บทที่ 2
บทบาทขององค์การ ISO และการจัดทำมาตรฐานนานาชาติ (Role of ISO for International Standards)
ตอนที่ 4: มาตรฐานนานาชาติ และรางวัล ISO
7. มาตรฐานนานาชาติและการศึกษา/ รางวัล ISO (International standard and education/ ISO Awards)
บทบาทที่สำคัญขององค์การ ISO ต่อการจัดทำ “มาตรฐานปฏิบัติระดับนานาชาติ” เป็นเรื่องที่มีความชัดเจนมากสำหรับการใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่สามารถสะท้อน และชี้บ่งถึงผลของความร่วมมือที่เกิดขึ้นในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การปรากฏองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับขึ้นมาโดยตรง การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ากับยุคสมัย และการปรากฏสภาพออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี หรือเหมาะสมสำหรับองค์การหรือผู้ปฏิบัติงานได้ต่อไป เป็นต้น โดยจะพบได้อย่างชัดเจนเพิ่มเติมขึ้นมาอีกประการหนึ่งว่า ความเป็นมาตรฐานดังกล่าว ได้ปรากฏออกมาเป็นเรื่องที่ยอมรับ/ นับถือกันอย่างกว้างขวางทั่วไปในระดับโลก และมีผลช่วยสนับสนุนต่อการสร้างกิจกรรมของการพัฒนาเศรษฐกิจ การตอบสนองต่อความต้องการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงในที่สุดนำพาไปสู่แนวทางของการพัฒนาแบบยั่งยืนขึ้นมาได้เป็นลำดับสุดท้าย
นอกเหนืออกไปจากการแสดงบทบาทและหน้าที่ดังกล่าว ตามที่ระบุรายละอียดไว้ในเบื้องต้นแล้วนั้น องค์การ ISO ยังมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการช่วยส่งเสริม และสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นมากับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่แพร่กระจายอยู่ทั่วโลกอีกด้วย โดยเฉพาะการมุ่งเน้น และเล็งเห็นความสำคัญที่ยึดถืออยู่บนพื้นฐานที่ว่า สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง จะสามารถทำการช่วยเหลือ หรือสนับสนุนต่อการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน ที่อาศัยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “มาตรฐานปฏิบัติระดับนานาชาติ” ขึ้นมาให้เห็นผลได้โดยตรงอย่างไร หรือสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ และความต้องการดังกล่าวขึ้นมาได้อย่างไรอีกร่วมด้วย เช่น มีการสอนหรือบรรจุเป็นเนื้อหารายละอียดไว้อยู่ภายในโปรแกรมการศึกษา หลักสูตร หรือเนื้อหาวิชาต่างๆ ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกเป็นประการสำคัญ
นอกจากนี้องค์การ ISO ยังมีจุดมุ่งหมาย และปณิธานอย่างแรงกล้าต่อการตัดสินใจที่จะมีการมอบหมายสิ่งที่ชี้บ่งถึงระดับความสำเร็จที่เรียกว่า “รางวัล ISO” ขึ้นมา เพื่อกระตุ้นก่อให้เกิดผลการทำงานขึ้นมาภายใต้การจัดให้มีโปรแกรมการศึกษา/ หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานปฏิบัติ หรือมาตรฐานระดับนานาชาติเช่นนั้น รวมถึงมีการศึกษาเรียนรู้ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอน/ นักวิจัยต่างๆ โดยต้องแสดงถึงผลความสำเร็จของโปรแกรมการศึกษาเหล่านั้นออกมาอย่างเห็นผลได้โดยตรงตามลำดับ เพราะฉะนั้นรางวัล ISO ดังกล่าว จึงถูกนำเสนอรายละเอียดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี 2007 และมีสถาบันการศึกษา/ มหาวิทยาลัยที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาสู่รอบสุดท้ายเป็นจำนวน 6 แห่งด้วยกันสำหรับการเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมต่อการเข้ารับรางวัล ISO กล่าวคือ 12/
ลำดับที่ | ประเทศ | รายชื่อสถาบันการศึกษา/ มหาวิทยาลัย | หมายเหตุ |
1. | สาธารณรัฐประชาชนจีน | - ได้รับรางวัลชนะเลิศ | |
2. | อิยิปต์ | ||
3. | ฝรั่งเศส | Universite de Technologie de | |
4. | ญี่ปุ่น | Department of Mechanical Systems Engineering, | |
5. | เกาหลี | Standards Education Development Committee | |
6. | เนเธอร์แลนด์ |
ภายหลังเมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบและคัดเลือก โดยอาศัยคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการจากองค์การ ISO ก็ได้มีมติจากที่ประชุมออกมาอย่างเป็นเอกฉันท์ที่ประกาศให้ผู้ชนะเลิศที่ได้รับรางวัล ISO ประจำปี 2007 ได้แก่ มหาวิทยาลัย China Jiliang แห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 13/ และได้เข้ารับรางวัลจากที่ประชุมใหญ่สมัชชา ISO ครั้งที่ 30 ที่เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีศาสตราจารย์ Song Mingshun ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการบริหารหลักสูตร/ โปรแกรมการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านมาตรฐานปฏิบัติ เป็นผู้รับรางวัลในนามของตัวแทนมหาวิทยาลัยโดยตรง สำหรับรายละเอียดของรางวัลดังกล่าว ประกอบไปด้วยการมอบใบประกาศนียบัตร เพื่อเชิดชูเกียรติ และยืนยันถึงผลความสำเร็จของการจัดโปรแกรมการศึกษาขึ้นมา พร้อมจำนวนเงินที่ได้รับอีกประมาณ 5,000 สวิสฟรังค์ (Swiss francs) ทั้งนี้ยังมีการสนับสนุนร่วมด้วยมาจากคณะกรรมการ Japanese Industrial Standards Committee (JISC) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปรากฏเป็นประเทศสมาชิกส่วนหนึ่งขององค์การ ISO
ผู้รับรางวัล (ISO Award) ประจำปี 2007 คือ ศาสตราจารย์ Song Mingshun (ตรงกลางภาพ) ในนามของมหาวิทยาลัย China Jiliang ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนบุคคลด้านซ้าย คือ MR. George Arnold รองประธาน ISO (ด้านนโยบาย) และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการคัดเลือกตัดสินรางวัลดังกล่าว ส่วนบุคคลด้านขวา คือ Mr. Hakan Murby (ประธาน ISO)
นอกจากนี้เมื่อกล่าวถึงผลความสำเร็จของการได้รับรางวัล ISO จากรายละเอียดของการจัดหลักสูตร/ โปรแกรมการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ถูกดำเนินการขึ้นมาโดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้ พบว่า มีนักศึกษาที่จบการศึกษาออกไปภายใต้สาขาดังกล่าว เป็นจำนวนมากกว่า 800 รายจนถึงสภาพปัจจุบัน โดยเฉพาะรายละเอียดเนื้อหาของโปรแกรมการศึกษาดังกล่าว จะประกอบไปด้วยการเรียน/ การสอนภายใต้วิชาต่างๆ ที่สำคัญ และแสดงความเกี่ยวข้อง เช่น หลักการของมาตรฐานปฏิบัติ มาตรฐานปฏิบัติระดับนานาชาติ รายละเอียดทางเทคนิคที่เป็นอุปสรรคด้านการค้าของ WTO (Technical Barriers to Trade; TBT) สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary; SPS) และระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System; QMS) ฯลฯ นอกจากนี้นักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 ยังต้องได้รับการศึกษาตามรายละเอียดของวิชามาตรฐาน ISO 9001 หรือต้องสามารถปฏิบัติงานในการทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Auditors) ตามความต้องการของมาตรฐาน ISO 9001:2000 ได้เป็นผลที่ดีอีกร่วมด้วย
8. บทสรุป (Conclusion)
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้ก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1946 โดยมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ จำนวน 25 ประเทศ เข้ามาประชุมร่วมกันที่กรุงลอนดอน และในที่สุดมีมติให้จัดตั้งองค์การดังกล่าวขึ้นมา รวมถึงองค์การสหประชาชาติยังได้ประกาศยอมรับให้มีลักษณะเป็น “องค์การชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐบาล (Non-Governmental Organization; NGO)” ส่วนสมาชิกขององค์การ ISO ต้องมีฐานะเป็น “สถาบันมาตรฐานแห่งชาติ (NSB)” ซึ่งมีได้เพียงสถาบันเดียวจากแต่ละประเทศทั่วโลกสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกในประเภทต่างๆ วัตถุประสงค์หลักขององค์การ ISO จึงทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ หรือปรับปรุงมาตรฐานนานาชาติเกือบทุกประเภทสาขาวิชา (ยกเว้นมาตรฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของ IEC) ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ประเทศต่างๆ ในโลก สามารถใช้ประโยชน์เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เช่น การปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล เคมีพื้นฐาน วัสดุประเภทที่ไม่ใช่โลหะ สินแร่และโลหะ กระบวนการสารสนเทศ กราฟฟิคและการถ่ายรูป การเกษตร ตึกอาคารและสถานที่ เทคโนโลยีพิเศษ การแพทย์และการพยาบาล การจัดการสิ่งแวดล้อม การบรรจุหีบห่อและการนำส่งสินค้า เป็นต้น
ส่วนวิธีการในการกำหนดหรือ “กระบวนการการยกร่างมาตรฐานฉบับต่างๆ” ขึ้นมานั้น องค์การ ISO จะระบุรายละเอียดเฉพาะมาตรฐาน ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดตามคำร้องขอของภาคธุรกิจที่ต้องการนำมาตรฐานนั้นๆ ไปใช้ประโยชน์ โดยอาศัยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญที่มาจากภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการและภาคธุรกิจ นอกจากนี้อาจมีผู้แทนอื่นๆ มาจากหน่วยงานของรัฐ และห้องปฏิบัติการทดสอบต่างๆ เข้ามาร่วมด้วยก็ได้ในการกำหนดกระบวนการยกร่างมาตรฐานฉบับนานาชาติ เพราะฉะนั้นในสภาพปัจจุบันโครงสร้างหลักขององค์การ ISO จึงประกอบไปด้วย “คณะกรรมการด้านเทคนิค (Technical Committee; TC)” ที่ประกอบภารกิจในด้านต่างๆ อยู่เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 201 คณะทำงาน รวมถึงประกอบไปด้วย “กลุ่มคณะกรรมการย่อย (Sub-Committee; SC)” อีกจำนวน 542 กลุ่ม และยังประกอบด้วย “กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน (Working Group; WG)” อีกประมาณ 2,287 กลุ่ม เป็นอย่างต่ำ
มาตรฐานแต่ละประเภทที่องค์การ ISO จัดทำขึ้นมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ จึงมีสถานะ และจัดระดับว่าเป็น “มาตรฐานนานาชาติ (International Standards)” อย่างแท้จริง โดยทั้งนี้ได้รับความเห็นชอบและประกาศอนุมัติให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จากประเทศภาคีสมาชิกส่วนใหญ่ลงมติยอมรับผลโดยตรง ในปัจจุบันจากผลการสำรวจปรากฏว่า มีมาตรฐานที่ประกาศออกมาใช้ทั้งที่เป็นมาตรฐานนานาชาติ และรายงานด้านเทคนิค (Technical report) อยู่ไม่ตำกว่า 16,500 ฉบับ และเท่าที่ปรากฏให้ผลของความสำเร็จ หรือมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนเป็นอย่างมากสำหรับการปฏิบัติงานในขณะนี้ก็คือ รายละเอียดของมาตรฐาน ISO 9000:2000 (ถูกยกร่างขึ้นมาโดยอาศัยผลการดำเนินงานจากคณะกรรมการ ISO/TC 176) และรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 14000:2004 (ถูกยกร่างโดยคณะกรรมการ ISO/TC 207) เป็นต้น ส่วนรายละเอียดของมาตรฐาน ISO 26000 Social Responsibility (SR) (ซึ่งกำลังถูกยกร่างอยู่ในปัจจุบัน โดยอาศัยการดำเนินงานของคณะกรรมการ ISO/TMB/WG/SR) ก็คาดว่า จะเป็นมาตรฐานที่ประสบความสำเร็จขึ้นมาอีกฉบับหนึ่งในโอกาสข้างหน้า (ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทที่ 3 .4 และ 5 ซึ่งจะขอกล่าวถึงเป็นลำดับต่อไป)
XXXXXXXXX
ข้อมูลอ้างอิง (References)
1. ISO. 2008. The ISO survey 2006. Principal findings. Available (Online) at: www.iso.org/iso/
2. ISO. 2008. ISO standard. Available (Online) at: www.iso.org/iso/standards_ development/
II. บทบาท และหน้าที่ขององค์การ ISO (Role and functions of ISO)
3. ISO. 2008. Key markers in ISO’s history. Available (Online) at: www.iso.org/iso/about/ the_iso_story.htm
4. ISO. 2008. The ISO timeline. Available (Online) at: www.iso.org/iso/about/ the_iso_story/iso_story_timeline.htm
III. โครงสร้าง และสมาชิกขององค์การ ISO (Structures and ISO members)
5. ISO. 2008. The ISO members. Available (Online) at: www.iso.org/iso/about/ iso_members.htm
6. ISO. 2008. ISO’s structure. Available (Online) at: www.iso.org/iso/structure
IV. กระบวนการพัฒนามาตรฐาน ISO (ISO standard development)
7. ISO. 2008. Stages of the development of international standards. Available (Online) at: www.iso.org/iso/standards_developmnt/processes_and_procedures/
V. คณะกรรมการด้านเทคนิคขององค์การ ISO (ISO Technical Committee)
8. ISO. 2008. List of ISO technical committees. Filter by technical committees. Available (Online) at: www.iso.org/iso/standards_development/technical_committees/list_ of_ iso_technical_committees/
9. ISO. 2008. TC 176: Quality management and quality assurance. Available (Online) at: www.iso.org/iso/standards_development/technical_committees/list_of_iso_ technical_committees/
10. ISO. 2008. TC 207: Environmental management. Available (Online) at: www.iso.org/iso/standards_development/technical_committees/list_of_iso_ technical_committees/
11. ISO. 2008. JTC 1: Information Technology. Available (Online) at: www.iso.org/iso/ standards_development/technical_committees/list_of_iso_ technical_committees/
VI. มาตรฐานนานาชาติและการศึกษา/ รางวัล ISO (International standards and education/ ISO award)
12. ISO. 2008. The 2007 ISO award for higher education in standardization – the six finalists. Available (Online) at: www.iso.org/iso/iso/the_2007_iso_award/
13. ISO. 2008. Chinese university wins inaugural ISO award for higher education in standardization. Available (Online) at: www.iso.org/iso/iso/pressrelease.htm?refid =Ref1077
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น