization should understand the relationship between the stakeholders' interests that are affected by the organization, on the one hand, and the expectations of society on the other. Although stakeholders are part of society, they may have an interest that is not consistent with the expectations of society. Stakeholders have particular interests with regard to the organization that can be distinguished from societal expectations of socially responsible behavior regarding any issue. For example, the interest of a supplier in being paid and the interest of society in contracts being honored can be different perspectives on the same issue.
In recognizing its social responsibility an organization will need to take all three relationships into account. An organization, its stakeholders and society are likely to have different perspectives, because their objectives may not be the same. It should be recognized that individuals and organizations may have many and diverse

interests that can be affected by the decisions and activities of an organization.

Figure 2 — Relationship between an organization, its stakeholders and society

คำอธิบาย
5.2 การยอมรับ SR
5.2.1 ผลกระทบ ผลประโยชน์ และความคาดหวัง
        ในการกำหนด SR ขององค์การแต่ละแห่ง ควรมีความเข้าใจในรายละเอียดของความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ ร่วมกัน ดังนี้ (พิจารณารูปที่ 2 ประกอบด้วย)
        - ระหว่างองค์การ และสังคม: องค์การควรมีความเข้าใจและยอมรับเป็นเบื้องต้นว่า ผลของการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้น จะปรากฏเป็นผลกระทบขึ้นมาต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร นอกจากนี้องค์การเองควรมีความเข้าใจถึงระดับความคาดหวังของสังคมต่อการสร้างความรับผิดชอบในเชิงพฤติกรรม ซึ่งแสดงลักษณะความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับผลกระทบประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นประการสำคัญอีกร่วมด้วย เพราะฉะนั้นองค์การแต่ละแห่งจึงควรทำการพิจารณาถึงรายละเอียดของเนื้อหาหลัก และประเด็นสำคัญต่างๆ ของ SR ออกมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้มากที่สุด (พิจารณารายละเอียดในหัวข้อกำหนดย่อยที่ 5.2.2 ประกอบร่วมด้วย)
        - ระหว่างองค์การ และ Stakeholders: องค์การควรมีความตระหนักในส่วนที่แสดงความสัมพันธ์ และเกี่ยวข้องอยู่กับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ กัน โดยเฉพาะรายละเอียดของการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมขึ้นมาในแต่ละครั้งขององค์การเช่นนั้น จะช่วยก่อให้เกิดผลกระทบที่มีลักษณะออกมาเป็นแนวโน้ม หรือผลของความเป็นจริงต่อรายบุคคล และองค์การอื่นๆ ในภาพรวมเกิดขึ้นมาให้เห็นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นผลกระทบที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะแนวโน้ม หรือมีผลของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงสามารถก่อให้เกิดเป็นรายละเอียดพื้นฐานของการเป็น ส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์สำคัญประการต่างๆ ที่ได้รับขึ้นมาแทนที่ ซึ่งรายละเอียดเช่นนี้ ล้วนเป็นสาเหตุหรือปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมทำให้องค์การและในแต่ละรายบุคคลก็ตาม ล้วนจำเป็นต้องมีการพิจารณาหรือนึกถึงระดับความสัมพันธ์ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ เหล่านี้อยู่ร่วมด้วยเสมอ (พิจารณารายละเอียดในหัวข้อกำหนดย่อยที่ 3.3.1 ประกอบร่วมด้วย)
        - ระหว่าง Stakeholders และสังคม: องค์การควรเข้าใจถึงระดับความสัมพันธ์ร่วมกันที่เกิดขึ้นระหว่างในด้านหนึ่ง กล่าวคือ ผลประโยชน์ของกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบขึ้นมาจากการปฏิบัติงานขององค์การ และอีกในด้านหนึ่งก็คือ ระดับความคาดหวังของสังคมต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเข้ากับภาคหรือส่วนอื่นๆ ของ Stakeholders ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ จะปรากฏว่า เป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งนั้น โดยทั้งนี้อาจมีระดับของผลประโยชน์ที่ต้องการเกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่สอดคล้องเข้ากับความคาดหวังของสังคมก็ได้อีกเช่นกัน กลุ่ม Stakeholders ทั้งหลาย จึงค่อนข้างมีผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเมื่อแสดงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์การแห่งนั้น และยังปรากฏออกมาเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงความแตกต่างออกไปจากการแสดงพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นผลของความคาดหวังของสังคมแทบทั้งสิ้น ขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นผลออกได้อย่างเด่นชัดก็คือ ระดับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Stakeholders ขององค์การในสภาพที่เป็นคู้ค้า/ ผู้ส่งมอบแต่ละราย ย่อมต้องแสดงความรับผิดชอบในรายละเอียดที่ปรากฏออกมาเป็นผลประโยชน์ต่อสังคม ในลักษณะที่มีความแตกต่างออกไปจากการเป็นคู่ค้า/ ผู้ส่งมอบที่ถูกกำหนดหรือเมื่อระบุอยู่ไว้ภายใต้สัญญาอย่างเป็นทางการกับองค์การแห่งนั้น โดยเฉพาะการมีมุมมองที่เกิดขึ้นย่อมแสดงความแตกต่างกันออกไป และถึงแม้ว่า รายละเอียดที่ต้องพิจารณานึกถึงเหล่านั้น จะมีลักษณะที่เป็นประเด็นเดียวกันเกิดขึ้นอยู่ก็ตาม

รูปที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างองค์การ กลุ่ม Stakeholders ที่เกี่ยวข้อง และสังคม (รายละเอียดมีความเป็นไปเช่นเดียวกับที่ระบุไว้อยู่ภายใน Figure 2 ของภาคภาษาอังกฤษ)
หมายเหตุ: กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ล้วนอาจมีผลประโยชน์เกิดขึ้น ซึ่งอาจแสดงความไม่สอดคล้องเข้ากับรายละเอียดที่เป็นความคาดหวังของสังคมก็ได้อีกเช่นเดียวกัน

        ในเรื่องของการยอมรับ SR ขึ้นมาเป็นผลมากที่สุดนั้น องค์การแต่ละแห่งจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิจารณาและคำนึงถึงระดับความสำคัญของรายละเอียดทั้ง 3 ส่วนที่แสดงความสัมพันธ์เข้ากันอย่างใกล้ชิดดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนขององค์การ กลุ่ม Stakeholders ต่างๆ และสังคม ค่อนข้างจะแสดงมุมมองที่แตกต่างกันออกไปเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องเหตุผลมาจากในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ล้วนมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่จำเพาะเจาะจงแตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง และแน่นอนในทางปฏิบัติอีกเช่นกัน จึงควรทำการยอมรับ และตระหนักอีกร่วมด้วยว่า สภาพของแต่ละรายบุคคลและองค์การประเภทต่างๆ ล้วนอาจมีผลประโยชน์ที่ได้รับในลักษณะที่แสดงความแตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดขอบเขตของการดำเนินการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมขององค์การแห่งนั้น เป็นส่วนใหญ่แทบทั้งสิ้น

5.2.2 Recognizing the core subjects and relevant issues of social responsibility

An effective way for an organization to identify its social responsibility is to become familiar with the issues concerning social responsibility in the following core subjects:
- organizational governance;
- human rights;
- labor practices;
- the environment;
- fair operating practices;
- consumer issues; and
- community involvement and development. (see 6.2 to 6.8).

These core subjects cover the most likely economic, environmental and social impacts that should be addressed by organizations. Each of these core subjects is considered in Clause 6. The discussion of each core subject covers specific issues that an organization should take into account when identifying its social responsibility. Every core subjects, but not necessarily each issues, has some relevance for every organization.
The guidance on each issue includes a number of actions that an organization should take and expectations of the way in which an organization should behave. In considering its social responsibility, an organization should identify each issue relevant to its decisions and activities, together with the related actions and expectations. Additional guidance on identifying issues can be found in Clause 7.2 and 7.3.
The impacts of an organization’s decisions and activities should be considered with a view to these issues. Moreover, the core subjects and their respective issues can be described or categorized in various ways. Some important considerations, including health and safety, economics and the value chain, are dealt with under more than one core subject in Clause 6.
An organization should review all the core subjects to identify which issues are relevant. The identification of relevant issues should be followed by an assessment of the significance of the organization‘s impacts. The significance of an impact should be considered with reference both to the stakeholders concerned and to the way in which the impact affects sustainable development.
When recognizing the core subjects and issues of its social responsibility, an organization is helped by considering interactions with other organizations. An organization should consider the impact of its decisions and activities on stakeholders.
An organization seeking to recognize its social responsibility should consider both the legally-binding and

any other obligation that exists. Legally binding obligations include applicable laws and regulations, as well as obligations concerning social, economic or environmental issues that may exist in enforceable contracts. An organization should consider the commitments that it has made regarding social responsibility. Such commitments could be in ethical codes of conduct or guidelines or in the membership obligations of associations to which it belongs.
Recognizing social responsibility is a continuous process. The potential impacts of decisions and activities should be determined and taken into account during the planning stage of new activities. Ongoing activities should be reviewed as necessary so that the organization can be confident that its social responsibility is still being addressed and can determine whether additional issues need to be taken into account.

คำอธิบาย
5.2.2 การยอมรับรายละเอียดเนื้อหาหลัก และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ของ SR
        วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับองค์การหนึ่งๆ ในการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดของ SR ที่ต้องดำเนินการขึ้นมานั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องที่มีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างมากภายใต้หัวข้อของเนื้อหาหลัก/ ประเด็นที่สำคัญต่างๆ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับ SR อยู่โดยตรง ก็คือ
        - ธรรมาภิบาลองค์การ
        - สิทธิมนุษยชน
        - การปฏิบัติด้านแรงงาน
        - สิ่งแวดล้อม
        - การปฏิบัติ/ การดำเนินงานที่เป็นธรรม
        - ประเด็นด้านผู้บริโภค และ
        - การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนา เป็นต้น (พิจารณารายละเอียดในส่วนของหัวข้อกำหนด 6.2-6.8 ประกอบร่วมด้วย)
        เนื้อหาหลักด้าน SR เหล่านี้ ยังจะครอบคลุมรายละเอียดส่วนใหญ่ที่ปรากฏออกมาเป็นผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยจัดถือกันว่า เป็นเรื่องสำคัญที่องค์การต้องมีการกำหนด หรือระบุเพื่อให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนเกิดขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้ นอกจากนี้ในแต่ละประเด็นของเนื้อหาหลัก SR ดังกล่าว ยังถูกระบุรายละเอียดไว้ให้เห็นเพิ่มเติมอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 6 อีกประการหนึ่งด้วย โดยเฉพาะภายในแต่ละส่วนของเนื้อหาหลักเช่นนั้น ยังคงมีการกล่าวถึง หรืออธิบายครอบคลุมลงไปถึงรายละเอียดในประเด็นที่จำเพาะบางประการออกมาเพิ่มเติม ซึ่งองค์การล้วนต้องนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาสำหรับการระบุ/ ชี้บ่งถึงบทบาทของ SR ออกมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป แต่อย่างไรก็ตามทุกๆ เนื้อหาหลัก และไม่ใช่รายละเอียดในทุกประเด็นที่จำเป็นหรือกล่าวถึงเหล่านี้ทั้งหมด จะแสดงความเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนสัมพันธ์อยู่โดยตรงกับการแสดงบทบาทด้าน SR ขององค์การในทุกองค์การ
        สำหรับรายละเอียดที่ปรากฏออกมาเป็นเพียงข้อแนะนำ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องในแต่ละประเด็น SR ที่ถูกกล่าวถึงเหล่านั้น ยังครอบคลุมลงไปถึงการกำหนดแนวทางของการปฏิบัติงานต่างๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งองค์การจำเป็นต้องยึดถือ หรืออาจปรากฏออกมาเป็นลักษณะของความความคาดหวังสำหรับองค์การแต่ละแห่ง ซึ่งสมควรจะต้องดำเนินการขึ้นมาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร เพราะฉะนั้นในการกำหนดหรือพิจารณาถึงขอบเขต และบทบาทด้าน SR ขององค์การแต่ละแห่ง จึงควรมีการระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดในแต่ละประเด็นที่แสดงความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ รวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติบางประการ และสิ่งที่ชี้บ่งในลักษณะอื่นๆ ที่แสดงถึงความคาดหวังขององค์การออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัดมากที่สุด ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการระบุชี้บ่งถึงประเด็น SR ต่างๆ ที่สำคัญนั้น สามารถพิจารณาได้จากหัวข้อกำหนดที่ 7.2 และ 7.3 เป็นส่วนใหญ่
        โดยทั่วไปผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ขององค์การแต่ละแห่ง จึงสมควรถูกนำมาพิจารณา โดยยึดถือขอบเขต และรายละเอียดจากประเด็นในเรื่อง SR ต่างๆ เหล่านั้นเป็นประการสำคัญ แน่นอนอีกเช่นกันในทางปฏิบัติ ไม่ใช่รายละเอียดในทุกประเด็นของ SR เหล่านี้ทั้งหมด จะแสดงความสัมพันธ์ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับองค์การที่มีหน้าที่ หรือการแสดงบทบาทที่จำเพาะอยู่เป็นส่วนใหญ่ และเท่าที่พบเห็นยิ่งมากไปกว่านั้นก็คือ รายละเอียดของเนื้อหาหลัก และประเด็น SR ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ยังอาจถูกบรรยาย หรือสามารถทำการจัดกลุ่มแบ่งแยกออกมาให้เห็นเป็นหมวดหมู่ได้ในลักษณะต่างๆ กันอีกด้วย โดยเฉพาะประเด็นหรือข้อควรพิจารณาที่สำคัญๆ จะครอบคลุมไปถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย เศรษฐกิจ และคุณค่าของห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น จึงสมควรได้รับการกำหนดหรือระบุชี้บ่งออกมา และกล่าวเน้นให้เห็นถึงความสำคัญมากกว่ารายละเอียดเนื้อหาหลัก SR ประการอื่นๆ ที่ถูกกล่าวถึงไว้โดยตรงอยู่ภายในหัวข้อกำหนดที่ 6 แล้วทั้งสิ้น
        ในทางปฏิบัติองค์การ จึงสมควรมีการทบทวนถึงรายละเอียดทั้งหมดสำหรับเนื้อหาหลัก SR ประการสำคัญ หรือมีการระบุ/ ชี้บ่งถึงประเด็น SR ต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวเนื่องอยู่กับองค์การแห่งนั้นตามลำดับ สำหรับการระบุชี้บ่งถึงรายละเอียดของประเด็น SR ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนเช่นนั้น ยังสมควรต้องดำเนินการอื่นๆ ในขั้นตอนที่ติดตามมาอีกร่วมด้วยเสมอ โดยเฉพาะการอาศัยมีการประเมินถึงระดับนัยสำคัญของผลกระทบทั้งหลาย ที่อาจเกิดขึ้นมาจากการดำเนินงานขององค์การแห่งนั้นเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ระดับนัยสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทั้งหมด ยังควรมีการพิจารณาเพื่อนำลงไปสู่รายละเอียดในส่วนที่สามารถอ้างอิงถึงได้ หรือมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ อยู่โดยตรง และยังอาจครอบคลุมรวมไปถึงการมีแนวทางความเข้าใจในรายละเอียดของผลกระทบเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างชัดเจนอีกด้วยว่า จะแสดงผลออกมาให้เห็นในขอบเขตที่กว้างขวางเป็นอย่างไร มีผลกระทบต่อความเป็นผลประโยชน์ทางสังคมและการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการมุ่งเน้นในเรื่องสุขอนามัยและการอยู่ดีมีสุขของสังคมได้เป็นประการสุดท้าย
        นอกจากนี้เมื่อมีการยอมรับและตระหนักถึงในรายละเอียดของเรื่องเนื้อหาหลัก และประเด็น SR สำคัญต่างๆ ดังกล่าวนี้ได้ผลอย่างชัดเจนแล้ว องค์การเองยังสามารถทำการพิจารณาออกมาในลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ร่วมกับองค์การอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกก็ได้อีกเช่นกัน ขอยกตัวอย่างประกอบ เช่น องค์การแห่งหนึ่งอาจมีการพิจารณาถึงรายละเอียดของผลกระทบทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมประเภทต่างๆ ของตนเองว่า จะสามารถส่งผลกระทบออกมาเป็นอย่างไรต่อกลุ่ม Stakeholders ต่างๆ ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ประโยชน์ คู่ค้า/ ผู้ส่งมอบ หุ้นส่วน และคู่แข่งขันทางธุรกิจของตนเองอีกร่วมด้วย เป็นต้น

ตัวอย่างที่แสดงถึงผลของการยอมรับนับถือต่อการปฏิบัติงาน SR (โดยอาศัยคณะทำงานหรือหน่วยงาน CSR Promotion Committee/ Division ภายในบริษัท) และนำพาไปสู่การปฏิบัติงานที่ครอบคลุมรายละเอียดของ SR ทั้ง 3 ด้าน (เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม) ได้เป็นอย่างดี
        สำหรับองค์การที่กำลังดำเนินการค้นหา หรือเพื่อแสดงผลของการยอมรับนับถือถึงบทบาทด้าน SR ขึ้นมาตามลำดับเช่นนั้น ยังควรทำการพิจารณาลงไปในรายละเอียดที่ปรากฏเป็นทั้งข้อผูกมัดที่มีความเชื่อมโยงเข้ากับทางกฎหมาย และข้อผูกมัดในลักษณะประการอื่นๆ ที่ปรากฏผลอยู่ในขณะนั้นๆ อีกร่วมด้วยเสมอ ดังนั้นการแสดงผลต่อการผูกมัดทางกฎหมายเช่นนี้ จึงครอบคลุมไปถึงการยึดถือรายละเอียดตามกฎหมายที่เป็นทางการหรือข้อกำหนดประเภทต่างๆ และเช่นเดียวกันรายละเอียดของการผูกมัดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ภายในข้อบังคับทางสัญญาดังกล่าว ก็ต้องนำมาพิจารณาผลอีกร่วมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้องค์การเอง ก็ยังควรมีการพิจารณาถึงข้อมุ่งมั่นบางประการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้าน SR ที่ต้องกระทำขึ้นมาสำหรับองค์การแห่งนั้น โดยเฉพาะรายละเอียดของความมุ่งมั่นดังกล่าวเช่นนี้ จะต้องปรากฏสภาพออกมาเป็นจรรยาบรรณกำกับทางจริยธรรม ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือควบคุมความประพฤติ หรืออาจปรากฏออกมาเป็นข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการแสดงผลการผูกมัดของสมาชิกภายในองค์การเข้ากับหน่วยงานหรือสมาคมทางวิชาชีพที่องค์การของตนเองได้สังกัดอยู่โดยตรงก็ได้อีกเช่นกัน
        การยอมรับนับถือถึงบทบาทของ SR เช่นนั้น จึงมีลักษณะที่เป็นกระบวนการปฏิบัติงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การกำหนดรายละเอียดของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเป็นไปได้สำหรับการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมภายใต้ลักษณะต่างๆ ขององค์การ ซึ่งสมควรจะได้ถูกนำมากำหนด หรือมีการพิจารณาเป็นรายละเอียดในระยะแรกๆ ของขั้นตอนการวางแผน เพื่อการเริ่มต้นปฏิบัติกิจกรรม SR ใหม่ๆ ขึ้นมาในแต่ละครั้งตามลำดับ นอกจากนี้การดำเนินกิจกรรมในลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นไปเช่นนี้ ยังควรมีการทบทวนผลการปฏิบัติงานเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การปฏิบัติงานด้าน SR ขององค์การเช่นนั้น ยังคงปรากฏผลออกมาให้เห็นอยู่ในลักษณะที่เป็นรูปธรรมได้ และยังสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ขึ้นมาได้อีกประการหนึ่งว่า สมควรหรือไม่ต่อความจำเป็นที่อาจจะต้องมีการนำรายละเอียดของประเด็นด้าน SR ใหม่ๆ เข้ามาพิจารณาเป็นลำดับในช่วงระยะเวลาต่อไปก็ได้อีกเช่นกัน

5.2.3 Social responsibility and an organization's sphere of influence

An organization is responsible for the impacts of decisions and activities over which it has formal and/or de facto control. (de facto control refers to situations where one organization has the ability to dictate the decisions and activities of another party, even where it does not have the legal or formal authority to do so). Such impacts can be extensive. In addition to being responsible for its own decisions and activities, an organization may, in some situations, have the ability to affect the behavior of organizations/ parties with which it has a relationship. Such situations are considered to fall within an organization's sphere of influence.
This sphere of influence includes relationships within and beyond an organization's value chain. However, not all of an organization's value chain necessarily falls within its sphere of influence. It can include the formal and informal associations in which it participates, as well as peer organizations or competitors.
An organization does not always have a responsibility to exercise influence purely because it has the ability to do so. For instance, it cannot be held responsible for the impacts of other organizations over which it may have some influence if the impact is not a result of its decisions and activities. However, there will be situations where an organization will have a responsibility to exercise influence. These situations are determined by the extent to which an organization's relationship is contributing to negative impacts.
There will also be situations where, though an organization does not have a responsibility to exercise influence, it may nevertheless wish, or be asked, to do so voluntarily.

An organization may decide whether to have a relationship with another organization and the nature and extent of this relationship. There will be situations where an organization has the responsibility to be alert to the impacts created by the decisions and activities of other organizations and to take steps to avoid or to mitigate the negative impacts connected to its relationship with such organizations.
When assessing its sphere of influence and determining its responsibilities, an organization should exercise due diligence to avoid contributing to negative impacts through its relationships. Further guidance can be found in 7.3.1.

คำอธิบาย
5.2.3 SR และขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่างๆ ขององค์การ
        องค์การแต่ละแห่ง สมควรจะต้องแสดงความรับผิดชอบสำหรับรายละเอียดที่ปรากฏออกมาเป็นผลกระทบทั้งหลาย ซึ่งเกิดเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ โดยทั้งนี้องค์การเองอาจสามารถทำการควบคุมในรูปแบบอย่างเป็นทางการ และ/ หรือโดยทางพฤตินัยก็ได้อีกเช่นเดียวกัน (เมื่อกล่าวถึงการควบคุมในเชิงพฤตินัย จะอ้างอิงไปถึงสถานการณ์ในขณะหนึ่งๆ ที่องค์การได้แสดงถึงระดับสามารถของตนเองขึ้นมาในการกำหนดบทบาทของการบังคับต่อรายละเอียดของการตัดสินใจหรือการปฏิบัติกิจกรรมในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรง และถึงแม้ว่า จะไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเป็นทางการขึ้นมารองรับอยู่ในทางปฏิบัติทั้งหมดก็ตาม) เพราะฉะนั้นรายละเอียดของผลกระทบทั้งหลาย ที่ปรากฏเป็นผลสืบเนื่องเกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามที่องค์การสามารถทำการควบคุมได้เป็นอย่างดีนั้น จึงควรเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้องค์การที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคม ก็คือ องค์การแห่งหนึ่งๆ ที่ทำการยอมรับในเรื่องของความรับผิดชอบ โดยเฉพาะการกำหนดหรือระบุถึงรายละเอียดของผลกระทบประการต่างๆ ที่เกิดเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการตัดสินใจ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยอาศัยผ่านขั้นตอนของการสร้างความโปร่งใส และการมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ดี ซึ่งสามารถทำการบูรณาการให้แพร่กระจายเข้าไปอย่างทั่วถึงเกิดขึ้นมาทั้งองค์การตามลำดับ และอาจผ่านวิธีการปฏิบัติในลักษณะต่างๆ ที่แสดงความสัมพันธ์กันอยู่โดยตรง นอกเหนือออกไปจากการแสดงความรับผิดชอบสำหรับการตัดสินใจ และการดำเนินต่างๆ ขึ้นมาแล้วเช่นนั้น ในบางสถานการณ์องค์การเองยังอาจจะต้องมีระดับความสามารถในการชักจูง หรือการมีอิทธิพลเหนี่ยวนำต่อการตัดสินใจหรือการแสดงพฤติกรรมขึ้นมาสำหรับในภาค/ ส่วนอื่นๆ ที่อยู่ภายนอก และได้มีระดับความสัมพันธ์หรือแสดงความเกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่ร่วมด้วย ลักษณะการเกิดขึ้นของสถานการณ์เช่นนี้ทั้งหมด จึงถูกพิจารณาและเรียกชื่อว่า จะตกอยู่ภายใต้ ขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพล (Sphere of influence)” สำหรับองค์การแห่งนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
  

        เมื่อกล่าวถึง ขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่างๆ ขององค์การ โดยทั่วไปยังครอบคลุมรายละเอียดบางส่วน หรือภายในส่วนรวมที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดตลอดคุณค่าของสายโซ่หรือห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย และยังอาจหมายความรวมไปถึงลักษณะของการอยู่ร่วมกันทั้งในส่วนที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ โดยที่องค์การแห่งนั้น จะต้องปรากฏสภาพขึ้นมาในการเข้าเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งๆ หรือมีส่วนร่วมอยู่ในขณะนั้นๆ โดยตรง ในบางสถานการณ์ ยังอาจครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงองค์การประเภทอื่นๆ ที่อยู่อย่างใกล้ชิด หรือองค์การที่มีสภาพเป็นคู่แข่งขันทางการค้าก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
             ในทางปฏิบัติองค์การแห่งหนึ่งๆ ล้วนไม่จำเป็นต้องแสดงผลของความรับผิดชอบในการชักจูง หรือต้องการเหนี่ยวนำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างอิทธิพลเกิดขึ้นมาอย่างได้ผลที่สมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลถึงแม้ว่า จะปรากฏมีระดับความสามารถที่สูงสำหรับการปฏิบัติงานเช่นนั้นอยู่ก็ตาม ขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นผลออกมาได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งก็คือ องค์การเองไม่สมควรต้องแสดงความรับผิดชอบทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับการปรากฏออกมาเป็นรายละเอียดในเรื่องของผลกระทบประการสำคัญต่างๆ ขององค์การภายนอกอื่นๆ ซึ่งรายละเอียดของผลกระทบเหล่านั้น ไม่ได้เป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการตัดสินใจหรือการปฏิบัติกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งนั้นอยู่โดยตรงตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามอาจมีบางสถานการณ์ ซึ่งองค์การต้องแสดงความรับผิดชอบออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน หรือแสดงว่า มีอิทธิพลอยู่ร่วมด้วย เป็นต้น รายละเอียดของสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ จึงล้วนจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตหรือปริมาณที่เกิดขึ้นเมื่อยู่ภายใต้การมีระดับความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับองค์การหรือจากส่วนภายนอกอื่นๆ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับการเกิดขึ้นของผลกระทบในเชิงลบทั้งหลาย ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องสำคัญทึ่ควรมีการพิจารณาหรือคำนึงถึงอยู่มากกว่ารายละเอียดของประเด็นอื่นๆ แทบทั้งหมด
             ในขณะเดียวกันอาจมีบางสถานการณ์อีกเช่นกัน และถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วองค์การแห่งนั้น ไม่อาจจำเป็นต้องแดงผลของความรับผิดชอบขึ้นมา โดยออาศัยผ่านวิธีการชักจูง หรือต้องการแสดงอิทธิพลเหนี่ยวนำ เพื่อต้องการให้ปรากฏเห็นเป็นผลออกมาได้อย่างชัดเจนก็ตาม ในกรณีของรายละเอียดดังกล่าวเช่นนี้ องค์การเองสมควรมีวิธีการปฏิบัติ โดยอาศัยการสอบถาม หรือเพื่อเป็นการร้องขอที่ยึดถืออยู่บนพื้นฐานจากความสมัครใจเกิดขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่
        โดยทั่วไปแล้วองค์การเอง จึงควรทำการตัดสินใจลงไปในรายละเอียดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ว่า สมควรมากหรือน้อยเพียงใดที่จะดำรงรักษา และต้องการมีความสัมพันธ์ร่วมกับองค์การภายนอกอื่นๆ หรือทำการตัดสินใจเพิ่มเติมอีกได้ว่า สมควรจะดำเนินการในเรื่องของการรักษาความสัมพันธ์ไว้เช่นนี้ ให้ปรากฏผลอยู่ภายใต้ขอบเขตของธรรมชาติ หรือมีแนวทางที่ควรปฏิบัติอย่างเหมาะสมเกิดขึ้นเป็นเช่นใด แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีบางสถานการณ์ ซึ่งองค์การเองล้วนจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบออกมาอย่างกระตือรือร้นต่อผลกระทบประเภทต่างๆ ที่อาจมีสาเหตุเกิดขึ้นมาจากผลการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์การภายนอกอื่นๆ และยังสมควรต้องดำเนินการขึ้นมาในแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมบางประการ โดยทั้งนี้พยายามหลีกเลี่ยง หรือมีส่วนในการกระทำเพื่อก่อให้เกิดการบรรเทาสภาพลงมาสำหรับผลกระทบเชิงลบทั้งหลาย ซึ่งองค์การเองอาจมีส่วนในการแสดงความสัมพันธ์ หรือมีลักษณะของความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับองค์การอื่นๆ เหล่านั้นอยู่โดยตรงในขณะนั้นๆ เป็นสำคัญ
        เพราะฉะนั้นเมื่อทำการประเมินรายละเอียดในเรื่องขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่างๆ ขึ้นมาเช่นนั้น และอาจครอบคลุมรวมไปถึงการกำหนดขอบเขตของการแสดงความรับผิดชอบออกมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน องค์การแห่งหนึ่งๆ จึงต้องสมควรมีการดำเนินการในเรื่องการประเมินถึงรายละเอียดของผลกระทบหรือสิทธิทั้งหลายอันควรจะได้รับ (ทางกฎหมาย) เป็นการล่วงหน้าขึ้นมาตามลำดับ ทังนี้เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือหรือสนับสนุนต่อการเกิดขึ้นของผลกระทบเชิงลบทั้งหลายที่องค์การแห่งนั้น มีส่วนของการแสดงความสัมพันธ์อยู่ร่วมด้วยโดยตรงตามลำดับ สำหรับรายละเอียดเสริมประการอื่นๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อแนะนำ โดยต้องการแสดงถึงการเคารพนับถือ หรือเป็นการยอมรับในเรื่องขอบเขตบรรยากาศของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่างๆ ขึ้นมาเช่นนั้นขององค์การ และเช่นเดียวกับวิธีการยอมรับ หรือการมีความตระหนักต่อรายละเอียดในเรื่องผลกระทบต่างๆ ขององค์การที่อาจเกิดขึ้นมาให้เห็นผลได้นั้น ได้กล่าวถึงไว้แล้วอย่างชัดเจนภายในหัวข้อกำหนดที่ 7.3.1 เป็นประการสำคัญ

XXXXXXXX


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น