หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 บทที่ 3 (ตอนที่ 1 แนวความคิดพื้นฐาน และบริบท SR)

บทที่ 3
บรรทัดฐานระดับนานาชาติ สิ่งริเริ่ม และเครื่องมือ SR (International Norms, Initiatives and SR Tools)

ตอนที่ 1: แนวความคิดพื้นฐาน บริบท และประเด็น SR ที่ควรพิจารณา และคำนึงถึงในปัจจุบัน
1. บทนำ (Introduction)
       วัตถุประสงค์หลักของการนำเสนอรายละเอียดในบทนี้ ก็เพื่อต้องการบรรยายให้เห็นถึงสภาพในปัจจุบัน และความเป็นไปได้สำหรับทิศทางในอนาคตสำหรับความพยายามสำหรับการทำงานร่วมมือกัน ที่เกิดขึ้นมาด้วยผลความสมัครใจ ทั้งจากภาครัฐบาล หน่วยงาน/ องค์การเอกชนต่างๆ ต่อการกำหนด เครื่องมือ (Tools)” ที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน หรือช่วยส่งเสริมต่อการปฏิบัติงานด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility; SR)” ให้เกิดเป็นผลขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับองค์การแต่ละแห่งเป็นเรื่องสำคัญ
      
       รายละเอียดเบื้องต้นที่กล่าวถึง คือ แนวความคิดพื้นฐาน และการพัฒนาเครื่องมือ SR ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากผลการทำงานทั้งภาครัฐบาล และองค์การที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น โดยกล่าวเน้นให้เห็นว่า ประเภทของเครื่องมือที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจเช่นนี้ ต่างได้รับการออกแบบ และถูกกำหนดยกร่างขึ้นมา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในรายละเอียดของการปฏิบัติงานด้าน SR ต่างๆ อยู่โดยตรง เช่น การระบุเรื่องสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน และการปกป้องคุ้มครองผลการปฏิติงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความตั้งใจต่อการบูรณาการในเรื่องการสร้าง บรรทัดฐาน (Norms)” ทั้งหลายของการปฏิบัติงานตามรายละเอียดเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานประจำวันขึ้นมาสำหรับการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์การประเภทต่างๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง
       รายละเอียดในส่วนต่อมายังได้บรรยายให้เห็นถึง เครื่องมือหลัก SR ที่เกิดเป็นผลสืบเนื่องขึ้นมาจากการพัฒนาในระดับโลกที่เรียกว่า สิ่งริเริ่มระดับนานาชาติ (International Initiatives)” ต่างๆ อีก 4 ประเภทที่สำคัญในปัจจุบัน กล่าวคือ แนวทางปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจข้ามชาติของ OECD (OECD Guidelines for Multinational Enterprises)การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในระดับโลก หรือสัญญาโลก (Global Compact)” ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์จากสำนักงานใหญ่ของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ มาตรฐาน ISO/SR 26000” ที่ปรากฏเป็นข้อแนะนำสำหรับ SR ที่ต้องดำเนินการขึ้นมาโดยองค์การ ISO (ISO/Social Responsibility Guidance Standard) และกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติได้ลำดับต่อไป และ การรายงานผลความยั่งยืนตามข้อแนะนำของ GRI (Global Reporting Initiative Sustainability Reporting Guidelines) เป็นต้น
       นอกจากนี้จะพบรายละเอียดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ถึงแม้เครื่องมือหลักของ SR ทั้ง 4 ประเภทเช่นนี้ จะถูกพัฒนา โดยแยกให้มีความอิสระแตกต่างออกไปจากกันก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามารถก่อให้เกิดคุณค่าที่เพิ่มขึ้นมาได้เมื่อมีการใช้ประโยชน์ในลักษณะการบูรณาการเข้าด้วยกันทั้งหมดในทุกรูปแบบ ดังจะพบความสำคัญได้ว่า สัญญาโลก (Global Compact) สามารถให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ในระดับสูง (High level)” โดยสามารถยืนยัน และเป็นตัวชี้บ่งได้ถึงว่า มีเนื้อหาหลักที่ต้องปฏิบัติ ทั้งด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่สมควรยึดถือ และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติภายในองค์การต่างๆ ได้ทั่วโลก เพื่อก่อให้เกิดการสร้างบรรทัดฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน ส่วนรายละเอียดของ สิ่งริเริ่ม ตามคำแนะนำของ OECD นั้น จะให้รายละเอียดที่ค่อนข้างสมบูรณ์เกิดขึ้นมากกว่า โดยระบุบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมออกมาให้เห็นเป็นรายละเอียดที่ชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์ได้ระดับหนึ่ง ส่วน GRI กลับมีการมุ่งเน้นลงไปในการให้รายละเอียดต่างๆ ที่เป็นข้อแนะนำสำหรับการจัดทำรายงานประกอบ (เป็นระบบเอกสาร) ขึ้นมาอีกร่วมด้วย แต่ในขณะที่มาตรฐาน ISO/SR 26000 ดูจะเป็นเรื่องของข้อแนะนำที่ถูกกำหนดด้วยความตั้งใจต่อการมุ่งเน้นลงไป เพื่อกระตุ้นให้มีการจัดตั้ง หรือดำเนินงานด้าน SR ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้มีลักษณะความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของหัวข้อกำหนดหลักต่างๆ ที่ถูกระบุอยู่ไว้เป็นเนื้อหาหลักภายในมาตรฐานฉบับนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

       ถึงแม้ว่ารายละเอียดของการปฏิบัติงานด้าน SR เช่นนี้ ไม่ว่าจะพบขึ้นมาในสภาพของบรรทัดฐานระดับนานาชาติ สิ่งริ่เริ่ม หรือเครื่องมือประเภทต่างๆ แต่คงไม่มีการปฏิบัติใดๆ เป็นไปตรงตามรายละเอียดของรูปแบบดังกล่าวเหล่านั้น (ทั้ง OECD, Global Compact และ GRI) จะประกอบไปด้วยความสมบูรณ์ หรือสามารถก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุดสำหรับองค์การแห่งหนึ่งๆ แต่จากอาศัยความจริงที่พบ ซึ่งกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐานที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้เป็นหลักก็คือ ISO/SR 26000 นั้น (ตามทรรศนะของผู้เขียน) ยังเห็นเพิ่มเติมอีกว่า รายละเอียดของมาตรฐาน ISO/SR ฉบับดังกล่าว ถูกจัดทำขึ้นมา เพื่อเป็นจุดมุ่งเน้นในเรื่องการใช้ประโยชน์ของการเป็น รายละเอียดเสริมหรือสามารถช่วยเกื้อหนุน (Complement)” ให้มีระดับความสมบูรณ์ในการปฏิบัติงานที่เพิ่มมากขึ้นจากรายละเอียดเดิมทั้ง 3 ประเภทของเครื่องมือ SR ที่กล่าวถึงมาแล้วในเบื้องต้นทุกประการ หรืออีกนัยหนึ่งยังสามารถแสดงคุณลักษณะของความเป็นเครื่องมือประเภทที่มี ความยืดหยุ่น (Flexible)” เกิดขึ้นได้ในระดับสูงมาก และยังมีความเหมาะสมสำหรับการช่วยเติมเต็ม ความเป็นช่องว่าง (Gap)” ในลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติงานของเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทดังล่าว ให้เป็นผลที่ดียิ่งขึ้นได้ตามลำดับ

2. แนวความคิดพื้นฐาน บริบท SR ในปัจจุบัน และรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ที่ควรพิจารณา (SR Concepts, current context and issues consideration)
     2.1 จุดกำเนิด และประวัติความเป็นมาของ SR (Background)
       ตั้งแต่เริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ค่อนข้างจะพบเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงระดับโลก ได้หันเหไปสู่ความใส่ใจในเรื่อง การแสดงความรับผิดชอบขององค์การ (Organizational Responsibilities)” แต่ละแห่งที่จะต้องกระทำ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะผลของการเปลี่ยนแปลงจะมุ่งเน้นลงไป เพื่อก่อให้เกิดความเป็นรูปธรรมขึ้นมาในระดับสังคม และเศรษฐกิจก็ตาม แต่ทั้งนี้กระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ยังเป็นผลที่สืบเนื่องที่ได้รับมาจากความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของเทคโนโลยี และสภาพความเป็นโลกาภิวัฒน์ ได้กระทำอย่างต่อเนื่องอีกร่วมด้วยเช่นนั้น จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในลักษณะที่เกี่ยวข้องว่า มีการผลิตสินค้า/ บริการอะไรออกมา กระทำได้อย่างไร สถานที่แห่งใด และกระทำโดยผู้ใด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ ยังมีลักษณะที่แพร่กระจายตัวออกไปได้อย่างไม่ทั่วถึง หรือเป็นขอบเขตที่กว้างขวาง จึงส่งผลกระทบต่อการเกิดขึ้นมาของความยากจนในระดับโลก และปัญหาสืบเนื่องประการอื่นๆ สำหรับสภาพของการพัฒนาที่อ่อนด้อยล้าขึ้นมาตามลำดับ ส่วนในระดับของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็พบอีกเช่นกันว่า รูปแบบของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ที่กระทำโดยมนุษย์นั้น ต่างมีส่วนและส่งผลกระทบขึ้นมาอย่างทันทีทันใดต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบชีวภาพและกายภาพของโลกเป็นสำคัญ ดังเช่น เกิดการสูญสิ้นของพันธ์พืชและสัตว์ และผลของการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศในระดับโลก เป็นต้น รายละเอียดของผลกระทบเหล่านี้ กำลังแสดงแนวโน้ม และคาดหวังว่า จะเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และจะมีส่วนต่อการแตกสาย หรือก่อให้เกิดสูญสิ้นระบบที่มั่นคงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันลงได้ในโอกาสข้างหน้าต่อไป 1/

  

       รายละเอียดที่แสดงถึงความเป็น แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก (Global trends)”.เช่นนี้ ค่อนข้างแสดงปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรืออาจดำเนินเป็นไปตามรายละเอียดขอบเขตที่กว้างขวางมาก และยังแสดงความเกี่ยวข้องเข้ากับเรื่องของการกำหนด นโยบายหลัก (Main policies)” ขึ้นมารองรับ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นสิ่งสำคัญ ดังจะพบเห็นรายละเอียดในปัจจุบันได้ว่า ถ้าต้องการเพิ่มขึ้นในเรื่องการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิง (ประเภทน้ำมัน) สำหรับการใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ แล้วนั้น แทบจะต้องไม่สงสัยเลยว่า สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นมาให้เห็นได้โดยตรงสำหรับประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย แต่ในขณะเดียวกันกลับไปเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศในระดับโลก ให้เห็นผลออกมาได้เป็นรูปธรรมติดตามมาเป็นประการสุดท้าย ในเรื่องของการกำหนดนโยบายหลัก และวิธีการปฏิบัติต่างๆ ที่เหมาะสมขึ้นมาตามลำดับ จึงมีส่วนต่อการช่วยเหลือหรือสนับสนุน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ (เช่น เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฯลฯ) เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปในด้านที่เป็นประโยชน์ที่ดีขึ้นมาต่อประชาคมในระดับโลกได้ เพราะฉะนั้นรายละเอียดที่เป็นผลสืบเนื่องที่ควรทำการพิจารณาติดตามมาก็คือ การกำนดนโยบายหลักที่เกี่ยวข้อง และมีรายละเอียดที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำพาไปสู่การดำเนินการขึ้นมาได้หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายใต้ความรับผิดชอบทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับนานาชาติ และระดับรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งปรากฏเป็นผู้ที่สามารถทำการตัดสินใจขึ้นมาได้อย่างจริงจัง เพื่อดำเนินงานในด้านการรักษาความเป็นสมดุลไว้ทั้งความเป็นผลประโยชน์ของชาติ และความเป็นประโยชน์ร่วมกันในระดับโลก และอาจครอบคลุมรวมไปถึงการระบุความต้องการที่แตกต่างกันออกมาได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า จึงถือว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งต่อไป
       ในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง และควรพิจารณานึกถึงในลำดับต่อมานั้น อาจกล่าวได้ว่า ไม่ใช่ภาครัฐบาลแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ต่อการมีความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลง/ การสะท้อนชี้บ่งถึงความต้องการต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งอาจถือได้ว่า มีลักษณะเป็น สิ่งท้าทาย (Challenges)” สำคัญประการหนึ่งที่ควรปฏิบัติหรือกระทำ เพื่อให้เห็นผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาตามลำดับเช่นนั้น ในความเป็นจริงแล้วยังปรากฏ หรือพบว่า ยังมี ผู้ปฏิบัติทางสังคม (Social actors)” ประเภทอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมด้วยภายในสังคม/ ชุมชนแต่ละแห่งที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เช่น มาจากภาคธุรกิจ ภาควิชาการ แรงงาน และ NGO เป็นต้น ซึ่งผู้ปฏิบัติเหล่านี้ ต่างก็ได้เริ่มมีความเข้าใจและตระหนักต่อบทบาทของตนเองเพิ่มมากขึ้น หรือมีความต้องการในเรื่องการทำงานอย่างท้าทายสำหรับการปฏิบัติตามเนื้อหา หรือรายละเอียดประเด็นต่างๆ ที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่โดยตรงเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อต้องการแสดงความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในส่วนของตนออกมาให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม หรือปรากฏเป็นเรื่องที่ยอมรับจากสาธารณชนภายนอกได้เป็นส่วนใหญ่
       รายละเอียดที่กล่าวมาแล้วในเบื่องต้นเหล่านี้ทั้งหมด ถือว่า มีสภาพเป็นจุดกำเนิด และชี้บ่งถึงความเป็นมาสำหรับแนวความคิดด้าน SR ที่ผ่านการวิวัฒนาการเป็นไปได้ภายใต้ขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นมาตามลำดับจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏการณ์ SR เช่นนี้ ย่อมแสดงผลตอบสนองในรายละเอียดที่สำคัญ และเกี่ยวข้องออกมาใน 3 ลักษณะที่สมควรรับรู้เป็นอย่างยิ่ง 2/ กล่าวคือ
·     การแสดงศักยภาพในด้านของ การเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (Regulatory instruments)” เป็นสำคัญ ทั้งนี้การปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎเกณฑ์/ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งมีการประกาศใช้ หรือถูกกำหนดขึ้นมาโดยองค์การ/ หน่วยงานภาครัฐ ที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้เป็นส่วนใหญ่ เช่น การอาศัยคำสั่ง และสิ่งควบคุมทางกฎหมาย การจัดเก็บภาษี สิทธิพิเศษบางประการที่ได้รับทางการเงิน และงบประมาณ ฯลฯ แต่เพียงประการเดียว ย่อมไม่สามารถก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทางสังคมขึ้นมาอย่างได้ผลเต็มที่ นอกจากนี้หน้าที่และอำนาจดำเนินการในแต่ละองค์การ/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ซึ่งพบอยู่ในระดับประจำชาติ หรือในระดับระหว่างภาครัฐบาลต่างๆ ด้วยกัน ยังแสดงความแตกต่างออกไปเป็นอย่างมาก ในเรื่องของการมีระดับความสามารถ หรืออำนาจดำเนินการต่างๆ เพื่อมุ่งหวังผลต่อการพัฒนา การแสดงบทบาทหน้าที่ และการกระตุ้นให้มีการนำรายละเอียดตามแนวความคิดของการปฏิบัติงานเหล่านั้น ดำเนินเป็นไปอย่างสอดคล้องตรงตามกฎหมาย และสามารถนำไปใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาทั้งทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีต่อไป
·      การแสดงศักยภาพในด้านของ การเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน โดยยึดถืออยู่บนพื้นฐานด้วยความสมัครใจ (Voluntary instruments)” เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ประเภทของเครื่องมือ SR ดังกล่าว ล้วนวิวัฒนาการขึ้นมาจากประเภทแรก แต่มีการเพิ่มเติม ขยายรายละเอียดบางประการออกไป ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความสมบูรณ์ ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม หรือมีส่วนเกื้อหนุนต่อการปฏิบัติงานในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมออกมาอย่างได้ผลเป็นอย่างดีตามลำดับ
·     การแสดงศักยภาพในด้านของ การมีความเข้าใจที่ว่า องค์การทุกองค์การล้วนต้องแสดงความรับผิดชอบออกมา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Economic, social and environmental responsibilities) อยู่ร่วมด้วยเสมอ ทั้งนี้อาจกล่าวเสริมได้ว่า องค์การทุกประเภท ทั้งที่มีลักษณะเป็นภาครัฐบาล ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคมก็ตาม ล้วนแสดงความเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดขึ้นมาของผลกระทบต่างๆ ทั้งในเชิงบวกหรือลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ตามลำดับ โดยเฉพาะแนวทางการปฏิบัติงานขององค์การต่างๆ เช่นนั้น ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมในหลายด้านด้วยกัน (ทั้งในส่วนของลูกจ้าง/ พนักงาน ผู้บริโภค สมาชิก ชุมชน ฯลฯ) และอาจครอบคลุมรวมไปถึงรายละเอียดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงานดังกล่าวอยู่ในขณะนั้นๆ ได้โดยตรงอีกด้วย (เช่น การปลดปล่อยมลพิษ การใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรประเภทต่างๆ ฯลฯ)

 

กรอบแนวทางปฏิบัติของ CSR/SR และองค์ประกอบ ที่ควรพิจารณาสำหรับองค์การแต่ละแห่ง

     2.2 บริบทของ SR ในปัจจุบัน (Current context)
       ถึงแม้ว่า แนวความคิดของ SR ดังกล่าว จะถือกำเนิดขึ้นมาในหลายรูปแบบ หรือลักษณะอื่นๆ ตั้งแต่เริ่มต้นศตวรรศที่ 20 ที่ผ่านมาก็ตาม แต่ทั้งนี้รายละเอียดที่ควรให้ความสนใจกันต่อไปก็คือ หน่วยงานภาครัฐบาล และ องค์การระหว่างภาครัฐบาลต่างๆ (Intergovernmental organizations)” ล้วนแสดงบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนา และการนำไปสู่การปฏิบัติได้ของ SR ขึ้นมา เพื่อก่อให้เกิดผลของความสอดคล้องเข้ากับรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้ตามแนวความคิดของการพัฒนาแบบยั่งยืน และแนวความคิดในลักษณะอื่นๆ อีกร่วมด้วย โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นในปี 1976 ได้มีการจัดทำรายละเอียดที่เป็นข้อแนะนำสำหรับการประกอบธุรกิจของบริษัท หรือวิสาหกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า OECD Guidelines for Multinational Enterprises (MNEs) 3/ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติงานในฐานะภาครัฐบาลที่เข้ามาทำหน้าที่ (ร่วมกับภาคเอกชน และตัวแทนด้านแรงงานต่างๆ) สำหรับการเป็นผู้พัฒนารายละเอียดของการเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ หรือแสดงความเหมาะสมต่อการควบคุม หรือกำกับเป็น บรรทัดฐาน SR ในระดับนานาชาติ โดยแสดงผลของการปฏิบัติที่ดำเนินเป็นไปตามความสมัครใจ (Voluntary SR international norms)” อยู่เป็นเรื่องสำคัญ ต่อมาในปี 1977 องค์การภาครัฐบาลอีกแห่งหนึ่ง คือ ILO (ประกอบด้วยหน่วยงานที่มาจากภาครัฐบาล ภาคเอกชน และองค์การด้านแรงงาน เป็นต้น) ได้จัดทำคำประกาศที่เรียกว่า ปฏิญญาไตรภาคี (ILO Tripartite Declaration)” 4/ ซึ่งสามารถยึดถือได้ว่า เป็นตัวอย่างที่ดีในช่วงระยะเวลาแรกๆ ของการปรากฏออกมาเป็นเครื่องมือในระดับนาชาติอีกเช่นกัน ซึ่งกระทำและยึดถืออยู่บนพื้นฐานของความยินยอมด้วยความสมัครใจต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้าน SR ขึ้นมาตามลำดับ
       ในปี 1992 จากผลการประชุมสุดยอดโลกของ UN Earth Summit รัฐบาลที่เป็นตัวแทนมาจากประเทศสมาชิกต่างๆ ต่างยอมรับผลร่วมกันในเรื่องความสำคัญที่เรียกว่า การแสดงความรับผิดชอบสำหรับการประกอบการทางธุรกิจ (Responsible entrepreneurship)” และครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในระดับโลกอีกด้วย 5/ ในช่วงทศวรรษต่อมา คือ ในปี 2002 จากการประชุมสุดยอดโลกของ UN ที่ว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development, WSSD) ก็เช่นกัน ต่างมีการเรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นรูปธรรรมแบบกลุ่มก้อน เพื่อทำหน้าที่ขยับขยายผลของการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้มุ่งเข้าไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนได้ในที่สุด สำหรับรายละเอียดในบริบทเช่นนี้ ภาครัฐบาลที่มาจากประเทศต่างๆ ยังได้ร่วมลงนามเพื่อแสดงความมุ่งหวังร่วมกัน ในเรื่องของความจำเป็น ที่จะต้องมีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องเป็นไปเข้ากับเรื่อง การแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการสร้างความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง/สมบูรณ์ (Corporate environmental and social responsibility and accountability) ขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรมตามลำดับ 6/ นอกจากนี้ในปี 2000 องค์การ OECD ซึ่งมีสถานะเป็นที่รวมของกลุ่มประเทศต่างๆ ได้ทำการปรับแก้ไขในรายละเอียดของ MNE Guidelines ให้มีความเหมาะสมเพิ่มมากยิ่งขึ้น สำหรับใช้ประโยชน์ในการเป็นข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติงานของบรรษัทข้ามชาติ ที่มีการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ อยู่อย่างแพร่หลายภายในบริเวณเขตพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก

  
       นอกจากนี้ในรอบระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมานี้ บทบาทความสำคัญของภาครัฐบาลต่อการพัฒนาจำนวนเครื่องมือประเภทต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้คาดคะเนหรืออาศัยเป็นสิ่งกำกับในรายละเอียดของการปฏิบัติสำหรับการทำหน้าที่ควบคุม บรรทัดฐานทางพฤติกรรมด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม (Social and environmental norms of behavior)” ที่เกิดขึ้นในภาคเอกชน และองค์การประเภทต่างๆ ได้พบเห็นกันอยู่เป็นจำนวนมากมายหลายเรื่องด้วยกัน และเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้องค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่เหล่านั้น จำเป็นจะต้องหันมาพัฒนา หรือค้นหาโอกาสสำหรับการปฏิบัติงานในแนวทางแบบใหม่ที่มีความเหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงรายละเอียดประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทางสังคม รวมถึงมีการปรับแต่งวิธีการปฏิบัติกิจกรรมบางประการที่สมควรดำเนินการขึ้นมาร่วมด้วย เพื่อช่วยลดปัญหาผลกระทบด้านสังคมเหล่านี้อย่างได้ผลที่ดีออกมา

   

       เมื่อกล่าวโดยสรุปจะเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ในปัจจุบันการกำหนดรายละเอียดที่มีลักษณะ และถือว่า เป็น สิ่งริเริ่มด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (SR initiatives)” ขึ้นมาในรายละเอียดหลายส่วน ทั้งการกำหนดวิธีการปฏิบัติ กิจกรรมที่ต้องกระทำ การอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อถกเถียงในประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน/ รายงานฉบับต่างๆ ออกมาโดยตรง ไม่ใช่จำกัดอยู่แต่เพียงการทำหน้าที่เฉพาะในส่วนของภาครัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลมาจากการกระทำขึ้นมาได้จากหน่วยงาน/ องค์การภายนอกของภาครัฐบาลอีกด้วย และเท่าที่พบเห็นเป็นหลักฐาน/ ข้อมูลประกอบในเชิงปริมาณได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวชี้บ่งเพื่อสะท้อนถึงความสำเร็จของ ปรากฏการณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporate social responsibility (CSR) ขึ้นมาอย่างเห็นผลได้เป็นรูปธรรมก็คือ การจัดทำรายงาน CSR ดังกล่าวออกมาได้อย่างเป็นทางการ ที่สามารถตรวจสอบพบได้สำหรับการปฏิบัติงานขององค์การแต่ละแห่งเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง เท่าที่มีหลักฐานก็คือ ในรอบระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปรากฏจำนวนรายงานส่วนใหญ่ที่กระทำโดยองค์การ/ บริษัทธุรกิจ ยังคงกระทำกันในรูปแบบดั้งเดิมที่มีการรายงานผลเพียงเฉพาะความสำคัญของผลประกอบการ หรือระดับความสำเร็จที่ได้รับด้านการเงินแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น แต่จากการสำรวจเพิ่มเติมขึ้นมาในปี 2005 ของรายงาน Fortune ‘Global 250’ กลับยืนยันผลที่พบความจริงประการหนึ่งว่า มีอยู่จำนวนถึง 64% สำหรับการจัดทำรายงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับองค์การ/ บริษัทแต่ละแห่งนั้น ล้วนได้ดำเนินงานอยู่บนพื้นฐานของการจัดทำนโยบาย SR ขึ้นมารองรับอยู่โดยตรง และพบเป็นจำนวนมากถึง 52% ที่ได้จัดทำการรายงานภายใต้หัวข้อที่จำเพาะเจาะจง หรือมีความเกี่ยวข้องกับกับประเด็น SR ต่างๆ ที่น่าสนใจอยู่ร่วมด้วยภายในรายงานฉบับดังกล่าว 7/

    2.3 รายละเอียดของประเด็น SR ที่ควรพิจารณา (SR issues consideration)
       เมื่อกล่าวถึงความจำเป็นของการใช้คำที่มีความหมายอย่างชัดเจน หรือการพิจารณาถึงรายละเอียดประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ขึ้นมาอย่างเหมาะสม ดูจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญหรือต้องได้รับความใส่ใจมากที่สุด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเหตุผลที่ถูกยอมรับกันโดยทั่วไปว่า รายละเอียดคำจำกัดความของเรื่อง SR เช่นนั้น ยังคงไม่มีการกำหนดขึ้นมาอย่างเป็นทางการ หรือถูกยอมรับความหมายดังกล่าวออกมาอย่างเป็นสากลทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงปรากฏเป็นเรื่องที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ส่วนใหญ่รายละเอียดของการปฏิบัติงานด้าน SR นั้น ล้วนจำเป็นต้องกระทำขึ้นมาในแนวทางขององค์การแต่ละแห่ง ที่จะต้องมีการบูรณาการในเรื่องที่ควรพิจารณาทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้เข้าไปสู่องค์การ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างคุณค่า วัฒนธรรม กระบวนการตัดสินใจ การกำหนดรายละเอียดกลยุทธ์ และวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ประกอบไปด้วยการปฏิบัติที่เต็มไปด้วยความรับผิด หรือการสร้างความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง/ สมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ดีขึ้นมาภายในองค์การแห่งนั้นได้ตามลำดับ และในขั้นตอนสุดท้ายสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่ง หรือการปรับปรุงความกินดีอยู่ดีภายในสังคมได้เป็นประการสำคัญ
       จากการยึดถือแนวทางวิธีการปฏิบัติงานด้าน SR เพื่อให้สามารถตอบสนองได้สอดคล้องตรงตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ทางกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สำคัญร่วมด้วยนั้น รายละเอียดของประเด็นด้าน SR ต่างๆ ที่ควรพิจารณานึกถึงกันโดยทั่วไป ก็คือ 8/
· การแสดงความมุ่งมั่น และกิจกรรมปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล และจริยธรรมขององค์การ
· สุขภาพ และความปลอดภัย
· การพิทักษ์ และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
· สิทธิมนุษยชน (ครอบคลุมรายละเอียดถึงสิทธิหลักด้านแรงงาน)
· การจัดการทรัพยากรมนุษย์
· การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนา และการลงทุน
· การเข้ามามีส่วนร่วม และการแสดงความเคารพนับถือต่อประชากรหรือคนท้องถิ่น (พื้นเมือง)
· การบริจาค/ ให้ทานของบริษัท และการอาสมัครเพื่อปฏิบัติงานของลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานขององค์การ
· ความพึอใจของลูกค้า และการผูกมัดเข้ากับหลักการของการปฏิบัติที่เป็นธรรม
· การต่อต้านการให้สินบน และการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น
· ความรับผิด และการสร้างความน่าเชื่อถือ
· ความโปร่งใส และการรายงานผลการปฏิบัติงาน
· การผลิตตามสายโซ่อุปทาน และการกระจายสินค้า (ที่เกิดขึ้นทั้งภายในท้องถิ่น หรือเป็นไปตามสายโช่อุปทานในระดับนานาชาติ) ฯลฯ
      
      
รายละเอียดของประเด็น SR ต่างๆ ที่ควรให้ความสนใจต่อการปฏิบัติงานภายในองค์การ

         รายละเอียดของประเด็นหลักต่างๆ เหล่านี้ มีลักษณะเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และมีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นซึ่งกันและกันเป็นไปภายใต้ขอบเขตที่กว้างขวางมาก ซึ่งสามารถนำไปใช้ปฏิบัติภายในองค์การได้ตรงตามความต้องการในทุกขณะ ดังนั้นการปฏิบัติงานด้าน SR ทั้งหลาย จึงแสดงความเกี่ยวข้องกับการกระทำบางประการขึ้นมา เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงยังจำเป็นต้องการพิจารณารายละเอียดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางมาก ทั้งทางสังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์การแห่งนั้น และครอบคลุมรายละเอียดไปถึงการแสดงความผูกมัดขององค์การเข้ากับการเจรจา หรือมีการพบปะหารือร่วมกับ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)” ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบขึ้นมาจากการปฏิบัติงานขององค์การแห่งนั้น เป็นเรื่องสำคัญ
       ในเมื่อรายละเอียดของประเด็นต่างๆ ที่ถูกระบุไว้ในเบื้องต้นแล้วนั้น ดูจะเป็นเรื่องของการสะท้อนให้เห็นถึง ความคาดหวังของสังคม (Societal expectations) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจมีการแปรผันเปลี่ยนแปลงไปได้บ้างตามช่วงระยะเวลา ขั้นตอนของการปฏิบัติ หรือความเป็นไปได้ในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้นกรอบแนวความคิดของการปฏิบัติงานด้าน SR ดังกล่าว จึงมีลักษณะเชื่อมโยงเข้ากับความเป็นไปได้ของยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่างๆ ให้เข้ามามามีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาท และหน้าที่ด้าน SR ให้เพิ่มขึ้นเป็นไปตามลำดับอีกด้วย นอกจากนี้การอาศัยผลการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันทั้งหมดของการสื่อสารทั่วโลก และการเปิดโอกาสให้มีการค้าเสรีขึ้นมาอย่างแพร่หลายในแต่ละภูมิภาค ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถระบุถึงความจำเป็นสำหรับการเพิ่มคุณค่าขององค์การแต่ละแห่งขึ้นมาตามลำดับ โดยทั้งนี้ต้องอาศัยการดำเนินงาน หรือมีการจัดตั้งแนวทางของการปฏิบัติงาน ที่เป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงความรับผิดชอบขึ้นมาโดยตรง ทั้งการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งในที่สุด จะแสดงความเป็นผลประโยชน์ออกมาให้เห็น ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกันอยู่ภายในสังคมแห่งนั้นเป็นประการสุดท้าย
XXXXXXXXX