หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 5 (ตอนที่ 25 หัวข้อกำหนด 6.4 - การปฏิบัติด้านแรงงาน)

บทที่ 5
การอธิบายความหมาย และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 ฉบับ FDIS (Explanation of ISO/SR 26000; Final Draft International Standard)
ตอนที่ 25: หัวข้อกำหนด 6.4 - การปฏิบัติด้านแรงงาน

6.4 Labor practices
6.4.1 Overview of labor practices
6.4.1.1 Organizations and labor practices
The labor practices of an organization encompass all policies and practices relating to work performed within, by or on behalf of the organization, including subcontracted work.
Labor practices extend beyond the relationship of an organization with its direct employees or the responsibilities that an organization has at a workplace that it owns or directly controls.
Labor practices include the recruitment and promotion of workers; disciplinary and grievance procedures; the transfer and relocation of workers; termination of employment; training and skills development; health, safety and industrial hygiene; and any policy or practice affecting conditions of work, in particular working time and remuneration. Labor practices also include the recognition of worker organizations and representation and participation of both worker and employer organizations in collective bargaining, social dialogue and tripartite consultation (see Box 8) to address social issues related to employment.
Box 8 - The International Labor Organization
The International Labor Organization (ILO) is a United Nations agency with a tripartite structure (governments, workers and employers) that was established for the purpose of setting international labor standards. These minimum standards are legal instruments setting out universal basic principles and rights at work. They pertain to workers everywhere, working in any type of organization; and are intended to prevent unfair competition based on exploitation and abuse. ILO standards are developed by tripartite negotiation at the international level among governments, workers and employers, and are adopted by a vote of the three constituents.
ILO instruments are kept up to date through a review process and through the jurisprudence of a formal supervisory mechanisms that interprets the meaning and proper application of ILO standards. ILO Conventions and Recommendations, together with the ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at work 1998 [54] and the ILO’s Tripartite Declaration of Principles Concerning Multinational Enterprises and Social Policy 1977 (last revised 2006) [74], constitute the most authoritative guidance regarding labor practices and some other important social issues.
The ILO seeks to promote opportunities for women and men to obtain decent and productive work, which it defines as work performed in conditions of freedom, equity, security and human dignity.
6.4.1.2 Labor practices and social responsibility

The creation of jobs, as well as wages and other compensation paid for work performed are among an organization's most important economic and social contributions. Meaningful and productive work is an essential element in human development; standards of living are improved through full and secure employment. Its absence is a primary cause of social problems. Labor practices have a major impact on respect for the rule of law and on the sense of fairness present in society: socially responsible labor practices are essential to social justice, stability and peace. [67]

คำอธิบาย 
6.4 การปฏิบัติด้านแรงงาน
6.4.1 มุมมองโดยรวมของการปฏิบัติด้านแรงงาน
6.4.1.1 องค์การ และการปฏิบัติด้านแรงงาน
 
          การปฏิบัติด้านแรงงานสำหรับองค์การหนึ่งๆ จะครอบคลุมรายละเอียดที่รวมเข้าไปด้วยกันในทุกนโยบาย และวิธีการปฏิบัติประการใดๆ ก็ตามที่แสดงความเกี่ยวข้องเข้ากับการทำงานอยู่ภายใน หรือเมื่อปรากฏขึ้นมาในนามขององค์การแห่งนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และอาจครอบคลุมรายละเอียดลงไปถึงในเรื่องของการว่าจ้างรับเหมาช่วงงานจากแหล่งภายนอกอีกประการหนึ่งอยู่ร่วมด้วย
          และเท่าที่เห็นผลออกมาได้อย่างชัดเจนนั้น คำว่า การปฏิบัติด้านแรงงาน ยังขยายตัวแพร่กระจายออกไปในระดับที่สูงอยู่เหนือมากกว่าการมุ้งเน้นในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมาร่วมกันระหว่างองค์การแห่งนั้นกับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่โดยตรง หรือเมื่อต้องการให้ปรากฏสภาพออกมาเป็นความรับผิดชอบที่องค์การแห่งนั้น จำเป็นต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ทำงานของตนเองขึ้นมาเป็นการเฉพาะ หรือให้อยู่ในสภาพที่ควบคุมได้เป็นสำคัญ
        การปฏิบัติด้านแรงงาน ยังอาจครอบคลุมรายละเอียดลงไปถึงเรื่องวิธีการคัดเลือกเข้ามาปฏิบัติงาน และการช่วยส่งเสริมสนับสนุนต่อผลความก้าวหน้าของคนงาน การปฏิบัติงานเพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามกรอบของระเบียบวินัย และวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการรับเรื่องราวคำร้องทุกข์ขึ้นมา การโยกย้ายและจัดสรรตำแหน่งให้กับคนงาน การสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน การฝึกอบรมและการพัฒนาเพิ่มพูนด้านทักษะ สุขภาพ ความปลอดภัยและสุขอนามัยด้านอุตสาหกรรม และรายละเอียดของนโยบายหรือวิธีการปฏิบัติใดๆ ก็ตามที่มีผลต่อเงื่อนไขสำหรับการทำงาน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายในช่วงระยะเวลาการทำงาน และการตอบแทนเพื่อให้รางวัลได้อีกประการหนึ่งด้วย นอกจากนี้การปฏิบัติด้านแรงงาน ยังครอบคลุมลงไปในเรื่องการยอมรับต่อสภาพการทำงานของคนงานภายในองค์การแห่งนั้น การปรากฏสภาพออกมาในลักษณะที่เป็นตัวแทน และการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นทั้งคนงานและองค์การผู้จ้างสำหรับการเจรจาต่อรองร่วมที่เกิดขึ้นในลักษณะเป็นกลุ่มก้อน การพบปะเจรจาหารือร่วมกันทางสังคม และการให้คำปรึกษาในรูปแบบไตรภาคี (การเจรจาร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย หรือเมื่อพิจารณารายละเอียดในกล่องที่ 8 ประกอบด้วย) ทั้งนี้เพื่อต้องการกำหนด หรือระบุ/ ชี้บ่งถึงรายละเอียดของประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานออกมาให้เห็นเป็นผลได้โดยตรง
    

กล่อง 8 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คือ หน่วยงานหนึ่งที่มีสถานะเป็นตัวแทนขององค์การสหประชาชาติ โดยกำหนดโครงสร้างไว้ในลักษณะที่เป็นไตรภาคี (ประกอบไปด้วยภาครัฐบาล คนงาน และนายจ้าง) และถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์สำหรับการจัดทำมาตรฐานแรงงานระดับนานาชาติฉบับต่างๆ เพราะฉะนั้นรายละเอียดของมาตรฐาน และเครื่องมือทางกฎหมายประเภทต่างๆ เหล่านี้ จึงค่อนข้างกำหนดหลักการขั้นพื้นฐานที่เป็นสากล และระบุถึงสิทธิของการทำงานไว้อย่างชัดเจนมาก รายละเอียดของเนื้อหาเหล่านี้จึงแสดงความเกี่ยวข้อง และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้สำหรับการปฏิบัติต่อพนักงานในทุกสถานที่ หรือทุกลักษณะงานที่เกิดขึ้นในประเภทใดๆ ขององค์การแต่ละแห่งอยู่ก็ตาม รวมไปถึงยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อป้องกันการลดสภาพของการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมด้านแรงงาน โดยเฉพาะเมื่อเป็นการแสวงหาผลประโยชน์เข้าส่วนตนเอง และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการละเมิดขึ้นมาอีกประการหนึ่งร่วมด้วย มาตรฐาน ILO ส่วนใหญ่ จึงมีลักษณะเป็นรายละเอียดทางเทคนิค เพื่อใช้แจกแจงบอกกล่าวรายละเอียดออกมา รวมถึงมีส่วนช่วยสนับสนุนโดยตรงต่อนายจ้าง คนงาน และภาครัฐบาล ซึ่งผลของการเจรจา และการอนุมัติผลร่วมกันทั้งไตรภาคีในระดับโลกเช่นนั้น จึงปรากฏเป็นเรื่องออกมาที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานภายในองค์การแต่ละแห่งได้โดยตรง
ในทางปฏิบัติเครื่องมือของ ILO เหล่านี้ ยังถูกกระทำให้มีความทันสมัยเกิดขึ้นอยู่ตลอดระยะเวลา โดยอาศัยผ่านกระบวนการพิจารณาทบทวนในรายละเอียด และผ่านช่องทางกลไกอย่างเป็นทางการของการให้คำปรึกษาหารือตรงตามหลักนิติศาสตร์ที่มาจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานต่างๆ ภายในองค์การ ILO ซึ่งสามารถทำการประเมินผลหรือความหมาย และกำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ของมาตรฐาน ILO ให้ดำเนินงานเป็นไปได้อย่างเหมาะสมเกิดขึ้นเป็นประการสำคัญ นอกจากนี้จากผลการประชุมของ ILO และปรากฏผลออกมาเป็นข้อแนะนำในลักษณะต่างๆ รวมไปถึงจากรายละเอียดปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิด้านแรงงานขั้นพื้นฐานของ ILO ในปี 1988 [54] และปฏิญญาในระดับไตรภาคีว่าด้วยหลักการที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจข้ามชาติ และนโยบายทางสังคมที่สำคัญบางประการในปี 1977 (มีการแก้ไขครั้งล่าสุดในปี 2006) [74] จึงได้ปรากฏผลออกมาเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับของการเป็นรายละเอียดคำแนะนำ ที่มีเนื้อหาครอบคลุมอำนาจตามทางกฎหมาย โดยเฉพาะการมุ่งเน้นในเรื่องการแสดงความเคารพนับถือต่อการปฏิบัติด้านแรงงานขึ้นมาอย่างจริงจัง และยังระบุรายละเอียดลงไปถึงประเด็นทางสังคมที่สำคัญประการต่างๆ อีกร่วมด้วย
องค์การ ILO ยังทำการเสาะแสวงค้นหาแนวทางบางประการเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อใช้สนับสนุนการสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นต่อผู้หญิง และผู้ชาย ที่สมควรได้รับในสภาพของการทำงานที่เหมาะสม และการก่อให้เกิดผลิตภาพที่ดีขึ้นมาได้อย่างแท้จริง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ยังมีการระบุเพิ่มเติมอีกด้วยว่า งานที่ปฏิบัติเช่นนั้น จะต้องถูกกระทำขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมต่อความมีเสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคง และต้องดำเนินเป็นไปอย่างสมตามศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจของความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ

6.4.1.2 การปฏิบัติด้านแรงงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม
 
          ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาจากการสร้างงานในแต่ละครั้ง และเช่นเดียวกับค่าจ้าง หรือค่าชดเชยในลักษณะต่างๆ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานเช่นนั้น ล้วนแสดงความเกี่ยวข้องกับองค์การในด้านการปรากฏเป็นแรงช่วยสนับสนุนหรือเกื้อหนุนที่สำคัญที่สุดทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการปฏิบัติงานที่มีความมุ่งหมาย หรือก่อให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน จึงถือว่า เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ โดยผ่านช่องทางในเรื่องการปรับปรุงมาตรฐานของการดำรงชีพ และการก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการมีความมั่นคงสำหรับการจ้างงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องติดตามกันมาเป็นลำดับ นอกจากนี้ผลของการสูญเสียต่อรายละเอียดของการปฏิบัติงานในเรื่องเหล่านี้ จะปรากฏเป็นสาเหตุขั้นพื้นฐานของการเกิดขึ้นสำหรับปัญหาด้านสังคมทั้งหลายติดตามมาได้อย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน ดังนั้นการปฏิบัติด้านแรงงาน จึงส่งผลกระทบที่สำคัญต่อการแสดงความเคารพนับถือสำหรับการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีผลของสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ถูกกำหนดไว้ทั้งหมด และรวมไปถึงสามารถตอบสนองตรงต่อความรู้สึกของการได้รับความถูกต้องขึ้นมาภายในสังคมแห่งนั้นอีกด้วย ในทางปฏิบัติจึงอาจกล่าวได้ว่า การปฏิบัติด้านแรงงานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นนั้น จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเกิดขึ้นของความยุติธรรม ความมั่นคง และสันติสุขทางสังคมอยู่ร่วมด้วยเสมอ [67]

6.4.2 Principles and considerations
6.4.2.1 Principles
A fundamental principle in the ILO's 1944 Declaration of Philadelphia [72] is that labor is not a commodity. This means that workers should not be treated as a factor of production and subject to the same market forces that apply to commodities. The inherent vulnerability of workers and the need to protect their basic rights is reflected in the Universal Declaration of Human Rights and the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights [144] [156]. The principles involved include the right of everyone to earn a living by freely chosen work, and the right to just and favorable conditions of work.
6.4.2.2 Considerations
The human rights recognized by the ILO as constituting fundamental rights at work are addressed in 6.3.10. Many other ILO Conventions and Recommendations complement and reinforce various provisions in the Universal Declaration of Human Rights and its two covenants mentioned in Box 6 and can be used as a source of practical guidance on the meaning of various human rights.
The primary responsibility for ensuring fair and equitable treatment for workers1 lies with governments. This is achieved through:
- adopting legislation consistent with the Universal Declaration of Human Rights and applicable ILO labor standards;
- enforcing that legislation, including through the development and funding of national labor inspection systems; and
- ensuring that workers and organizations have the necessary access to justice.
1 The term “employee” refers to an individual in a relationship recognized as an “employment relationship” in national law or practice. The term "worker" is a more general term and refers to anyone who performs work. The term “worker” could refer to an employee or to someone who is self-employed.
 Labor laws and practices will vary from country to country.

Where governments have failed to legislate, an organization should abide by the principles underlying these international instruments. Where the law is adequate, an organizations should abide by the law, even if government enforcement is inadequate.
It is important to distinguish between the government role as the organ of state and its role as an employer. Government bodies or state owned organizations have the same responsibilities for their labor practices as other organizations,

คำอธิบาย 
6.4.2 หลักการ และข้อควรพิจารณา
6.4.2.1 หลักการ
 
          รายละเอียดของหลักการพื้นฐานที่ถูกระบุอยู่ไว้ภายใน ปฏิญญาฟิลาเดลเฟีย [72] ขององค์การแรงงานนานาชาติ ในปี 1994 กล่าวว่า แรงงานนั้นไม่มีคุณลักษณะที่จัดเป็นโภคภัณฑ์ หรือประเภทของสินค้าที่วางขายกันอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพราะฉะนั้นรายละเอียดเช่นนี้จึงย่อมหมายความว่า คนงานที่เป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จึงไม่ควรได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นปัจจัยหนึ่งๆ สำหรับการผลิต และ/ หรือปรากฏมีลักษณะเป็นประเภทเดียวกันกับแรงงานทางการตลาดทั้งหลายในขณะนั้นๆ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการสร้างโภคภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นมาให้เห็นผลได้โดยตรง ประกอบกับคุณลักษณะของความอ่อนแอที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดของคนงาน และการมีความจำเป็นในเรื่องการต้องถูกปกป้องหรือช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานอยู่เสมอ ซึ่งรายละเอียดของหลักการเหล่านี้ทั้งหมด ได้ถูกอธิบายไว้ให้เห็นความหมายอย่างชัดเจนแล้วอีกเช่นกันภายใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ กติกาข้อตกลงสันนิบาตระดับนานาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม” [144] [156] นอกจากนี้รายละเอียดของหลักการดังกล่าว ยังครอบคลุมไปถึงสิทธิของบุคคลทุกบุคคล ที่ล้วนจำเป็นต้องได้รับการดำรงชีวิต โดยมีความเป็นอิสระต่อการเลือกงานขึ้นมาได้ด้วยตนเอง และสิทธิในการกำหนด หรือต้องได้รับเงื่อนไขในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการทำงานอยู่ภายในพื้นที่ปฏิบัติงานแต่ละแห่งอีกร่วมด้วยเสมอ
6.4.2.2 ข้อควรพิจารณา
          รายละเอียดของสิทธิมนุษยชนที่ได้ถูกยอมรับโดยองค์การ ILO และปรากฏอยู่เป็นองค์ประกอบสำหรับสิทธิพื้นฐานในการทำงานนั้น ได้ถูกระบุไว้ให้เห็นผลอย่างชัดเจนแล้วภายในหัวข้อกำหนดย่อยที่ 6.3.10 เป็นสำคัญ รายละเอียดเหล่านี้จะครอบคลุมถึงสิทธิสำหรับพนักงานทุกคน และนายจ้าง ที่สามารถกำหนด หรือเข้าร่วมกับองค์การของตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดผลความก้าวหน้า หรือการช่วยปกป้องคุ้มครองในส่วนผลประโยชน์ทั้งหลายของตนเองขึ้นมาตามลำดับ และอาจรวมไปถึงสิทธิของคนงานสำหรับการดำเนินงานในเรื่องของการเจรจาต่อรองร่วมกันในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนกับนายจ้าง และเช่นเดียวกับการมีสิทธิที่ต้องมีความเป็นอิสระจากการไม่ถูกแบ่งแยก หรือกีดกันออกมาต่อการแสดงความเคารพนับถือในเรื่องการจ้างงาน หรือประกอบอาชีพนั้นๆ และรวมไปถึงการให้มีข้อห้ามหรือละเว้นสำหรับผลที่เกิดขึ้นมาจากการใช้แรงงานเด็ก และการบังคับด้านแรงงานในลักษณะต่างๆ ซึ่งถือว่า เป็นรายละเอียดพื้นฐานของด้านสิทธิมนุษยชนทุกประการ โดยเฉพาะรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้มีการอธิบายไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนภายในการประชุมครั้งที่ 8 ซึ่งถูกอ้างอิงว่าเป็น อนุสัญญาหลัก นอกจากนี้ผลที่ได้รับขึ้นมาจากการประชุมที่เป็น อนุสัญญาและข้อแนะนำอื่นๆ ที่กระทำโดย ILO อีกหลายครั้ง ยังสามารถให้รายละเอียดที่มีความหมายเป็นการสนับสนุนเพื่อสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ โดยปรากฏออกมาเป็นบทบัญญัติหรือข้อกำหนดที่สำคัญอยู่ภายใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และอีก 2 ครั้งสำหรับการประชุมที่เป็นกติกาข้อตกลงในระดับสันนิบาตนานาชาติ ซึ่งได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าวไว้แล้วอยู่ภายในกล่องที่ 6 ประกอบอีกด้วย และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมด มาใช้ประโยชน์ เพื่อการกำหนดเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ที่มีความเกี่ยวข้องกับรายละเอียดของสิทธิมนุษยชนอยู่โดยตรงได้ต่อไปตามลำดับ
 

การปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเป็นธรรม (Fair labor practices) สำหรับองค์การแต่ละแห่งต่อพนักงาน/ ลูกจ้าง/ คนงาน จึงควรยึดถือรายละเอียดที่ระบุไว้ภายในกฎหมายระดับชาติ หรือการปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานแรงงานของ ILO เป็นสำคัญ

        การแสดงความรับผิดชอบขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจได้ถึงการได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และเท่าเทียมกันสำหรับคนงาน1) นั้น จะถือว่า เป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติของรัฐบาลในแต่ละประเทศเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการกระทำใดๆ ขึ้นมาเพื่อให้บรรลุถึงผลข้อตกลงดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติร่วมด้วย ดังนี้

        1) คำว่า ลูกจ้าง จะถูกอ้างอิงถึงในแต่ละรายบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ถูกยอมรับกันว่า มีสภาพเป็น ความสัมพันธ์ของการจ้างงานตามที่ระบุรายละเอียดไว้แล้วอย่างชัดเจนอยู่ภายในกฎหมายประจำชาติ หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนคำว่า คนงานจะมีความหมายโดยทั่วๆ ไป และอ้างอิงไปถึงบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่กระทำหรือปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นๆ เพราะฉะนั้นคำว่า คนงาน จึงสามารถอ้างอิงไปถึงลูกจ้าง หรือเกี่ยวเนื่องไปถึงบุคคลบางคน ที่กระทำงานในลักษณะเพื่อจ้างงานสำหรับตนเองก็ได้อีกเช่นเดียวกัน

             - โดยอาศัยผลของการยอมรับจากการทำงานด้านนิติบัญญัติ เพื่อกำหนดให้มีรายละเอียดที่สอดคล้องเข้ากับเนื้อหาที่ถูกระบุไว้แล้วภายใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และอาจปรากฏอยู่ภายใต้หลักการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงกับมาตรฐานแรงงานของ ILO อีกด้วย
        - ต้องมีการบังคับใช้ประโยชน์จากรายละเอียดทางกฎหมายประการต่างๆ เหล่านั้น และครอบคลุมลงไปถึงในเรื่องของการพัฒนา และสนับสนุนแหล่งเงินทุนเข้ามาช่วยเหลือในการกระตุ้นก่อให้เกิดระบบของการตรวจสอบด้านแรงงานในระดับชาติขึ้นมาอีกร่วมด้วยตามลำดับ และ
        - ยังจำเป็นต้องก่อให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาได้ว่า คนงาน และองค์การต่างๆ จะสามารถเข้าถึงในรายละเอียดที่สำคัญในเรื่องความยุติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายใต้เหตุการณ์ ซึ่งไม่มีส่วนสนับสนุนต่อเรื่องดังกล่าวแต่ประการใด
        เพราะฉะนั้นรายละเอียดของกฎหมายด้านแรงงาน และวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ จึงค่อนข้างแสดงความแปรผัน และแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศเป็นสำคัญ
        ในสภาพที่รัฐบาลประสบความล้มเหลวสำหรับการปฏิบัติงานด้านนิติบัญญัติ หรือเพื่อต้องการสนับสนุนให้เกิดกฎหมายขึ้นมาควบคุมเป็นผลโดยตรงต่อการปฏิบัติด้านแรงงานเช่นนั้น องค์การแต่ละแห่งที่ปฏิบัติงานของตนเองอยู่ภายใต้สภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จึงควรใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบสำหรับการมีเหตุการณ์ที่แสดงความล้มเหลวเกิดขึ้นมาเช่นนี้ โดยอาศัยแสดงผลของการผูกมัดตนเองเข้ากับหลักการประการต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมาในลักษณะของการเป็นเครื่องมือระดับนานาชาติเป็นส่วนใหญ่ อีกสถานการณ์หนึ่งก็คือ ในขณะที่กฎหมายระดับชาติมีการยกร่าง และ/ หรือถูกกำหนดขึ้นมาอย่างชัดเจน มีรายละเอียดที่เพียงพอแล้วนั้น แต่ลักษณะการบังคับใช้ทางกฎหมายสำหรับภาครัฐบาลเอง กลับเกิดขึ้นได้อย่างไม่สมบูรณ์ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไม่เพียงพออยู่ก็ตาม องค์การควรแสดงผลการผูกมัดตนเองเข้ากับการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความสอดคล้องเขากับรายละเอียดกฎหมายเหล่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ
        ในทางปฏิบัติยังถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการระบุหรือชี้บ่ง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลความแตกต่างขึ้นมาระหว่างภาครัฐบาล ที่ต้องแสดงบทบาทของการเป็นหน่วยงานระดับรัฐ ที่จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและกล่าวถึงไว้แล้วในเบื้องต้น และการแสดงบทบาทของภาครัฐบาลในฐานะที่เป็นนายจ้างขึ้นมาอีกประการหนึ่งร่วมด้วย ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐบาล หรือองค์การที่รัฐแสดงความเป็นเจ้าของอยู่โดยตรงเช่นนั้น จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อการมุ่งเน้นลงไปในเรื่องผลของการปฏิบัติด้านแรงงานเช่นเดียวกับองค์การประเภทอื่นๆ และอาจรวมไปถึงการแสดงความรับผิดชอบออกมาในลักษณะอื่นๆ ซึ่งองค์การเหล่านี้ ต่างได้ดำเนินการแล้วเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต่างๆ และเพื่อการบริหารจัดการในส่วนความยุติธรรมออกมาให้เห็นเป็นผลอย่างชัดจนอีกด้วย

 XXXXXXXXX