หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มาตรฐาน ISO 26000 ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility; SR)

ภาคที่ 1: บทบาทองค์การ ISO หลักการ และบรรทัดฐาน SR
(Volume I: Role of ISO, Principles and SR Norms)

คำนำผู้เขียน (Introduction for Writer)

4 มีเนื้อหาสาระอะไรอยู่ในหนังสือเล่มนี้

        เมื่อท่านผู้อ่านหยิบหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง อะไร? คือ ความแตกต่างของหนังสือเล่มนั้น ซึ่งก็มีคำตอบเกิดขึ้นอยู่มากหมายหลายประการด้วยกัน แต่หนังสือเล่มนี้ได้กำหนดเนื้อหาสาระ และวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนด้วยแล้ว กล่าวคือ
        I. การมุ่งเน้นเพื่อสร้าง กรอบแนวความคิดในเชิงบูรณาการ (Integrating Approach)” ให้เกิดขึ้นในภาพรวมกันทั้งระบบ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ทั้งหลายในส่วนขององค์ประกอบ หรือเนื้อหาสาระสำคัญต่างๆ ที่ต้องเข้าใจร่วมด้วยสำหรับ ความรับผิดชอบต่อสังคม (SR) ได้แก่
·     การมุ่งเน้นเฉพาะลงไปที่ องค์การ/ หน่วยงานทางธุรกิจ (Organization and Business Units)” เป็นหลัก
·     ต้องการเสริมสร้าง กระบวนการเรียนรู้ (Learning processes)” สำหรับเนื้อหา/ สาระ (Contents) ที่เกี่ยวข้องกับ SR โดยจำแนกออกมาเป็น ภาค (Volume)” และ บท (Chapter)” พร้อมทั้งมีการอธิบายโดยแยกออกไปเป็นส่วนๆ ตามรายละเอียดของหัวข้อ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์เรียงกันอย่างสอดคล้องตั้งแต่บทที่ 1 ลงไปสู่บทที่ 5 เป็นไปตามลำดับ คือ
           ภาคที่ 1: บทบาทองค์การ ISO หลักการและบรรทัดฐาน SR
               บทที่ 1: การรับรู้หรือเข้าใจถึงรายละเอียดของความแตกต่างระหว่าง มาตรฐาน (Standards)” และ มาตรฐานปฏิบัติ (Standardization)” บทบาทของความเป็นมาตรฐานปฏิบัติในแต่ละระดับ (โลก/ ภูมิภาค/ ชาติ) ซึ่งมีผลโดยตรงต่อ การยื่นเพื่อขอรับรองจดทะเบียน (Accreditation)” การได้รับใบประกาศนียบัตร (Certification)” และการที่มาตรฐานปฏิบัติ ปรากฏออกมาเป็นเครื่องมือระดับนานาชาติที่สามารถชี้บ่ง หรือยอมรับว่า เป็น การแสดงความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานต่อการผลิตสินค้า/ บริการ (Basic Product Responsibilities)” ขององค์การแห่งนั้นขึ้นมาได้โดยตรง
               บทที่ 2: การทำความเข้าใจ รับรู้ถึงรายละเอียดประวัติความเป็นมาขององค์การ ISO การมีภารกิจ/ หน้าที่/ บทบาทต่อการจัดทำ มาตรฐานปฏิบัติระดับนานาชาติ (International Standards; IS)” กระบวนการยกร่างมาตรฐาน คณะบุคคล/ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน ISO/IS ฉบับต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในสภาพปัจจุบัน (เช่น ISO 9000; ISO 14000 เป็นต้น)
                   บทที่ 3: การทำความเข้าใจในเนื้อหา/ แนวความคิดใหม่ที่เรียกว่า บรรทัดฐานระดับนานาชาติ สิ่งริเริ่ม และเครื่องมือ SR” ที่ปรากฏเป็นพื้นฐานของมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (SR Standards) ในรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
                   บทที่ 4: การแสดงรายละเอียด ความเป็นมาของมาตรฐาน ISO/SR 26000” กระบวนการยกร่างมาตรฐาน ISO/SR 26000 ฉบับต่างๆ ที่ดำเนินการขึ้นมาจากผลการประชุมแต่ละครั้งที่กระทำตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน/ Stakeholders ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างมาตรฐาน ข้อวิจารณ์/ คำแนะนำ จุดแข็ง และจุดอ่อนของมาตรฐาน ISO/SR 26000 ฉบับดังกล่าว
           ภาคที่ 2: ข้อแนะนำ และการอธิบายความหมายมาตรฐาน ISO 26000 (ฉบับ IS)
                   บทที่ 5: การอธิบาย และแบ่งเนื้อหา/ รายละเอียดของมาตรฐาน ISO/SR 26000 ออกเป็นแต่ละ ส่วน (Part)” ที่สอดคล้องเป็นไปตรงตามข้อกำหนด มีการอธิบายถึงความหมายในแต่ละเนื้อหาหลัก/ ประเด็น SR แต่ละด้านที่เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาก่อนที่องค์การ/ ผู้ปฏิบัติงานจะนำรายละเอียด/ เนื้อหาของมาตรฐานฉบับนี้ไปปฏิบัติ หรือจัดตั้งให้เกิดผลขึ้นมาเป็นรูปธรรม ซึ่งสามารถแสดงถึงความรับผิดชอบด้านสังคมขององค์การได้ต่อไป
        II. การใช้ประโยชน์จากการอ้างอิง (References) การรวบรวมข้อมูล/ สารสนเทศจากสื่อ Internet เพื่อสะดวกต่อการค้นคว้ารายละเอียดที่เป็นผลสืบเนื่องต่อไป กล่าวคือ
·     รายละเอียดของเนื้อหา/ สาระที่ถูกอธิบายส่วนใหญ่อยู่ไว้ภายในหนังสือเล่มนี้ จะถูกรวบรวมขึ้นมาจากแหล่งข้อมูล/ สารสนเทศประเภทสื่อ Internet เป็นส่วนใหญ่ โดยทำการคัดแยกออกไปในแต่ละบทที่เกี่ยวข้อง และยังมีความสอดคล้องเป็นไปตรงตามแต่ละหัวข้อเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งถูกระบุไว้เป็นเนื้อหาหลักอยู่ภายในบทนั้นๆ แล้ว ทั้งนี้ผู้อ่านที่มีความสนใจจะสามารถทำการค้นคว้า หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยตรง

@ คำขอบคุณ
        ในโอกาสนี้ผู้เขียนขอขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียน ระดับครอบครัว (ภรรยาที่เสียสละ แบ่งปัน และสนับสนุนทางจิตใจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา) เพื่อนผู้ร่วมงานอีกหลายท่าน ที่มีโอกาสในการทำงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดผลการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาในวงการด้านที่ปรึกษา ประการสุดท้ายของยกความดีของการเขียนหนังสือเล่มนี้ ให้กับผู้อ่านแต่ละรายบุคคล/ หมู่คณะ และถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ต้องการจะแนะนำ วิพากษ์วิจารณ์ในทัศนคติเชิงสร้างสรรค์ต่อหนังสือเล่มนี้แล้ว ผู้เขียนขอน้อมรับไว้ทุกประการ เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม การแก้ไข/ ปรับปรุง/ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย


มิถุนายน 2554


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น